ความ กตัญญู เป็น เครื่องหมาย ของ คน ดี บาลี

�ӴѺ �����Ե����ǡѺ������ѭ�� 1

�� � �صڵҹ������ �� �лصڵҹ��Ѵ����
�ص÷�����Ϳѧ�Դ���ô� �繺ص÷�������԰ (�ط������Ե ��ͧ 7)

2

�آ� ������µ� ��� �آ� �Ѵ���е� ���
��ԺѵԴյ�ͺԴ���ô� �繤����آ��š (�ط������Ե ��ͧ 7)

3

�����ҵ� �ҵһԵ�� ����ҵ� �ҵһԵ���
��ôҺԴ� �繾�о����ͧ�ص� (�ط������Ե ��ͧ 7)

4

�ؾھҨ���ҵ� �بڨ�� �ؾھҨ����ҵ� �صڨ���
��ô� �����繤�٤��á�ͧ�ص� (�ط������Ե ��ͧ 7)

5

���ڭ�� �� ʻڻ����� ���Ƿ��
���������繼�页ѭ����С��Ƿ�
(�Թ�� 4/92)

6

ʻڻ�������� ·Է� ���ڵ� ���ǷԵ�
������س��еͺ᷹�س �繤س������鹰ҹ�ͧ����
(�͡�Ժҵ 20/70)

7

����� ���ڭص� ��ڶ� ��õڶ� ��õڶ� ���� ��ǹ�
������ѭ�������㹤�� ��ä��Ѻ����鹡�������ª��
(��ʡس�Ҵ� 27/130)

8

������ҵ� �ҵһԵ��
�Դ���ô��繾����ͧ�ص�

9

�ؾھҨ���ҵ� �بڨ��
�Դ���ô��繺�þҨ����ͧ�ص�

10

��������� � �ص�ҹ�
�Դ���ô��繷��Ѻ��ͧ͢�ص�

11

�ҵ� �Եڵ� �� ���
��ô����Ե�����͹�ͧ��

12

�� � �صڵҹ������
�ص÷�����Ϳѧ�������繺صû�����԰

(���Ҩҡ��纸����ѡ� 9-12 �ҡ�ط���ʹ�����Ե �ʰ��þ��� ��ó�� �Ǻ���������º���§)

ความกตัญญูกตเวที คือ ความรู้อุปการคุณที่คนอื่นทำแก่ตนแล้วทำคุณแก่เขาตอบแทน ระลึกถึงคุณงามความดีที่คนอื่นเคยทำแก่ตน เคยช่วยเหลือตน อยู่เสมอ และเมื่อถึงโอกาสเวลาที่เหมาะสม หรือในยามที่เขาตกทุกข์ได้ยาก ก็ช่วยเหลือเขาเป็นการตอบแทน

การเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้คนมีจิตสำนึกที่ดี รู้จักว่าใครมีคุณกับตน และพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือเขากลับบ้าง เป็นเหตุให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

ความกตัญญูกตเวทีนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับคนไม่ดี แต่สำหรับคนดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพราะคนดีย่อมรู้จักบุญคุณคนและไม่เนรคุณ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราทั้งหลายพึงฝึกตนให้เป็นผู้กตัญญูกตเวที คือฝึกตนให้เป็นคนรู้จักบุญคุณคน และพยายามทำคุณงามความดีตอบแทนผู้มีบุญคุณนั้น ในเวลาที่เหมาะสม หรือแม้แต่กับบุคคลที่ไม่ได้มีบุญคุณแก่เรามาก่อน ถ้าพอช่วยเหลือได้ เราก็ควรช่วยเหลือสงเคราะห์ เพราะนั่นเป็นคุณงามความดีของเรา


สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต

  • อัตตวรรค หมวดตน
  • อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
  • กัมมวรรค หมวดกรรม
  • กิเลสวรรค หมวดกิเลส
  • โกธวรรค หมวดความโกรธ
  • ขันติวรรค หมวดความอดทน
  • จิตตวรรค หมวดจิต
  • ชยวรรค หมวดความชนะ
  • ทานวรรค หมวดทาน
  • ทุกขวรรค หมวดทุกข์
  • ธัมมวรรค หมวดธรรม
  • ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
  • ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
  • ปมาทวรรค หมวดความประมาท
  • ปาปวรรค หมวดบาป
  • ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
  • ปุญญวรรค หมวดบุญ

  • มัจจุวรรค หมวดความตาย
  • มิตตวรรค หมวดมิตร
  • ยาจนาวรรค หมวดการขอ
  • ราชวรรค หมวดพระราชา
  • วาจาวรรค หมวดวาจา
  • วิริยวรรค หมวดความเพียร
  • เวรวรรค หมวดเวร
  • สัจจวรรค หมวดความสัตย์
  • สติวรรค หมวดสติ
  • สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
  • สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
  • สมณวรรค หมวดสมณะ
  • สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
  • สีลวรรค หมวดศีล
  • สุขวรรค หมวดความสุข
  • เสวนาวรรค หมวดการคบหา


ดูอักษรย่อบอกนามคัมภีร์ได้ที่นี่


สนใจเรื่องเหล่านี้ไหม:

ความ กตัญญู เป็น เครื่องหมาย ของ คน ดี บาลี
ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

คำว่า “กตญฺญูกตเวที” แยกออกมาเป็น “กตญฺญู” (รู้คุณท่าน) คำหนึ่ง และ “กตเวที” (ตอบแทนคุณท่าน) อีกคำหนึ่ง

คนกตัญญูนั้นหาไม่ยาก เพราะใครต่อใครที่มีสามัญสำนึกเป็นปกติดีก็ย่อมรู้อยู่แล้วว่าใครเป็นผู้มีพระคุณต่อตนเอง แต่คนที่กตัญญูด้วยและกตเวทีด้วยนั้น หาไม่ได้ง่าย ๆ เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้ว่าผู้อื่นมีพระคุณต่อตนเองอย่างไร แต่กลับไม่สนใจที่จะตอบแทนพระคุณของผู้มีพระคุณ เหตุผลหนึ่งที่คนเหล่านั้นใช้อ้างเป็นประจำก็คือ “ไม่มีเวลา” หรือ “เอาไว้ก่อน” คนที่คิดอย่างนี้และผัดผ่อนการแสดงความกตัญญูกตเวทีอย่างนี้ไปแบบวันต่อวัน เดือนต่อเดือน และปีต่อปี พอวันหนึ่งบุพการีผู้มีพระคุณมาจากไป สิ่งที่เขาทำได้ก็คือแสดงความเสียใจ และได้แต่บ่นเพ้อว่า “รู้อย่างนี้...น่าจะทำอย่างนี้ รู้อย่างนี้...น่าจะทำอย่างนั้น” แต่การสำนึกได้เมื่อสายนั้น ไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก แต่อย่างไรก็ตามเถิด แม้จะสำนึกเมื่อสาย ก็ยังนับได้ว่า เป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณอยู่เหมือนกัน เพียงแต่เขาแสดงออกช้าไปเท่านั้น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นพระสังฆราชยอดกตัญญู ควรที่เราชาวพุทธผู้เคารพรักพระองค์จะเจริญรอยตามพระคุณธรรมในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์ ถ่ายทอดเรื่องราวของความกตัญญูกตเวทีในพระองค์เอาไว้อย่างน่าประทับใจยิ่งผ่านกวีนิพนธ์บทหนึ่ง ดังนี้

เจริญพรญาติโยมผู้อ่านทุกท่าน “คนดี” คืออะไร ไม่มีใครให้คำนิยามที่ตายตัว ชัดเจน แน่นอน เพราะแต่ละคนก็ให้นิยามของคนดีแตกต่างกันออกไป คนดีของแต่ละเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา เพศ รุ่น วัย อาชีพ ก็แตกต่างกันออกไปอีก แต่ก็เชื่อว่ามันจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ทุกเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา จะมองเห็นตรงกันว่า นี่แหละ “คนดี”

พระพุทธองค์ไม่เคยนิยามหรอกว่าใครเป็นคนดี คนดีมีหน้าตาประมาณไหน เป็นอย่างไร หนึ่ง สอง สาม สี่ อาตมาไม่เคยพบเรื่องนี้จริง ๆ แต่พระองค์ส่งเสริมให้คนทำ “ความดี” ชัดเจนตั้งแต่พระโอวาทปาฏิโมกข์แล้วว่า ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์

สิ่งหนึ่งที่อาตมาพอจะนึกได้ คือ พระพุทธองค์ทรงให้คุณสมบัติของคนดีเอาไว้ เช่น เป็นผู้ที่ทำความดีง่าย ดังพุทธภาษิตว่า “สุกรํ สาธุนา สาธุ” แปลว่า “ความดี คนดีทำง่าย” อะไรที่นับว่าเป็นความดี คนดีก็ทำได้โดยง่าย ไม่ตะขิดตะขวงใจอะไร

หรือใครก็ตามที่ได้ชื่อว่าเป็นคนดีแล้ว ต้องมีสิ่งนี้

“นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ”

แปลว่า “ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี”

ความกตัญญูคืออะไร ความกตัญญูคือความรู้คุณท่าน รู้คุณว่าท่านเคยทำประโยชน์อะไรให้แก่เรา ใครที่ทำประโยชน์ให้แก่เราไว้แล้ว เราไม่ควรลืมพระคุณอันนั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ หรือใครก็ตามที่ให้การอุปการะเราด้วยประการต่าง ๆ นี่แหละคือสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี

ความกตัญญูเป็นหนึ่งในมงคล 38 ประการ มงคลคือสิ่งที่ทำแล้วเจริญ ฉะนั้นกตัญญูเถิดจะเกิดผล

คนดีจะมีนิยามอย่างไรก็ตามแต่ แต่ที่แน่ ๆ ต้องมีความกตัญญู

คำว่า กตัญญู นั้น มักจะมากับอีกคำหนึ่งต่อกัน คือ กตเวที กตเวทีนี่ไม่ได้เกี่ยวกับเวทีที่ไหน แต่หมายถึง “การตอบแทนคุณท่าน” จะบอกว่าเป็นส่วนต่อขยายมาจากความกตัญญูก็ได้ เพราะในเมื่อเรารู้คุณท่านแล้ว เราจะแสดงออกอย่างไรให้ถูกต้อง เหมาะสม

ผู้รู้กล่าวว่า กตเวทีนี้ มีอยู่สองอย่างใหญ่ ๆ คือ ประกาศคุณของท่าน กับการกระทำที่เป็นการสนองคุณของท่าน เช่น การเลี้ยงดูท่าน อุปการะท่านกลับ การไม่เนรคุณท่าน ดูแลรักษา ไม่ทำลาย

ในเตมียชาดก หรือเรื่องพระเตมีย์ใบ้ มีพระคาถาบทหนึ่งที่อธิบายเรื่องความกตัญญูกตเวทีว่า

ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย          นิสีเทยฺย สเยยฺย วา

น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย       มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก

“บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม”

บุคคลที่นั่งใต้ร่มไม้นั้นย่อมได้รับความอุปการะจากร่มไม้ บังแดดไม่ให้ร้อน ฉะนั้นการไปหักรานกิ่งไม้ของต้นนั้น นั่นก็คือการเนรคุณ ไม่ใช่การแสดงออกถึงความรู้คุณต่อต้นไม้

เราก็จะเห็นได้ว่า ความกตัญญูกตเวทีไม่ได้จำกัดแค่แก่คน แก่สิ่งของ แก่สัตว์ ถ้ารู้คุณและแสดงออกถึงความรู้คุณ ก็นับได้ว่ามีความกตัญญูกตเวที พูดตรง ๆ แบบนี้เลยก็ได้

ทีนี้ อาตมาได้ยินมาบ่อยครั้งถึงคนที่บ่นออด ๆ แอด ๆ ว่า ทำไมเราต้องกตัญญู ทำงานส่งเงินให้พ่อแม่ พ่อเอาไปเมา แม่เอาไปเล่นพนัน ทำไมจะต้องกตัญญู เดี๋ยวนี้ได้ยินมาก ๆ เข้าก็ต้องพูด เพราะเดี๋ยวนานไปจะเข้าใจเรื่องกตัญญูผิดกันไปหมด

จริง ๆ กตัญญู คือ รู้คุณ ถ้ารู้คุณท่าน รู้ว่าท่านมีอุปการคุณแก่เราอย่างไร เพียงใด ก็นับว่ากตัญญู ที่มีปัญหากันคือส่วนกตเวที ว่าจะกตเวทีอย่างไร กตเวทีนั้นไม่ได้มีแค่ให้เงินตอบแทน แต่การกระทำทุกอย่างนั่นแหละ ทั้งกาย วาจา ใจ คือกตเวที การบอกกล่าวผู้อื่นหรือที่เดี๋ยวนี้เรียกว่าให้เครดิตท่าน ก็เรียกว่ากตเวที การกระทำที่ป้องกันมิให้ท่านเสื่อมเสีย ก็สำเร็จเป็นกตเวทีเช่นกัน ฉะนั้นแล้ว กตเวที คือ การตอบแทนคุณท่าน ทำให้พอดี ไม่เป็นการทำลายหรือทำให้ท่านเสื่อมเสีย

หากผู้มีพระคุณ มีอุปการะแก่เราตายไปแล้ว ก็มีวิธีการแสดงกตเวที คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศล เพราะกตเวทีมิได้จำกัดแค่แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

ดังมีลูกศิษย์อาตมาคนหนึ่ง ตัวก็ไปทำธุรกิจ เปิดหอพักให้เช่าอยู่ที่พัทยา ตอนไปลงหลักปักฐานทำงานการก็ได้รับความอุปการะจากบุคคลต่าง ๆ มากมาย จนธุรกิจของเขาประสบความสำเร็จด้วยดี เขาก็มีความรู้สึกว่า ตัวเองได้ดีเพราะท่านทั้งหลายที่มีอุปการะแก่เขาตลอดมา อันนี้คือความกตัญญูเกิดขึ้นแล้ว เมื่อผู้มีอุปการะเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ ก็ตอบแทนท่านด้วยประการต่าง ๆ และพอท่านจากไปแล้ว เขาก็ยังคงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ท่านเหล่านั้นเสมอเป็นประจำไม่ขาด อันนี้คือกตเวทีแม้ท่านจะไม่อยู่แล้ว

แม้ท่านไม่รู้ แต่ฟ้าดินรับรู้ ผู้ยังอยู่รับรู้ การทำบุญอุทิศให้ท่าน บุญจะถึงท่านหรือไม่ ยังไม่ต้องคิดถึงตรงนั้น แต่กตเวทีก็สำเร็จแล้ว เพราะเป็นการประกาศคุณของผู้มีอุปการคุณให้รับรู้โดยทั่วกัน

ความกตัญญูกตเวทีคือสิ่งที่ทำให้เรามีความเจริญรุ่งเรือง อาตมาเชื่ออย่างนั้น เหมือนกับที่หอพักของเขาเจริญรุ่งเรือง อาตมาก็เชื่อว่าเป็นอำนาจของความกตัญญูกตเวที เพราะเห็นมานักต่อนักแล้วว่า คนที่ไม่เนรคุณคนย่อมมีความเจริญ แต่ผู้ที่เนรคุณคนนั้น สุดท้ายไม่ช้าไม่นานก็ย่อมได้รับผลกรรมตามที่เนรคุณไว้

เราจะเป็นคนดีครบถ้วนหรือไม่นั้น อาตมาก็ตอบไม่ได้ แต่ถ้าเรามีความกตัญญูอยู่ในใจ เราก็มีส่วนแห่งความเป็นคนดี มีธาตุมีธรรมที่จะเป็นคนดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้โดยแน่แท้ ขอเจริญพร