ประวัติ สมเด็จ 100 ปี วัดระฆัง

boonsirin:
สมเด็จวัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 100 ปี
- สร้างโดย : วัดระฆงโฆษิตาราม
- อายุการสร้าง : วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (ประมาณ 41 ปี)
- มวลสารสำคัญ : ผงเก่าสำเด็จวัดระฆังฯ. ผงเก่าสมเด็จวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าสมเด็จวัดเกศไชโย, ผงสมเด็จปิลันทร์ ฯลฯ พระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ 100 ปีนั้น ถือว่าเป็นพระสมเด็จยุคที่ 2 ของวัดระฆังฯ ได้เลยครับ ที่มีอายุการสร้างเตรียมจัดเข้าทำเนียบพระเก่าได้เลย โดยมีพิธีการสร้างครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การสร้างพระของวัดระฆังฯ ก็ว่าได้เพราะเป็นการจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ 100 ปี การมรณะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งปี พ.ศ.2415 โดยมีในหลวงและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานทั้งสองคราว

ครั้งที่1 เสด็จพระราชดำเนินมาเททองหล่อพระบูชาจำลององค์พระประธานและรูปหล่อรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จฯ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2514

ครั้งที่2 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกและวางศิลาฤกษ์อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2515

มีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุดนั้นทั่วฟ้าเมืองไทย อาทิเช่น หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อแพ หลวงปู่เทียม หลวงพ่อเส่ง หลวงพ่อมุม และพระคณาจารย์ชื่อดังอีกกว่าร้อยรูป ร่วมพิธีปลุกเสก
กดพิมพ์พระนั้นทางวัดกำชับให้จัดทำขึ้นภายในวัดทุกขั้นตอน และเข้าพิธีในคราวเดียวกันทั้งหมด จึงไม่มีพระเสริมที่ไม่ได้ผ่านพิธี พิมพ์พระเนื้อผงจัดทำขึ้นทั้งหมด 4 พิมพ์ ได้แก่

- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่)
- พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (คะแนน)

 พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่นิยม) คือ
1.พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก
-พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก เต็มพิมพ์ เป็นบล็อคที่พบเห็นน้อยที่สุดในบรรดาอนุสรณ์ 100 ปี เหตุที่เรียกเต็มพิมพ์นั้น เนื่องจากเป็นพระท่ีกดแรกๆ ในขณะที่แม่พิมพ์ยังสะอาดอยู่ จึงเผยให้เห็นจุดพิจารณาพิมพ์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ครบเกือบทุกจุด ซึ่งถ้าจะให้นับจริงๆ จะมีมากกว่า 20 จุดเลยทีเดียว ซึ่งจำนวนจุดต่างๆ จะมีความสำคัญต่อมูลค่าของพระองค์นั้นๆ เป็นอย่างมาก
-พิมพ์เศียรโต A บล็อคแรก ไม่เต็มพิมพ์ จะมีจุดตำหนิเดียวกันกับเศียรโตแบบเต็มพิมพ์ แต่จะมีลักษณะตื้นกว่า หรือบางจุดอาจจะหายไป จึงทำให้ราคาและความนิยมรองลงมาจากแบบเต็มพิมพ์

2.พิมพ์เศียรโต B พิมพ์เศียรโต บล็อค B เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มพิมพ์นิยมที่พบเห็นได้น้อย เค้าโครงพิมพ์คล้ายกับพิมพ์เศียรโต บล็อคแรก (ซึ่งเศียรโตทั้ง 2 พิมพ์ ต่างมีต้นแบบเดียวกัน) เพียงแต่พิมพ์เศียรโต บล็อค B จะตื้นกว่ามาก

    3.พิมพ์เส้นด้าย ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ถัดมาจาก พิมพ์เศียรโต โดยใช้แม่พิมพ์ในการกดเดียวกันแต่ว่าจะมีตำหนิในพิมพ์ตื้นกว่า พิมพ์เศียรโตเนื่องจากแม่พิมพ์เริ่มเกิดการชำรุด แต่บางองค์อาพบตำหนิของพิมพ์เศียรโตบางจุดได้ แบ่งออกเป็น
-เส้นด้ายลึกฟอร์เศียรโต
-เส้นด้ายลึก
-เส้นด้ายใหญ่
-เส้นด้ายเล็ก

4.พิมพ์ไข่ปลาเลือน แบ่งออกเป็น
-ไข่ปลาเลือน บล็อคแรก
-ไข่ปลาเลือน บล็คสอง
-ไข่ปลาเลือน บล็คสาม

5.พิมพ์ซุ้มซ้อน

6.พิมพ์ต้อใหญ่

 พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่ทั่วไป) คือ
1.พิมพ์ไข่ปลาใหญ่
2.พิมพ์ต้อ
3.พิมพ์หลังเต่า
4.พิมพ์เศียรรูปไข่
5.พิมพ์อกใหญ่
6.พิมพ์ลึก
7.พิมพ์ซุ้มติ่ง
8.พิมพ์แขนกลม

 พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คือ
1.พิมพ์หน้าใหญ่
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 1 (นิยม) ห่วงลึก รูห่วงแคบ ขอบแบน
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 2 ห่วงลึก รูห่วงกว้าง ขอบแบน
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 3 ห่วงลึก ขอบห่วงกลม
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 4 ห่วงลึก สังฆาฏิตรง
-พิมพ์หน้าใหญ่ แบบที่ 5 ห่วงตื้น
2.พิมพ์หน้าเล็ก

 พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (คะแนน) คือ
-พิมพ์คะแนน แบบมีจุด (นิยม)
-พิมพ์คะแนนแบบไม่มีจุด

