วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

เราศึกษาวิชาประวัติศาสตร์เพื่ออะไร เราเอาความรู้จากการศึกษาวิชาแขนงนี้ไปทำอะไร

อันนี้ไม่ได้มีเจตนาถามหาเรื่องนะ   แค่อยากรู้ว่าเราเอาวิชานี้ไปใช้ประโยชน์อะไร   ส่วนตัวผมเองก็เป็นคนชอบศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แทบจะทุกอย่างที่เขาทำเป็นหนังสือให้อ่าน  ผมว่าพอได้อ่านได้รู้แล้วมันก็เพลินดี  พอรู้แล้วก็อ๋อก็อืม..มันเป็นอย่างนี้นี่เอง  แต่นอกเหนือจากการทำให้เรารู้ในประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังนึกอยู่ว่าวิชานี้ หรือการศึกษาวิชาในแขนงนี้จะนำไปใช้ทำอะไรในชีวิตประจำวันได้อีก

0

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

การศึกษาประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาดังนี้

๑. ก่อให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติบ้านเมืองของตน  คือทำให้เรารู้ถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่ได้สร้างบ้านเมืองมา รักชาติบ้านเมืองไว้ด้วยชีวิต สร้างสมวัฒนธรรมอันดีงามมาสู่รุ่นลูกหลานจึงก่อให้เกิดความภูมิใจ รักหวงแหนมรดกที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ ต้องการที่จะอนุรักษ์และสืบสานสิ่งที่ดีงามไปยังคนรุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไป

๒.  ทำให้เข้าใจทัศนคติของผู้อื่น การศึกษาประวัติศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจความคิดความรู้สึกของคนในสังคมต่างๆ และในเวลาต่าง ๆ กัน

๓.  ทำให้ได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์ เหตุการณ์หรือพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตย่อมมีทั้งด้านดีและด้านร้าย พฤติกรรมใดที่นำความเสียหายมาสู่สังคมส่วนรวมในอดีต ซึ่งอาจส่งผลร้ายมาสู่ปัจจุบันและเชื่อมโยงไปถึงอนาคตด้วย  เราก็จำไว้เป็นบทเรียน  ไม่สร้างความเสื่อมเสียเช่นนั้นอีก เหตุการณ์หรือพฤติกรรมในทางดี  เราก็นำมาเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติ

๔.  ทำให้เราเข้าใจในปัจจุบันชัดเจนขึ้น  การเรียนรู้ว่าชาติหรือประเทศของเรานั้นมีที่มาจากไหน มีพัฒนาการมาอย่างไร มีวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นอย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปเพราะอะไร   ซึ่งจะทำให้เรารู้จักตัวเองและเข้าใจสังคมปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น

๕.  ทำให้ได้ฝึกทักษะที่จำเป็น  ฝึกทักษะที่เป็นประโยชน์ซึ่งนำมาใช้ในการเรียนวิชาอื่นและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่นทักษะการค้นคว้าข้อมูล ทักษะการแสดงความคิดเห็น ทักษะการเขียนรายงานการค้นคว้าด้วยตนเองเป็นต้น

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

เพื่อน ๆ หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ประวัติศาสตร์” กันจนคุ้นหู คำว่าประวัติศาสตร์อาจหมายถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว หรืออาจหมายถึงสาขาวิชาที่ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างก็ได้ ซึ่งวันนี้ StartDee จะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จัก “วิธีการทางประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้นักวิชาการศึกษาประวัติศาสตร์ได้อย่าง เป็นขั้นเป็นตอน ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ และเข้าใจเรื่องราวในอดีตได้มากยิ่งขึ้น

ว่าแต่… กว่าจะเป็นการศึกษาที่มีขั้นตอนชัดเจนขนาดนี้ มนุษย์เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

การศึกษาประวัติศาสตร์ของเฮโรโดตัส

430 ปีก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส (Herodotus) นักเขียนและนักภูมิศาสตร์ผู้มีชีวิตอยู่ในยุคกรีกโบราณได้เขียน The Histories ขึ้น โดยมุ่งหวังว่าการบันทึกนี้จะ “ช่วยให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไม่เลือนหายไปตามกาลเวลา” งานเขียนของเฮโรโดตัสจึงนำเสนอเรื่องราวสาเหตุของการสู้รบและการทำสงครามระหว่างกรีกและเปอร์เซีย และมีการกล่าวถึงประเด็นการเมืองและอารยธรรมของทั้งสองอาณาจักรอย่างละเอียด

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ขอบคุณรูปภาพจาก en.wikipedia.org และ www.amazon.com

นอกจากนี้เฮโรโดตัสยังเดินทางไปค้นหาหลักฐานเพื่อยืนยันเหตุการณ์ และทำให้บันทึกของเขาน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย งานเขียนของเฮโรโดตัสจึงเป็นงานเขียนชิ้นแรก ๆ ที่วางรากฐานการศึกษาประวัติศาสตร์ในตะวันตก นำไปสู่วิธีการทางประวัติศาสตร์ในยุคต่อ ๆ มา และเฮโรโดตัสก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

ความหมาย และความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method) หมายถึงวิธีการสืบค้นเรื่องราวในอดีต หรือการแสวงหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ประกอบกับหลักฐานอื่น ๆ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด บทบาทของวิธีการทางประวัติศาสตร์คือช่วยให้เราศึกษาข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้เป็นระบบ  และทำให้ข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษามีความน่าเชื่อถือ เพราะวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลนั้นถูกต้องตามหลักวิชาการ

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีกี่ขั้นตอนกันนะ ?

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่

  1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา
  2. การรวบรวมหลักฐาน
  3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์คุณค่าของหลักฐาน
  4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
  5. การเรียบเรียงและนำเสนอ

โดยแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

1. การกำหนดหัวเรื่องที่จะศึกษา

หัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการศึกษาอาจเริ่มจากความสงสัยใคร่รู้ในเรื่องต่าง ๆ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือเป็นประเด็นถกเถียงที่ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในแวดวงการศึกษาประวัติศาสตร์ เมื่อได้ประเด็นที่สนใจอยากหาคำตอบแล้ว เราจึงทำการกำหนดประเด็นการศึกษากว้าง ๆ แล้วค่อยจำกัดขอบเขตของประเด็นการศึกษาให้แคบลงให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการศึกษา

2. การรวบรวมหลักฐาน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์คือร่องรอยและข้อมูลต่าง ๆ จากในอดีตที่หลงเหลืออยู่ เราสามารถใช้หลักฐานเหล่านี้มาเป็นข้อมูลประกอบการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  โดยขั้นตอนการรวบรวมหลักฐานคือการค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เราจะศึกษา โดยค้นคว้าจากพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ อินเทอร์เน็ต หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ตามประเภทของหลักฐานนั้น เราสามารถแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้หลายรูปแบบ เช่น

2.1 แบ่งตามลักษณะของการบันทึก ได้แก่

2.1.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ บันทึกใบลาน ศิลาจารึก พงศาวดาร สมุดข่อย จดหมายเหตุ วรรณกรรม หนังสือพิมพ์ ชีวประวัติ และหลักฐานอื่น ๆ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านลายลักษณ์อักษร ยกตัวอย่างเช่นบันทึก The Histories ของเฮโรโดตัสที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้า ก็ถือเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ขอบคุณรูปภาพจาก anatsayaboorapanoey และ www.navanurak.in.th

2.1.1 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หลักฐานทางโบราณคดี ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มนุษย์ในอดีตเป็นผู้สร้างหรือทิ้งไว้ รวมถึงหลักฐานทางสถาปัตยกรรม เช่น วัด วัง ปราสาท สถูป เจดีย์ต่าง ๆ ประติมากรรมรูปปั้น ภาพวาดและจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ หลักฐานทางวัฒนธรรม เช่น นาฏศิลป์ ดนตรี เพลงพื้นบ้าน คำบอกเล่าและมุขปาฐะต่าง ๆ และหลักฐานประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่น ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิดีทัศน์ แผนที่และสื่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ปราสาทหินพิมาย ขอบคุณรูปภาพจาก th.wikipedia.org

วิธีการทางประวัติศาสตร์สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ขอบคุณรูปภาพจาก th.wikipedia.org และ thailandtourismdirectory.go.th

2.2 แบ่งตามคุณค่าและความสำคัญของหลักฐาน ได้แก่

2.2.1 หลักฐานปฐมภูมิ หรือหลักฐานชั้นต้น (Primary Source) คือหลักฐานที่เกิดในยุคสมัยเดียวกันกับเหตุการณ์นั้น ๆ หากผู้จดบันทึกหรือผู้สร้างหลักฐานอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยก็จะทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้นน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก ตัวอย่างหลักฐานชั้นต้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือราชการ พระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุที่ชาวต่างชาติเป็นผู้บันทึก ส่วนหลักฐานชั้นต้นที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุที่สร้างขึ้นในยุคสมัยนั้น ๆ

2.2.2 หลักฐานทุติยภูมิ หรือหลักฐานชั้นรอง (Secondary Source) คือหลักฐานที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์นั้น ๆ จบลงแล้ว ผู้สร้างหลักฐานไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่จัดทำหลักฐานหรือบันทึกต่าง ๆ ขึ้นตามคำบอกเล่าหรือข้อเท็จจริงที่ได้รับมาจากผู้อื่นอีกที ทำให้หลักฐานชั้นรองมีความน่าเชื่อถือน้อยลงเนื่องจากอาจมีความคลาดเคลื่อนในการถ่ายทอดระหว่างบุคคล หรืออาจมีการเสริมเติมแต่งความจริง และมีการใส่อคติของผู้สร้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์รวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ไทย บทความหรืองานวิจัยทางประวัติศาสตร์ รูปปั้นหรือภาพวาดที่จัดทำขึ้นตามคำบอกเล่า เป็นต้น

3. การประเมินคุณค่าของหลักฐาน หรือการวิพากษ์คุณค่าของหลักฐาน

เมื่อได้หลักฐานเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการศึกษาแล้ว เราต้องตรวจสอบว่าหลักฐานประเภทต่าง ๆ ที่ได้มานั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด เหมาะแก่การนำไปศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงหรือไม่ การประเมินคุณค่าของหลักฐานมี 2 วิธี ได้แก่

3.1 การประเมินคุณค่าภายนอก หรือการวิพากษ์ภายนอก เป็นการตรวจสอบหลักฐานจากสภาพและลักษณะภายนอก เพื่อให้ทราบว่าหลักฐานนี้เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือชั้นรอง หลักฐานนี้เป็นของจริงหรือไม่ โดยพิจารณาจากอายุของหลักฐาน วัสดุที่ใช้ ผู้สร้าง วัตถุประสงค์ในการสร้าง และสภาพแวดล้อมที่หลักฐานถูกสร้างขึ้น

3.2 การประเมินคุณค่าภายใน หรือการวิพากษ์ภายใน คือการประเมินข้อมูลภายใน ซึ่งเป็นระดับที่ลึกขึ้น โดยอาศัยการตีความหลักฐานเพื่อให้เข้าใจความหมายและความหมายแฝง รวมถึงการประเมินหลักฐานว่าเป็นจริงหรือเท็จ โดยพิจารณาจากผู้เขียน ช่วงเวลาที่เขียน จุดมุ่งหมายในการเขียน สำนวนภาษา และเปรียบเทียบเนื้อความกับแหล่งอื่น ๆ

4. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

เมื่อทราบว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริง ขั้นตอนต่อมาเราจึงวิเคราะห์ข้อมูล เช่น วิเคราะห์ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ รายละเอียด และผลของเหตุการณ์

5. การเรียบเรียงและนำเสนอ

จากนั้นจึงนำเสนอข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก ในขั้นตอนนี้ผู้ศึกษาจะต้องตอบคำถามที่ได้ตั้งไว้ในหัวเรื่องที่จะศึกษา จากนั้นจึงนำเสนอออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งงานเขียน การบรรยาย อภิปราย ซึ่งเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้สู่สังคม

วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการที่นำมาซึ่งข้อเท็จจริงและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทางประวัติศาสตร์ เพื่อน ๆ สามารถนำวิธีการทางประวัติศาสตร์นี้ไปประยุกต์กับการศึกษาทางประวัติศาสตร์ในอนาคตได้ หรือจะลองสวมบทนักโบราณคดี ไปสำรวจแหล่งโบราณคดีในไทยกับครูกอล์ฟในแอปพลิเคชัน StartDee ก่อนก็ได้ ส่วนเพื่อน ๆ คนไหนที่อยากทบทวนบทเรียนกันต่อก็ไปอ่านบทความ ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาประวัติศาสตร์ กันต่อได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก: สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

Reference:

https://en.wikipedia.org/wiki/Histories_(Herodotus)

https://en.wikipedia.org/wiki/Herodotus

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างไร

วิธีการทางประวัติศาสตร์ มีความสาคัญ คือ ทาให้เรื่องราว กิจกรรม และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นความจริง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด เพราะ การศึกษาอย่างเป็นระบบ อย่างมีขั้นตอน มีความระมัดระวัง รอบคอบ โดยผู้ได้รับการฝึกฝนในระเบียบวิธีการ ทางประวัติศาสตร์มาดีแล้ว

วิธีการทางประวัติศาสตร์มีอะไรบ้าง

๑. การกาหนดประเด็นที่จะศึกษา ๒. การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล ๓. การวิเคราะห์และตีความข้อมูล ๔. การสังเคราะห์ข้อมูล

ประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องเรียนประวัติศาสตร์

เราศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อที่เราจะเข้าใจว่าคนในแต่ละยุคสมัยหรือแต่ละขั้นตอนของประวัติศาสตร์ เขามีชีวิตความเป็นอยู่ มีความสัมพันธ์กัน โต้แย้งกัน ต่อสู้กัน สร้างสรรค์ ศิลปวิทยาการ อารยธรรม ฯลฯ อย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านั้นมีความหมายอย่างไรต่อพัฒนาการของสังคมในขณะนั้น และหลังจากนั้นรวมทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องมาถึงคนในปัจจุบัน ...