วิทยานิพนธ์ ฉบับเต็ม เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อภาษาไทย

               วิทยานิพนธ์เรื่องศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโภควิภาค 4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของโภควิภาค 4  2) เพื่อศึกษาหลักการ วิธีการ และเป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อเปรียบเทียบหลักโภควิภาค  4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารคือคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ตลอดถึงเอกสาร ผลงานวิชาการ งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับหลักโภควิภาค 4 และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์

               ผลจากการศึกษาพบว่า

              หลักโภควิภาค 4 เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนการปฏิบัติให้ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์  โดยมีหลักการคือแบ่งทรัพย์เป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วนสำหรับใช้สอย 2 ส่วนสำหรับใช้ประกอบการงาน และอีก 1 ส่วนเก็บไว้สำหรับจะใช้ในยามมีอันตราย สำหรับวิธีการของโภควิภาคมีส่วนสัมพันธ์กับหลักธรรมอื่นๆ ได้แก่ ทิฏฐธรรมิกัตถะ 4 อิทธิบาท 4 จักร 4 กามโภคี 10 โภคอาทิยะ 5 กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ตังขณิกปัจจเวกณ์ 4 ปาปณิกธรรม 3 วณิชชา 5 และอบายมุข 6 และเป้าหมายของหลักโภควิภาคมี 2 ระดับ คือ 1) ระดับปัจเจกบุคคล คือ การดำรงชีวิตที่มั่นคงและเป็นอยู่อย่างอิสระหลุดพ้น  2) ระดับสังคม คือเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

               ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชตรัสประทานแก่ประชาชนชาวไทย ซึ่งประกอบด้วยหลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และหลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดี วิธีการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจัดสรรหรือแบ่งพื้นดินและแหล่งน้ำออกเป็นส่วนๆ คือ พื้นที่สำหรับขุดสระและเลี้ยงปลา สำหรับปลูกข้าว สำหรับปลูกพืชไร่พืชสวน และสำหรับที่อยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สะดวกต่อการทำการเกษตรอย่างประสมประสาน เป้าหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ระดับคือ 1) ระดับปัจเจกบุคคลคือ รู้จักพอ มีความรู้ ยึดทางสายกลาง เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ครอบครัวมีความอบอุ่น 2) ระดับสังคมหรือองค์กร คือ รวมกลุ่มใช้ภูมิปัญญาของชุมชน สังคม องค์กร เอื้อเฟื้อกันและกัน พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สังคมอยู่กันอย่างสามัคคี 3) ระดับประเทศ ชุมชนร่วมมือกัน วางระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป และเติบโตจากข้างใน เศรษฐกิจทั้งในภาคส่วนครัวเรือน สังคมและประเทศชาติมีความสมดุลเข้มแข็ง

               เปรียบเทียบหลักโภควิภาค 4 กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ด้าน คือ ด้านหลักการพบว่าทั้งหลักโภควิภาคและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีส่วนที่คล้ายคลึงกันคือเป็นการจำแนกทรัพย์เป็นส่วนๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ด้านวิธีการมีส่วนที่แตกต่างกันคือวิธีโภควิภาคต้องนำหลักธรรมหลายประการมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสม ส่วนวิธีการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจนแล้วดำเนินการตามนั้น และ ด้านเป้าหมายมีส่วนที่คล้ายคลึงกันคือมุ่งให้เกิดคุณค่าต่อการดำรงชีวิตที่มั่นคง ให้รู้เท่าทันและเป็นอิสระ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโภควิภาค 4 กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีวิธีการค่อนข้างต่างกัน แต่หลักการและเป้าหมายมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              Thesis : An analytical and Comparative Study of Four Consumption Divisions and Sufficiency Economy has four objectives, i) to study the principle. method, and goal of Four Consumption Divisions, i) to study the principle, means, and goal of Sufficiency Economy, iil) to compare Four Consumption Divisions and Sufficiency Economy, by studying information from Tipitaka of Thai version, documents, academic works, and research works about Four Consumption Divisions and Sufficiency Economy. Then bring data that obtain from study to analyze and synthesize.

             The results of research are

             The principle of Four Consumption Division is proclaimed by the Buddha about the right practice to assets. The assets should be divided into four parts as follows; on one part should be spent for the expenditure of oneself and others, two parts should be extended for one's business, and another one part should be kept for the hard time. The means of Four Consumption Division is related to other principles.

they are Ditthadhammikattha 4 i.e. virtues conductive to benefits in the present, Iddhipada 4 i.e. basis for success. Cakka 4 ie. virtues wheeling one to prosperity, Kam abhogi 6 ie. enjoyers of sensual pleasures, Bhoga-adiya ie. uses of possessions, of a wealthy family, Kula-ciratthiti-dhamma 4 1.e. reasons for lastingness Tangkanikapaccavekkhana 4 i.e. ideas to be constantly reviewed, Papanikadhamma 3

ie. qualities of a succes sful businessman, Vanijja 5 i.e. trades which should not be plied by a lay disciple, and Apayamukha 6 ie. causes of ruin. And the goal of Four Consumption Division has got two levels, comprising 1) individual level i.e. the stable life, and 2) social level i.e. living in peace.

             The philosophy of Sufficiency Economy is bestowed by His Majesty King Bhumibol Adulyadej to Thai people, concerning with moderation, reasonableness. and self-imm nunity. The means of the philosophy of Sufficiency Economy is to manage the soil and water into several parts, i.e. for making fish pond, for growing rice, for crops, and for human lodging and animal keeping. The goal of philosophy of

Sufficiency Economy has got three levels, comprising 1) individual level i.e. knowing mmoderation for self and family 2) social level ie. helping each other to develop society, and 3) national level ie. every economic part of society having cooperation to firmly develop economics.

             Comparison the principle of Four Consumption Division to the philosophy of Sufficiency Economy in three aspects; to the aspect of principle, it is found that they have got their similarity in asset management for the benefit of basic way of life; to the aspect of means, it is found that they are different i.e. the Four Consumption Division has to be applied with other suitable Dhammas but Sufficiency Economy has

to be materialized in practice; to the aspect of goal, it is found that they are similar for the stability of life, for knowing, and for freedom. Therefore, it can be summarized that both principle of Four Consumption Division and the philosophy of Sufficiency Economy have got difference in means but similarity in principle and goal.