ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

รถยนต์คันแรกในประเทศไทย ถูกจารึกในประวัติศาสตร์เมื่อรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ที่ประเทศไทย เปิดรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตกเข้ามาปรับใช้กับสังคมไทยในทุกภาคส่วน ตั้งแต่ชีวิตความเป็นอยู่ จนไปถึงเทคโนโลยีด้านยานยนต์


 

รถยนต์คันแรกในประเทศไทย

รถยนต์ พาหนะที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการเดินทางของมนุษย์อย่างสะดวกสบาย ซึ่งในช่วงก่อนที่จะมีรถยนต์นั้น ยานพาหนะของผู้คนในยุคสมัยก่อน ยังคงใช้แรงงานของม้า และเมื่อถึงยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม จึงเริ่มมีการใช้แรงดันไอน้ำมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนแทนแรงงานของม้า

ในปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ.1886) คาร์ล เบนซ์ วิศวกรชาวเยอรมัน เป็นผู้ออกแบบ และคิดค้นเครื่องยนต์ชนิดใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก โดยอาศัยพื้นฐานจากลูกสูบของเครื่องจักรไอน้ำมาพัฒนา อีกทั้งยังเป็นผู้ประดิษฐ์คลัชท์, คาร์บูเรเตอร์ และหัวเทียนด้วย

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

ย้อนอดีตกันไปอีกสักนิด ในปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนสายแรกในกรุงเทพฯ ตั้งชื่อว่า "ถนนเจริญกรุง" เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรของรถม้า และรถลาก  ต่อมาในสมัยของรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนในพระนครเพิ่มขึ้นอีกหลายเส้นทาง และพระองค์เอง ทรงสนพระทัยในเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมาก

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

รถยนต์คันแรกของประเทศไทย จากเอกสารสำคัญ บันทึกจดหมายโต้ตอบกันระหว่างพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เล่าประวัติของรถยนต์คันแรกไว้อย่างชัดเจน ถอดตามคำบันทึกมาได้ว่า

"รถยนต์คันแรกที่เข้ามาในเมืองไทย ดูเหมือนจะเป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์เอาเข้ามาครั้งไปยุโรป คงจะมีฝรั่งเอาเข้ามา แล้วเอามาขายให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์ เป็นปกติของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ที่ชอบของใหม่ๆ แปลกๆ เห็นคงจะซื้อ ได้ยินเขาว่าใส่เกียร์ยากล้นพ้น ลางทีฝ่าพระบาทจะได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วก็หายสูยไป คงเป็นอันใช้ไม่ได้ ที่ใช้ได้จริงจัง จำได้ว่ากรมหลวงราชบุรี เอาเข้ามา เป็นเหตุให้ฮือรถยนต์กันขึ้นในเมืองไทย"

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

ในปี พ.ศ. 2447 เสด็จในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ได้เสร็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงสั่งให้บริษัท เยอรมัน ในกรุงปารีส ประกอบรถยนต์เก๋งหนึ่งคัน ยี่ห้อ เมอร์เซเดส ซึ่งนับว่าเป็นรถยนต์ชั้นยอดในเวลานั้น โดยมีหลักฐานการสั่งซื้อว่า สั่งผ่านสถานเอกอัครราชทูตสยาม ประจำกรุงปารีส ระบุผู้รับคือ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยาม หรือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประเทศไทย เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904)

 

Mercedes 28 HP รถยนต์พระที่นั่งคันแรก

รถยนต์พระที่นั่งคันแรกของไทย เป็นรถยนต์ยี่ห้อ เมอร์เซเดส รุ่น 28 HP ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ พละกำลังสูงสุด 35 แรงม้า ระบุหมายเลขตัวถังคือ 2394 และหมายเลขเครื่องยนต์ 4290 นับว่าเป็นรถยนต์คันที่ทำให้ความนิยมการใช้งานรถยนต์ในประเทศไทย เกิดความแพร่หลาย

