อาหารที่เหมาะสมกับวัยก่อนเรียน

อาหารเด็กก่อนวัยเรียน

ช่วงเปิดเทอมใหม่ของนักเรียนตัวเล็กๆ คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกังวลใจเกี่ยวกับลูกน้อย โดยเฉพาะน้องตัวเล็กๆ ที่เริ่มไปโรงเรียนครั้งแรก เช่น ในชั้นเตรียมอนุบาลความกังวลที่พบนอกจากจะเป็นเรื่องการร้องงอแงของลูกที่ไม่เคยอยู่ร่วมกับคนแปลกหน้าแล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องอาหารการกินของลูกอีกด้วย ยังไม่สายถ้าจะเริ่มความพร้อมในเรื่องนี้กัน

เมื่อเด็กอายุเพิ่มขึ้น อาหารที่คุณม่จัดเตรียมให้จึงไม่จำเป็นต้องบดให้ละเอียด เพียงเปลี่ยนลักษณะให้เป็นอาหารที่ค่อนข้างหยาบแต่ยังนุ่ม เปื่อย ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม เกี๊ยว มะกะโรนี่น้ำ เพื่อให้ลูกรู้จักอาหารหลายชนิดมากขึ้น หรือดัดแปลงอาหารของผู้ใหญ่ให้ลูกกิน เช่น ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง แกงจืดเต้าหู้แตงกวาสอดไส้ ผัดฟักทองใส่ไข่ เมื่อเด็กอายุ 3-4 ขวบอาจจะให้ลูกกินข้าวพร้อมพ่อแม่ในบางมื้อได้ เพื่อเป็นการฝึกให้เรียนรู้มารยาทในาการกินอาหาร เด็กส่วนใหญ่ชอบอาหารท่เป็นเส้นๆ และนำมาทำเป็นอาหารง่ายๆ เช่น ผัดมะกกะโรนี บะหมี่น้ำ ก๋วยเตี๋ยวน้ำ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ก๋วยเตี๋ยวหมูสับ ล้วนเป็นเมนูที่ฝึกให้เด็กกินได้

เมื่อโตขึ้นเข้าสู่วัยเรียน การกินอาหารจะเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของการโฆษณา จึงพบว่าอาหารที่วัยรุ่นนิยมจะเป็นอาหารจากซีกโลกตะวันตก ซึ่งมีร้านอาหารบริการอยู่ทั่วทุกมุมเมือง อาหารไทยๆ จึงแทบจะไม่รู้จัก เมื่อทำงานพฤติกรรมการบริโภคอาหารจะเปลี่ยนไปอีก เพราะส่วนมากทำงานแข่งกับเวลา ประกอบกับปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเมืองใหญ่ๆ ทำให้เสียเวลาอยู่บนถนนค่อนข้างมาก คนส่วนใหญ่จึงละเลยอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่จะช่วยให้มีพละกำลังทำงานได้ตลอดทั้งวัน แล้วไปชดเชยปริมาณในมื้อเย็นซึ่งเป็ฯมื้อที่ร่างกายต้องการพลังงานน้อย จึงเกิดการสะสมพลังงานเกินไว้และทำให้อ้วนได้ระยะยาว ถ้าลองเลือกตำรับอาหารที่มีการเตรียมง่ายๆ ใช้เวลาไม่มากนักหรือสามารถทำเก็บไว้ได้นาน ก้จะช่วยกันทำอาหารในวันหยุดก็น่าจะดี เพราะเท่ากับแม่บ้านได้มีโอกาสสอนลูกทำอาหาร ทำให้เกิดความสามัคคีความรักใคร่ปรองดอง และความรู้สึกอบอุ่นในครอบครัว

