เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

[ภาพรวม] : แพทย์ คือ ผู้ที่วินิจฉัยโรค ผ่านการตรวจร่างกาย เพื่อรักษา ฟื้นฟู และป้องกันผู้เข้ารักษาจากโรค แพทย์สามารถสั่งยา ให้การรักษาในหลากหลายรูปแบบ หรือแม้กระทั่งให้คำแนะนำ ความชำนาญของแพทย์สามารถแบ่งออกไปตามแผนกเฉพาะทาง เช่น จิตแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ รังสีแพทย์ ฯลฯ

[อนาคต] : Future Doctor

1. พัฒนาการของอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Changes in Equipment)

เทคโนโลยีในวงการแพทย์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีต และพัฒนามากขึ้น ซึ่งได้เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้เข้ารักษา อีกทั้งยังมีอัตราสูงที่จะรักษาสำเร็จ เพราะอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การทำงานของแพทย์ และพยาบาลง่ายขึ้น เพราะมีอุปกรณ์ที่วัดและตรวจร่างกายด้วยความละเอียดสูง ในอนาคต อุปกรณ์สวมใส่อัฉจริยะ (Smart Wearable) ต่างๆ จะเริ่มเป็นตัวช่วยให้แพทย์นั้นได้เก็บข้อมูลของผู้ป่วย เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ และวัดความดันเลือด

2. การก้าวหน้าของเทคโนโลยี (Technology Advancement)

หลายๆ อาชีพถูกส่งเสริม และแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มากขึ้น เช่นเดียวกับในอาชีพแพทย์ หุ่นยนต์กลายเป็นเครื่องมือในการช่วยผ่าตัด ลดขนาดของแผล และช่วยลดหย่อนเวลาในการฟื้นฟูของร่างกายได้ แต่ก็ยังมีทีมแพทย์ที่ค่อยติดตามและตรวจสอบ อนาคตนั้นแพทย์และพยาบาลนั้นจะมีสิทธิที่จะโดนแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือไม่? ตามความเป็นจริงนั้น หุ่นยนต์จะกลายเป็นเครื่องมือหลักของแพทย์ในอนาคต หุ่นยนต์จะทำงาน 80-90% ของงานที่แพทย์ในยุคปัจจุบันทำอยู่ เพื่อที่จะได้ให้เวลาแก่แพทย์ได้รักษา และวินิจฉัยคนไข้ท่านอื่นๆ ที่หุ่นยนต์ยังไม่สามารถรักษาได้

การปริ้นชิ้นส่วนของร่างกายโดยใช้เครื่องสามมิติ (3D Printer) จะช่วยชีวิตคนไข้มากขึ้น และช่วยทำให้อาชีพของแพทย์มีความคล่องเคล่วมากขึ้น เพราะชิ้นส่วนที่สร้างขึ้นมาสามารถปรับตามร่างกายของผู้ที่เข้ารับการรักษา และมีอัตราที่ร่างกายจะยอมรับอวัยวะส่วนนั้นมากกว่าที่จะรับจากคนอื่น (Incompatible Organ Transplant)

3. การพบแพทย์ และเยี่ยมญาติ (Appointment and Visitation)

การพบแพทย์ในหลายๆครั้งคนไข้ต้องเข้าไปที่โรงพยาบาลเพื่อที่จะนัดคุณหมอเพราะทำการตรวจร่างกาย หรือรักษาโรคต่างๆ แต่สิ่งเหล่านั้นจะหายไป คนไข้จะสามารถกรอกข้อมูล และทำการเช็คอินมาจากทางบ้านได้เลยโดยไม่ต้องรอที่โรงพยาบาล

ในหลายๆเคส เช่นตอนเริ่มต้นของโควิด-19 นั้น ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษานั้นจะไม่ได้รับอนุญาติให้ญาติเข้าไปเฝ้าหรือเยี่ยม และยังมีหลายๆเคสที่เป็นเช่นนั้น การให้ข่าวแก่ญาตินั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่กำลังพัฒนานั้น แพทย์จะสามารถแชร์ข้อมูลให้ญาติได้ รวมทั้งให้มีการติดต่อแก่คนไข้แบบเรียลไทม์

