บุคลิกภาพ ที่ ดี ใน การ พูด

ใคร ๆ ก็พูดได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะพูดแล้วดึงดูดให้คนฟังจนจบ ซึ่งในการทำงานเราเองก็จำเป็นต้องสื่อสารโดยการพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการพรีเซนต์งาน การขาย การเจรจา หรือการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือลูกน้อง โดยแต่ละคนก็จะมีการพูดที่แตกต่างกันไปตามบุคลิกและนิสัย แต่ปัญหาคือจะต้องทำยังไงให้การพูดของเราดึงดูดคนฟังได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ JobThai เลยมีเคล็ดลับดี ๆ ที่จะช่วยให้การพูดของคุณได้ใจผู้ฟังไปเต็ม ๆ มาฝาก

1. อย่าพูดจนลืมเรื่องบุคลิก

การจะเป็นผู้พูดที่ดีนอกจากต้องมีทักษะการพูดแล้ว บุคลิกเวลาพูดก็สำคัญ เช่น ต้องยืนหลังตรงแต่ผ่อนคลาย ไม่เกร็งจนเกินไป เพราะจะช่วยส่งเสริมให้มีบุคลิกที่ดีและดูมีความพร้อม เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อแสดงออกถึงความมั่นใจและเพิ่มความสง่าเวลาพูด ทั้งหมดนี้นอกจากจะทำให้ภาพรวมเวลาพูดของเราดูดีขึ้นแล้ว การยืนหลังตรงและเงยหน้าขึ้นเล็กน้อยยังช่วยให้เราเปล่งเสียงออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

2. รู้และเข้าใจว่าคนฟังคือใคร

การจะพูดให้ได้ใจคนฟัง เราต้องรู้และทำความเข้าใจคนที่เราจะพูดให้ฟังก่อน รู้ว่าเราพูดให้ใครฟัง เนื้อหาเป็นแบบไหน น้ำเสียงและการแสดงออกต้องเป็นยังไง รวมไปถึงสิ่งที่ควรระวัง เช่น ถ้ารู้ว่าลูกค้าที่เราต้องไปพรีเซนต์งานกับเขา เป็นผู้ใหญ่ที่งานรัดตัวตลอดเวลาและเจ้าระเบียบ เราก็ต้องเตรียมเรื่องที่จะพูดแบบกระชับ เข้าใจง่าย ไปให้ตรงตามนัดและใช้เวลาตามที่ขอไปอย่างพอดี พร้อมกับแต่งตัวให้เรียบร้อย

3. ใช้ระดับเสียงเพิ่มความน่าสนใจ

การพูดเสียงโมโนโทนอาจทำให้การพูดของเราดูน่าเบื่อ ลองปรับระดับของเสียงให้มีขึ้นลงตามความเหมาะสม เพราะนอกจากจะทำให้เรื่องราวที่เราพูดฟังดูไม่ราบเรียบและน่าฟังมากขึ้นแล้ว ก็ยังสามารถช่วยให้เราสื่อสารออกไปได้ตรงตามความต้องการมากขึ้นด้วย เช่น ขึ้นเสียงสูงเล็กน้อยเวลาจะพูดเรื่องสำคัญ เพื่อเรียกความสนใจจากผู้ฟัง หรือพูดช้า เน้นคำชัดๆ เมื่อต้องการให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง

4. เว้นจังหวะการพูดให้คนคิดตาม

เมื่อเรากำลังจะพูดเข้าเรื่องสำคัญ ให้ลองเว้นจังหวะก่อนพูดดู มันจะทำให้เรื่องราวน่าติดตามมากขึ้น และทำให้คนฟังรู้สึกสงสัย อยากรู้จนต้องหันมาสนใจและตั้งใจรอฟังมากขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้อาจใช้ในจังหวะหลังจากพูดเรื่องสำคัญด้วยก็ได้ โดยหยุดอีกหนึ่งจังหวะเพื่อให้ผู้ฟังมีเวลาในการคิดตาม และได้ไตร่ตรองถึงความสำคัญของเรื่องที่เราเพิ่งพูดไป