สร้างแบบวิธีโบราณ กดพิมพ์และตัดขอบข้างด้วยมือ ทำให้พระแต่ละองค์มีความแตกต่างกันไปบ้าง แม้ว่าจะมาจากบล็อคเดียวกัน ด้านข้างปรากฏรอยตัดข้างจากหน้าไปหลังอย่างชัดเจน ความแตกต่างของมวลสารมากน้อยขึ้นกับการผสมของเนื้อพระในแต่ละครกหรือแต่ละส่วน มวลสารที่ใช้ใจการจัดสร้างประกอบด้วยผงวิเศษจากพระคณาจารย์ต่าง ๆ เกสรดอกไม้ ปูนที่กะเทาะจากพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พระสมเด็จปิลินทน์ที่ชำรุด ผสมกับว่านและปูนเปลือกหอย ธรรมชาติของเนื้อพระมีลักษณะอมน้ำมันเล็กน้อย ปรากฏรอยปริแยกบริเวณผิวพระให้เห็นเป็นหลุมบ่อมากบ้างน้อยบ้างเนื่องจากการเซตตัวของเนื้อพระ ผิวพระหลายองค์ปรากฏคราบสีน้ำตาลอ่อน ด้านหลังขององค์พระปรากฏตราประทับสีแดง น้ำเงิน เขียว และอมม่วงก็มีครับ
ตลอดระยะเวลาในการกดพิมพ์พระ ก็ได้ทำการถอดพิมพ์ เพื่อทดแทนแม่พิมพ์เดิมที่ชำรุดไป

รวมแล้วกว่า 10 บล็อคพิมพ์ด้วยกัน สำหรับข้อมูลเชิงลึกในการสร้างพระเนื้อผง รุ่น 100 ปี

นั้นมีการบันทึกจากตำราที่มีอยู่เดิมไว้น้อยมาก การศึกษาค้นคว้าสว่นใหญ่มักจะได้จากการเล่าสู่กันฟัง

สืบทอดกันมาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไกล้ชิดหลายๆคน แล้วนำเฉพาะข้อมูลที่สอดคล้องกันเท่านั้น

มาผนวกกับการเปรียบเทียบจำแนกแยกแม่พิมพ์ที่เป็นสากลนิยม และให้การยอมรับ

พระสมเด็จรุ่น 100 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ กลุ่มพิมพ์มาตรฐานสากลนิยม กับ กลุ่มพิมพ์ทั่วไป

และการกดพิมพ์พระนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วนเช่นกัน คือ มีทั้งที่กดพิมพ์ภายในวัด และส่วนที่กดเสริมมาจากโรงงาน

และเพราะสาเหตุนี้จึงทำให้เกิดกระแสเข้าใจสับสนในเชิงลบ เพราะเข้าใจว่ามีการสร้างเสริม

ซึ่งก็จริง แต่พระที่เสริมนั้น เนื่องจากเมื่อทำการกดพิมพ์พระจนครบตามจำนวนแล้ว

ยังมีเนื้อผงมวรสารที่ผสมแล้วเหลืออยุ่ส่วนหนึ่ง ในตอนนั้นทางวัดเห็นว่าจำนวนพระที่มีอยู่เดิม

ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจำนวนผู้ที่สั่งจอง จึงได้สั่งโรงงานให้นำเนือผงที่ยังเหลืออยู่

กดเป็นพิมพ์พระจนหมด แล้วแยกลังต่างหากในวันเข้าพิธี ซึ่งจำนวนพระชุดเสริม ประมาณแบบตร่าวๆ

มีราว 4000 องค์ และทางวัดได้นำตรายางมาประทับไว้ที่ด้านหลังองค์พระ บางส่วนได้นำไปบรรจุกล่อง

บางส่วนก็ออกให้บูชาเลย ดังนั้นพระสมเด็จรุ่น 100 ปี ทั้งหมดนั้น จึงเป็นพระที่ล้วนแล้วแต่ได้นำเข้าร่วมพิธีพร้อมกันหมด.

นี่เป็นบางส่วนที่ผมหยิบยกมาจากหนัง และความรู้ที่ผมได้ศึกษามา ได้มาพิมพ์บอกพี่น้องสมาชิกทุกท่านในบอร์ดนี้

ให้เข้าใจกันครับ เป็นเพียงแค่คำบอกกล่าวเท่านั้น ใครจะเชื่อหรือไม่ แล้วแต่ความคิดครับ

ผมศึกามาแบบนี้ เลยออกความคิดเห็นไปแบบนี้ อันนี้แล้วแต่ทุกท่านจะนำไปทบทวนอีกทีนึง

ตอนนี้สมเด็นรุ่น 100 ปี ก็มีปลอมกันเยอะ ต้องดูเนื้อ ดูพิมพ์ ดูการตัดขอบ เรียกง่ายๆว่า

ต้องดูเหมือนสมเด็จหลักไปแล้ว ต้องส่อง ต้องดูกันให้ละเอียด เก๊เนียน เก๊เทพ มีออกมาแล้ว

ระวังกันให้ดีด้วยครับ บางที กล่องแท้ พระไม่แท้ก็ยังมี กล่องแท้ๆ ยังขายกันได้ราคาหลักพัน

น่ากลัวมาก

pmorn:

   พระสมเด็จ 100 ปี ราคา 4,000 - 5,500   บาท

http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17004158.msg12385979#msg12385979

pmorn:

พระสมเด็จ 100 ปี ราคา 4,000 - 5,500   บาท

http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17004158.msg12385979#msg12385979