เมื่ออาหารเสริมได้เปลี่ยนเป็นอาหารหลักแทนนมทั้ง 3 มื้อแล้ว นมก็ยังมีความสำคัญและควรให้เป็นอาหารเสริมแทน เก็กควรได้เรีนรู้การกินอาหารต่างจากที่เคยได้กินให้มาขึ้นอาหารควรมีรสอ่อน มีลักษณะอ่อน นุ่ม ไม่ เหนียวหรือย่อยยาก ซึ่งอาจะจะดัดแปลงจากอาหารของผู้ใหญ่ เช่น แกงจืด ผัดผักต่างๆ เป็นต้น จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวันและไม่ควรให้เด็กกินอาหารแปลกหลายๆ ชนิด ในมื้อเดียวกัน

เพื่อความสะดวกในการจัดอาหารให้ลูกน้อยอานนำรายการอาหารของครอบครัวมาเลือก หรือจัดรายการอาหารของลูกรวมไว้ในรายการอาหารของผู้ใหญ่ นอกจากอาหารหลัก 3 มื้อแล้ว ควรมีนมเป็นอาหารว่างด้วยเพราะแต่ละมื้ออาจจะกินอาหารว่างด้วยเพราะแต่ละมื้ออาจจะกินอาหารได้ในปริมาณไม่มากนัก อาหารอาจจะกำหนดหลากหลายดังตัวอย่าง

  จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสฯ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
เช้า ข้าวต้มหมู นม ขนมปังชุบไข่ทอด มะกะโรนีไก่น้ำหล้วยน้ำว้า แซนวิชทูน่า นม ข้าวต้มไก่ ส้ม คอนแฟล็กซ์-นม กล้วยหอม แซนด์วิชไข่ ขนมครก
10.00 น. ถั่วฝักยาวต้ม มะละกอ กล้วยหอม เนยแข็ง ชมพู่ นม แครอตต้ม ส้ม คุกกี้ นม ฟักทองนิ่ง นม มันเผา นม
เที่ยง เกี๊ยวหมู องุ่น ข้าวผัดไส้กรอกซุปผัก กล้วยไข่ ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมู แตงโม เกี้ยมอี๋น้ำ-หมูสับ ส้ม ผัดมะกะโรนี องุ่น ข้าวผัดหมู-ไข่ ชมพู่ เส้นใหญ่ราดหน้า แตงโม
14.00 น. ขนมกล้วย นม เจลลีผลไม้ ข้าวต้มมัด นม ขนมจีบ นม ซาลาเปา นม กล้วยปิ้ง นม ขนมถ้วยฟู นม
เย็น ข้าวสวยนิ่มๆ ไข่ตุ๋น-ตำลึง-กุ้ง ข้าวสวยนิ่มๆ แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ข้าวสวย ปลานึ่ง ข้าวสวย ฟักทองผัดไข่ ข้าวสวย ไข่เจียวมะเขือเทศ ข้าวสวย ปลาทอด ซุปผัก ข้าวสวย ต้มจืดฟัก-ไก่

รายการอาหารนี้เป็นเพียงแนวทางให้พ่อแม่ได้เข้าใจอาหารของลูกซึ่งไม่ควรซ้ำกันมากเพราะจะทำให้เบื่อได้ง่าย ควรดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมและความสะดวกในการจัดเตรียม เช่น ข้าวเหนียว หมูย่าง ไก่ย่าง เป็ฯต้น ถ้าเด็กปฏิเสธไม่กินอาหารชนิดใดชนิดก็ไม่ควรคะยั้นคะยอ เพราะจะทำให้เกิดความฝังใจและต่อต้านไม่ยอดกินอาหารชนิดนั้นต่อไป ควรเว้นช่วงเวลาให้ห่างพอสมควรหรือให้เด็กมีความหร้อมมากขึ้นแล้วลองใหม่ เด็กอาจจะยอมรับได้ดี เด็กไม่ชอบอาหารรสจัดหรือมีกลิ่นฉุน เช่น ต้นหอม ขึ้นฉ่าย จึงควรหลีกเลี่ยง

