แนวรอยต่อที่พบภูเขาไฟหนาแน่นมีกระบวนการทางธรณีเกิดขึ้นอย่างไร

แนวรอยต่อที่พบภูเขาไฟหนาแน่นมีกระบวนการทางธรณีเกิดขึ้นอย่างไร

แผนที่วงแหวนไฟ

แนวรอยต่อที่พบภูเขาไฟหนาแน่นมีกระบวนการทางธรณีเกิดขึ้นอย่างไร

การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980

วงแหวนไฟ (อังกฤษ: Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องลึกก้นสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก[1] ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt

แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 90 ของแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกและกว่าร้อยละ 80 ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนไฟ นอกจากวงแหวนไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 17 ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร้อยละ 5-6 ของทั้งโลก[2][3] วงแหวนไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก[4] แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนเดฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองงา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.0 เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวแมกนิจูด 8.1 ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.4 ในปี 1970[5]

ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนไฟ เช่น ภูเขาไฟบียาร์รีกา ประเทศชิลี; ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร; ภูเขาไฟฟุจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707; ภูเขาไฟปินาตูโบ ภูเขาไฟมายอน ภูเขาไฟตาอัล และภูเขาไฟกันลาออน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟปินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991; ภูเขาไฟแทมโบรา ภูเขาไฟเคลูด และภูเขาไฟเมราปี ประเทศอินโดนีเซีย; ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และภูเขาไฟเอริบัส ทวีปแอนตาร์กติกา

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย แมกนิจูด 9.0 เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700; แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตาในแคลิฟอร์เนีย; แผ่นดินไหวภาคคันโตในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ราย; แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฮันชินในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย แมกนิจูด 9.3 ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 ราย

ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลอมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์-เลสเต เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาส เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองงา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง[แก้]

  1. http://geography.about.com/cs/earthquakes/a/ringoffire.htm
  2. U.S. Geological Survey Earthquakes FAQ เก็บถาวร 2006-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. U.S. Geological Survey Earthquakes Visual Glossary เก็บถาวร 2005-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. Moving slabs [This Dynamic Earth, USGS].
  5. Earthquakes in the Queen Charlotte Islands Region 1984-1996 เก็บถาวร 2006-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2007-10-03

แนวรอยต่อที่พบภูเขาไฟอยู่อย่างหนาแน่นมีกระบวนการทางธรณีใดเกิดขึ้น

3. บริเวณที่พบภูเขาไฟระเบิดหนาแน่นมีกระบวนการทางธรณีใดเกิดขึ้น แนวค ำตอบ การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

ภูเขาไฟบนแผ่นธรณีเกิดขึ้นได้อย่างไร

ภูเขาไฟเกิดจากการแทรกดันของแมกมาขึ้นมาบนผิวโลกตามช่องว่างหรือรอยแตกของ เปลือกโลก โดยส่วนใหญ่จะมีต ำแหน่งความสัมพันธ์กับรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากันหรือ แนวมุดตัวของแผ่นธรณี โดยเฉพาะบริเวณรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก และยังมีภูเขาไฟที่เกิดขึ้นใน

ภูเขาไฟ ส่งผลต่อธรณีภาคอย่างไร

- ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ - เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน - การระเบิดของภูเขาไฟช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล - การเคลื่อนที่ของลาวาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้หินอัคนีและหินชั้น ซึ่งอยู่ใต้ที่ลาวาไหลผ่าน เกิดการแปรสภาพเป็นหินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น

ภูเขาไฟส่วนมากเกิดขึ้นจากแผ่นธรณีเคลื่อนที่อย่างไร

แต่ภูเขาไฟ (Volcano) มีกำเนิดแตกต่างจากภูเขาทั่วไป ภูเขาไฟเกิดจากการยกตัวของแม็กมาใต้เปลือกโลก เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่เข้าหากัน หรือปะทะกับแผ่นธรณีทวีป แผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นกว่าจะจมลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค และหลอมละลายกลายเป็นหินหนืด หรือแม็กมา (Magma) อย่างไรก็ตาม แม็กมาไม่ได้กำเนิดขึ้นทั่วไปทุกหนแห่ง ...