มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ

มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ


  สภาวการณ์ผลิตพืชอาหารทางการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบัน เริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตพืชอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภคในประเทศและการส่งออก เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพของประชากรในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น และข้อจำกัดทางด้านการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งผลิตผลทางการเกษตรไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆที่มีข้อบังคับว่าด้วยสินค้าทางการเกษตรที่จะนำเข้าสู่ประเทศนั้นๆต้องผ่านมาตรฐานการรับรองที่เป็นสากล


อะไรคือสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกษตร สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การปนเปื้อนสารเคมีและจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในระหว่างขั้นตอนการเพาะปลูก และจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตรทั้งในระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง เช่น เชื้อ Salmonella spp. เชื้อ Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของสารปฏิชีวนะตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและปศุสัตว์ สารพิษอะฟลาท็อกซินที่เกิดจากเชื้อรา ที่พบมากในถั่วลิสง ข้าวโพด และการใช้วัตถุเจือปนเพื่อการถนอมอาหารอย่างผิดวิธี เช่น สารฟอกขาว สารกันบูด สารบอแร็ก เป็นต้น
  2. การมีพฤติกรรมบริโภคที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของประชากร ทำให้มีการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนอาการป่วยเรื้อรังรักษาไม่หายที่เพิ่มสูงขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรไม่ปลอดภัย

  1. เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
  2. เกษตรกรขาดแรงจูงใจและทัศนคติที่ดีในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
  3. ขาดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค ทำให้ตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยมีจำกัด

  ด้วยเหตุนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงควรให้ความสำคัญและร่วมมือกันเกี่ยวกับการนำ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP = Good Agricultural Practice) มาส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในภาคการเกษตรของประเทศ ให้เกิดการปฏิบัติเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค


มาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร

  การรับรองมาตรฐาน GAP ที่ผ่านมา ใช้มาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตรในการตรวจรับรองแปลง โดยที่ผ่านมา มกอช. (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ) ได้พัฒนามาตรฐาน GAP สำหรับพืชอาหาร (มกษ.9001-2552) โดยปรับปรุงและประกาศใช้ในปี 2552 โดยอ้างอิงและเทียบเคียงมาตรฐาน Codex มาตรฐาน ASEAN และมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร และในปัจจุบันได้มีการใช้ มกษ. GAP พืชอาหาร (มกษ.9001-2556) ที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ASEAN ซึ่งได้ประกาศเป็นมาตรฐานของประเทศ


ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

  1. ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  2. เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย
  3. ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทย
  4. รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน



ร่วมแสดงความคิดเห็น



อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ ในอดีตมนุษย์ได้อาหารมาจากการเก็บของป่า ล่าสัตว์ และเกษตรกรรม ปัจจุบันพลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่เราบริโภค ผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการนำเข้าและส่งออกอาหารระหว่างประเทศมากมาย จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้าและการบริการที่สูงขึ้น ประกอบกับการปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าเสรี ของ World Trade Organization (WTO) จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิต และการตรวจสอบเพื่อออกใบรับรองที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

ปัจจุบันผู้คนจำนวนมากใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น สรรหาสินค้าที่ปลอดสารปนเปื้อนจากสารเคมี ซึ่งมาตรฐานที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคก็มีมากมาย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งในแต่ละประเทศล้วนแล้วมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน

วันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอหยิบยกมาตรฐานสินค้าในประเทศไทยที่มักจะเจอบ่อยมาเล่าสู่พี่น้องมิตรชาวไร่ได้ทราบว่า แต่ละมาตรฐานสินค้ามีความสำคัญอย่างไร

มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ

1. มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (Good Agricultural Practices: GAP)

เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ รวมถึงการขนส่งสำหรับพืชผล ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับการบริโภค เช่น พื้นที่ปลููก และน้ำที่ใช้ต้องสะอาด ไม่มีสารอันตรายปนเปื้อน การใช้วัตถุอันตรายต้องไม่เป็นสารต้องห้าม และต้องใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง การเก็บเกี่ยวต้องมีการวางแผนการผลิตที่ดี ในระยะเวลาที่เหมาะสม พร้อมกันนี้ สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันการปนเปื้อนของวัตถุอื่น ๆ ได้

มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ

2. มาตรฐาน Organic Thailand

มาตรฐานนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเกษตรอินทรีย์ที่เน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ โดยเน้นกระบวนการปฏิบัติ ในเรื่องการปรับปรุงดิน หลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบจากการสังเคราะห์ และไม่ใช้พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่ได้มาจากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรม มีการจัดการกับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวัง เพื่อรักษาสภาพการเป็นเกษตรอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน เกษตรอินทรีย์จึงช่วยเกษตรกรลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี โดยในขณะเดียวกันก็นำธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาการด้านการต้านทานโรค

มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ

3. มาตรฐานอาหารฮาลาล (Halal)

ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพตามศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลาม เพื่อการรับประกันให้ชาวมุสลิมสามารถบริโภคได้อย่างสนิทใจ โดยสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งชาติฮาลาลจึงเป็นมาตรฐานรับรองความสะอาดและปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้ทั้งชาวมุสลิมและผู้นับถือศาสนาอื่นด้วย ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม ก็ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค

มาตรฐานสินค้าเกษตร ต่าง ประเทศ

4. GMP (Good Manufacturing Practice)

มาตรฐานการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัยโดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค มาตรฐาน GMP ครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึก ข้อมููล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ

Hygiene) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย

ขอบคุณที่มา-รููปภาพ

วารสารมิตรชาวไร่ โดยคุณบุษยา พรมทา

https://www.chi.co.th/

https://farm.vayo.co.th/

https://www.chi.co.th/

https://thaiorganicvillagebydit.com/

https://www.mamafreshly.com/