การ จัดการ เรียน รู้ ที่ ดี

            การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื่อต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจ ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน

หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                หลักการสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เปรียบเสมือนกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการเรียนรู้คือ การจัดการเรียนรู้ที่ถือว่า “ผู้เรียนสำคัญที่สุด” ซึ่งกำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 22

                หากจะพิจารณาถึงความหมายของคำว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด น่าจะหมายถึงการดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ  ดังนั้นการออกแบบการเรียนรู้จึงควรเป็นไปโดยคำนึงถึงประโยชน์หรือการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ซึ่งรูปแบบ วิธีการ หรือเทคนิคที่จะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องออกแบบและเลือกสรรมาใช้โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นหลัก  โดยครูผู้สอนจะต้องวิเคราะห์และพิจารณาว่าสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุสิ่งที่ต้องการให้เกิดได้  ดังนั้นในการออกแบบกิจกรรม     การเรียนรู้ครูผู้สอนจำเป็นต้องวิเคราะห์และเลือกใช้รูปแบบ  วิธีการ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ  ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนและสามารถเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนด

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                ในมาตรา 24  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้  ดังต่อไปนี้

1.       จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.       ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

3.       จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

4.       จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักณะที่พึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

5.       ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียนและ  อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

        10

6.       จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา    ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

จากแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ดังกล่าว  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้นำไปกำหนดเป็นมาตรฐานการศึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการเพื่อให้การจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพ  บรรลุตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนี้

มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  โดยครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ มาเป็นผู้ชี้นำความรู้และจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสม

ตัวบ่งชี้

1.       มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายเหมาะสมกับธรรมชาติของผู้เรียน

2.       มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้า สังเกตรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ คิด อย่างหลากหลาย สร้างสรรค์และสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

3.       มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้และแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง

4.       มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

5.       มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน

6.       มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วนทั้งด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา

7.       ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อกลุ่ม

8.       มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง

9.       ผู้เรียนรักโรงเรียนของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปโรงเรียน

 

แนวการจัดการเรียนรู้รวมทั้งตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ข้างต้นจึงน่าจะเป็นแนวทางที่สถานศึกษาและครูผู้สอนนำไปใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้  โดยเฉพาะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

องค์ประกอบหลักของ แผนการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้.
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective) คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ... .
2. การเรียนการสอน (Learning) ... .
3. การวัด และประเมินผล (Evaluation) ... .
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective) ... .
2. การเรียนการสอน (Learning) ... .
3. การวัด และประเมินผล (Evaluation).

แผนการจัดการเรียนรู้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

สรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีประโยชน์เพราะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามล าดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งมีการ เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสื่อการสอน ทาให้เกิดความพร้อมและความมั่นใจเมื่อทาการสอน ผู้เรียน ร่วมกิจกรรมได้อย่างเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบเป็นการแสดงถึง ...

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีอะไรบ้าง

1. แบบระดมสมอง (Brainstorming) 2. แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา (Problem/Project-based Learning/Case Study) 3. แบบแสดงบทบาทสมมุติ(Role Playing) 4. แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share) 5. แบบสะท้อนความคิด (Student's Reflection) 6. แบบตั้งคาถาม (Questioning-based Learning) 7. แบบใช้เกม (Games-based Learning)