จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

อาจารย์ครับทำไมมีพวกจบวิศวะมาเรียนต่อโท MBA มากจัง

ผมจบตรีบริหารธุรกิจ โทต่างประเทศ ทำงานอยู่สถาบันการเงิน แต่ผมจะประสบปัญหาในการเลื่อนตำแหน่ง กับเพื่อนร่วมงานที่จบโทวิศวะ จบโทในประเทศ ทำไมพวกฝ่ายบุคคลและผู้บริหารถึงได้ให้เครดิตกับพวกจบวิศวะมากนัก ผมไม่เข้าใจครับ เพราะผมจบเกรดก็ดีกว่า และการทำงานก็ดีกว่า ประสบการณ์มากกว่า แต่ผมไม่สามารถย้ายไปทำ IB ได้ แต่ผู้บริหารจะเลือกจบวิศวะก่อนเลย ทั้งที่งานพวกนี้ก็ไม่เกี่ยวกับวิศวะสักหน่อย ผมได้สอบถามเพือนๆ หลายๆที่ ได้รับคำตอบเดียวกันว่า ทุกที่ให้ความสำคัญแก่ผู้ที่จบตรีวิศวะมาก ไม่ว่าสถาบันไหน มากกว่าคนอื่นถึงแม้ คนอื่นจะจบโทจากต่างประเทศ สถาบันดีๆ แปลกมาก ทำไมเมืองไทยถึงได้ คำนึงแต่ปริญญาตรีตลอดเวลา ผมทำงานมานานกว่า 6 ปี ก็ยังไม่เข้าใจ ผมเคยคุยกับฝรั่ง บริษัทเขาจะให้ความสำคัญแก่ประสบการณ์มากกว่า และผู้บริหารของเขาบางคนจบตรีประวัติวรรณคดี หรือวรรณคดีฝรั่งเศล เช่น MD ของ SG ก็สามารถเป็นผู้บริหารได้ งงมาก วัฒนธรรมแบบนี้ มีเพื่ออะไรครับ ส่งเสริมสังคมความเป็นอยู่ที่ดีหรือครับ

จากคุณ: สุภกิจ

คำถามนี้ต้องถือว่าเป็นคำถามดีที่น่าสนใจและควรทราบข้อเท็จจริง เรื่องมีดังนี้คือ 
ก) เหตุที่วิศวะเรียน MBA มาก และทำให้มีโอกาสดี เพราะ เดิมในสหรัฐฯ การผลิตนักบริหารธุรกิจแบบ MBA เข้าเน้นที่ ความสามรถในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ ซึ่งวัดที่การใช้เหตุผลและความีตรรก กับการคิดเชิงปริมาณ การสอบเข้าด้วย GMAT จึงมีหมวดนี้ ทำให้วิศวะสอบได้คะแนนหมวดนี้สูงจึงเข้าได้จำนวนมาก 
ข) ในเมืองไทย ก็เดินตามแนวเดียวกัน มีบ้างบางคนที่คลั่งวิศวะ แต่ในความเป็นจริง สมัยที่ผมเป็นคณบดี ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับ คณบดีที่ U Of Chicago แท้จริง เขามีสัดส่วนสมดุลกัน ทั้งวิศวะ เศรษฐศาสตร์ กับบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ แต่เมืองไทย กลับไม่มีการบริหารแบบนี้ บางแห่งโดยเฉพาะ ที่ธรรมศาสตร์ บ่อยครั้งจึงออกสอบและให้นำหนักคณิตศาสตร์มากไป จนทำให้ วิศวะได้เปรียบในการเข้า ประกอบกับทัศนคติบางคนเชื่อแบบนี้น จึงทำให้เป็นกระแสไปทางนั้น 
ค) ถ้าเอาประวัติศาสตร์มาพูด ข้อฒุลคุณ Joey ไม่ตรงนัก เช่น คุณบุญชู ที่ธนาคารกรุงเทพ ไม่เคยให้ทุนวิศวะไป แต่รับคนจบวิศวะแล้วเรียนธุรกิจนั้น มี แต่ที่กสิกรไทยมีแน่ และนิยมแนวนั้นที่ว่ามา นักเรียนทุนวิศวะจึงได้เปรียบ แต่สาขาอื่น แม้แต่อักษรศาสตร์ก็ได้รัยทุน 
ค) การที่งาน IB คนที่จบวิศวะมาก่อนได้เปรียบ เพราะ งายบางอย่างเป็นงานวิเคราระห์ หลายอยางเกี่ยวข้องกับ การผลิต แล้วยังมีการคิดคำนวนแผนงานการเงิน กับโครงการ พื้นวิศวะจึงได้เปรียบบาง แต่ไม่เสมอไป ขึ้นกับค่านิยมและทัศนคติของคนมากกว่า 
ข้อที่ต้องยอมรับมีข้อเดียวคือ การเรียนคณิตศาสตร์ทำให้มีการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น เมืองไทยโชคร้าย เราตัดวิชาคณิตศาสตร์ออกไปจากวิชาบังคับม.ปลายนานกว่าสิบปี ทำให้ส่วนนี้เป็นจุดอ่อนแต่อหลายสาขาครับ 
บางคนคงไม่ทราบว่า ชื่อ คนที่เอ่ยถึงข้างต้น บางคนจบคณิตย์สาสตร์มาโดยตรง แต่คนไม่รู้มักลือกันไป เชื่อจากแรงประชาสัมพันธ์ก็มีมากครับ 
อ.ธงชัย

อ. ธงชัย สันติวงษ์ นักคิดนักเขียน ที่ปรึกษาปัญหาการบริหารจัดการ อดีตผอ. โครงการ M.S. และ MBA, อดีตคณบดีคณะพาณิชย์ และ รองอธิการบดีด้านวางแผนพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์, อดีต VP [Corporate Planning & Training Center] ธนาคารกรุงเทพ และ VP [International Banking] ธนาคารไทยพาณิชย์

ที่มา http://www.nationejobs.com/ask/guru_t2_thai.asp?askno=922


โครงการวิศวกรรมศาสตร์และการจัดการเชิงธุรกิจ หลักสูตรปริญญาตรี-โท (EBM) ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือเป็นอีก 1 ทางเลือกที่น้องๆสามารถเรียนรู้ทั้งการบริหารธุรกิจ และ วิศวกรรมศาสตร์ ไปด้วยกันตั้งแต่ปริญญญาตรีนะครับ โดย วิศวะจะเน้นไปทางด้านโยธา โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสามารถยื่นขอทดสอบ ความรู้ทางวิศวกรรมเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (สาขาวิศวกรรมโยธา)ได้เช่นเดียวกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรอื่น ทางด้านวิศวกรรมโยธาตามปกติ (หมายเหตุ: อยู่ระหว่างการดำเนินการขอรับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร)  วิชาทางด้านบริหาร ซึ่งประกอบด้วยความรู้พื้นฐาน ด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์การเงินการบัญชีและการตลาด ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการในงานวิศวกรรม   

ตอนนี้กำลังเปิดรับสมัครอยู่ถึงวันที่ 31 มกราคม 2556 นี้  
รายละเอียดการรับสมัครทั้งหมดเข้าไปอ่านได้ที่ http://ebm.engr.tu.ac.th/index.html

และจากการรวบรวมข้อมูลการเรียน สายงานจากแหล่งองค์กรชั้นนำ รวมถึงเทรนด์สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย บทความนี้ Admission Premium จะมาแนะนำเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ วิศวกรรมศาสตร์แต่ละสาขา เหมาะกับใคร? จบมาสามารถทำงานในตำแหน่งไหนได้บ้าง? น้องๆ ที่เริ่มศึกษา

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
สิ่งที่นักศึกษาในภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะได้เรียนก็คือ ศาสตร์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ทเวิร์คต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาของวิชา Computer Science ทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องของ Information System และวิศวกรรมไฟฟ้าบางส่วนด้วย

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรระบบ ฯลฯ
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชื่นชอบเรื่องของคอมพิวเตอร์ สนใจใฝ่รู้ในเรื่องเทคโนโลยี ชอบพัฒนาทักษะตัวเองเสมอ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์และภาษาคอมพิวเตอร์

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)
วิศวกรรมอุตสาหการ หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า IE (Industrial Engineering) จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่างๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร และประสิทธิการในการทำงาน โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมด้านต่างๆ เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางวิศวกรรมเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรในโรงงาน ทั้งสายงานการผลิต สายงานการวางแผนผลิต และ สายงานบริหารงานผลิต
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชอบเรื่องของการคำนวณ เพราะหน้าที่หลักของวิศวอุตสาหกร คือการคำนวณทุกอย่าง ตั้งแต่ การใช้งานเครื่องจักร วัตถุดิบ แรงงาน ฯลฯ

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมไฟฟ้า (Electrical Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ และการประยุกต์การใช้ไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การใช้งานสมการในการวิเคราะห์ การผลิตและส่งถ่ายพลังงานไฟฟ้า การจัดการกับสัญญาณไฟฟ้า อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ฯลฯ โดยมีสาขาแยกย่อยลงไปอีกเป็นจำนวนมาก

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรผู้ออกแบบ ควบคุม ติดตั้ง ดูแลระบบไฟฟ้าและระบบส่องสว่าง และ Sale Engineer
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : สนใจเรื่องของวงจรไฟฟ้า ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ สามารถวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำเทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้าไปใช้งาน รู้จักปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมเครื่องกล (Mechanical Engineering)
นี่คือสาขาทางด้านวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุดสาขาหนึ่ง มีมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิศวกรรมเครื่องกล เน้นศึกษาโดยใช้ความรู้ด้าน ฟิสิกส์ เคมี มาประยุกต์ใช้กับงานด้านกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงาน รวมถึงการออกแบบเครื่องจักรกล เช่น ระบบไฮดรอลิก หุ่นยนต์ พลศาสตร์การบิน การควบคุมการผลิตเครื่องจักร ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น และอื่นๆ อีกมากมาย

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรในสายงานวิศวกรรมเครื่องกล เช่น สายทำความเย็นและปรับอากาศ (ติดตั้ง / ออกแบบ), สายยานยนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วน งานวิจัยและพัฒนา, สายพลังงาน โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ ผลิตสำรวจน้ำมันและก๊าซ, สายซ่อมบำรุง โรงงาน โรงไฟฟ้า โรงปิโตรเคมี, สายออกแบบ งานด้าน engineering detail design, sale engineer
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชอบเรียนวิชาฟิสิกส์เป็นชีวิตจิตใจ และสนใจในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกทุกชนิด

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
งานของวิศวกรโยธา คือการวางแผนและควบคุมการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น  ถนน สะพาน ระบบขนส่ง อาคาร ระบบสุขาภิบาล วิจัยและให้คำแนะนำทางด้านเทคนิคต่างๆ ในการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นึกศึกษาที่จบจากสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพ เช่น วิศวกรสำรวจ วิศวกรด้านโครงสร้าง วิศวกรด้านควบคุมและออกแบบการจราจร วิศวกรภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรออกแบบโครงสร้าง วิศวกรประมาณราคาสถาปัตย์ และวิศวกรสนามในบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างๆ
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชื่นชอบงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสาธารณูปโภค การสำรวจ และการทำแผนที่ ชอบลงมือปฏิบัติงาน ชอบการพัฒนาประเทศ โดยอาศัยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering)
สาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูง เช่น การสร้างอวัยวะเทียม หรือพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ชิ้นใหม่ๆ

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรชีวการแพทย์ ในหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ บริษัทรับซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ ผู้แทนขายเครื่องมือแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : สนใจทั้งเรื่องของวิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ ชีววิทยา เคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้อง ชอบศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนให้สามารถนำมาใช้ได้จริง

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
วิศวกรรมเคมี คือสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ วางแผน ควบคุมกระบวนการทางเคมี และพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ โดยใช้กระบวนการกายภาพ เคมี หรือชีวเคมี ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนส่วนผสม สถานะ และคุณสมบัติของวัตถุดิบให้กลายไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างปลอดภัย และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเป็นการนำเอาศาสตร์ของวิศวกรรมเครื่องกลและวิชาเคมี มาประยุกต์เข้าด้วยกัน

