แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน 2563

         การดูแลตัวเอง หรือคนรอบข้าง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ นับว่าเป็นการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ และครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน แม้ว่าผู้สูงอายุ จะไม่ได้มีภาวะของโรคกระดูกพรุน หรือไม่มีอาการของโรคกระดูกพรุนเลย แต่การดูแลผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้นะคะ

กระดูกพรุนเป็นภาวะที่เกิดขึ้นในกลุ่มของคนปกติซึ่งบ่งบอกว่าตนเองกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา ผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าว จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือกระดูกบางส่วนมีการทรุดหัก ซึ่งภาวะที่พบกระดูกหักนั้นเป็นการตระหนักได้ว่า กระดูกไม่ได้รับการดูแล ไม่ได้ซ่อมแซมและไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพในระยะเวลาอันควร จนทำให้กระดูกขาดความแข็งแรงและไม่สามารถทนแรงกระแทกได้ แม้ว่าจะเป็นการล้มเพียงเบาๆ หรือสะดุดก็อาจทำให้กระดูกหักหรือหักป่นจนยากที่จะซ่อมแซม 

ป้องกันกระดูกพรุนในวัยทองได้อย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุน 2563

วิธีการรักษา

ปัจจุบันมีการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาและฮอร์โมน ซึ่งใช้สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนเท่านั้น ทั้งในโรคกระดูกพรุนปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยที่การรักษาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

ข้อปฏิบัติหากสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน

หากท่านมีความสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงภาวะกระดูกพรุน ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและในบางกรณีอาจต้องมีการวัดมวลกระดูกรวมทั้งการตรวจโลหิต เพื่อวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนอันเป็นเหตุให้เกิดการละลายของกระดูกเร็วก่อนวันอันควร รวมทั้งการตรวจพิเศษบางประเภท เพื่อช่วยในการหาความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนทุติยภูมิ

        แจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่าโรคกระดูกพรุนเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง แลระยะเวลานาน ความสำเร็จของการรักษาโรคกระดูกพรุนขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหาร และการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 

มียาหลายชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าสามารถรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม 

1 รับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ให้พอเพียง (Adequate Intake of Calcium and Vitamin D)

  • ผู้ชายอายุ 50-70ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มก.ต่อวัน 
  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 51 ปีและ ผู้ชายอายุมากกว่า 71 ควรได้รับแคลเซียม 1200 มก.ต่อวัน 
  • ผู้ใหญ่ ควรได้รับวิตามินดี 800-1000 IU ต่อวัน 

2 ยาป้องกันการสลายกระดูก (Inhibitors of Bone resorption) ได้แก่ ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต(Bisphosphonate), ฮอร์โมนเพศหญิง(Estrogen/Progestin), SERMs(Raloxifene), Calcitonin

3 ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ (Stimulators of Bone formation)ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์(Teriparatide), Denosumab (Receptor Activator of Nuclear Factor kappa-B (RANK) Ligand (RANKL)/ RANKL Inhibitor)

4 ยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ วิตามินดี (Vitamin D), Strontium ranelate เป็นต้น

5 ระมัดระวังการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เพราะจะทำให้กระดูกหักได้  โดยแก้ไขภาวะต่างๆที่ผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุ เช่น 

  • แก้ไขภาวะความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า 
  • แก้ไขปัญหาสายตามัว (เช่น ต้อกระจก) 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ยากล่อมประสาท 
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น บันไดขึ้นลง แสงสว่าง ห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น

การดำเนินโรค

ถ้าหากได้รับการดูแลรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ก็สามารถทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจทำให้กระดูกหัก อาจทำให้เกิดความพิการได้

ผู้ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน หรือใช้ยาที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

  • มีประวัติบิดาหรือมารดามีกระดูกสะโพกหัก

  • อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจากการตรวจคัดกรองด้วยการคำนวณความเสี่ยงในการที่จะเกิดกระดูกหัก


  • เราสามารถป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร ?

    • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง งาดำ ปลาขนาดเล็กหรือปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทานกระดูกปลาได้ นอกจากนี้ อาหารที่มีวิตามินดีสูงก็มีความสำคัญ เพราะวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม โดยพบมากในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ และนม
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แนะนำเป็นช่วงเช้าหรือเย็นที่มีแดดอ่อนๆ จะช่วยเพิ่มวิตามินดีในร่างกายได้
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และสูบบุหรี่


    การรักษาโรคกระดูกพรุน ทำอย่างไรได้บ้าง ?


    การรักษาเริ่มแรกในผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะเป็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่่ยง เช่น การรับประทานแคลเซียมหรือวิตามินดีเสริม การออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกน้อย ร่วมกับการใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน และความเสี่ยงของภาวะกระดูกหัก ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่

     


     กลุ่มยา


     รายการยา


    ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonates)
    ยากลุ่มแรกที่ใช้สำหรับป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนทั้งชายและหญิง มีทั้งรูปแบบยารับประทานและยาฉีด โดยช่วยลดการสลายกระดูก จากการยับยั้งการทำงาน รวมถึงทำให้อายุของเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูกลดน้อยลง ลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก

    • Alendronate
    • Alendronate + Vitamin D3
    • Ibandronic acid
    • Risedronate
    • Zoledronic acid

     
    ยาฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
    เมื่อฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้น
    เนื่องจากมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก

     

    เพศหญิง: Estrogen
    เพศชาย: Testosterone


    ยากลุ่มฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่กระดูก
    ยากลุ่มนี้มีความจำเพาะต่อผลของฮอร์โมนเพศที่กระดูก ป้องกันการดูดซึมแคลเซียมออกจากกระดูก


     
    Raloxifene


    กลุ่มยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี้ (Monoclonal Antibody)
    ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญและพัฒนาการของเซลล์สลายกระดูกแบบจำเพาะเจาะจง ทำให้มีผลลดกระบวนการสลายกระดูกได้ดี

     
    Denosumab ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุก 6 เดือน


    ยาพาราไธรอยด์ฮอร์โมน
    เพิ่มการทำงานของเซลล์ที่สร้างกระดูก กระตุ้นการสร้างกระดูก


     Teriparatide ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง วันละ 1 ครั้ง

    สำหรับระยะเวลาในการใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุนโดยทั่วไปนั้น แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาต่อเนื่องประมาณ 3 - 5 ปี และคอยติดตามอาการไม่พึงประสงค์รวมถึงผลกระทบจากการใช้ยา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ป่วย

    หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตลอด 24 ชั่วโมง