5. ใช้ Body Language ให้ถูกจังหวะเวลา

ภาษากายช่วยให้การพูดน่าสนใจมากขึ้นได้ เช่น ดึงดูดความสนใจโดยการเดินจากจุดนึงไปอีกจุดนึง นั่งโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อยเวลาพูดเรื่องสำคัญ หรือมองตาคนฟังเพื่อแสดงถึงความจริงใจ ถ้าจำเป็นต้องจดโน้ตอะไรบางอย่าง ก็ให้ใช้แค่สายตามองต่ำลงโดยไม่ต้องก้มหน้าลงไป แต่ต้องระวังอย่าใช้ให้มากเกินไป ซึ่งเราสามารถเรียนรู้ได้จากคลิปการพูดของนักธุรกิจ หรือนักพูดที่มีชื่อเสียง แล้วลองฝึกทำหน้าจก เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น

6. ภาษาต้องเหมาะสมและสร้างสรรค์

เวลาพูดเราต้องเลือกใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ และเหมาะสมไปพร้อม ๆ กัน การพูดเป็นทางการมากไปอาจดูน่าเบื่อ ลองหาคำหรือสำนวนที่เพิ่มสีสัน หรือเรียกความสนใจคนมาใช้ แต่ก็ต้องเลือกที่เหมาะกับคนฟังด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเราใช้ภาษาที่สบายเกินไปในสถานการณ์ที่ดูทางการ ก็อาจจะทำให้เราดูไม่มืออาชีพได้เหมือนกัน นอกจากนี้ควรเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิค หรือภาษาเฉพาะกลุ่ม เพราะมันอาจทำให้คนฟังไม่เข้าใจ จนไม่อยากฟังต่อ

7. ลืมความผิดพลาดไปก่อน

ไม่แปลกที่การพูด หรือ พรีเซนต์งานของเราจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการผิดพลาดของระบบทางเทคนิค หรือผิดพลาดที่การพูดของตัวเราเองก็ตาม แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่เราทำได้คืออย่านำมาวิตกกังวล หรือเครียดไปกับมัน ปล่อยความผิดพลาดผ่านนั้นทิ้งไปก่อน และโฟกัสกับการพูดปัจจุบันให้ดีที่สุด เพราะถ้าเราเป็นกังวล มันจะทำให้จิตใจเราไม่อยู่กับตัว และเกิดความเสียหายไปกันใหญ่ และเมื่อพูดเสร็จแล้วค่อยกลับมานั่งคิดทบทวน และหาทางแก้ไขในโอกาสหน้า

ตามปกติผู้พูดที่มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ย่อมได้เปรียบเสมอ เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจของผู้ฟังตั้งแต่แรกเสมอ แต่ในบางครั้ง ผู้พูดต้องเปลี่ยนความรู้สึกให้เป็นไปตามสาระของการพูดด้วย บางครั้งต้องมีความจริงจัง บางครั้งมีความร่าเริงยินดี บางครั้งมีความโศกเศร้ารันทด หรือบางครั้งมีความไม่พึงพอใจ เป็นต้น ทั้งนี้ ขอให้ยึดหลักของความเป็นธรรมชาติ อย่าพยายามแสร้งตีสีหน้า จะทำให้ผู้ฟังรู้ได้ทันทีว่าผู้พูดไม่มีความจริงใจ และจะขาดความเชื่อถือในตัวผู้พูด

การวางท่า  ท่ายืนที่ดีที่สุดการยืนตรงตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง ยืนให้เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าทั้งสองข้าง ปล่อยมือทั้งสอบข้างไว้ข้างลำตัว ไม่ควรยืนพักเท้าข้างใดข้างหนึ่งขณะพูด ไม่ควรเอามือไพล่หลัง หรือกุมไว้ข้างหน้า และไม่ควรเอามือยึดกับไมโครโฟน หรือท้าวแท่นพูดจนร่างโน้มลง ทำให้ขาดความสง่าผ่าเผย