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรผู้ควบคุมระบบและกระบวนการผลิตในโรงงาน วิศวกรที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ อีกมากมาย นักวิจัยฝ่ายวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมี อาจารย์ นักวิชาการ หรือรับราชการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมี
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชอบเรียนวิชาเคมีและฟิสิกส์ สามารถประยุกต์ความรู้ไปทำงานทางด้านพลังงาน ชีวเคมี สิ่งแวดล้อมและวัสดุได้

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมปิโตรเลียม (Petroleum Engineering)
สาขานี้ เน้นศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนขุดเจาะและการผลิตไฮโดรคาร์บอน ซึ่งได้แก่ น้ำมันหรือก๊าช อันถือถือว่าอยู่ในภาค "ต้นน้ำ" ของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ สถานที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่คือนอกชายฝั่งหรือประจำแท่นขุดเจาะที่มีความเสี่ยง นักศึกษาที่จบสาขานี้จึงได้รับค่าตอบแทนที่สูงมากเป็นอันดับต้นๆ ในกลุ่มวิศวกรด้วยกัน

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรปิโตรเลียม ดูแลการเจาะและการผลิต น้ำมันหรือก๊าชธรรมชาติขึ้นมาจากแหล่งกักเก็บใต้ผิวดิน ลักษณะงานมีทั้งภาคออกแบบ ศึกษา วางแผน และภาคสนาม
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : สนใจในเรื่องของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ต้องเป็นคนที่เก่งมาก เพราะสาขานี้ได้ชื่อว่าคัดแต่หัวกะทิ มีคนสนใจเข้าเรียนเยอะ แต่มีเพียงไม่กี่สถาบันที่เปิดสอน

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Logistics Engineering)
เรียนเกี่ยวกับเทคนิคทางด้านการออกแบบ และควบคุม สำหรับการขนส่ง จัดเก็บ เคลื่อนย้าย สินค้าและบริการ การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนส่วนที่ เกี่ยวข้องในระบบโซ่อุปทาน และการประยุกต์ทางด้านเทคนิคต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดการ การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนในการผลิต รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรประจำคลังสินค้า วิศวกรจัดซื้อ วิศวกรขนส่ง วิศวกรออกแบบระบบขนถ่ายวัสดุ วิศวกรออกแบบบรรจุภัณฑ์ วิศวกรบริหารนักวิเคราะห์ธุรกิจและโมเดลโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโลจิสติกส์ วิศกรออกแบบและวางแผนระบบการให้บริการโลจิสติกส์ รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาโลจิสติกส์
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : มีความรู้แนวคิดและหลักการด้านวิศวกรรมกับโลจิสติกส์ ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ แคลคูลัส เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์

จบวิศวะเครื่องกล ต่อโทอะไรดี

วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Engineering)
สาขานี้จะเป็นเรื่องของการวิจัย ออกแบบ และวิเคราะห์โครงสร้างรูปร่างทางพลศาสตร์ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ระบบขับเคลื่อน วัสดุและกรรมวิธีในการผลิต การวางแผนและควบคุมการสร้างเครื่องบิน ขีปนาวุธ ยานอวกาศ ดาวเทียม ฯลฯ รวมไปถึงการทดสอบหรือการซ่อมบำรุงด้วย เป็นอีกหนึ่งสาขายอดฮิตและมีค่าตอบแทนในการทำงานที่ค่อนข้างสูง

อาชีพหรือตำแหน่งงาน : วิศวกรด้านอากาศยาน ช่างซ่อมบำรุงอากาศยาน วิศวกรควบคุมการโคจรและสถานีดาวเทียม วิศวกรบริหารการจัดการในภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการบินและอวกาศ วิศวกรจัดการธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
คนที่เหมาะจะเรียนสาขานี้ : ชื่นชอบเรื่องของเทคโนโลยีการบินและอวกาศ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ และชอบความท้าทาย ชอบค้นหาสิ่งใหม่ๆ