พ่อแม่หลายคนอาจหนักใจที่ลูกไม่กินผักในรายการอาหารจึงได้กำหนดผักบางชนิดเป็ฯของว่าง โดยมิได้มุ่งให้เด็กกินในปริมาณมากเพราะเด็กอาจจะยังไม่คุ้น เพียงแต่เป็นการเตือน ให้นำผักมาให้เด็กหัดกินบ้างเท่าที่จะยอมรับได้ลองนำมาชุบแป้งแล้วทอดให้กรอบ เป็นอาหารกินเล่น เช่น ใบตำลึงหรือผักบุ้งแป้งทอด และในอาหารแต่ละชนิดควรเติมผักโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กเพื่อให้เด็กเริ่มคุ้นและกินได้มากขึ้น พ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยนี้จึงควรให้ความสนใจ ดูแลเรื่องอาหารการกินของลูกให้ถูกต้อง เหมาะสมให้ได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ลูกมีร่างกายที่แข็งแรง มีการเจริญเติบโตตามวัย มีพัฒนาการทางสมองที่สมบูรณ์และสามารถเรียรู้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลถึงการเป็นประชาชนที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต

คุณคงจะไม่ละโอกาสอันดีนี้สำหรับลูของคุณใช่ไหม

แหล่งข้อมูล Gourmet & Cuisine

หลักการจัดอาการให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือวัย 3-5 ปี ให้ได้รับสารอาหารและคุณประโยชน์ครบครัน พร้อมตัวอย่างอาหารที่เหมาะสมใน 1 วัน

เผยแพร่ครั้งแรก 6 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

เด็กก่อนวัยเรียน หรือ วัยอนุบาล (Preschool) เป็นช่วงวัยที่เด็กเริ่มจากครอบครัวไปสู่โรงเรียน มีพัฒนาการหลายด้านทั้งความคิด ภาษา การสื่อสาร โดยเฉพาะการเจริญเติบโตด้านร่างกาย น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นปีละ 2-2.5 กิโลกรัม ส่วนสูงเพิ่มขึ้นปีละ 6-8 เซนติเมตร เด็กวัยนี้จึงดูผอมและสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรได้รับสารอาหารในปริมาณที่เพียงพอทั้งชนิดและปริมาณ หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากได้รับพลังงานและสารอาหารมากเกินไป จะทำให้มีน้ำหนักเกิน

ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 (สุขภาพเด็ก) พบว่าเด็กไทยอายุ 1 - 5 ปี ยังคงเผชิญปัญหาภาวะทุพโภชนาการปานกลาง ทั้งภาวะเตี้ยและน้ำหนักน้อย ดังนั้นอาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อโครงสร้างร่างกาย สติปัญญา เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย มีภาวะโภชนาการที่ดีจึงจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

อาหารที่เหมาะสมกับวัยก่อนเรียน

ความต้องการพลังงานและสารอาหารของเด็กก่อนวัยเรียน

  1. พลังงาน ควรได้พลังงานวันละ 1,300 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งได้จากข้าว แป้ง ธัญพืชต่างๆ น้ำตาล และไขมัน
  2. โปรตีน ควรได้รับวันละ 18-22 กรัม หรือประมาณ 1.2-1.4 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว แหล่งของอาหารโปรตีน ได้แก่ ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา หมู ไก่ รวมถึงถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ นอกจากนี้ควรรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง ดื่มนมรสจืดทุกวัน และรับประทานอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด โดยจัดให้รับประทานสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันโลหิตจาง
  3. ไขมัน ควรได้รับวันละไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด หรือเทียบเท่าน้ำมันพืช 6-8 ช้อนชา/วัน เนื่องจากการได้รับไขมันมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้ ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวต่างๆ เช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันหมู กะทิ มาการีน เนย เป็นต้น

อาหารสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (1,300 กิโลแคลอรี)

ข้าว-แป้ง5 ทัพพี
ผัก2-3 ทัพพี
ผลไม้5 ส่วน
เนื้อสัตว์4 ช้อนกินข้าว
นม1 กล่อง (240 มิลลิลิตร)
น้ำมัน6 ช้อนชา

