ผู้ ใต้ บังคับบัญชา ที่ ดี

เคยตั้งข้อสังเกตบ้างหรือไม่ว่า การลาออกของพนักงานในทุกระดับเป็นระยะๆ เกิดจากเหตุผลใดบ้างหรือแม้กระทั่งการรายงานเรื่องเครื่องจักร Break down หรือจำนวนของเสียที่ไม่มีท่าทีจะลดลง พวกเราในฐานะผู้บริหารได้ทำการแก้ไขและปิดรูรั่วนั้นๆอย่างไรหรือแค่ฟังการรายงานในแต่ละวัน ถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและให้ทำ8D Reportและนั่งมองดูว่าเป็นหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่ต้องดำเนินการแก้ไข หากแก้ไขไม่ได้ก็หาคนใหม่เข้ามาแทน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดินอย่างที่เรารู้จักกัน การลงไปพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ พอจะทำให้เรามีข้อมูลทั้งทางด้านการทำงานที่ติดขัดของพนักงานตลอดจนสัมผัสกับสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริง ซึ่งแตกต่างจากการทำงานบนหอคอยงาช้างของทุกท่านที่มักจะชอบนั่งเทียนและรายงานให้ทันในที่ประชุมว่ามันน่าจะอย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งไม่ใช่Fact หรือความจริงทั้งหมด รู้อย่างนี้แล้วหากท่านเป็นเบอร์หนึ่งของหน่วยงานหรือขององค์กร ท่านจะทำอย่างไรก่อนและหลัง น่าคิดใช่ไหมครับ

ผู้บังคับบัญชามีความสำคัญต่อการปรับกระบวนการทำงาน เพื่อให้บรรลุประสิทธิผล ขององค์กรแล้วยังต้องให้ความสนใจต่อบุคลากรในองค์กรด้วย ภาวะผู้นำนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บังคับบัญชาในการที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องให้ความมั่นใจ เพื่อการยอมรับ ของคนในองค์กร อันจะนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจระหว่างกัน ผู้บังคับบัญชาจะต้องมุ่งเน้นเรื่องของการสื่อความ ให้มีความชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสื่อความที่ดีนั้นถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งในการสร้างพันธะสัญญา (Commitment) และทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน (Cooperation) ในที่สุด ในการบริหารองค์กรของผู้บริหารย่อมต้องเผชิญความรุนแรง และความรวดเร็วทั้งกระแสของการแข่งขัน และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องอาศัยศักยภาพของตนเอง และของทีมงานร่วมกัน รวมถึงความมีระบบที่ต้องดำเนินไป ให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา ความสำเร็จจึงจะเกิดขึ้นได้ โดยระบบที่ถูกต้องของแต่ละองค์กรนั้น ก็จะอยู่บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ (Vision) คือ ต้องการจะเป็นอะไร และตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยม (Value) คือ จะไปให้ถึงจุดนั้นโดยยึดอะไรเป็นหลัก ซึ่งถือว่าองค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กร การมีเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจนตั้งแต่แรก จะสามารถประเมินผลได้ว่าผลในการดำเนินงานนั้นบรรลุประสิทธิผล (Effectiveness) หรือไม่ ซึ่งเป็นกรอบความคิดใหม่ในการประเมินผลที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงมากกว่าที่จะมุ่งแต่ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นหลักอย่างเดียว ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการสร้างผลผลิตโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบสิ่งที่ได้ (Output) กับปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นหลัก แต่ส่วนคำว่าประสิทธิผล(Outcome) นั้นจะมุ่งเน้นไปว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

ผู้บังคับบัญชานอกจากจะต้องตระหนักถึงเป้าหมายขององค์กรแล้วยังต้องให้ความสำคัญต่อการปรับกระบวนการทำงาน และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรด้วย ภาวะผู้นำ นั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารในการที่จะนำองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ เพื่อการยอมรับของคนในองค์กร และของผู้ใช้บริการ ผู้นำจึงต้องมุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารให้ชัดเจน และต้องอาศัยศักยภาพของตนเอง และของทีมงานร่วมกัน โดยคำนึงการจัดระบบโครงสร้างในองค์กร ที่สำคัญ คือ การมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการกำหนดทิศทาง และเป้าหมายขององค์กร การมีเป้าหมายที่ชัดเจนขององค์กรตั้งแต่แรกก็จะสามารถประเมินผลสำเร็จขององค์กรได้ นั่นหมายถึง การมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ในเรื่องของการบริการ และคุณภาพ

