จากแผนที่ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณใด

           11. ภูเขาไฟสามารถทำให้ดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า มีหลากหลายสีสัน อย่างเช่น การระเบิดของภูเขาไฟคาซาโตชิ (Kasatochi) ในอลาสกา เมื่อปี ค.ศ 2008 (พ.ศ.2551) คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับแสงสีส้มในยามดวงอาทิตย์ตก และมีเลื่อมปะการังหลากสีสะท้อนออกมาที่ดูแปลกตา ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดจากอนุภาคขนาดเล็กของเถ้าถ่านภูเขาไฟที่ลอยปะปนอยู่ในชั้นบรรยากาศ ไปทำให้รังสีของดวงอาทิตย์หักเห และสะท้อนแสงสีสันสวยงามออกมา

ในแผนที่ภูเขาไฟของโลก แสดงการกระจายตัวของแนวการเกิดแผ่นดินไหวด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวแผ่นดินไหวมีอยู่ 2 แนว ที่มีความสัมพันธ์กับแนวภูเขาไฟอย่างใกล้ชิด ความจริงดังกล่าวทำให้นักธรณีวิทยาส่วนมากยังเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทั้งสองนี้ จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่า แผ่นดินไหวเป็นสาเหตุแห่งการระเบิดของภูเขาไฟ หรือ/ และโดยมากไม่เคยมี 2 ปรากฏการณ์เกิดขึ้นพร้อมกันในบริเวณเดียวกัน (ยกเว้นในชิลี ปี ค.ศ. 1960 มีแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงเกิดขึ้น หลังจากนั้น 2 วัน กรวยภูเขาไฟขนาดเล็กชื่อ โวลแคน ปูเจฮู (Volcan Pujehue) ก็ปะทุขึ้นเงียบๆ) ดูเหมือนว่าปรากฏการณ์ภูเขาไฟและแผ่นดินไหวค่อนข้างจะเป็นพฤติกรรมแตกต่างกันของโลกที่แสดงออกเพื่อตอบสนองต่อแรงจำนวนมหาศาลที่มากระทำต่อโลกภายใน