ตัวอย่างรายการอาหารใน 1 วันของเด็กก่อนวัยเรียน (1,300 กิโลแคลอรี)

มื้อเช้า

ข้าวต้มไก่

  • ข้าวต้ม 1 ทัพพี
  • ไก่ฉีก 1 ช้อนกินข้าว
  • กระเทียมเจียว 1 ช้อนชา
  • ต้นหอม ผักชี

อาหารว่างเช้า

กล้วยน้ำว้า 1 ผล
นมสด 1 กล่อง (240 มิลลิลิตร)

มื้อกลางวัน

ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส

  • ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 9 ช้อนกินข้าว
  • ลูกชิ้น 3 ลูก
  • กระเทียมเจียว 2 ช้อนชา
  • ถั่วงอก ต้นหอม ผักชี

แอปเปิล 1 ผล

อาหารว่างบ่าย

ขนมปัง 1 แผ่น
น้ำส้มคั้น 1 แก้ว (ส้ม 2 ผล)

มื้อเย็น

ข้าวสวย 2 ทัพพี
แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้หมูสับ

  • เต้าหู้ไข่ ¼ หลอด
  • หมูสับ 1 ช้อนกินข้าว
  • ผักกาดขาว
  • กระเทียมเจียว 1 ช้อนชา

ฝรั่ง ½ ผลกลาง


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

อาหารที่เหมาะสมกับวัยก่อนเรียนควรเป็นอย่างไร

เด็กวัยก่อนเรียนควรได้รับอาหารให้ครบทุกกลุ่ม คือ ข้าว ผัก ผลไม้เนื้อสัตว์และนม ซึ่งในแต่ละกลุ่ม ควรฝึกให้เด็กกินได้หลายชนิด ไม่ควรเลือกเฉพาะอย่าง และการประกอบอาหารก็ควรค านึงถึงความสะอาด และต้องเป็นอาหารที่ย่อยง่ายด้วย ถ้าอาหารแข็งหรือเหนียวจนเคี้ยวยากก็ควรจะสับหรือต้มให้เปื่อย และที่ ส าคัญควรให้เด็กกินน ้าส่วนที่ ...

อาหารที่เหมาะกับวัยเรียนมีอะไรบ้าง

กินอาหารแหล่งธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด สัปดาห์ละ 1 – 2 วัน เป็นต้น หรือการกินเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เพียงพอ หรือประมาณ 6 – 9 ช้อนกินข้าว โดยเฉพาะเนื้องแดงก็จะทำให้ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ หรือสามารถทำเมนูอาหารวัยเรียนต่าง ๆ ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ต้มเลือดหมู ตับหมูผัดดอกไม้กวาด ตับอบผักต้ม หรือ ตับผัดกระเทียม เป็นต้น โดย ...

อาหารชนิดใดเหมาะสมกับวัยเรียนมากที่สุด

เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มีการสะสมแคลเซียมในกระดูกมากที่สุด ดังนั้นการบริโภคอาหารให้เพียงพอร่วมกับการออกกำลังกาย ก็จะส่งผลต่อมวลกระดูกมากที่สุดด้วย แหล่งอาหารที่ดีคือนมและผลิตภัณฑ์จากนม งานวิจัยพบว่าเด็กที่ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ มีมวลกระดูกที่มากกว่าเด็กที่ไม่ได้ดื่มเป็นประจำ ...

อาหารประเภทใดที่เหมาะสมกับวัยผู้ใหญ่

อาหารและปริมาณอาหารที่วัยผู้ใหญ่ควรได้รับ - น้ำนม ควรดื่มวันละ 1แก้ว เพราะมีแคลเซียม โปรตีน และวิตามินมากมาย - ไข่ ควรทานวันละ 1 ฟอง เพราะมีโปรตีน เหล็ก และวิตามินเอ - เนื้อสัตว์ต่างๆ ควรได้รับวันละ 100 กรัม ตับหรือเครื่องในสัตว์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง - ถั่วเมล็ดแห้งต้มสุก เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง