เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

เว็บไซต์นี้ใช้งานคุกกี้ ในการใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์นี้จะมีเก็บค่าคุกกี้ เพื่อให้การใช้งานเว็บไซต์ของท่านเป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น จึงขอให้ท่านรับรองว่าท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายการใช้งานคุกกี้ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GISTDA ตกลง

                ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเชิงคุณลักษณะและสัมพันธ์กันกับข้อมูล เชิงพื้นที่ ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลชนิดอื่นๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างแผนที่ รายงาน จัดเก็บบันทึก และอธิบายข้อมูลอ้างอิงตำแหน่งที่ตั้งเพื่อใช้ในการวางแผนอย่าง มีระบบ     

เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ พ.ศ.2503 เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อใช้ในกิจการทางทหาร และเมื่อดาวเทียม LANDSAT ได้ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลก เพื่อสำรวจทรัพยากร และพื้นที่บนโลก

เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลจึงเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลักการทำงานของ รีโมตเซนซิ่ง คือ การใช้คุณสมบัติของการสะท้อนของคลื่น และการปลดปล่อยพลังงานของวัตถุมาประยุกต์ใช้ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิด มีการตอบสนองการสะท้อนของคลื่นและการปลดปล่อยพลังงานแตกต่างกัน

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

การนำการรับรู้ระยะไกลมาใช้มีหลักการ ดังนี้
1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จากแหล่งพลังงานธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตย์ แหล่งพลังงานที่สร้างจากดาวเทียม เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก พลังงานดังกล่าวจะมีปฏิกิริยากับบรรยากาศและพื้นผิวโลก ดาวเทียมบันทึกการสะท้อน หรือ การเปล่งรังสีของพื้นโลก จะส่งข้อมูลตัวเลขมายังสถานนีรับทางภาคพื้นดิน

2. พลังงานจากพื้นโลก
ถุกบันทึกด้วยอุปกรณ์ข้อมูลที่ติดตั้งในตัวยาน แล้วถ่ายหอดไปยังสถานีรับภาคพื้นดิน เพื่อผลิตข้อมูลในรูปของภาพและข้อมูลเชิงตัวเลข

3. การตีความและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อสนเทศ
ข้อมูลที่ได้บันทึกด้วยดิจิทัล อยู่ในรูปของภาพถ่าย จะถูกนำมาวิเคราะห์ ซึ่งทำได้ด้วยการแปลด้วยสายตาหรือการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

3. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System :GPS)

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือ Global Positioning System : GPS ซึ่งถ้าแปลให้ตรงตัวแล้วคือ “ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก” ระบบนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดทำโครงการ Global Positioning System มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยอาศัยดาวเทียมและระบบคลื่นวิทยุนำร่องและรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง โดยแบ่งเป็นชุด ชุดละ 4 ดวงโดยทำการโคจรอยู่รอบโลกวันละ 2 รอบ และมีตำแหน่งอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูง 20,200 กิโลเมตร

องค์ประกอบหลักของ GPS
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ (Space segment) ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และส่วนผู้ใช้ (User segment)

1. ส่วนอวกาศ(Space segment)
เป็นส่วนที่อยู่บนอวกาศ ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวง โดยมี 21 ดวง แบ่งเป็น 6 วงโคจร วงโคจรละ 4 ดวง อยู่สูงจากพิ้นดินประมาณ 20,200 กิโลเมตร ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากอวกาศ

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

2.ส่วนสถานีควบคุม(Control segment)
ประกอบไปด้วยสถานีภาคพื้นดินที่ควบคุมระบบ ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยแบ่งออกเป็นสถานีควบคุมหลัก ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศในเมืองโคโลราโดปสริงส์ (Colorado Springs) มลรัฐโคโรลาโดของสหรัฐอเมริกาสถานีติดตามดาวเทียม 5 แห่ง ทำการรังวัดติดตามดาวเทียมตลอดเวลา สถานีรับส่งสัญญาณ 3 แห่ง

3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)
ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องรับจีพีเอส GPS ซึ่งมีหลายขนาด สามารถพกพาติดตัวหรือ จะติดไว้ในรถ เรือ เครื่องบินก็ได้

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

ความรู้เพิ่มเติม
ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite)
เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เทคโนโลยี สารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ

ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิด ประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจาก ภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ “ไทยคม” (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์มีอะไรบ้าง

คือ ศาสตร์สารสนเทศที่เน้นการบูรณาการเทคโนโลยีทางด้านการสารวจ การทาแผนที่ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เข้าด้วยกัน เพื่อศึกษา เกี่ยวกับพื้นที่บนโลก ประกอบด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) การรับรู้จากระยะไกล (RS) และระบบกาหนดต าแหน่งบนพื้นโลก (GPS) เทคโนโลยีทั้งสามประเภทนี้สามารถทางานเป็นอิสระต่อกัน หรือสามารถน ามา ...

เทคโนโลยีภูมิศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญต่อการศึกษาโลกและ ปรากฏการณ์บนโลกอย่างยิ่งเพราะช่วยให้มองเห็นภาพของ โลกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากโลกมีพื้นที่กว้างขวาง ทําให้มี ความหลากหลายทางสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในแต่ละบริเวณ การทําความเข้าใจจึงต้องใช้ เครื่องมือช่วย

เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ มีอะไรบ้าง

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์คือสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูล ทางด้านภูมิศาสตร์เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่สาคัญ ได้แก่แผนที่ลูกโลก เข็มทิศ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม

เทคโนโลยี 3 S คืออะไร มีองค์ประกอบอย่างไร

โดยเทคโนโลยี 3S ทางด้านภูมิศาสตร์ ประกอบด้วยเทคโนโลยี 3 อย่างที่ประยุกต์ทำงานร่วมกันคือ เทคโนโลยี Geographic Information System: GIS (ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์) เทคโนโลยี Remote Sensing: RS (การสัมผัสจากระยะไกล) เทคโนโลยี Global Positioning Satellite: GPS (การหาพิกัดด้วยดาวเทียม)