อากัปกิริยา  การเคลื่อนไหวร่างกายเป็นธรรมชาติเป็นสิ่งปกติของผู้พูดที่ดี ผู้พูดย่อมมีอิสระในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายไปตามอารมณ์ความรู้สึกโดยธรรมชาติได้ การเอียงคอ เอียงตัว การพยักหน้า การส่ายศีรษะ การก้มศีรษะ ยักไหล่ การเดิน ฯลฯ โดยเฉพาะการเดิน การเดินเมื่อจำเป็น ข้อสำคัญ อย่าพยายามหันหลังให้ผู้ฟัง เหล่านี้ล้วนเป็นอากัปกิริยาซึ่งผู้พูดกระทำได้ แม้ไม่มีความหมายใดๆ เพราะเป็นการช่วยให้การพูดดูเป็นธรรมชาติขึ้น อย่างไรก็ตามอากัปกิริยาบางอย่างควรละเว้น กล่าวคือ การล้วง แคะ แกะ เกา หาว โยก ค้อน กะพริบ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่ไม่น่าดู

การใช้มือ โดยปกติการปรากฏตัวต่อที่ชุมนุมชน ควรฝึกปล่อยมืออยู่ข้างลำตัว ผู้พูดที่ฉลาดมักสามารถใช้มือเป็นประโยชน์ต่อการพูดได้เป็นอย่างดี ผู้พูดอาจใช้มือประกอบในการขยายความ เช่น การบอกถึงทิศทาง จำนวน ขนาด รูปร่าง เป็นต้น บางครั้งผู้พูดอาจไม่ต้องการขยายความ แต่เพื่อเป็นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือความหนักแน่นของคำพูด นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น แผนภูมิ รูปภาพ สิ่งของ ฯลฯ ควรมีขนาดใหญ่ หรือชัดเจนพอที่ทุกคนจะเห็นได้ทั่วถึง การชี้ หรือการยกให้ดูอย่าหักหลังให้ และอย่าให้สิ่งนั้นบังหน้าผู้พูด

ข้อควรระวังในการใช้ท่าทางประกอบการพูด พึงเข้าใจว่าทุกคนไม่จำเป็นต้องทำท่าแบบเดียวกัน อย่าพยายามทำลายบุคลิกของตนเอง ด้วยการเลียนแบบท่าทางผู้อื่น ควรพูดด้วยความรู้สึกที่จริงใจ พยายามเป็นกันเองกับผู้ฟังและรักษาลีลาที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด

บุคลิกภาพในการพูด

ผู้พูดหรือนักพูด เป็นจักรกลสำคัญของการพูด และจะต้องยืนอยู่ต่อหน้าคนเป็นจำนวนมาก ความพร้อมทุกอย่าง รวมถึงบุคลิกภาพที่ดี และใช้เครื่องมือสื่อความหมายได้อย่างยอดเยี่ยม จะทำให้การพูดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้น นักพูดนักสอนธรรมะควรจะพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ที่จะเป็นผู้พูดที่ดีได้จะต้องมีบุคลิกภาพของการพูดดังนี้

 1.  มีความมั่นใจและชั้นเชิงดี คือพูดด้วยความมั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง และพูดได้เป็นธรรมชาติ

                2.  มีความกระฉับกระเฉงแจ่มใส คือพูดด้วยท่าทีผึ่งผาย มีชีวิตชีวา

 3.  มีความจริงใจและมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง โดยจะแสดงออกทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และน้ำเสียง

 4.  มีความกระจ่างในเรื่องที่พูดและปฏิภาณไหวพริบดี สามารถพูดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้

                5.  มีความเป็นธรรม คือพูดโดยปราศจากความลำเอียง

 6.  มีความหนักแน่นและสำรวม

 7.  มีความเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ให้เกียรติผู้ฟังทุกประเภทตามสมควร

