ประวัติ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ บนเนื้อที่ 4 ไร่ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2536 ในวันที่ 28 ธันวาคม ด้วยทุนจดทะเบียน 180 ล้านบาท โดดเด่นด้วยอาคารสูง 12 ชั้น พร้อมอาคาร Service 4 ชั้น ด้วยมาตราฐานจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยจำนวน 200 เตียง รองรับผู้มาใช้บริการด้วยลาดจอดรถที่กว้างขวาง เพื่อความสะดวกได้อย่างทั่วถึงและทันท่วงที

ด้วยตระหนักถึงความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการรักษาพยาบาลทั้งด้านบริการในระดับท้องถิ่นและระดับสากล โรงพยาบาลฯ ได้ปรับกลยุทธ์ด้านการบริหารและการจัดการด้วยความสามารถ และความพร้อมของบุคลากรและทีมบริหาร ทำให้เปาโล สมุทรปราการ มีความครบครันในการเป็นโรงพยาบาลรักษาโรคที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมทุกสาขา พร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ในการให้บริการรักษาพยาบาลบริการศูนย์อุบัติเหตุ 24 ชั่วโมง ด้วยอุปกรณืการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อความปลอดภัยและไว้วางใจของผู้ใช้บริการ

  • สูตินารี
  • กุมารเวท
  • กระดุกและข้อ
  • หัวใจ

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น) – ADHD

ชื่ออื่นๆ : เข้ารับการปรึกษา (สมาธิสั้น)

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น) คืออะไร ทำไมต้องมีการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)?

โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น (ADHD)  โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น จะทำให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรคและแนวทางช่วยเหลือ มีทักษะในการดูแลอย่างเหมาะสมและมีเจตคติเชิงบวกต่อตัวเด็ก ควรมองว่าเป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจได้รับประโยชน์จากการเข้ารับคำปรึกษาทางจิตวิทยา รูปแบบการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่ใช้บ่อย ประกอบด้วย

  • การบำบัดพฤติกรรม : เป็นรูปแบบหนึ่งของการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่จะให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทักษะในการจัดการกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก
  • การทำจิตบำบัด : การรักษาชนิดนี้เป็นการให้เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD ได้พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาของตัวเองและเรียนรู้วิธีการในการจัดการกับอาการของตน
  • การบำบัดจากครอบครัว : การบำบัดรูปแบบนี้ช่วยให้พ่อแม่ คู่สมรส หรือพี่น้องจัดการกับความเครียดในการอาศัยอยู่กับผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น ADHD ได้
  • การอบรมทักษะการเลี้ยงลูก : การรักษาประเภทนี้ช่วยให้พ่อแม่มีวิธีในการอบรมพฤติกรรมสำหรับเด็ก
  • การอบรมทักษะทางสังคม : การอบรมประเภทนี้ช่วยให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD เรียนรู้พฤติกรรมในสังคมที่เหมาะสม

จะเกิดอะไรขึ้นขณะทำการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยานั้นทำได้ไม่ยากโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและการเจริญเติบโต ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินปัญหาในแต่ละด้านของเด็กเพื่อการวินิจฉัยโรค และรวมไปถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เด็กอาจมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น ADHD เช่น โรคทางระบบประสาทอื่นๆ หรือความวิตกกังวล ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองและเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือด หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอสมองแต่อย่างใด แพทย์อาจมีการประเมินพฤติกรรมที่โรงเรียนจากครูผ่านแบบสอบถาม หรือประเมินระดับสติปัญญาโดยนักจิตวิทยาคลินิก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาความจำเป็นในเด็กแต่ละรายไป

ผลการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)

การให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาจะทำให้ผู้เข้ารักษารู้จักและยอมรับตนเองว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ADHD และพยายามจัดระเบียบให้กับตนเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำงานได้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และอาจจะมีโอกาสได้แสดงความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมาก็ได้ เพราะคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีสติปัญญาปกติ จนถึงดีเลิศ ตัวอย่างบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่โมสาร์ท นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่ โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ที่สามารถคิดค้นการทำงานของหลอดไฟที่ใช้กันในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่ง อับบราฮัม ลินคอร์น ผู้ที่ยกเลิกระบบทาสในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้ล้วนมีประวัติว่าเป็นโรคสมาธิสั้นทั้งสิ้น แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาสามารถแสดงศักยภาพที่โดดเด่นของเขาออกไปทั่วโลก

ข้อควรรู้ก่อนทำการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา (สมาธิสั้น)

อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้น ADHD และอาจต้องการคำปรึกษาทางจิตวิทยา

  1. อาการขาดสมาธิ เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้ความคิด เด็กมักจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ ผลงานมักจะไม่เรียบร้อย ตกๆหล่นๆ ดูเหมือนสะเพร่า ขาดความรอบคอบ เด็กมักจะมีลักษณะขี้ลืม ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ มีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะลืมทำ หรือทำครึ่งๆ กลางๆ อาการขาดสมาธินี้มักจะมีต่อเนื่อง ติดตัวจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่
  2. อาการซน เด็กจะมีลักษณะซน อยู่ไม่สุข ยุกยิกตลอดเวลา นั่งนิ่งๆ ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย มักประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด ชอบแกล้งหรือแหย่เด็กอื่น
  3. อาการหุนหันพลันแล่น เด็กจะมีลักษณะวู่วาม ใจร้อน มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น ทำอะไรไปโดยไม่คิดก่อนล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นตามมา ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองรถ ซุ่มซ่าม ทำข้าวของแตกหักเสียหาย เวลาต้องการอะไรก็จะต้องให้ได้ทันที รอคอยอะไรไม่ได้ เวลาอยู่ในห้องเรียนมักจะพูดโพล่งออกมาโดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักตอบคำถามโดยที่ฟังคำถามยังไม่ทันจบ ชอบพูดแทรกเวลาที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ หรือกระโดดเข้าร่วมวงเล่นกับเด็กคนอื่นโดยไม่ขอก่อน