พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

ในแต่ละสัปดาห์ ลูกในท้อง ทารกในครรภ์โตแบบไหน เป็นอย่างไร คลิปแม่ท้องนี้จะบอกคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ชัดเจนว่า ลูกในท้องมีพัฒนาการอย่างไรและแข็งแรงพร้อมคลอดแค่ไหน

Show

(คลิป) พัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์ แต่ละสัปดาห์ลูกโตยังไง มาแอบส่องท้องแม่กัน

ที่มาคลิปพัฒนาการทารกในครรภ์ 40 สัปดาห์ 

https://ultrasound.ie/
 https://www.facebook.com/ultrasound.ie

9 เดือนของหนูในท้องแม่ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายคะ บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทารกในครรภ์ และสภาวะอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อเข้าใจอาการต่าง ๆ ว่าที่คุณเป็นนั้นปกติหรือไม่ ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรอ่านมากค่ะ

การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายคะ บทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทารกในครรภ์ และสภาวะอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อเข้าใจอาการต่าง ๆ ว่าที่คุณเป็นนั้นปกติหรือไม่ ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรอ่านมากค่ะ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ทั้ง 40 สัปดาห์ ผ่าน VDO อัปเดตพัฒนาการทารกในครรภ์ และเทคนิคการดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ พร้อมปรึกษาปัญหาสุขภาพที่คุณแม่กังวลในช่วงตั้งครรภ์กับผู้เชี่ยวชาญ ผ่านแชทแบบส่วนตัว และ VDO Call กับคุณหมอเฉพาะทางได้ฟรี ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรมี ดาวน์โหลดเลย!

 

พัฒนาการทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 1-4 (1 เดือน)

ว่าที่คุณแม่หลายคนผ่านช่วงเวลา 4 สัปดาห์แรกที่แบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตั้งครรภ์ คู่รักหลายคู่อาจจจะได้ใช้เวลาช่วงนี้นั่งลุ้นว่าแบบทดสอบตั้งครรภ์จะขึ้น 2 ขีดหรือไม่ อาการต่าง ๆ ยังไม่ค่อยออกมาเท่าไหร่ แต่ผู้หญิงบางคนก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องบ้างแล้ว

พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนแรกนี้ คือการที่อสุจิได้เข้าปฏิสนธิกับไข่และเคลื่อนตัวเข้าไปฝังอยู่ในโพรงมดลูก แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนวณวันที่จะคลอดจากวันสุดท้ายที่คุณผู้หญิงมีประจำเดือน หากคู่รักจำไม่ได้ว่าช่วงเวลาวันใดที่มีการผสมปฏิสนธิ

บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 เคล็ดลับ รับมืออาการแพ้ท้องอย่างได้ผล

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5-8

ในระยะครรภ์นี้รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ การใช้สิ่งเสพติด แอลกอฮอล์หรือสารพิษอื่น ๆ ในระยะนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ แม้แต่ยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปก็เข้าข่ายไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ซึ่งกำลังเจริญเติบโต หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสดีที่จะเลิก ทุกอย่างที่คุณทำอาจส่งผลกระทบต่อลูกได้ทั้งสิ้น

คุณควรดูแลตัวเองอย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ สารอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อลูก หมั่นทานอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นเช่นโปรตีน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้สด ดื่มน้ำมากๆ และเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลือกอาหารและของว่างซึ่งมีคุณค่าเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยอย่างเพียงพอ

 

ทารกในครรภ์ เป็นยังไงบ้างนะ

เดือนที่สองของการตั้งครรภ์เป็นระยะหนึ่งที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการทารกในครรภ์และจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวอ่อนหลายอย่าง

  • หัวใจเต้น
  • จังหวะหัวใจเต้นสามารถมองเห็นได้ทางอัลตราซาวด์
  • อวัยวะหลัก (สมอง ปอด ท้อง ตับ) เริ่มก่อตัวในช่วงเดือนนี้
  • ตุ่มแขนขาปรากฏให้เห็น

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้อง อัลตราซาวด์ ไตรมาสแรก จะเห็นอะไรบ้าง แล้วกี่สัปดาห์ถึงจะเห็นตัวลูก

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12 (3 เดือน)