4. การดูแลผู้ป่วยจากทางบ้าน (Virtual Advice)

ด้วยระบบเรียลไทม์ที่ข้อมูลจากสมาร์ทโฟนไปให้คุณหมอนั้น ผู้ป่วยจะไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปพบแพทย์โดยตรงแต่ผ่านระบบการพูดคุยผ่านวิดีโอคอล ที่จะเชื่อมต่อคุณหมอและคนไข้ ทั้งนี้ทั้งนั้น เป็นการประหยัดเวลาให้ทั้งสองฝ่าย เพราะแพทย์จะเก็บข้อมูลผ่านระบบ และให้คำแนะนำต่างๆ ทั้งด้านเรื่องการใช้ยา การออกกำลังกาย การกิน และอื่นๆอีกมากมาย รวมถึง ประวัติของผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงได้จากที่บ้าน หากจำเป็นต้องใช้ยาระบบ AI จะทำการรันข้อมูลให้แพทย์ และแพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อคนไข้ ผู้ป่วยบางรายจะมีหุ่นยนต์ส่วนตัวที่เก็บข้อมูลจากที่บ้านโดยตรง และจะส่งสัญญาณเพื่อให้คนไข้รับรู้เมื่อมีการตรวจพบสิ่งที่ผิดปกติของร่างกาย

ตัวอย่าง Video เทคโนโลยีของแพทย์ :

“ทุกการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสใหม่ๆ ให้คนที่แสวงหามันเสมอ” – #Adaptivity

Source : Software Advice , Telegraph , Deloitte Insight , McKinsey

Written by

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

Angely Schaffter

Technology never ceases to amaze me. My knowledge and thoughts are what I want to share - the digital era is everything.

บทความงาน > การทำงาน > เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) เทคโนโลยีสุขภาพเพื่ออนาคต

เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) เทคโนโลยีสุขภาพเพื่ออนาคต

  • 22 September 2021

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

           สุขภาพ กลายมาเป็นเรื่องที่ถูกยกความสำคัญขึ้นมาเป็นอันดับต้น ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากเทรนด์การรับประทานอาหารสุขภาพ การออกกำลังกาย ที่นับวันจะมีแต่คนให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครก็อยากมีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาว วงการการแพทย์เองก็ได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งมาโดยตลอด เห็นได้จากตลาดเครื่องมือแพทย์จากทั่วโลกที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าร้อยละ 6.4 ต่อปี ยิ่งพอก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้การรักษาและเครื่องมือการแพทย์ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการ Digital transformation อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็น Medical Technology หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “MedTech” ที่บุคลากรทางการแพทย์และคนที่สนใจสามารถนำความรู้ทางเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดอาชีพทางการแพทย์ได้อย่างไม่หยุดยั้ง

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

           MedTech คืออะไร

           Medical Technology หรือ MedTech คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านการแพทย์ให้กับผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยโรค การรักษา การติดตามอาการ ไปจนถึงการประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะในแล็ปด้วยเครื่องตรวจที่ทันสมัย เอ็กซ์เรย์ร่างกาย CT scan หรือ MRI ล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตจาก Medical Technology ทั้งนั้น

           ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาที่ดีขึ้นกว่าเดิมและก้าวเข้าสู่โลกสุขภาพแห่งอนาคต

 

           ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับวงการแพทย์

           AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถูกวางเป้าหมายให้เป็นตัวช่วยในการเก็บข้อมูลและให้ข้อมูลต่าง ๆ ของทั้งผู้ป่วย และข้อมูลทางการรักษาแก่บุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และ AI ยังถูกเอามาใช้เพื่อให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง ในระยะเวลาที่สั้นกว่าเดิมอีกด้วย