 8.  มีความเด็ดเดี่ยวไม่โลเล

 9. มีเอกลักษณ์ในการสื่อสารเป็นของตนเอง

คุณลักษณะทั้ง 9 ประการข้างต้นนี้ เป็นบุคลิกภาพของการเป็นผู้พูดที่ดีซึ่งจะเกิดและพัฒนาขึ้นได้โดยการศึกษาหาความรู้ การตั้งใจหมั่นฝึกฝน มีความใส่ใจ และมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง

ปัญหาเกี่ยวกับการพูดและวิธีแก้ไข

การตื่นเวที  เป็นภาวะทางจิตที่ไม่ปกติ เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เนื่องจากยังมีความวิตกกังวลอยู่ภายใน จึงไม่สามารถทำให้ควบคุมจิตใจ และอาการที่แสดงออก ทางร่างกายได้

ระดับของการตื่นเวที แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

1. Audience Tension  เป็นการพูดที่ตื่นเวทีที่เกิดจากความรู้สึกเครียดและตื่นกลัว เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เป็นผลสะท้อนมาจาก ความตั้งใจของผู้พูด ที่มีต่อการพูด

2. Audience Fear   เป็นลักษณะของการตื่นกลัวซึ่งนับเป็นอุปสรรคต่อการพูด เพราะในขณะที่พูดผู้พูดจะมีอารมณ์หวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา

3. Audience Panic  เป็นลักษณะการตื่นเวที ที่แสดงออกถึงความหวาดกลัวที่สุดขีดจนสุดจะระงับไว้ได้ เป็นการตื่นเวทีที่รุนแรงมาก จนผู้พูดไม่สามารถ ควบคุมอาการตื่นของตนเองได้ อาการตื่นเช่นนี้จะทำลายบุคลิกภาพของผู้พูดอย่างสิ้นเชิง

การพูดที่ดีควรเป็นอย่างไร

1. ต้องมีเนื้อหาดี เนื้อหาก็จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เนื้อหาที่ดีต้องตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด ผู้พูดมีจุดมุ่งหมายการพูดเพื่ออะไร เพื่อความรู้ ความคิด เพื่อความบันเทิง เพื่อจูงใจโน้มน้าวใจ เนื้อหาจะต้องตรงตามเจตนารมณ์ของผู้พูดและเนื้อหานั้นต้องมีความยากง่ายเหมาะกับผู้ฟัง มีการลำดับเหตุการณ์ ความคิดที่ดีมี ...

การมีบุคลิกภาพที่ดีมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การมีบุคลิกภาพที่ดีนั้นจะเป็นผลให้บุคคลนั้นมีลักษณะส าคัญที่ เป็นประโยชน์ต่อการด าเนินชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้ >เข้าใจสภาพความจริงได้อย่างถูกต้อง >การแสดงอารมณ์ที่เหมาะสม >สร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ >ความผูกพันต่อผู้อื่น >พัฒนาการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น

บุคลิกภาพที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

บุคลิกภาพที่ดี คือ การที่บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี (health person) ตามแนวคิดของโรเจอร์ เชื่อว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ดี มนุษย์มีแรงจูงใจไปทางด้านบวก มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล(rational) เป็นผู้ได้รับการขัดเกลา(socialized) และเป็นผู้สามารถตัดสินเลือกทางชีวิตของตนได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอและในสภาพการณ์ที่เอื้ออำนวยมนุษย์จะพัฒนาไปได้เต็ม ...

บุคลิกภาพที่สำคัญในการพูดมีอะไรบ้าง

มีความมั่นใจและชั้นเชิงดี คือพูดด้วยความมั่นใจ เป็นตัวของตัวเอง และพูดได้เป็นธรรมชาติ.
มีความกระฉับกระเฉงแจ่มใส คือพูดด้วยท่าทีผึ่งผาย มีชีวิตชีวา.
มีความจริงใจและมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง โดยจะแสดงออกทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และน้ำเสียง.