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดปรานรถยนต์พระที่นั่งเป็นอย่างมาก เพราะความสะดวกสบาย และเดินทางได้เร็วกว่ารถม้าพระที่นั่ง เมื่อทรงว่างเว้นจากพระราชกรณียกิจ มักจะเสด็จเยือนที่ต่างๆ ด้วยระยนต์พระที่นั่ง เมอร์เซเดส รุ่น 28 HP เสมอๆ

ต่อมา พระองค์ทรงเล็งเห็นว่ารถยนต์คันเดียว ไม่เพียงพอที่จะใช้งานตามพระราชประสงค์ เนื่องจากพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า และฝ่ายในหลายพระองค์ ก็ทรงโปรดปรานรถยนต์กันทั้งสิ้น จึงได้ตัดสินพระทัยซื้อรถยนต์พระที่นั่งอีกหนึ่งคัน เป็นรถเก๋งสีแดง รุ่นปี 2448 เครื่องยนต์ 4 สูบ พละกำลัง 28 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุด 73 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งนับว่าเร็วมากๆ แล้วในยุคนั้น และเมื่อรถยนต์เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงดำริว่า สมควรจัดงานเฉลิมฉลองสักครั้งหนึ่ง จึงกำหนดให้ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2448 เป็นวันชุมนุมรถยนต์ครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

ในปี พ.ศ. 2451 ในวาระเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 56 พรรษา พระองค์ฯ ทรงสั่งรถยนต์เข้ามาจากประเทศฝรั่งเศสอีกเป็นจำนวน 10 คัน เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นสูง เพื่อใช้ในราชการแผ่นดิน โดยรายชื่อของรถยนต์ทั้ง 10 คัน มีดังนี้

  1. มณีรัตนา
  2. ทัศมารุต
  3. ไอยราพตกังหัน
  4. ราชอนุยันต์
  5. สละสลวย
  6. กระสวยทอง
  7. ลำพองทัพ
  8. พรายพยนต์
  9. กลกำบัง
  10. สุวรรณมุขี

เมื่อมีการสร้างถนนในบางกอกมากขึ้น รถยนต์ก็กลายเป็นพาหนะที่สะดวกสบาย และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทาง และไม่ประจำทาง วิ่งขวักไขว่ไปมาบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น บริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ต่างๆ จากต่างประเทศ ทยอยกันเข้ามาเปิดกิจการกันอย่างมากมาย ว่ากันว่าในยุคสมัยนั้นมีการขึ้นป้ายประกาศเปิดกิจการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายใหม่กันแทบจะทุกสัปดาห์เลยทีเดียว

โดยรถยนต์ที่นำเข้ามาในยุคสมัยนั้น มีหลากหลายยี่ห้อจากหลากหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากประเทศฝรั่งเศส, เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา เป็นต้น รวมไปถึงธุรกิจรถยนต์มือสองอีกด้วย 

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

ปัญหาที่เกิดตามมาจากปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นั่นก็คือเรื่องของการขับขี่ที่ไม่เป็นระเบียบ มีการวิ่งไปบนที่ดินส่วนบุคคลจนเกิดการร้องเรียนบ่อย เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อีกทั้งยังมีการขโมยรถ ก่อให้เกิดความวุ่นวาย ทำให้มีการออกข้อกฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2452 เพื่อบังคับให้ผู้ใช้รถยนต์ ขับอย่างเป็นรถเบียบ และให้รถทุกคันต้องทำทะเบียนรถ เพื่อป้องกันการถูกขโมย และยังต้องมาต่อทะเบียนรถยนต์ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยตัวเลขการจดทะเบียนรถยนต์ในปี พ.ศ. 2474 มีจำนวนทั้งหมด 3,222 คัน

 

ประวัติ รถจักรยานยนต์ ใน ประเทศไทย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับความเป็นมาของรถยนต์คันแรกในประเทศไทยของเรา เรียกได้ว่าเข้ามาในบ้านเรามากกว่า 100 ปีกันให้แล้วนะครับ กับแบรนด์ของ เมอร์เซเดส เบนซ์ สำหรับคราวหน้าจะมีบทความอะไรให้ติดตามกันอีก ฝากติดตามกันต่อไปด้วยนะครับผม