           ด้วยความสามารถในตอนนี้ AI มีศักยภาพที่จะทำให้แพทย์หรือนักวิจัยสามารถเรียกดูข้อมูลการแพทย์และข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยผ่านระบบที่เรียกว่า EHRs ซึ่งเป็นบันทึกข้อมูลสุขภาพดิจิทัล ที่รวมประวัติการรักษา ข้อมูลการตรวจและวินิจฉัยโรค แล็ปที่ตรวจ เครื่องมือที่ใช้รักษา เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลของผู้ป่วยและการรักษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ถูกบันทึกไว้บน cloud service ทำให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบ real-time ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

           ที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ และยังมีระบบที่ช่วยวิเคราะห์หาโซลูชันผ่านคลังข้อมูล การจดจำแบบแผน และการเรียนรู้ของ AI ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการหาคำตอบเพื่อใช้ในการรักษาและวินิจฉัยโรคให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิมด้วย

           ตัวอย่างของ AI ที่ถูกนำมาใช้จริงแล้วในวงการแพทย์ก็คือ การพัฒนาเครื่องอัลตราซาวด์ 3 มิติแบบมือถือ จากการพัฒนาของบริษัท startup ที่มีชื่อว่า Butterfly Network ซึ่งสามารถถ่ายทอดภาพอัลตราซาวด์แบบ 3D ออกมาแบบ real-time และอัปโหลดข้อมูลไปบน cloud service ทำให้การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้ทุกที่ และมีระบบที่ช่วยจำแนกลักษณะและวินิจฉัยภาพอัตโนมัติ

           นอกจากนี้ AI ยังถูกเอามาใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้ป่วย ด้วยระบบการจดจำใบหน้าและซอฟต์แวร์ที่ช่วยตรวจจับความเคลื่อนไหว ทำให้แพทย์สามารถทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว พร้อมกับมีความแม่นยำในการรักษามากขึ้น

 

           Blockchain ที่ไม่ได้ใช้กับสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

           เทคโนโลยี Blockchain ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ในแง่ที่เข้ามาช่วยจัดทำระบบการเก็บข้อมูลทางการแพทย์เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นส่วนตั้งต้นให้กับ EHRs เทคโนโลยี AI ที่กล่าวไปแล้วในส่วนของการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค การรักษา การเก็บข้อมูลสุขภาพผ่าน smart health device ต่าง ๆ และที่สำคัญก็คือการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของผู้ป่วยที่ถูกนำไปอัปโหลดขึ้นบน cloud service ทั้งหลาย

           การทำงานเป็นไปในรูปแบบที่เจ้าของข้อมูลจะเป็นผู้ถือ Private Key หรือกุญแจส่วนตัวที่ใช้ถอดรหัสข้อมูลของตัวเอง และสามารถเลือกให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ และมีการบันทึกทุกรายการอัปเดตและการเข้าถึงข้อมูลไว้บน Blockchain ด้วย ทำให้การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยสามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยของข้อมูล

           มีการนำ Blockchain มาใช้จริงแล้วใน MedRec ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบการจัดการ EHR ระหว่างผู้ป่วยกับสถานพยาบาลด้วย Blockchain เป็นโครงการนำร่องในอเมริกา ที่จัดเก็บข้อมูลอย่าง ผลตรวจเลือด ประวัติการได้รับวัคซีนและการจ่ายยา รวมถึงประวัติการบำบัดรักษา และแม้ว่าโครงการนี้จะอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดีมากและสามารถนำไปต่อยอดใช้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ทั่วประเทศอเมริกา

 

           ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและอวัยวะ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ

           เราได้ยินเรื่องเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมานาน แต่รู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้ 3D Printing ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มาสักพักหนึ่งแล้ว มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการแพทย์จะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญภายในปี 2025 โดยมีบริษัทที่เป็นผู้นำในเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้ คือ Stratasys Ltd., Arcam AB, Organovo Holdings Inc., Johnson & Johnson Services Inc. และ Stryker20

           เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ถูกใช้ในการพิมพ์โครงเลี้ยงเซลล์ การพิมพ์กระดูกเทียมที่ใช้ในการผ่าตัดใส่กระดูกเทียม รวมไปถึงการพิมพ์ฟันปลอม หรือการพิมพ์แบบพิมพ์หูที่ใช้สำหรับเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละคนมากขึ้น

           นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องพิมพ์ 3D ในการพิมพ์สร้างเนื้อเยื่อและอวัยวะขนาดเล็กที่เอาไปใช้ในการผ่าตัดซ่อมแซมและปลูกถ่ายอวัยวะที่เสียหาย ซึ่งสามารถเติบโตและทำงานในร่างกายได้จริง และยังถูกนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถพิมพ์อวัยวะขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อการผ่าตัดรักษาอวัยวะที่เสียหายได้โดยที่ไม่ต้องรอรับบริจาคเพียงอย่างเดียว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มขีดจำกัดการรักษาและช่วยชีวิตคนได้อย่างมาก

 

           หุ่นยนต์ ตัวช่วยใหม่ที่สำคัญในวงการแพทย์

           หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์เป็นเวลานานแล้ว แมีมูลค่าทางการตลาดสูง และพร้อมเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากงานวิจัยของ Credence Research พบว่า ในปี 2015 หุ่นยนต์ทางการแพทย์มีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 7,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2023

           มูลค่าตลาดของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่คาดว่าจะเติบโตมากเกือบ 3 เท่า ก็เป็นเพราะมีความต้องการที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้ในการแพทย์เพื่อลดการแพร่เชื้อโรคในระหว่างผ่าตัด ลดการติดต่อของโรคระบาด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยในระยะรักษาหรือกายภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยพิการ เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคและการรักษาให้กับแพทย์ รวมไปถึงใช้ในงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย นำส่งยา ใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางไกลผ่านระบบ remote monitoring system ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ง่าย รวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

           มีการนำหุ่นยนต์มาใช้จริงแล้ว เช่น

  • หุ่นยนต์ผ่าตัดที่มีกล้องใช้ส่องขยายรายละเอียดอวัยวะและส่งภาพ 3D มาให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดด้วยแขนกลที่ตัวหุ่นยนต์ผ่านการสั่งการและควบคุมกลไกที่ console ซึ่งมีระบบแสดงผล กรองข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการผ่าตัด
  • หุ่นยนต์เสริมการรังสีวินิจฉัย ที่ช่วยในการฉายแสงสู่อวัยวะให้ตรงจุด เพื่อรักษาที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำตรงจุด โดยการลดรัศมีของอวัยวะอื่นโดยรอบที่จะโดนรังสี รวมไปถึงหุ่นยนต์ที่ช่วยฟื้นฟูบำบัดผู้ป่วยทางสมอง หุ่นยนต์เสริมสมรรถนะและแขนขาเทียมอัจฉริยะที่ใช้ในผู้พิการ

           จะเห็นได้ว่า MedTech เปลี่ยนโลกมาได้ในระดับหนึ่งแล้ว และยังจะถูกพัฒนาขีดความสามารถเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและโอกาสในการรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้นกว่าเดิมอยู่ตลอดเวลา หากไม่อยากตกขบวนรถไฟสู่โลกสุขภาพแห่งอนาคต มาเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเรียนคอร์สออนไลน์ MedTech: AI and Medical Robots จาก Futurelearn ที่จะพาคุณไปรู้จักเทคโนโลยี AI และ Medical Robots ที่ใช้ใน MedTech เป็นการเพิ่มความสามารถและสร้างโอกาสในอาชีพทางการแพทย์ของคุณ ไม่ให้ตกเทรนด์สุขภาพแห่งโลกอนาคต