ในช่วงเดือนที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ของคุณคือจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นทารก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นในครรภ์อีกนะ ร่างกายของคุณจะพบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขนานใหญ่ บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของคุณ ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เห็นว่านี่เป็นช่วงเดือนที่เลวร้ายที่สุดขณะที่อีกหลายคนไม่รู้สึกอะไรเลย โดยมากผู้หญิงตั้งครรภ์จะพบว่าตนเองเกิดอาการซึมเศร้าหดหู่ได้ง่ายและอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ความรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย รู้สึกขาดตกบกพร่องและกังวลว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ผู้หญิงบางคนไม่ตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์ในระยะแรกและกังขากับอาการของตนไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะกลุ้มใจง่าย ร้องไห้ด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขี้หงุดหงิดหรือเหม่อลอย น้ำหนักตัวของคุณอาจเพิ่มขึ้นบ้างแล้วและคุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเช่นเหงือกนิ่มกว่าเคยและต่อมไทรอยด์บวมเล็กน้อย

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16 (4 เดือน)

9 เดือนของหนูในท้องแม่ !!! ขอต้อนรับเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ค่ะ ช่วงนี้คุณคงอยากอาหารบางประเภทแล้วใช่ไหมคะ ความหิวเป็นอีกอาการหนึ่งของการตั้งครรภ์ค่ะ อย่าทานอาหารมากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเพราะคิดว่าต้องทานเผื่ออีกชีวิต คุณควรทานมากกว่าที่เคยเพียงเล็กน้อย หัวนมของคุณอาจคล้ำขึ้นและแลเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจนกว่าเก่า ผิวหน้าของคุณอาจเริ่มมีดวง ๆ ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่านี่เป็นเรื่องปกติแต่หลายคนก็มองว่าเป็นสัญญาณว่าคุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หัวใจของคุณทำงานหนักกว่าเดิมเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงมดลูก ผิวและไตซึ่งต้องการเลือดมากกว่าปกติเท่าตัว ความจุของปอดลดลงเพราะมดลูกขยายใหญ่เกินอุ้งเชิงกรานและเบียดเข้าไปในช่องท้อง แม้จะทำกิจกรรมตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหนื่อยหอบง่ายกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณควรใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่าเมื่อใดควรชะลอหรือเลิกทำกิจกรรมนั้น ๆ

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไร

พัฒนาการทารกในครรภ์คือลูกน้อยของคุณสร้างอินซูลินและน้ำย่อยของตนเองได้บ้างแล้วและปัสสาวะใส่น้ำคร่ำในปริมาณเล็กน้อยทุก ๆ 45 นาที ฟันทุกซี่ก่อตัวครบและมีกระทั่งแนวเส้นผมบนหนังศีรษะด้วย

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20 (5 เดือน)

ความเจริญอาหารเป็นพายุบุแคมคืออาการธรรมดาสามัญของครรภ์ที่แข็งแรงในช่วงเดือนที่ 5 เวลานี้หน้าท้องของคุณเริ่มป่องให้เห็นเด่นชัด น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นราว 2-4.5 กิโลกรัมและคุณอาจสังเกตว่าความอยากอาหารของคุณเพิ่มขึ้น

ในช่วงนี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 22 คุณหมออาจอัลตราซาวด์ ดูครรภ์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกในครรภ์รวมทั้งระบุวันครบกำหนดครรภ์ที่แน่นอน หากทารกอยู่ในท่าที่ถูกต้อง การตรวจอัลตราซาวด์ยังอาจบอกเพศของลูกน้อยได้ด้วย หัวใจของคุณต้องทำงานมากกว่าปกติร้อยละ 40-50 เพื่อรองรับการตั้งครรภ์

 

ทารกในครรภ์ 5 เดือน

พัฒนาการทารกในครรภ์ คือ เวลานี้ตัวอ่อนจะยาว 8 นิ้ว เรียกได้ว่าขนาดเท่ากระต่ายตัวเล็กๆ ผิวลูกจะมีไขเคลือบปกป้องเรียกว่าไขหุ้มทารกและมีขนอ่อนชุดแรกขึ้นคลุมตามตัว ไตของลูกผลิตปัสสาวะแล้วและจะขับถ่ายออกสู่น้ำคร่ำรอบ ๆ ตัว

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24 (6 เดือน)

