เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

โซล่าเซลล์ คืออะไร

โซล่าเซลล์ (solar cell)

หรือที่เรียกกันว่า เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) คือการผลิตไฟฟ้าจากแสงที่ตกกระทบวัตถุที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ หรือ  ไฟฟ้าที่มาจากเเสงนั่นเอง

โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี  และจะผลิตไฟฟ้าในขณะที่มีเเดดตอนกลางวัน เก็บไว้ในเเบตเตอร์รี่ ซึงไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) จะเป็นไฟฟ้ากระเเสตรง หากนำมาใช้งานในรูปของไฟฟ้ากระเเสสลับ 220V  จะต้องใช้ Inverter เพื่อทำการแปลงค่า และเมื่อไฟฟ้าจาก โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) ถูกเเปลงเป็นกระเเสสลับ 220 V เเล้วสามารถนำมาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ทีวี ตู้เย็น พัดลม คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ เครื่องชาร์ตโทรศัพท์ เป็นต้น ส่วนจะใช้ได้นานเเค่ไหนขึ้นอยู่กับ ปริมาณไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ และ อัตราการใช้ไฟฟ้า ของเครื่องมือ เครื่องใช้ แต่ละชนิด

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากแผงโซล่าเซลล์

ใช้พลังงานที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์กับเครื่องอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน

เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

การใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์สำหรับหลอดไฟ

เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

การใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์สำหรับวัดอุณหภูมิ

ข้อเเนะนำในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

■ ควรเป็นที่โล่ง ไม่มีเงาบังเเสงอาทิตย์
■ การติดตั้งไม่ควรอยู่ไกล้ในสถานที่ที่เกิดฝุ่น
■ ควรติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้มีความลาดเอียงประมาณ 10-15 องศา จากระดับเเนวนอน
■ ควรหันเเผงโซล่าเซลล์ไปในทิศทางใต้ จะช่วยให้รับเเสงได้ดีที่สุด

เครื่องมือที่เกี่ยวข้องสำหรับการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์

เครื่องวัดพลังงานเเสงอาทิตย์   ใช้สำหรับตรวจเช็คค่าพลังงานแสงอาทิตย์ก่อนที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อรับแสงและเก็บพลังงานให้ได้มากที่สุด เช่นรุ่น SPM-1116SD

เครื่องวัดความเข้มเเสงอาทิตย์ สำหรับวัดค่าปริมาณแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบต่อพื้นที่นั้นๆ ณ วินาทีที่ทำการวัด เช่นเซ็นเซอร์รุ่น SR12 และตัวอ่านค่า LI19

พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์สามารถใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากะเเสตรงเเละกระเเสสลับ ซึงมีประโยชน์มากมายต่อการใช้งาน อย่างไรก็ตามการใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องก่อนใช้งาน

หากสนใจเครื่องวัด โซล่าเซลล์ คลิ๊กที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  02-746-9933 ตลอดวันเเละเวลาทำการค่ะ และสามารถดูข้อมูลได้จากเวปไซต์ legatool.com

เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

● เลือกซื้อเครื่องวัดแสง คลิ๊ก

● สามารถเยี่ยมชม บทความจาก LEGA CORPARATION ได้ที่นี้

● โทร. 02-746-9933

● LINE: @lega

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell), เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) หมายถึง, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) คือ, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ความหมาย, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) คืออะไร

เซลล์สุริยะ หรือ เซลล์ แสงอาทิตย์ ใน ทาง วิทยาศาสตร์ มี ชื่อ เรียกว่า อย่างไร

























     เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน
การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้

  1. ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง
  2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า
  3. มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
  4. ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด
  5. สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก
  6. ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ
  7. เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุด
  8. ผลิตไฟฟ้าได้ทุกมุมโลกแม้บนเกาะเล็กๆ กลางทะเล บนยอดเขาสูง และในอวกาศ
  9. ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวกที่สุด

ดังนั้น ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในศตวรรษที่ 21 ที่จะมาถึงในอีกไม่นาน
ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์
       เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้ เซลล์แสงอาทิตย์ในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จะมีสีเทาดำ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้เซลล์แสงอาทิตย์มีสีต่างๆ กันไป เช่น แดง น้ำเงิน เขียว ทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงาม
ประเภทของ " เซลล์แสงอาทิตย์ "เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่ม เซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำประเภทซิลิคอน จะแบ่งตามลักษณะของผลึกที่เกิดขึ้น คือ แบบที่เป็น รูปผลึก ( Crystal ) และแบบที่ไม่เป็นรูปผลึก (Amorphous) แบบที่เป็นรูปผลึก จะแบ่งออกเป็น2 ชนิด คือ ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอน ( Single Crystalline Silicon Solar Cell) และ ชนิดผลึกรวมซิลิคอน ( Poly Crystalline Silicon Solar Cell) แบบที่ไม่เป็นรูปผลึก คือ ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอน ( Amorphous Silicon Solar Cell)
  2. กลุ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากสารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน ซึ่งประเภทนี้ จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 25% ขึ้นไป แต่มีราคาสูงมาก ไม่นิยมนำมาใช้บนพื้นโลก จึงใช้งานสำหรับดาวเทียมและระบบรวมแสงเป็นส่วนใหญ่ แต่การพัฒนาขบวนการผลิตสมัยใหม่จะทำให้มีราคาถูกลง และนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต ( ปัจจุบันนำมาใช้เพียง 7 % ของปริมาณที่มีใช้ทั้งหมด)

การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)      เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ
การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)      เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า
 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)
       เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ
คุณสมบัติและตัวแปรที่สำคัญของเซลล์แสงอาทิตย์       ตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนทำให้เซลล์แสงอาทิตย์มีประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละพื้นที่ต่างกัน และมีความสำคัญในการพิจารณานำไปใช้ในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการนำไปคำนวณระบบหรือคำนวณจำนวนแผงแสงอาทิตย์ที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ มีดังนี้
1. ความเข้มของแสง       กระแสไฟ (Current) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มของแสง หมายความว่าเมื่อความเข้มของแสงสูง กระแสที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ก็จะสูงขึ้น ในขณะที่แรงดันไฟฟ้าหรือโวลต์แทบจะไม่แปรไปตามความเข้มของแสงมากนัก ความเข้มของแสงที่ใช้วัดเป็นมาตรฐานคือ ความเข้มของแสงที่วัดบนพื้นโลกในสภาพอากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอกและวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข้ม ของแสงจะมีค่าเท่ากับ 100 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 1,000 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM 1.5 (Air Mass 1.5) และถ้าแสงอาทิตย์ทำมุม 60 องศากับพื้นโลกความเข้มของแสง จะมีค่าเท่ากับประมาณ 75 mW ต่อ ตร.ซม. หรือ 750 W ต่อ ตร.เมตร ซึ่งมีค่าเท่ากับ AM2 กรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะใช้ค่า AM 1.5 เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพของแผง
2. อุณหภูมิ       กระแสไฟ (Current) จะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่แรงดันไฟฟ้า (โวลท์) จะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วทุกๆ 1 องศาที่เพิ่มขึ้น จะทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลง 0.5% และในกรณีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐานที่ใช้กำหนดประสิทธิภาพของแผงแสงอาทิตย์คือ ณ อุณหภูมิ 25 องศา C เช่น กำหนดไว้ว่าแผงแสงอาทิตย์มีแรงดันไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit Voltage หรือ V oc) ที่ 21 V ณ อุณหภูมิ 25 องศา C ก็จะหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าที่จะได้จากแผงแสงอาทิตย์ เมื่อยังไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ณ อุณหภูมิ 25 องศา C จะเท่ากับ 21 V ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 25 องศา C เช่น อุณหภูมิ 30 องศา C จะทำให้แรงดันไฟฟ้าของแผงแสงอาทิตย์ลดลง 2.5% (0.5% x 5 องศา C) นั่นคือ แรงดันของแผงแสงอาทิตย์ที่ V oc จะลดลง 0.525 V (21 V x 2.5%) เหลือเพียง 20.475 V (21V

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell), เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) หมายถึง, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) คือ, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ความหมาย, เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!