สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย

ในการสื่อสารระหว่างคนนั้น นอกจากภาษาแล้ว ยังมีอุปกรณ์ และเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างกันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร หรือกระทั่งการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรเองก็ต้องการอุปกรณ์ในการสื่อสารเช่นกัน ซึ่งสายใยแก้วนำแสง หรือ สาย Fiber Optic คือหนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องการสื่อสารดังกล่าว ด้วยคุณสมบัติของสายใยแก้วนำแสงที่รับข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น ทั้งยังมีต้นทุนที่ไม่สูงเท่าเมื่อเทียบกับสายเคเบิล ส่งผลให้ได้รับการพัฒนาและต่อยอดเพื่อใช้งานในแขนงอื่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย

ทำความรู้จักกับสาย Fiber Optic ตัวช่วยส่งสัญญาณให้ดีขึ้น

สายใยแก้วนำแสง หรือ สาย Fiber Optic เป็นสายรับส่งสัญญาณที่สร้างจากแก้วหรือพลาสติกซึ่งโปร่งแสงและยืดหยุ่น จึงมีน้ำหนักเบาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทำหน้าที่รับสัญญาณจากต้นสายไปยังปลายสาย โดยอาศัยอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณเป็นข้อมูลออกมา โดยข้อดีของสายใยแก้วนำแสงนี้คือ สามารถรับส่งสัญญาณได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

นอกจากนี้สายใยแก้วนำแสงไม่ได้รับผลกระทบจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่ให้ประสิทธิภาพสูงได้แม้ในระยะไกล โดยใช้สายใยแก้วนำแสงกับระบบโทรศัพท์ เคเบิลทีวี อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายในท้องถิ่นอย่างอีเธอร์เน็ตก็ตาม

ในสาย Fiber Optic หนึ่งสาย ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ส่วนวัสดุที่ใช้ทำสายใยแก้วนั้น มีส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.แกน หรือ แก้วแกนกลาง (Core) เป็นส่วนที่ทำจากแก้ว อยู่ชั้นในสุด ทำหน้าที่เป็นช่องทางให้สัญญาณแสงผ่าน

2.ฉาบ หรือ ส่วนห่อหุ้ม (Cladding) เป็นส่วนที่ลึกรองลงมาจากแก้วแกนลาง ทำหน้าที่ห่อหุ้มแกนเพื่อให้แสงเดินทางเฉพาะภายในแกน 3.ไม่หลุดออกจากแกนแม้สายจะโค้งงอตามจุดติดตั้ง

3.เคลือบ หรือ ส่วนป้องกัน (Cloating) เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดของสายใยแก้วนำแสง ทำหน้าที่ป้องกันแสงจากภายนอก และทำให้เส้นใยแก้วยืดหยุ่น

สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย
 

ชนิดของสาย Fiber Optic

สำหรับข้อสงสัยที่ว่าสายใยแก้วนำแสงมีกี่แบบนั้น สามารถแบ่งสายสัญญาณนี้ออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ สายชนิด Single-mode fiber และ สายชนิด Multi-mode fiber ที่โรงงานส่วนใหญ่นิยมใช้กัน โดยจะมีลักษณะและจุดเด่นที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

Single-mode fiber

สายใยแก้วนำแสงชนิด Single-mode fiber (SMF) เป็นสายใยแก้วชนิดที่สามารถรับส่งสัญญาณแสงเพื่อแปลงเป็นข้อมูลได้ในระดับ 1,300 นาโนเมตร และ 1,500 นาโนเมตร จึงเหมาะสำหรับเชื่อมเครือข่ายขนาดใหญ่ในระดับจังหวัดหรือภูมิภาค โดยในการใช้งานจริง จะสามารถส่งข้อมูลได้ 100 กิโลเมตร ด้วยความเร็วที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิท / วินาที อย่างไรก็ตาม สายใยแก้วนำแสงชนิดนี้มีข้อจำกัดของสายส่งสัญญาณ คือ รับและส่งข้อมูลด้วยคลื่นสัญญาณได้เพียงรูปแบบเดียวต่อ 1 รอบเท่านั้น

โดยขนาดของแก้วแกนกลาง หรือ Core ในสายใยแก้วนำแสงแบบ Single-mode fiber คือ 9/125 µm (OS1, OS2) หมายความว่า

           เส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยอยู่ที่ 9 ไมครอน 

           เส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มสายอยู่ที่ 125 ไมครอน

Multi-mode fiber

สายใยแก้วนำแสงชนิด Multi-mode fiber (MMF) เป็นสายส่งสัญญาณอีกประเภทหนึ่งที่มีช่วงรับส่งข้อมูลที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับชนิด Single-mode fiber โดยจะอยู่ที่ช่วง 850 นาโนเมตร และ 1,300 นาโนเมตรเท่านั้น จึงทำให้สายส่งสัญญาณชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคารขนาดเล็ก โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 ล้านบิท / วินาที ในระยะทางที่ไม่เกิน 200 เมตร