พัฒนาการทารกในครรภ์ ลูกน้อยของคุณตัวโตแล้วและน้ำหนักจะอยู่ที่ราว 0.5 กิโลกรัมเมื่อครรภ์อายุได้ 24 สัปดาห์ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนะ นอกเหนือจากผิวเหี่ยวย่นสีออกแดง ความยาวตัวอยู่ที่ 28-35 เซนติเมตรและหนัก 0.5 กิโลกรัมแล้ว ลูกน้อยของคุณดูเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ แม้รูปร่างจะยังผอมบางอยู่แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว เปลือกตาทั้งสองข้างกำลังปริแยกเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะลืมตามาดูโลก

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28 (7 เดือน)

9 เดือนของหนูในท้องแม่!!! ยินดีต้อนรับว่าที่คุณแม่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายค่ะ เวลานี้มดลูกของคุณใหญ่มากจนอาจเบียดเข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกรานและทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อย ขนาดของมดลูกยังอาจส่งผลให้คุณเริ่มปวดหลัง การจัดระเบียบร่างกายให้เหมาะสม สวมรองเท้าส้นเตี้ยและท่าบริหารอุ้งเชิงกราน (Pelvic Rocking) จะช่วยลดอาการปวดหลังลงได้

บทความจากพันธมิตร

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-40 สัปดาห์ pdf

เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง

ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ ขนาดของครรภ์ที่ขยายใหญ่อาจทำให้คุณนอนหลับได้ไม่ค่อยสบายนัก ขอแนะนำให้ใช้หมอนช่วยหนุน หากคุณเริ่มมีอาการท้องผูกและเป็นริดสีดวงทวาร ลองใช้ม้านั่งเตี้ย ๆ รองใต้เท้าระหว่างนั่งโถเพื่อจัดให้ร่างกายอยู่ในท่าขับถ่ายที่สบายขึ้น

 

อาการคนท้อง 7 เดือน ในระยะนี้

  • อ่อนเพลีย
  • จุกเสียด
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก
  • น้ำนมไหลซึม
  • ปวดหลัง
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • มดลูกหดรัดตัว
  • ขาเป็นตะคริว
  • หายใจหอบถี่
  • ตัวบวม

 

พัฒนาการทารก 7 เดือน อยู่ท่าไหน

พัฒนาการทารกในครรภ์ พื้นที่เริ่มกลายเป็นปัญหาต่อลูกน้อย ลูกอาจจะกลับเอาศีรษะลงด้านล่างขณะพยายามหาท่าที่ถนัดสบายตัว ลูกมองเห็นแล้ว แต่ภาพที่เห็นจะยังเป็นเพียงแสงมัว ๆ ลูกยังได้ยินเสียงด้วยแม้ว่าเสียงที่ได้ยินจะออกอู้อี้ก็ตาม ยามที่คุณกับสามีพูดคุยกัน ลูกจะค่อย ๆ คุ้นเคยกับเสียงของคุณทั้งคู่

นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณยังรับรสได้ แต่รสของน้ำคร่ำจะเจือจางมาก อาหารที่คุณทานอาจเปลี่ยนรสชาติน้ำคร่ำ ซึ่งก็จะทำให้ลูกคุ้นกับประเภทของอาหารที่คุณทาน ปอดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจและการเคลื่อนไหวของลูกทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกาย ในช่วงเดือนนี้สมองและระบบประสาทจะมีการเจริญเติบโตขนานใหญ่และลูกเริ่มควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้บ้างแล้วด้วย

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32 (8 เดือน)

เมื่อถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกถึงแรงบีบหดที่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่จะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณ

รู้สึกว่าครรภ์เริ่มปวดเตือนหรือคะ นั่นแปลว่ามดลูกกำลังออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงเตรียมคลอด กระดูกเชิงกรานของคุณขยายออกแล้วและคุณอาจรู้สึกปวดอุ้งเชิงกราน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกน้อยของคุณเริ่มเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน ความกลัวเป็นเรื่องปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนนี้ ลองคุยกับใครสักคนที่มีลูกแล้วและสามารถบอกเล่าประสบการณ์ให้คุณฟังได้ กุญแจสำคัญคือต้องหาคนที่มีประสบการณ์ด้านบวกเพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวคุณเองค่ะ

 