จะเห็นได้ว่า แนวภูเขาไฟหลายๆ แนว ไม่ว่าจะมีจำนวนภูเขาไฟมากหรือน้อย ก็จะทับกันสนิท (ดังเช่นแนวแผ่นดินไหว) กับของของแผ่นเปลือกโลก (Plate) ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเหมือนชิ้นส่วนของรูปภาพจิกซอว์ (Jigsaw) ไกลออกไปจากขอบของแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวปรากฏการณ์ภูเขาไฟ และแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นน้อยลง บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนมาบรรจบกัน หินจะดัน และเลื่อนไถลผ่านกัน และนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาภูเขาไฟ (Volcanologist) เห็นว่า ความร้อนที่มีความสำคัญต่อการหลอมหิน และการผลิตหินหนืดเกิดขึ้นจากการปล่อยพลังงานที่เกิดจากแรงเสียดทาน ระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนที่ ดังนั้นอะไรก็ตามที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณเหล่านั้นด้วย ความแตกต่างประการหนึ่งระหว่างปรากฏการณ์แผ่นดินไหว และปรากฏการณ์ภูเขาไฟในบริเวณแผ่นเปลือกโลกมาชนกันคือ แผ่นดินไหว จะเกิดขึ้น ณ จุดที่ลึกลงไป 700 กิโลเมตร (435 ไมล์) ในขณะที่แหล่งของหินหนืดส่วนใหญ่แผ่กระจายไม่ลึกมากกว่าประมาณ 125 กิโลเมตร (78 ไมล์) และมีจำนวนไม่น้อยที่อยู่ตื้นกว่า แปซิฟิกริงออฟไฟร์ (The Pacific Ring of Fire) ปรากฏขึ้นในบริเวณเฉพาะแห่งของการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ภูเขาไฟที่เกิดร่วมกับแนวนี้ โดยปกติจะระเบิดอย่างรุนแรง เอาลาวาประเภทแอนดีไซท์ ไรโอไลท์ และหินชิ้นภูเขาไฟ (Pyroclastic rock) ออกมา ภูเขาไฟในบริเวณแถบเมดิเตอร์เรเนียน ที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ และในเทพนิยายก็เกิดขึ้นในแนวที่แผ่นเปลือกโลกมาชนกัน และปล่อยของผสมระหว่างลาวา และหินชิ้นภูเขาไฟให้ไหลออกมา ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นแอนดีไซท์ และไรโอไรท์จำนวนมาก ปรากฏการณ์ภูเขาไฟมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณแผ่นเปลือกโลกถูกดึงออกจากกัน (Divergence) บริเวณที่กล่าวถึงกันบ่อยพบในแอ่งมหาสมุทร ตั้งโดดเด่นเป็นแนวยาวสูงขึ้นจากพื้นผิวท้องมหาสมุทร สมมติว่าเทน้ำออกจากทะเลจนหมด จะเห็นเทือกเขากลางสมุทร (Oceanic ridge) และไรสซิสเต็ม (Rise – system) แนวทิวเขาที่เกือบจะต่อเนื่องกันนี้ลดเลี้ยวผ่านไปตลอดแอ่งมหาสมุทร์ ซึ่งบ่งถึงแนวที่มีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกัน ปรากฏการณ์ที่เปลือกโลกซึ่งเป็นหินแข็งเคลื่อนที่ดึงออกจากกัน หินหนืดขึ้นมาจากเบื้องล่าง และช่วยให้แทรกเข้ามาตามช่องว่างต่างๆ ปรากฏการณ์ภูเขาไฟก็จะเกิดขึ้นตามมา เนื่องจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟอยู่บริเวณใต้ผิวโลก เรายังไม่แน่ใจว่ามันเกิดอยู่ ณ จุดใด หรือเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน แต่บางบริเวณซึ่งน้อยมาก เช่น อะซอเรส (Azores) และไอซแลนด์ (Iceland) การปะทุทำให้เกิดโครงสร้างขึ้นเหนือแนวเทือกเขากลางสมุทร และโผล่ให้เห็นอยู่เหนือระดับน้ำในมหาสมุทร บริเวณดังกล่าวเราสามารถศึกษาธรรมชาติของภูเขาไฟ ที่เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกแยกตัวได้ ภูเขาไฟสามารถแบ่งออกอย่างง่ายภายใตัหลักเกณฑ์ที่ว่าเกิดสัมพันธ์กับแนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือออกจากกัน แต่มีบางกรณี เช่นภูเขาไฟของหมู่เกาะฮาวายเกิดขึ้นไกลจากศูนย์กลางของแนวแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวมาก ซึ่งก็ยังไม่มีผู้ใดเสนอสมมติฐานการกำเนิดที่ยอมรับได้ แต่ก็มีแนวความคิดหนึ่งที่น่าสนใจกล่าวว่าภูเขาไฟแบบนี้มีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณเหนือฮอทสปอท (Hot Spot) ที่อยู่บนเปลือกโลกชั้นนอกๆ มีลักษณะเหมือนยอดเปลวเทียนซึ่งเกิดจากการหลอมของหินเฉพาะบริเวณนั้น ส่วนแนวคิดที่อธิบายภูเขาไฟที่อยู่บริเวณขอบของรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่คือหินบริเวณนี้ต่อเนื่องลึกลงไปในชั้นเปลือกโลกมีวัตถุหลอมเหลวอยู่ รอยแตกดังกล่าวจึงเป็นช่องว่างให้วัตถุหลอมเหลวเคลื่อนขึ้นมายังผิวโลก ความจริงข้อมูลจากความไหวสะเทือน (Seismic data) น่าจะสนับสนุนต่อแนวความคิดแรกเป็นอย่างดี กล่าวคือพบว่าชั้นเปลือกโลกมีการหลอมเป็นบางส่วน ณ จุดที่อยู่ระหว่างความลึก 100 และ 250 กิโลเมตร ( 60 และ 155 ไมล์ ) อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถตัดสินใจว่าจะยึดแนวคิดอันใดอันหนึ่ง ระหว่างการอธิบายเหตุผลทั้ง 2 ประการได้ ทั้งนี้ยังมีรากเหง้าของแหล่งภูเขาไฟมีพลัง (Active volcano) ทั้งหลายอยู่มากมาย ที่วางตัวลึกหลายสิบ หรือหลายร้อยกิโลเมตรใต้ผิวโลก ดังนั้นจึงไม่อาจกำหนดเหตุผลเพื่ออธิบายลักษณะการกระจายตัวของภูเขาไฟได้อย่างชัดเจนในเวลานี้

