อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำอย่างมาก ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะมีสีเข้ม หัวใจเต้นเร็ว  อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด
  • ผู้ใหญ่ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน หรือในเด็กอาจท้องเสียติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย
  • อาเจียนถี่หรืออาเจียนอย่างต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
  • ตามัวหรือมองเห็นภาพไม่ชัด
  • ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยที่อาการปวดท้องไม่ลดลงเลยหลังจากอุจจาระไปแล้ว
  • ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    เมนูอาหารที่เสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษ

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

           โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจากเชื้อโรค แบคทีเรีย สารพิษหรือสารเคมี ซึ่งมักจะพบในอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารไม่สะอาด และในอาหารที่ปรุงไว้นานแล้วไม่ได้แช่เย็นหรือนำมาอุ่นก่อนที่จะรับประทาน ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ และอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษที่เราควรจะรับประทานอย่างละมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่

    ยำทะเล/ยำหอยแครงอาหาร หรือขนมที่ทำด้วยน้ำกะทิสดข้าวผัดโรยเนื้อปูลาบ/ก้อยดิบขนมจีนส้มตำข้าวมันไก่ยำกุ้งเต้นสลัดผักที่มีธัญพืชน้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

     

    ผักผลไม้แก้อาการท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ

          มีอาหารที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษแล้ว ก็ต้องมีอาหารที่ช่วยแก้ได้ ผักผลไม้ต่อไปนี้ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณช่วยแก้ท้องเสียได้ ถ้าหากใครมีอาการอาหารเป็นพิษอยู่ก็ลองหามาทานกันดูนะคะ

    ฝรั่งกล้วยน้ำหว้ามังคุดทับทิมขิงมะพร้าวฟ้าทะลายโจรกระชาย

      

    อาหารเป็นพิษ เกิดได้ถ้าไม่รู้จักเลือกกิน

     

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    การรักษาอาหารเป็นพิษ

                เมื่อเรารู้ถึงอาการอาหารเป็นพิษแล้ว ความสำคัญต่อมาคือ แนวทางการรักษา ซึ่งในผู้ป่วยอาหารเป็นพิษถ้าไม่ได้มีอาการรุนแรงก็อาจจะใช้วิธีดูแลตัวเองและรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงควรจะรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยและหาวิธีรักษากันต่อไป

            การรักษาอาหารเป็นพิษด้วยตนเอง

    1.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ โดยการดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ หรือจิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากอาการเสีย ท้องร่วงและอาเจียน

    2.ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดที่สูญเสียไปจากการอาเจียนและถ่ายอุจจาระ โดยให้จิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน ควบคู่กับการรับประทานอาหารตามปกติ และสามารถดื่มได้จนกว่าจะหยุดอาเจียนหรือกลับมาถ่ายอุจจาระแบบเป็นปกติแล้ว 

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    3.รับประทานยาแก้ท้องเสีย โดยผู้ป่วยที่จะใช้ยาแก้ท้องเสียต้องได้รับคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร การใช้ยาจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียควบคู่ไปกับการดื่มน้ำและผงเกลือแร่ซึ่งเป็นการรักษาหลัก

    4.รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊กหรือข้าวต้ม โดยเริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อน และควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง และอาหารรสจัดด้วย 

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    วิธีป้องกันอาหารเป็นพิษ

                จุดเริ่มต้นของการเกิดอาการอาหารเป็นพิษนั้น มาจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส ที่ปะปนมาในน้ำดื่มและอาหาร ฉะนั้นวิธีป้องกันอาหารเป็นพิษที่ดีที่สุดคือ การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่สะอาด และถูกสุขอนามัย เท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันโรคอาหารเป็นพิษได้แล้ว ซึ่งวิธีป้องกันก็สามารถทำได้หลายวิธีได้แก่     