อาการทั่วไป

  • อ่อนเพลีย
  • น้ำนมไหลซึม
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • กระเพาะปัสสาวะมีปัญหา
  • ความอยากอาหารลดลง
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • หงุดหงิดบ่อยครั้ง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นยังไงบ้างนะ

  • ม่านตาของลูกหดและขยายตามแสง
  • ลูกสามารถลืมตาและหลับตาได้ตามต้องการ
  • เล็บยาวจนถึงปลายนิ้ว

 

ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 33 เป็นต้นไป (9 เดือนขึ้นไป)

ช่วงนี้คือเป็นช่วงที่ดูบวมไปหมด ทำอะไรก็ลำบาก เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงการคลอด นอกจากนี้มักจะมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าใกล้คลอดแล้วมาเตือนอยู่บ่อย ๆ อีกด้วย 

 

อาการทั่วไป 

  • อาการท้องลด หรือตำแหน่งหน้าท้องที่ต่ำลง เนื่องจากการเคลื่อนตัวของทารกที่ลงมาใกล้กระดูกเชิงกรานที่มากขึ้น 
  • มีมูกสีขาวไหลออกมาจากช่องคลอด 
  • ข้อเท้าและเท้าบวม 
  • ปวดหลัง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ 

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 

  • ทารกสลัดขนอ่อนตามร่างกาย เหลือแค่บริเวณไหล่ ขา แขน และรอยย่นตามลำตัว 
  • เล็บมือจะยาว 
  • ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมเร่งความสมบูรณ์ของปอด เพื่อเตรียมการหายใจครั้งแรก 
  • ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงบ้าง แต่ไม่มากจนผิดสังเกต 

 

เตรียมพร้อมก่อนคลอด !!! 

ระหว่างนี้หากมีอะไรหากคุณแม่ไม่แน่ใจให้โทรปรึกษาแพทย์ด้วยตัวเอง พูดคุยกับสามีหรือคนในครอบครัว เพื่อวางแผนการเดินทางหากวันที่เจ็บครรภ์คลอดนั้นมาถึง  ตั้งครรภ์เดือนที่ 9 แล้วทารกพร้อมที่จะคลอดได้ตลอดเวลา คุณแม่ต้องจดเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ดูแลท่านไว้ให้ใกล้โทรศัพท์หรือในตำแหน่งที่หยิบง่าย และอาจจะต้องจดเบอร์โทรของโรงพยาบาลที่ใกล้ คุณแม่ต้องของคำแนะนำจากแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะต้องรีบเข้าโรงพยาบาล

 

 

เทคนิคดูแลตัวเองให้ถูกวิธีตลอด 9 เดือน 

การฝากครรภ์ 

  • ดูแลรักษาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพดีตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอด 
  • คลอดบุตรที่มีสุขภาพที่ดี 
  • ลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนของตัวแม่และทารกในครรภ์ 

 

อาหารที่เหมาะแก่แม่ท้อง

  • แคลอรี่ต้องเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 20 
  • เพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ วิตามิน เน้นเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผักและผลไม้ 
  • งดอาหารรสจัด แอลกอฮอล์ ยาเสพติด 
  • ไม่สูบบุหรี่ 

 

ใช้ชีวิตให้ถูกหลัก 

  • รักษาความสะอาด ใส่เสื้อผ้าที่สะดวกสบาย 
  • ไม่สวมรองเท้าส้นสูง 
  • ดูแลรักษาฟันให้มีสุขภาพฟันที่ดี 
  • ดูแลหน้าท้อง และระบบการขับถ่าย 
  • มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 

 

ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ 

  • ไม่ทำงานหนักจนเกินไป 
  • ไม่ออกกำลังกายจนเหนื่อย 
  • ออกกำลังกายควรทำหลังตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน 

 

อาการที่คุณแม่ควรระวังระหว่างตั้งครรภ์ 

  • น้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติ 
  • เปลือกตาบวม 
  • ปวดศีรษะตรงหน้าผากและขมับขวา
  • ตาพร่า
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • เลือดออก

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าใจ :

 

ชวนอ่าน ! พัฒนาการทารกในครรภ์ ตลอด 9 เดือนที่อุ้มท้อง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ร่างกายคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

 

เช็คอาการคนท้อง ก่อนตรวจตั้งครรภ์ อาการก่อนตั้งครรภ์เป็นยังไงมาดูกัน!

 

 

แหล่งที่มา : ()

 

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!