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

        ภูเขาไฟระเบิดใกล้ชุมชนทำให้เกิดมหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่  แผ่นดินไหวทำให้อาคารพังพินาศ ถนนขาด และไฟไหม้เนื่องจากท่อแก๊สถูกทำลาย ธารลาวา กรวดและเถ้าภูเขาไฟที่ไหลลงมา (Pyroclastic flow) สามารถทับถมหมู่บ้านและเมืองที่อยู่รอบข้าง ถ้าภูเขาไฟอยู่ชายทะเล แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์กระจายตัวออกไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร ฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟสามารถปลิวไปตามกระแสลมเป็นอุปสรรคต่อการจราจรทางอากาศ แต่อย่างไรก็ตามภูเขาไฟระเบิดหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรณีแปรสัณฐาน ซึ่งหมุนเวียนธาตุอาหารให้แก่ผิวโลก ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงใช้ปลูกพืชพรรณได้งอกงาม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากปล่องภูเขาไฟ ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ธาตุอาหารด้วยแสง แมกมาใต้เปลือกนำแร่ธาตุและอัญมณีที่หายาก เช่น เพชร พลอย ขึ้นมา เป็นต้น และด้วยเหตุที่ภูเขาไฟนำมาซึ่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นชุมชนจึงมักตั้งอยู่ที่เชิงภูเขาไฟ 

ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณใด

4. ส่วนใหญ่แล้วภูเขาไฟมักเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก และแผ่นทวีป แต่ก็ยังมีภูเขาไฟอีกประเภท ที่เกิดขึ้นจากแมกมาไหลลงไปรวมตัวกันใต้พื้นโลก ซึ่งเรียกว่า "Hot Spot" เช่น ภูเขาไฟยักษ์ในอุทยานแห่งชาติเยลโล สโตน ประเทศสหรัฐอเมริกา

บริเวณที่เกิดภูเขาไฟและมีการศึกษากันมากที่สุดในโลกคือบริเวณใด

ตอบ 3 ประเภท 1) ภูเขาไฟแบบโล่ห์ 2) ภูเขาไฟแบบกรวยสลับชั้น 3) ภูเขาไฟแบบกรวยกรวด 8. บริเวณที่เกิดภูเขาไฟและมีจาก การศึกษากันมากที่สุดในโลกคือ บริเวณใด ตอบ หมู่เกาะฮาวาย

ภูเขาไฟมีที่ไหนบ้าง

1. ภูเขาไฟยาซูร์ – Mount Yasur, ประเทศวานูอาตู ... .
2. ภูเขาไฟโบรโม่ – Mount Bromo, ประเทศอินโดนีเซีย ... .
3. ภูเขาไฟโกโตปักซี – Cotopaxi, เอกวาดอร์ ... .
4. ภูเขาไฟกรากะตัว – Krakatoa, อินโดนีเซีย ... .
5. ภูเขาไฟอารีนอล – Arenal Volcano, คอสตาริก้า ... .
6. ภูเขาไฟเอ็ตนา – Mount Etna, อิตาลี ... .
7. ภูเขาไฟซากุระจิมะ – Sakurajima Volcano, ญี่ปุ่น.

ภูเขาไฟมีสาเหตุการเกิดจากข้อใดมากที่สุด

เกิดจากการปะทุของหินหนืด แก๊ส และวัสดุใต้พิภพ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในรูปของการเลื่อนตัวของหิน หรือการปะทุของภูเขาไฟ