    1.ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำต้มสุกทุกครั้ง     

    2.ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง     

    3.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารค้างคืน โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิ เพราะจะบูดเสียง่ายมาก     

    4.ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน     

    5.แยกอาหารดิบและอาหารสุกออกจากกัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรีย     

    6.เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์ชนิดอื่น ๆ     

    7.รับประทานเฉพาะอาหารที่ปรุงสุกใหม่ หรือหากเป็นอาหารกล่อง อาหารถุง ก่อนทานให้นำมาอุ่นร้อนก่อนทานทุกครั้ง 

    ภูมิแพ้อาหารแฝง อาการแพ้ที่ไม่แสดงออกป้องกันได้ด้วยอาหารต้านภูมิแพ้

    8.การทานอาหารทะเลต้องปรุงสุกก่อนเสมอ หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวกหรือสุกๆ ดิบๆ     

    9.หากสังเกตเห็นความผิดปกติในอาหารนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสี กลิ่น รส และลักษณะของอาหารแตกต่างไปจากเดิม ไม่ควรรับประทานเด็ดขาด

    10.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเก่าที่อยู่ในตู้เย็นมาเป็นเวลานาน    11.ไม่ละลายอาหารสดแช่แข็งด้วยการแช่น้ำหรือตั้งทิ้งไว้ เพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณของเชื้อโรคจากอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ ควรนำมาละลายด้วยการอุ่นด้วยไมโครเวฟ 

    สรุป

                การรับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และถูกสุขอนามัยไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันอาการอาหารเป็นพิษเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ร่างกายเราสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ฉะนั้นอย่าลืมทานอาหารกันอย่างละมัดระวัง หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ และดื่มน้ำที่สะอาดกันด้วยนะคะ            

    BED & MATTRESS PRODUCT

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    อาหารเป็นพิษมักพบในอาหารประเภทใด

    ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆพ.816/2563 *อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้

    จัดจำหน่าย บริษัท ฟาร์ ทริลเลียน จำกัด 73,75 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 89/2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ10700

    อาหารเป็นพิษบ่อยเกิดจากอะไร

    สาเหตุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคจำพวก S.aureus หรือ B. cereus หรือ C. perfringens ที่มีการปนเปื้อนในอาหาร อาทิเช่น ข้าวผัด ขนมจีน อาหารกระป๋อง เป็นต้น โดยเชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษ (enterotoxin) ที่ทนต่อความร้อนได้ดี เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มี enterotoxin เข้าไปก็จะเกิดอาการของอาหารเป็นพิษตามมา

    กินอะไรให้อาหารเป็นพิษ

    เลือกทาน ช่วยป้องกัน อาหารเป็นพิษ เมนูอะไรบ้าง?.
    อาหารที่มีกะทิ เช่น แกงต่างๆ ขนมหวานที่ใส่กะทิ หรือราดน้ำกะทิ ซึ่งเป็นเมนูที่เสียง่ายทั้งนั้น.
    ส้มตำ และยำต่างๆบางร้านอาจใช้ปลาร้าไม่ได้มาตรฐาน ถั่วลิสงขึ้นรา กุ้งแห้งใส่สี ก็อาจทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้.

    อาหารเป็นพิษ ตรวจอะไรบ้าง

    การตรวจเลือดหรือตรวจปริมาณแอนติบอดี้ในเลือด ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงมากกว่าอาเจียนและท้องเสีย หรือมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เพื่อตรวจหาปริมาณเกลือแร่ในเลือดและตรวจการทำงานของไต หรือใช้ในกรณีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ อาจตรวจการทำงานของตับเพิ่มเติมด้วย

    อาหารเป็นพิษควรกินยาอะไร

    สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ และมีอาการท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หน้ามืด ปากแห้ง จะได้รับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งตัวยาฆ่าเชื้อที่แพทย์หรือเภสัชกรมักจะให้กลับมารับประทานมีดังนี้.
    Co-trimoxazole..
    Erythromycin..
    Cephalosporin..