นิทานปันหยี หรือ เรื่องอิเหนา เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร

215 ชลดา เรื องรั กษ์ลิ ขิ ต วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ความน� ำ เรื่อง อิเหนา เป็นวรรณคดีส� ำคัญเรื่องหนึ่งของไทยซึ่งมีต้นเค้าดั้งเดิมเป็นนิทานปันหยีของชวา นิทานปันหยีเป็นนิทานวีรบุรุษที่น� ำเนื้อหาบางส่วนมาจากพงศาวดารชวา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีรกรรมของ พระเจ้าไอรลังคะและพระเจ้ากาเมศวรผู้เป็นพระนัดดาในการขยายอาณาจักรชวาโบราณ การแบ่งแยก ชวาออกเป็น ๒ ส่วนของพระเจ้าไอรลังคะและการรวมอาณาจักรที่แบ่งแยกไว้ให้รวมเป็นหนึ่งเดียวของ พระเจ้ากาเมศวร* แห่งอาณาจักรชวาตะวันออกประมาณศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ (ธานีรัตน์ จัตุทะศรี, ๒๕๕๒ : ๒๗-๒๘) ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ หรือ ๒๐-๒๑ ในสมัยที่อาณาจักรมัชปาหิตรุ่งเรือง และมีวัฒนธรรมแบบฮินดู (ก่อนศาสนาอิสลามจะเผยแผ่เข้ามาในอาณาจักร) มีการแต่งนิทานปันหยี เป็นวรรณคดีลายลักษณ์หลังจากถ่ายทอดแบบมุขปาฐะตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๐ (เรื่องเดิม : ๓๓ และ ๓๕) ทั้งยังเผยแพร่ไปยังบาหลีเมื่อมัชปาหิตมีอ� ำนาจเหนือบาหลี (เรื่องเดิม : ๓๕) นิทานปันหยีพัฒนา เป็นหลายส� ำนวนและเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น รูปแบบวรรณกรรม การแสดง ภาพปูนปั้น ภาพสลัก และภาพวาด (เรื่องเดิม : ๓๖-๔๒) ต่อมานิทานปันหยีเผยแพร่เข้าสู่มลายูผ่านการแสดงส� ำคัญในพิธีอภิเษก ระหว่างเจ้านายเชื้อพระวงศ์ของชวากับมลายู หรือผ่านการศึกษาของดาหลังของมลายูซึ่งเป็นผู้พากย์หนัง เมื่อไปศึกษาการแสดงที่ชวา (เรื่องเดิม : ๔๔-๔๖) หลังจากนั้นนิทานปันหยีก็แพร่หลายเข้ามาในหลาย ประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย บาหลี มะละกา และไทย หากกล่าวเฉพาะของไทย นิทานปันหยีแพร่หลายเข้ามาช่วงปลายสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ผู้น� ำเข้ามาเผยแพร่คือหญิงมลายูที่ราชส� ำนักอยุธยาได้มาจากปัตตานี หญิงผู้นี้ เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แล้ว พระธิดาทั้งสองทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครในพระองค์ละ ๑ เรื่อง ได้แก่ เรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา โดยล� ำดับ มีข้อสังเกตว่านิทานปันหยีที่เข้ามาในอยุธยาเวลานั้นน่าจะเป็น ๒ ส� ำนวน จึงมีรายละเอียดแตกต่างกัน บทละครในทั้ง ๒ เรื่องนี้เป็นที่มาของพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง ดาหลัง และ อิเหนา ของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเรื่อง อิเหนา ได้รับความนิยมมากกว่า เป็นเหตุให้เรื่อง ดาหลัง ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักแม้ว่าพระราชนิพนธ์เรื่อง ดาหลัง ในพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะยังคงมีฉบับสมบูรณ์อยู่ในวงการภาษาและวรรณคดีไทยก็ตาม สมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนา ขึ้นใหม่ มีเนื้อหาตั้งแต่ตั้งเมืองของกษัตริย์วงศ์เทวา ๔ เมืองจนถึงอิเหนาสึกชีโดยทรงปรับปรุงจากพระราช- * ในปลายสมัยของพระเจ้าไอรลังคะ พระองค์ทรงแบ่งชวาออกเป็น ๒ ส่วน คือ กุเรปันและดาหา แล้วพระราชทานให้โอรส ๒ พระองค์ปกครอง องค์ละเมือง ต่อมาพระนัดดา คืออินู (แปลว่ารัชทายาท เมื่อครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ากาเมศวร) โอรสของเจ้าเมืองกุเรปันอภิเษกกับ ธิดาของเจ้าเมืองดาหา จึงท� ำให้อาณาจักรชวาที่เคยแบ่งแยกออกจากกันรวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวอีกครั้งหนึ่ง

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=

  • ฮิต: 2185
  • พิมพ์

ประวัติความเป็นมาของอิเหนา

 ประวัติความเป็นมาของอิเหนา

            เรื่องอิเหนามีหลักฐานปรากฏครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ในเรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาควัดท่าทราย

            ซึ่งกล่าวถึงการสมโภชพระพุทธบาทพรรณนาการมหรสพต่าง ๆ ไว้ตอนหนึ่งว่า

 “ร้องเรื่องระเด่นโดย  / บุษบาตุนาหงัน

  พักพาคูหาบรร  / พตร่วมฤดีโลม”

           ซึ่งแสดงว่าในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีเรื่องอิเหนาเล่นแล้ว

        กล่าวกันว่าเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ พระราชธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเป็นผู้นิพนธ์

        โดยฟังเรื่องจากนางข้าหลวงชาวมลายูชื่อยะโว เป็นผู้เล่า เห็นเป็นเรื่องสนุกจึงทรงนำมาแต่งเป็นบทละคร

        เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนิพนธ์เรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่)

        เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงนิพนธ์เรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก)

        ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า ต้นฉบับทั้งสองเรื่องคงเสียหายไปครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 

        เรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

โดยรัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องดาหลังตลอดเรื่อง 

        และรัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์อิเหนาตลอดเรื่องเช่นเดียวกัน 

        อิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่  2 นี้ ถือว่าเป็นฉบับที่ดีเลิศทั้งในกระบวนวรรณศิลป์และนาฏศิลป์

        จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของกลอนบทละครรำ  วรรณคดีเรื่องอิเหนามีเนื้อหาเป็นพงศาวดาร

        แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นนักรบ นักปกครอง

และทรงสร้างความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่างมาก

        อิเหนาเป็นกษัตริย์ชวาที่มีตัวตนอยู่จริงตามประวัติศาสตร์ ชาวชวาถือว่าอิเหนาเป็นวีรบุรุษ 

        เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ทรงปราบปรามหัวเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในอำนาจ

จนได้ชื่อว่าเป็นมหาราชพระองค์หนึ่งในพงศาวดาร 

        ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับอิเหนา จึงมีการต่อเสริมเติมแต่งกลายเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมา

         เนื่องจากนิทานปันหยีหรืออิเหนาเป็นเรื่องราวที่ได้รับความนิยมจากชาวชวาเป็นอย่างมาก เนื้อเรื่องจึงปรากฏหลายสำนวน 

        เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อนำมาทำเป็นบทละครก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ามาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ครั้นมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

        พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้กวีช่วยกันรวบรวมแต่งเติมเรื่องดาหลังและอิเหนาไว้

        ดังที่ปรากฏในบทนำของอิเหนาว่า "แต่ต้นเรื่องตกหายพลัดพรายไป" คงเหลือสมบูรณ์อยู่เฉพาะเรื่องดาหลังหรืออิเหนาใหญ่

        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ มีความไพเราะจนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรดังกล่าวมาแล้ว

เรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยใด

บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีที่มาจากนิทานอิงพงศาวดารชวา ซึ่งแพร่หลายเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏเป็นบทนิพนธ์เรื่องอิเหนาเล็กของเจ้าฟ้ามงกุฏ และเรื่องอิเหนาใหญ่หรือดาหลังของเจ้าฟ้ากุณฑล พระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นยุค ...

เรื่องอิเหนาในสมัยรัตนโกสินทร์มีความสําคัญอย่างไร

คุณค่าพิเศษของบทละครเรื่องอิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีมรดกนี้คือ ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร เช่น ท่ารำ และทำนอง เพลงมีความสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน บทชม โฉมก็สัมพันธ์กับการทรงเครื่อง ทุกอย่างสามารถ กำหนดได้บนเวทีละครอย่างสมเหตุสมผล ก่อให้ เกิดประเพณีการละคร โดยเฉพาะละครใน ...

บทละครเรื่องอิเหนาได้เค้าเรื่องจริงมาจากประวัติศาสตร์ชาติใด

๑. บทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนามีเค้าความจริงจากประวัติศาสตร์ของชวา ๒. อิเหนาได้รับยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครร้อง ๓. อิเหนา บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ด าเนินเรื่องตามอิเหนาเล็ก ของเจ้าฟ้ามงกุฎ

เรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงมีรูปแบบอย่างไร

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนบทละคร ซึ่งเป็นกลอนประเภทกลอนขับร้องที่มีการบังคับคำนำเช่นเดียวกับกลอนเสภา กลอนสักวา กลอนดอกสร้อย แต่กลอนบทละครบังคับคำนำที่นับเป็น 1 วรรคได้ คณะ วรรคนี่งมี ๖ – ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ วรรค และบังคับเสียงวรรณยุกต์ในวรรคเพื่อความไพเราะในการแต่งและอ่านทำนองเสนาะดังนี้