อย่างไรก็ตาม ด้วยจุดเด่นของสาย Fiber Optic ชนิด Multi-mode fiber ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลได้มากกว่า 1 รูปแบบภายใน 1 รอบด้วยระยะสัญญาณที่สั้นกว่า จึงทำให้รับส่งข้อมูลที่ทับซ้อนกันได้ดี โดยขนาดของแก้วแกนกลาง หรือ Core ในสายใยแก้วนำแสงแบบ Multi-mode fiber จะมีมากกว่าสายใยแก้วนำแสงแบบ Single-mode fiber โดยมีรายละเอียด ดังนี้

           ขนาด 62.5/125 µm (OM1)

           เป็นสายที่มีสีส้ม

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ LED

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth) ได้ที่ 200MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต (Gigabit)

           ขนาด 50/125 µm (OM2)

           เป็นสายที่มีสีส้มหรือสีเทา

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบ LED

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 500MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM3)

           เป็นสายที่มีสีฟ้า

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์ (VCSEL)

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 2,000MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10, 40 และ 100 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM4)

           เป็นสายที่มีสีฟ้า หรือสีม่วงชมพู

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 4,700MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 10 กิกะบิต และ 100 กิกะบิต

           ขนาด 50/125 µm (OM5)

           เป็นสายที่มีสีเขียว

           ใช้แหล่งกำเนิดแสงแบบเลเซอร์

           รองรับค่าความกว้างของช่องสัญญาณได้ที่ 28,000MHz*km

           สามารถรองรับอีเธอร์เน็ตได้ 200 และ 400 กิกะบิต

 

ซึ่งขนาดของแก้วแกนกลางของสายใยแก้วนำแสงแบบ Multi-mode fiber ส่วนใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของสายอยู่ที่ 50 ไมครอน (50 µm) มีเพียงสายใยแก้วนำแสงชนิด OM1 ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 62.5 ไมครอน (62.5 µm) ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของเปลือกหุ้มสายทุกชนิดมีขนาดอยู่ที่ 125 ไมครอน (125 µm)

 

สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย

ประเภทของสาย Fiber Optic

สามารถจำแนกสายใยแก้วนำแสงออกได้เป็น 2 ประเภทอีก ได้แก่ สายแบบ Tight Buffer และ Loose Tube ซึ่งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันตามโครงสร้างของสาย ดังนี้

Tight Buffer

สายใยแก้วนำแสงประเภท Tight Buffer คือ ส่วนป้องกันของสายใยแก้วที่มีวัสดุประเภทฉนวนห่อหุ้มแกนชั้นนอกอย่างแน่นหนาอยู่ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันแสงจากภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนการรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ส่งสัญญาณจากต้นทางไปยังปลายทางได้ดี จึงทำให้สายชนิด Tight Buffer เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายและความปลอดภัยในการติดตั้งนั่นเอง

Loose Tube

สายใยแก้วนำแสง ประเภท Loose Tube ซึ่งเป็นสายรับส่งสัญญาณที่นำสายใยแก้วนำแสงมาบรรจุอยู่ภายในท่อสีขาวที่ได้รับมาตรฐาน มาพร้อมคุณสมบัติที่สามารถป้องกันความร้อนและน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะติดตั้ง จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งไว้นอกโรงงานหรืออาคารเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ อีกด้วย

สายไฟเบอร์ออฟติก ข้อดี ข้อเสีย
 

สาย Fiber Optic ตอบโจทย์สายโรงงานอย่างไร

ด้วยคุณสมบัติของสาย Fiber Optic หรือสายใยแก้วนำแสง ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพการสื่อสารของโรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของโรงงานหรือผู้ประกอบการโรงงานจะต้องรู้ให้ดีก่อนว่าสายไฟเบอร์ออฟติกมีกี่แบบ อะไรบ้าง และใช้งานอย่างไร เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้สายรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมกับการรับส่งสัญญานแสงและแปลงเป็นข้อมูลผ่านเครือข่าย CC-link IE กับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในระบบให้ได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

ข้อใดคือข้อดีของสายไฟเบอร์ออปติก

ข้อดี ของสายไฟเบอร์ออฟติก Fiber Optic สายใยแก้วนำแสง มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ไม่นำไฟฟ้า จึงทำให้สายใยแก้วนำแสงมีความปลอดภัยสูง สัมผัสแล้วไม่โดนไฟฟ้าดูด และไม่สามารถรบกวนสัญญาณการรับส่งข้อมูลได้

ข้อใดคือ ข้อเสียของใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ?

1. เส้นใยแก้วเปราะบางและแตกหักง่าย เมื่อมีแรงมากระทำ ดังนั้นจึงต้องระวัง 2. การโค้งงอ ไม่สามารถโค้งงอได้มากเหมือนสายทองแดง เนื่องจากการโค้งงอ มากๆ จะทำให้สายเกิดค่าลดทอน(Attenuation)สูง และอาจเกิดการแตกหักได้ 3.ในการติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก ต้องใช้เครื่องมือพิเศษราคาแพงในการเข้าหัว

ข้อดีของสายใยแก้วนําแสงคือ ข้อใด

ข้อดี 1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง 2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า 3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก

สายไฟเบอร์ออฟติกหักงอได้ไหม

เนื่องจากสายไฟเบอร์ออฟติก จะเป็นสายเคเบิลใยแก้วนำแสงครับ กรณีที่สายหัก งอ อาจส่งผลให้สายเคเบิลใยแก้วนำแสงแตกได้ ซึ่งจะส่งผลให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่ได้ครับ