           สำหรับใครที่กำลังมองหางานที่เกี่ยวข้อง MedTech สามารถค้นหางานที่ตรงใจได้ง่ายๆ ที่แอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลกยุคดิจิทัลที่คนไอทีต้องรู้
รู้ลึกก่อนใคร 10 เทรนด์ด้านเทคโนโลยีสำหรับ 2021 ที่ใคร ๆ ก็เรียนได้
Silicon Valley หุบเขาแห่งเทคโนโลยี แหล่งผลิตคนไอที หัวกะทิ
เรียนจบไอที หรือจบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำงานอะไรได้บ้าง

Blockchain  Cloud  Digital Transformation  FutureLearn

บทความยอดนิยม

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

ตำแหน่ง Data Engineer คืออะไร? ต้องทำอะไรบ้าง

ยุคที่สายงานด้าน Tech เติบโตอย่างรุ่งเรืองแบบก้าวกระโดด จะเห็นได้ว่ามีชื่อตำแหน่งงานใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิด...

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล จากการทำแบบสำรวจความคิดเห็นของท่านที่มีต่อแบรนด์ JobsDB

ผู้ได้รับรางวัล Starbucks Card มูลค่า 400 บาท อันดับที่ 1-100     ลำดับที่ 1-50 ชื่อ-สกุล ลำดับที่......

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

ทำไมบริษัทเทคต้องสนใจเรื่อง Sustainability

ช่วงหลังมานี้หลายคนคงได้ยิน หรือเริ่มตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องความยั่งยืน หรือ Sustainability กันมากขึ้น ด้วยความที่สิ่ง...

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

คำค้นหายอดนิยม

สัมภาษณ์งาน

หางาน

สมัครงาน

การเขียนเรซูเม่

การทำงาน

เรซูเม่

 HR 

COVID-19

แรงบันดาลใจในการทำงาน

ตัวอย่างเรซูเม่

คำถามสัมภาษณ์งาน

สัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ

นักศึกษาจบใหม่

เงินเดือน

อาชีพเงินเดือนสูง

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

เทคโนโลยีทางการแพทย์ในอนาคต

สยามพิวรรธน์ ปฏิรูปองค์กรผลักดันธุรกิจสู่ดิจิทัล ด้วยพลังของคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างสรรค์ผลงานระดับ Talk of the world

เทคโนโลยีการแพทย์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร

หุ่นยนต์เพื่อตรวจคัดกรอง วินิจฉัย รักษา และผ่าตัด เช่น หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด หุ่นยนต์เสริมการรังสีวินิจฉัย หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์และคัดกรองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์เสริมสมรรถนะคนพิการ หุ่นยนต์บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยทางสมอง แขนขาเทียมอัจฉริยะเป็นต้น

เทคโนโลยีที่แพทย์ใช้ในการทํางาน มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีทางการแพทย์.
เครื่องตรวจอัลตร้าซาวนด์ ... .
ศัลยกรรมผ่าตัดส่องกล้อง หรือศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง แผลเล็ก ... .
การผ่าตัดส่องกล้องทางกระดูกและข้อ ... .
ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ... .
ศูนย์ปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) ... .
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 128 Slice (CT Scan).

เทคโนโลยีสุขภาพในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

10 ตัวอย่างนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ ในยุคโควิด-19 ระบาด.
1. โดรนขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ ... .
2. ResMed ใช้งานการมอนิเตอร์การใช้เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) บนคลาวด์ ... .
3. แอปพลิเคชั่น ​Docdot สามารถตรวจจับโควิด-19 ได้จากระยะไกล ... .
4. Tytocare ใช้หูฟังทางการแพทย์แบบใหม่เพื่อมอนิเตอร์ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงกักตัว.

ประโยชน์ของเทคโนโลยีด้านการแพทย์มีอะไรบ้าง

'เทคโนโลยีทางการแพทย์' คือ วิทยาการอันก้าวล้ำหน้า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการนำเอาวิทยาศาสตร์ มาผสมผสานพร้อมประยุกต์ใช้ได้อย่างยั่งยืน โดยมีจุดประสงค์อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการแพทย์ เช่น การตรวจ , การรักษาพยาบาล ตลอดจนการป้องกันโรคด้วยวิธีต่างๆ ทำให้การพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทาง ...