โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแน่นอนว่า จะต้องมีฝ่ายถูกและฝ่ายผิด ในเหตุการณ์ครั้งนั้นเสมอ แต่คงไม่มีใครตั้งใจอยากให้เกิดขึ้น และหากเราโดนคู่กรณีเอาเปรียบหรือหัวหมอใส่ เช่น เรียกค่าทำขวัญทันทีในจำนวนที่มากเกินเหตุ เราควรจะรับมืออย่างไร วันนี้ ANC InsurTech มีคำแนะนำมาฝากกัน เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือและแก้ปัญหาค่ะ

Show

โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

วิธีรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้วเจอคู่กรณีหัวหมอ มีดังนี้

  • อันดับที่ 1 การมีสติ เพราะหากเรามีสติ เราจะไม่ตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นั้น ๆ และจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยดีอีกด้วย แต่หากเหตุการณ์นั้นคือ อุบัติเหตุจากรถยนต์ สิ่งที่ต้องมีนอกเหนือจาก สติ ก็คือ ประกันรถยนต์ นั่นเอง
  • อันดับที่ 2 เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น เราควรเช็คดูก่อนว่ามีผู้บาดเจ็บไหม เพราะเราจะต้องโทรแจ้งโรงพยาบาล เพื่อขอความช่วยเหลือดูแลผู้บาดเจ็บ
  • อันดับที่ 3 รถยนต์ที่มีประกัน จะต้องโทรแจ้งบริษัทประกันทันที พร้อมกับระบุข้อมูลของอุบัติเหตุ เช่น
  1. แจ้งข้อมูลส่วนตัว พร้อมกับระบุเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

  2. ตรวจเช็คสภาพรถของเราหลังจากเกิดเหตุ พร้อมกับถ่ายภาพความเสียหายเอาไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

  3. อุบัติเหตุครั้งนี้มีคู่กรณีหรือไม่ และมีข้อมูลคู่กรณีไหม เลขป้ายทะเบียน, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้, รายละเอียดกรมธรรม์ และใบขับขี่หรือบัตรประจำตัวอื่นๆ ฯลฯ

หลังจากนั้นรอเจ้าหน้าที่ประกันภัยเดินทางมาที่เกิดเหตุ

โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

  • ขณะที่รอเจ้าหน้าที่ประกันภัย

หากคุณเป็นฝ่ายถูก ที่จอดรถอยู่ดี ๆก็ถูกชน และคู่กรณีดูเหมือนจะเจรจาไม่ดี ทางเราอยากให้คุณอย่าพึ่งวู่วาม ควรที่จะรอเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาต่อรองจะเป็นการดีที่สุด

และหากคุณเป็นฝ่ายผิดในกรณีนี้ เช่น ไปชนท้ายผู้อื่น และเจอคู่กรณีหัวหมอ ขอค่าทำขวัญทันทีโดยอ้างว่าจะได้ไม่เสียเวลา เราควรที่จะเจรจาดี ๆ เสียก่อนให้คู่กรณีรอทางเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาไกล่เกลี่ย เพราะหากสุดท้ายจะต้องเสียค่าทำขวัญ เราจะยังมีหลักฐานที่ทั้งเป็นเอกสาร และ พยานบุคคลนั่นเอง

  • กรณีที่เราไม่มีประกันรถยนต์

จะต้องแจ้งความลงบันทึกประจำวัน และ ตกลงกับคู่กรณีด้วยตัวเอง กรณีที่เราไม่ผิดแนะนำให้เก็บหลักฐานให้เยอะที่สุด เช่น ภาพ วิดีโอ หรือ พยาน (หากคู่กรณีมีประกันภัยก็จะต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่ประกันภัยเพื่อตกลงค่าเสียหายและอื่น ๆ พร้อมกับเจรจาปราณีประนอม)

หรือถ้าไม่มีประกันรถยนต์ทั้งคู่ตรงนี้จะต้องเดินทางไปโรงพักเสียค่าปรับเบื้องต้น พร้อมกับเจรจาค่าเสียหายต่อรองกันเองตามความเหมาะสม นั่นเอง

หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรกับรถยนต์ การทำประกันรถยนต์ไว้ ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพราะทางประกัน จะช่วยดูแล ทั้งการซ่อม หรือเจรจาต่อรอง และคุ้มครองค่าใช้จ่ายให้คุณอีกด้วย สนใจทำประกันรถยนต์ คลิกเลย

ทนายรัชพล ศิริสาคร โพสต์ข้อความกรณี "การเรียกค่าทำขวัญหรือค่าตกใจ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ" ว่าสามารถเรียกได้ไหม

ทนายรัชพล ศิริสาคร ประธานชมรมสนับสนุนการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม แห่งเพจ สายตรงกฎหมาย โพสต์ข้อความกรณี "การเรียกค่าทำขวัญหรือค่าตกใจ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ" ว่าสามารถเรียกได้ไหม และเรียกเท่าไหร่ดี โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ 

 

การเรียกค่าทำขวัญ หรือค่าตกใจ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เราจะเรียกได้ยังไงและเรียกเท่าไรดี?

 

จริงๆ แล้ว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเราจะเรียกค่าเสียหายอะไรเท่าไรก็เรียกไป ส่วนคู่กรณีจะให้หรือไม่ ก็ต้องตกลงกันเอง ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่อง ต้องไปฟ้องศาลเอา ซึ่งโดยทั่วไป ค่าทำขวัญหรือค่าตกใจ ควรจะเรียกรวมอยู่ในค่าเสียหายไป เพราะถ้าไปบอกว่า ขอเรียกค่าตกใจ คงไม่มีใครจ่าย

 

ค่าตกใจถามว่าเรียกได้มั้ย เคยมีคดีตัวอย่าง คือ หมาอัลเซเชียนไปกัดคน โจทก์ขอค่าตกใจจากเหตุการณ์ที่โดนหมากัด จำเลยดันไม่โต้แย้ง ศาลจึงเห็นว่า เชื่อว่าโจทก์ได้รับความตกใจมาก ทั้งอันตรายและความทุกข์ทรมานที่ได้รับก็ไม่ใช่เล็กน้อย จึงให้จำเลยชดใช้ค่าตกใจให้โจทก์ (ฎ2488/2523)

 

นี่เป็นคดีตัวอย่างเลย ทำให้เห็นได้ว่า เราสามารถเรียกค่าตกใจได้ แต่ก็ไม่เสมอไป ถ้าไม่ได้เสียหาย แต่อยากได้เงิน จะไปเรียกค่าทำขวัญหรือค่าตกใจคงไม่ได้หรอก เพราะปกติเค้าเรียกค่าเสียหาย ที่เสียหายจริงๆ ตามสมควรเท่านั้นเอง

ใช้รถใช้ถนนอยู่ทุกวันย่อมมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ต่อให้ไม่ประมาทก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้ เช่น ขับรถหน้าฝน เบรครถยนต์ขัดข้อง ส่งผลให้รถยนต์ประสานงากันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ต่างฝ่ายต่างต้องเสียขวัญแน่ๆ เพราะมันเกิดขึ้นเร็วจนไม่ทันตั้งตัว ทำให้เงินติดล้อสงสัยขึ้นมาว่าในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด แล้วคู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญต้องทำยังไงดี ประกันรถจะจ่ายไหม?

โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

รถชนแล้วเป็นฝ่ายผิด คู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญ จัดการยังไงดี?

เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นก็ต้องมีฝ่ายถูกและฝ่ายผิดอยู่แล้ว เหตุการณ์นี้เรื่องจะง่ายขึ้นมากถ้าคุณมีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแล้วแจ้งเรื่องไปยังบริษัทประกันเพื่อให้ส่งเจ้าหน้าที่ประกันมาไกล่เกลี่ยให้ ซึ่งถ้าทุกอย่างมันราบเรียบก็คงจบลงได้สวยๆ แต่ถ้าเกิดว่าคู่กรณีเรียกร้องค่าทำขวัญจากอุบัติเหตุ จะทำยังไงดี?

คุณที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้คงคิดหาทางออกไม่ได้ สติหลุดไปโดยปริยาย เงินติดล้อขอให้คุณตั้งสติให้ดีๆ อีกครั้งแล้วบอกไปเลยว่า “รอเจ้าหน้าที่ประกันมาจัดการดีกว่า” เพราะถ้าเกิดว่าคุณเจอคู่กรณีหัวหมอ เรียกร้องค่าทำขวัญเกินกว่าความเป็นจริง มีแต่เสียกับเสียนะครับ ให้เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันมาไกล่เกลี่ยดีที่สุด

ซึ่งระหว่างนั้นคุณสามารถถ่ายรูปหรือวิดีโอของรถยนต์ที่เสียหาย บรรยากาศโดยรอบเก็บเอาไว้ในเบื้องต้นด้วยก็จะดีมาก หรือถ้ามีกล้องหน้ารถก็สามารถใช้ไฟล์นั้นได้เลย เพื่อนำเรื่องไปไกล่เกลี่ยกันอีกที ถ้าเกิดว่าคู่กรณีจะเล่นแร่แปรธาตุหัวใสเอาเปรียบคุณจากการขับรถชนกันครั้งนี้ คุณก็ยังมีหลักฐานเพื่อยืนยันนั่นเองครับ

ถ้าเกิดว่ารถชนกันแล้วไม่มีประกันรถยนต์ทั้งคู่ เงินติดล้อแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุดคือนำรูปถ่ายหรือวิดีโอต่างๆ ที่ได้ถ่ายไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ไปเจรจาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อหน้าคนกลางอย่างตำรวจ เพื่อจะได้จ่ายค่าเสียหายอย่างเหมาะสม รวมไปถึงคุยเรื่องค่าทำขวัญที่คุณถูกเรียกร้องจากคู่กรณีอีกด้วย

สรุปว่าค่าทำขวัญที่คู่กรณีเรียกร้องมา คุณที่เป็นฝ่ายผิดจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ ในกรณีที่จะจ่ายก็ให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แล้วรวมไปในค่าเสียหายที่คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้ตามความคุ้มครองของประกันรถยนต์​ แต่ถ้าคุณจะไม่จ่ายเพราะรู้สึกว่าเกินไป ก็สามารถฟ้องร้องแล้วไปขึ้นโรงขึ้นศาลได้เลยครับ

โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

รู้ไว้ไม่เสียหาย! ถ้าขับรถชน คู่กรณีจะเรียกร้องอะไรจากคุณบ้าง

จากการสืบค้นข้อมูล เงินติดล้อพบว่าไม่มีค่าทำขวัญตามกฎหมายไม่ได้มีเขียนเอาไว้เลย แต่ค่าทำขวัญหรือค่าตกใจที่เรียกกันจนติดปากนั้น เวลาต้องจ่ายให้คู่กรณีจะถูกรวมไปอยู่ใน “ค่าเสียหาย” ดังนั้น เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ขับรถชนแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด นี่คือสิ่งคู่กรณีมีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายต่างๆ จากคุณ

ค่าเสียหายของยานพาหนะจากอุบัติเหตุรถชน

เมื่อมีอุบัติเหตุรถชนกันยานพาหนะก็ต้องเสียหายอยู่แล้ว ซึ่งคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกจะเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับยานพาหนะทันที ถ้าคุณไม่มีประกันรถยนต์ก็ต้องคุยให้รู้เรื่องว่าจะทำเงินมาชดใช้ค่าเสียหายเมื่อไหร่ แต่ถ้าคุณมีประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือประกันรถชั้น 3+ ก็รอให้เจ้าหน้าที่ประกันไปถึงที่เกิดเหตุแล้วค่อยทำการไกล่เกลี่ยค่าเสียหายจากยานพาหนะในลำดับถัดไป

ค่ารักษาพยาบาลและค่ารักษาตัวของคู่กรณีหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถชน

ซื้อรถยนต์ก็ต้องซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์มาคู่กันด้วย เพราะเป็นประกันรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ให้รถทุกคันต้องมี แต่เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมาความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์อาจไม่พอ ซึ่งประกันรถยนต์ภาคสมัครใจจะเป็นช่วยจ่ายค่าเสียหายในส่วนเกินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ โดยความคุ้มครองขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ซื้อประกันรถยนต์ชั้นไหนไว้ เช่น ประกันชั้น 1 คุ้มครองทุกกรณี หรือประกันชั้น 3 คุ้มครองแค่คู่กรณี

โดน รถชน เรียกค่า ทํา ขวัญ เท่า ไหร่

ค่าทรัพย์สินเสียหายหรือสูญเสียขณะเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากคู่กรณีจะเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถได้แล้ว ยังสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากทรัพย์สินต่างๆ ที่อยู่ในรถได้อีกด้วย เช่น โน๊ตบุ๊กพัง โทรศัพท์มือถือ กล้อง เป็นต้น แต่การชดเชยค่าเสียหายของประกันรถยนต์จะพิจารณาจากค่าเสื่อมสภาพของทรัพย์สินนั้น แถมยังต้องพิสูจน์ว่าคู่กรณีเป็นเจ้าของจริงๆ ด้วยไหม ซึ่งเรื่องนี้ถ้าคุณมีประกันรถยนต์ ทางเจ้าหน้าที่บริษัทประกันก็จะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คุณเอง

ค่าเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงจากอุบัติเหตุ

อย่างที่เงินติดล้อบอกไปว่าอุบัติเหตุรถชนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างมากๆ ไม่ใช่แค่รถยนต์เสียหายหรือมีคนบาดเจ็บเท่านั้น แต่ยังทำให้คู่กรณีเสียโอกาสอื่นๆ ในวันข้างไปด้วย แล้วที่สำคัญรถยนต์อาจเป็นยานพาหนะเดียวของคู่กรณีที่จะเติมเต็มโอกาสที่ว่านั่น ดังนั้น คู่กรณีมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายอื่นได้ครับ เช่น

  • ค่าขาดประโยชน์จากรถยนต์ : คู่กรณีต้องใช้รถยนต์ขับไปทำงานในทุกวัน เมื่อคู่กรณีหายดีแต่ไม่มีรถใช้เพราะกำลังซ่อมอยู่เลยต้องใช้วิธีเดินทางไปทำงานแบบอื่น คุณก็ต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้
  • ค่ารถลากไปซ่อม : ถ้าขับรถชนเสาไฟฟ้าคุณก็จ่ายแค่ค่ารถลากให้ตัวเอง แต่เมื่อไปชนรถคันอื่นๆ แล้วมีคู่กรณี ชนชนิดที่ว่ารถไม่สามารถขับไปอู่รถยนต์เองได้ คุณก็ต้องออกค่ารถลากให้คู่กรณีด้วย

สรุป

ค่าทำขวัญไม่ได้มีระบุเอาไว้ในกฎหมาย แต่ถ้าถูกเรียกร้องค่าทำขวัญในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิดจากอุบัติเหตุรถชนแล้วอยากจ่ายก็สามารถทำได้ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ เช่น ค่ายานพาหนะเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยเรื่องนี้คุณสามารถให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันไกล่เกลี่ยได้เลยครับ แต่ถ้าไม่มีประกันรถยนต์ก็ต้องไปไกล่เกลี่ยผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือขึ้นโรงขึ้นศาลนั่นเอง

โดนรถชนเรียกค่าทำขวัญได้ไหม

ค่าทำขวัญไม่ได้มีระบุเอาไว้ในกฎหมาย แต่ถ้าถูกเรียกร้องค่าทำขวัญในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิดจากอุบัติเหตุรถชนแล้วอยากจ่ายก็สามารถทำได้ โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ เช่น ค่ายานพาหนะเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น โดยเรื่องนี้คุณสามารถให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันไกล่เกลี่ยได้เลยครับ แต่ถ้าไม่มีประกัน ...

ค่าทําขวัญ กี่บาท

กฎหมายไม่มีค่าทำขวัญ โดยคุณจะต้องเรียกค่าใช้จ่ายที่เกิด + รายได้ที่สูญเสียกับบริษัทประกัน โดยทางบริษัทประกันจะจ่ายตามค่ารักษาจริง และค่าขาดผลประโยชน์ที่พิสูจน์ได้เท่านั้น ในส่วนของการขาดรายได้ ทุพพลภาพ ประกันจะประเมินว่าสมเหตุผลหรือไม่ สำหรับเงินค่าทำขวัญไม่มีในกฎหมาย ผู้ผิดจะจ่ายหรือไม่ก็ได้ หากไม่พอใจ หรือตกลงกันไม่ ...

ค่าทำขวัญเรียกได้ไหม

สรุปว่าค่าทำขวัญที่คู่กรณีเรียกร้องมา คุณที่เป็นฝ่ายผิดจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ ในกรณีที่จะจ่ายก็ให้เจ้าหน้าที่บริษัทประกันเป็นผู้ไกล่เกลี่ย แล้วรวมไปในค่าเสียหายที่คู่กรณีสามารถเรียกร้องได้ตามความคุ้มครองของประกันรถยนต์​ แต่ถ้าคุณจะไม่จ่ายเพราะรู้สึกว่าเกินไป ก็สามารถฟ้องร้องแล้วไปขึ้นโรงขึ้นศาลได้เลยครับ

รถ ชน เรียก ร้อง ค่า อะไร ได้ บ้าง

1.) ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินของ พ.ร.บ.รถฯ 2.) ค่าทนทุกข์ทรมาน จากการบาดเจ็บ 3.) ทรัพย์สินที่เสียหาย หรือสูญหายในขณะเกิดอุบัติเหตุ 4.) ค่าเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง หรือทำงาน ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าขาดรายได้ เป็นต้น