หลักสูตรนี้ได้น้อมนำหลักการทรงงานของในหลวงมาประกอบการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงานของเราให้มีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการพัฒนาคนเป็นตัวตั้ง และยึดหลักผลประโยชน์ของพนักงานที่คำนึงถึงความแตกต่างของพนักงานในแต่ละประเภท และสอนให้พึ่งพาตนเอง โดยรู้จักประมาณตนและดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและทำตามลำดับขั้น อย่างบูรณาการซึ่งต้องอาศัย ความ"เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"และการ "รู้ รัก สามัคคี " 

วัตถุประสงค์ เพื่อให้หัวหน้างานจนถึงผู้บริหาร

1.            สามารถอธิบายและตระหนักได้ว่า วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กรอย่างไร

2.            นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้นำที่พนักงานกด Like

3.            น้อมนำหลักการทรงงานของในหลวงมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.            หัวหน้างานและผู้บริหารทุกระดับเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองโดยให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างเต็มใจและทันเวลา

2.            บรรยากาศในการทำงานเป็นทีมของหัวหน้างานและผู้บริหารเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

3.            มีทัศนะคติในเชิงบวกต่อการฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง

เนื้อหาวิชา

1.            บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้างาน (Roles & Duties of superior)

2.            ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตาม ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นHPO (High Performance  Organization)

3.            การบริหารและการทำงานร่วมกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา แบบต่างๆ (Followers management)

4.            การมอบหมายงาน(Job assignment)

5.  หัวหน้างานยุคใหม่(New generation supervisor)

6.  การพัฒนาตนเอง4มิติ(Sharpen the saw)

กลุ่มเป้าหมาย :      หัวหน้างาน ทุกระดับ

วิธีการฝึกอบรม : Lecture 20%, Workshop & Discussion 70%, Q&A 10% by ABL (Activity Based Learning) PBL (Problem Based learning) and CBL (Community Based Learning)

ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดีมีกี่ประการ

พระพุทธองค์ทรงกำหนดเป็นวินัย หรือหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกน้องหรือลูกจ้างพึงปฏิบัติ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผู้เป็นนายไว้เป็นตัวอย่างให้ดู 5 ประการคือ.
เริ่มทำงานก่อนนาย.
เลิกทำงานหลังนาย.
ถือเอาแต่ของที่นายให้.
ทำการงานได้ดีขึ้น.
นำเกียรติคุณของนายไปสรรเสริญ.

ผู้บังคับบัญชาที่ดีควรเป็นอย่างไร

1. มีความเป็นผู้น า 2. มีความยุติธรรม 3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติ 4. ท างานเป็นระบบ 5. เป็นนักแก้ไขปัญหา 6. เปิดใจและรับฟังความคิดเห็น 7. มีความคิดสร้างสรรค์ 8. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ 9. เป็นผู้พัฒนาสมาชิกในทีม 10. ไม่ถือตัวและให้เกียรติ

การครองใจผู้บังคับบัญชามีอะไรบ้าง

6 วิธีบริหารงานให้ได้ใจลูกน้อง.
กล้าตัดสินใจ กล้าได้กล้าเสีย ... .
บริหารด้วยประชาธิปไตย ... .
เปิดโอกาสให้ลูกน้องแสดงฝีมือ ... .
รู้จักขอบคุณลูกน้องและช่วยพัฒนาลูกน้อง ... .
เป็นตัวอย่างที่ดี มีความยุติธรรม ... .
สร้างความสัมพันธ์ในทีม.

ผู้ใต้บังคับบัญชาหมายถึงอะไร

น. อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่, เรียกผู้มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้น ว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้น ว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.