การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง และทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เจอซึ่งจะกล่าวในภายหลัง

2. โทร
รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยแจ้งอาการผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งเพื่อให้เจ้าเหน้าที่ติดต่อกลับหากที่หาที่เกิดเหตุไม่เจอ รวมถึงแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อาการ สถานที่ที่พบ เส้นทางที่เดินทางมาได้สะดวก หากอยู่เพียงลำพัง อย่าทิ้งผู้ป่วยไปไหน ให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารและรับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หากอยู่หลายคนให้ผู้อื่นเป็นคนโทร.แจ้ง หากแถวนั้นไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย

ตัวอย่างการแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ : พบผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 45 ปี ที่หน้าโรงรับจำนำ ตลาดบางพลี ผมผู้พบเหตุ ชื่อนายสง่า เบอร์ติดต่อ 089-XXX-XXXX และให้นำเครื่อง AED มาด้วย

3. ปั๊ม
การกดหน้าอกสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะที่รอหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพ โดยให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก – ดึงคางขึ้น และตรวจสอบการหายใจโดยการเอียงหูฟังแนบที่จมูกผู้ป่วย จากนั้นให้เริ่มช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 – 120 ครั้งต่อนาที

ข้อแนะนำ : หากมีโอกาสได้เรียนให้พยายามซ้อมทำบ่อย ๆ เวลาทำจริงเราจะทำได้ด้วยความแรงและน้ำหนักที่ถูกต้อง

ในช่วงเทศกาล วันหยุดยาว หลายๆ คนวางแผนไปเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยวป่า เที่ยวภูเขา น้ำตก แม่น้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนเดินทางและการเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บอย่างถูกวิธีถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้อาการบาดเจ็บบรรเทาลง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยแก่แพทย์ผู้ชำนาญการได้ทันท่วงที ส่งผลให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยให้สมกับความตั้งใจแต่แรก  สำหรับอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยในขณะเดินทางมีไม่กี่สาเหตุด้วยกัน อาทิเช่น บาดเจ็บจากเป็นแผลถลอก ไฟไหม้ เลือดกำเดาไหล กระดูกหัก เคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ ห้อเลือด เลือดไหล แมลงสัตว์กัดต่อย ลมพิษ ฯลฯ โดยอาการเหล่านี้มีตั้งแต่อาการบาดเจ็บเล็กน้อย ถึงอาการบาดเจ็บขั้นรุนแรง ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทั้งนี้ ตัวผู้ป่วยเองและผู้พบเห็นเหตุการณ์ควรตั้งสติให้ดี และควรขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลโดยเร็วที่สุด. 

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล (First Aid Kit)

 

 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในบาดแผลแบบต่างๆ 

1 การปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก (Abrasion wounds)

บาดแผลถลอกหมายถึงการเป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกขีดข่วน ถูกถูหรือถูกครูด บาดแผลชนิดนี้จะตื้นเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น และมีเลือดออกเล็กน้อย อันตรายของบาดแผลอยู่ที่การติดเชื้อ บาดแผลถลอกที่พบได้เสมอ คือ การหกล้ม เข่าถลอก ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นต้องรีบปฐมพยาบาล  เพื่อลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

อุปกรณ์

1. ชุดทำแผล ได้แก่ ปากคีบ ถ้วยใส่สารละลาย สำลี ผ้าก๊อส และพาสเตอร์ปิดแผล

2. สารละลาย ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ และ น้ำเกลือล้างแผล

3. แอลกอฮอล์ 70%

4. เบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีน

* ท่านสามารถซื้อชุดทำแผลดังกล่าว ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วไป

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด ถ้ามีเศษหิน ขี้ผง ทราย อยู่ในบาดแผลให้ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้หมด

2. ใช้ปากคีบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%  พอหมาดๆ เช็ดรอบๆ บาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรครอบๆ (ไม่ควรเช็ดลงบาดแผลโดยตรง เพราะจะทำให้ เจ็บแสบมาก เนื่องจากยังเป็นแผลสด)

3. ใช้สำลีชุบเบตาดีนหรือโปรวิดี ไอโอดีน ใส่แผลสด ทาลงบาดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดบาดแผล ยกเว้นบาดแผลที่เท้าซึ่งควรปิด ด้วยผ้าก๊อซสะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง

4. ระวังอย่าให้บาดแผลถูกน้ำ

5. ไม่ควรแกะหรือเกาบาดแผลที่แห้งตกสะเก็ดแล้ว เพราะทำให้เลือดไหลอีก สะเก็ดแผลเหล่านั้นจะแห้งและหลุดออกเอง

 

 

 

 

 

 

2 การปฐมพยาบาลบาดแผลฟกช้ำ (Contusion)

บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม เช่น ถูกชน หกล้ม เป็นต้น ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ  บวมแดงหรือเขียว

อุปกรณ์  

1. น้ำเย็น

2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก

3. ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้า ห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ ก็ได้

2. ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก เป็นต้น ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่นได้พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอสมควร เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ และพยายามอย่างเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้น รอยช้ำค่อยๆ จางหายไปเอง

 

 

 

 

 

 

3 การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด (Incision wounds)

บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด  เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคมบาด แทง  กรีด  หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล  มองเห็นมีเลือดไหลออกมา   

อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลแผลถลอก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 1.  ใช้สำลีเช็ดเลือด และกดห้ามเลือด

2.  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล

3.  ใช้สำลีชุบเบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีนใส่แผลสดทารอบๆ แผล

4.  ใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ปิดแผล

5. รีบน้ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้กรณีบาดแผลรุนแรง

 

 

 

 

 

 

4 การปฐมพยาบาลบาดแผลกระดูกหัก (Fracture)

กระดูกหัก คือ การที่กระดูกแยกออกจากกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีความหมายว่าอย่างไร

ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทันที ณ บริเวณเกิดเหตุ อาจเป็นการใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลืออาจใช้เพียงอุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ ...

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีอะไรบ้าง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรทราบ.
แผลไฟลวก แช่บริเวณที่ถูกไฟลวกในน้ำมากกว่า 15 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลง ไม่พยายามถอดชุดชั้นในหรือถุงเท้าออก ให้ราดน้ำเบาๆจากบนชุดชั้นในหรือถุงเท้า ... .
บาดแผล หากมีเลือดออกไม่มาก ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และพันด้วยผ้าก๊อซ.
เลือดออก หากมีเลือดออกมาก ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดปากแผลให้แน่น.

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ 1. เพื่อช่วยชีวิต 2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย 3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว