ปวด เหงือก ทํา ไง ดี

เหงือกบวม เกิดจากเศษอาหารที่เราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ เข้าไปติดในร่องระหว่างเหงือกกับฟัน จนทำให้เกิดอาการปวดอักเสบ บวมแดงได้ ตามปกติแล้วหากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ดูแลทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือหากมีอาการบวมแดง แล้วอาการเหงือกบวมจะค่อยๆ ดีขึ้นโดยไม่ต้องรับประทานยา หรือทำการรักษาอื่นใด

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการเหงือกบวม แล้วมีอาการเพิ่มเติมตามอาการเหล่านี้ อย่านิ่งนอนใจ ควรพบทันตแพทย์โดยด่วน เพราะคุณอาจเสี่ยงเป็นอันตรายที่ไม่ได้เป็นอาการเหงือกบวมธรรมดาๆ

อาการของเหงือกบวมที่ควรต้องรีบไปพบแพทย์ ดังนี้

  1. เหงือกบวมจากกระดูกงอก เหงือกจะมีสีชมพูปกติ หรืออาจมีสีขาวซีด หากตุ่มกระดูกก้อนใหญ่นี้ดันเหงือกออกมามาก อาการบวมนี้เกิดจากกลไกที่ร่างกายสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรับแรงบดเคี้ยวที่หนักหน่วงไม่เท่ากัน
  2. เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา เหงือกจะบวมขึ้นหนามาก แต่เนื้อแน่น มีสีชมพูปกติ ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น
  3. เหงือกบวมจากการถูกระคายเคืองเป็นเวลานาน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง สีชมพูปกติ รักษาด้วยการตัดก้อนที่บวม
  4. เหงือกบวมจากโรคปริทันต์ มักพบในผู้ป่วยที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี แบ่งเป็น 2 โรคที่รุนแรงต่างกัน คือ
    1. โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก ทำให้เหงือกอักเสบรอบๆ ฟัน อาจมีเลือดออกขณะแปรงฟัน มีกลิ่นปาก และเสียวฟัน
    2. โรคปริทันต์ เกิดจากมีหินปูนสะสมมาก แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทางต่อเชื้อโรคน้อย เชื้อจึงลุกลามไปทำลายกระดูกที่รองรับฟัน ทำให้ฟันโยก ยื่นยาวผิดปกติ และมีหนองไหล รักษาด้วยการขูดหินปูนและเกลารากฟัน
  5. เนื้องอกในหญิงมีครรภ์ พบในหญิงมีครรภ์ที่มีสุขอนามัยช่องปากไม่ดี เนื่องจากร่างกายจะตอบสนองต่อการระคายเคืองของหินปูนได้ไวกว่าปกติ รักษาด้วยการตัดออกและขูดหินปูน
  6. เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็กๆ มีหนองไหลผ่านออกมา มักพบอยู่ใกล้ฟันผุเป็นหลุมกว้าง มักมีอาการปวดมาก่อน เกิดจากฟันผุที่ลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ติดเชื้อจนฟันตาย และมีหนองสะสม รักษาด้วยการรักษารากฟัน
  7. ก้อนมะเร็ง ลักษณะฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการบวม ชา และลุกลามอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยต้องรีบมาพบทันตแพทย์ทันที

อาการปวดเหงือก เหงือกบวม อักเสบ เป็นปัญหาที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยประสบพบเจอกัน เวลาที่มีอาการก็จะปวดมาก ทรมานจนส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร การพูด หรืออาจจะปวดมากจนนอนไม่หลับ

วันนี้หมอเลยจะมาบอกสาเหตุ ทำความรู้จักว่าทำไมเราถึงมีอาการ รวมถึงวิธีแก้อาการเหงือกอักเสบด้วยตัวเองเพื่อที่จะได้สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ ไม่ต้องทรมานกับอาการไปตลอดทั้งวัน

ทำไมถึงมีอาการเหงือกบวม อักเสบ


สาเหตุหลักของเหงือกอักเสบ มักจะเกิดจากคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก การติดเชื้อแบคทีเรีย จากการที่เราแปรงฟันไม่สะอาด หรือไม่ได้ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จาก การรับประทานยาที่มีผลข้างเคียง เช่น ยาคุมกำเนิด ยากันชัก เป็นต้น การแพ้สารบางอย่างในยาสีฟัน การขาดวิตามินซี การตั้งครรภ์ การใส่อุปกรณ์จัดฟัน-รีเทนเนอร์-ฟันปลอม การมีฟันคุด ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ

เหงือกบวม อักเสบ มีอาการกี่แบบ


• บวมแดง เหงือกจะเปลี่ยนสีจากชมพูอ่อนเป็นแดงเข้มถึงม่วงและจะมีอาการบวมโตขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการเจ็บ หรืออาจพบเลือดออกตามไรฟันร่วมด้วย

• เป็นหนอง เกิดจากการติดเชื้อ เมื่อกดตรงที่บวมของเหงือกจะมีหนองไหลออกมาตามขอบเหงือก

• สีฟันคล้ำ เคี้ยวอาหารเจ็บ เสียวฟัน เป็นอาการเหงือกบวมจากภาวะรากฟันอักเสบเนื่องจากเส้นเลือดในโพรงประสาทฟันมีปัญหา หรือฟันผุเรื้อรัง ไม่ได้ทำการรักษา 

HOW TO วิธีการแก้ อาการเหงือกบวม อักเสบ ด้วยตนเอง


1. ทำความสะอาดช่องปากให้ดี โดยการแปรงฟันให้สะอาด ทุกครั้งหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

2. ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ขจัดคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้าง ปุณรดายาไทยแนะนำเป็น น้ำยาบ้วนปากสมุนไพรสะแบง นอกจากจะช่วยให้ช่องปากสะอาด ยังช่วยลดอาการปวดเหงือกและฟัน ป้องกันอาการเหงือกอักเสบด้วยหากใช้เป็นประจำ ควรใช้เป็นประจำเช้าและก่อนนอน

3. ใช้น้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนเพื่อกำจัดเศษอาหารและคราบแบคทีเรียที่ตกค้างในช่องปากออก โดยผสมน้ำอุ่น 250 ซีซี กับเกลือแกง 1/4 ช้อนชา บ้วนเมื่อมีอาการปวด

4. ใช้น้ำแข็งหรือผ้าชุบน้ำเย็นมาประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด

5. หากปวดมากให้ทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ

และนอกจากยาสีฟันสมุนไพรแล้ว การใช้น้ำยาบ้วนปากก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญ เพราะบางครั้งเราอาจจะไม่ได้ทำความสะอาดได้หมดจดจากการแปรงฟัน น้ำยาบ้วนปากจะมีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อในช่องปาก ลดอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบได้อีกด้วย ปุณรดายาไทยขอแนะนำเป็น GUM-D น้ำยาบ้วนปากสมุนไพรสะแบง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญค่ะ

ปวด เหงือก ทํา ไง ดี

ส่วนประกอบสำคัญ: สะแบง,อบเชย,กานพลู,เมนทอล

สรรพคุณ:
•ช่วยฆ่าเชื้อในช่องปาก ดับกลิ่น ทำให้ช่องปากสะอาดสดชื่น
•แก้อาการปวดฟัน เหงือกบวม
•รักษาแผลร้อนใน
•ลดอาการเสียวฟัน ฟันคลอน
•รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน

เพียงทำตามวิธีเหล่านี้อาการปวดต่าง ๆ ก็สามารถบรรเทาลงได้ค่ะ หากใครมีปัญหากวนใจเกี่ยวกับเหงือก และฟัน สามารถปรึกษาทีมแพทย์แผนไทยของปุณรดายาไทยได้ที่ line ID : @poonrada ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำการดูแลที่เหมาะสมนะคะ

ปุณรดายาไทยเชี่ยวชาญด้านสมุนไพร และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดค่ะ หากมีข้อสงสัย สามารถปรึกษาปุณรดายาไทยได้นะคะ ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 02-1147027


ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

ปวด เหงือก ทํา ไง ดี

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

ปวด เหงือก ทํา ไง ดี

ปวด เหงือก ทํา ไง ดี

ปวด เหงือก ทํา ไง ดี


ปุณรดา ยาไทยแพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง LINE@ พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ปวด เหงือก ด้านในสุด กี่วัน หาย

เมื่อมีอาการเหงือกอักเสบแล้ว ก็มักมีคำถามตามมาว่า เหงือกอักเสบกี่วันหาย โดยปกติหากอาการไม่รุนแรงมากนักใช้เวลา 1 – 2 สัปดาห์ก็สามารถหายได้ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ในการขูดหินปูนและกำจัดคราบต่าง ๆ หรืออาจมีการรับประทานยาฆ่าเชื้อควบคู่ไปด้วย

กินอะไรช่วยลดเหงือกบวม

8 วิธี บรรเทาเหงือกบวม.
น้ำร้อน.
ใบฝรั่ง.
เปลือกมังคุด.
สับปะรด.
น้ำมันกานพลู.
เกลือแกง.

เจ็บเหงือกด้านในสุด เกิดจากอะไร

การปวดเหงือกด้านในสุด อ้าปากไม่ได้ แล้วปวดฟันจี๊ดขึ้นสมอง นั่นเป็นอาการของปัญหาฟันคุดภายในช่องปาก ซึ่งหากปล่อยไว้จนร้ายแรง ก็อาจที่จะทำให้เกิดหนองที่บริเวณฟันคุดขึ้น จนลุกลามกลายเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างการที่เกิดการติดเชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งสามารถป้องกันได้อย่างง่าย ๆ เพียงแปรงฟันให้สะอาด และหมั่นรักษาสุขภาพ ...

เหงือกอักเสบ หายเองได้ไหม

อาการปวดฟันและเหงือกบวมนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องรักษาโดยทันตแพทย์ ดังนั้นหลังจากที่บรรเทาอาการปวดฟันด้วยยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม แล้ว ผู้ที่มีอาการปวดฟันควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้สาเหตุที่ ...