หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

หัวใจเต้นผิดปกติ (Cardiac arrhythmia) 
หัวใจเต้นผิดปกติเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อย แต่มักไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  อาการของโรคหัวใจเต้นผิดปกติจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ใจสั่น ใจหวิวๆ เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้ามีอาการมากขึ้น อาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตแบบฉับพลันได้

หัวใจเต้นปกติเป็นอย่างไร
ในภาวะปกติอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วหรือช้าขึ้นกับกิจกรรมและความต้องการออกซิเจนของร่างกาย เช่น ขณะนอนหลับหัวใจจะเต้นประมาณ 40-60 ครั้ง/นาที ขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60-80 ครั้ง/นาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเป็นประมาณ 80-100 ครั้ง/ยาที ปละเร็วขึ้นเป็น 100 ครั้ง/นาที ในขณะวิ่ง
หัวใจเต้นผิดปกติเป็นอย่างไร

    หัวใจเต้นผิดปกติคือภาวะที่หัวใจเต้นช้าเกินไปหรือเร็วเกินไปไม่เหมาะสมกับกิจกรรมหรือความต้องการของร่างกาย  นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเต้นไม่สม่ำเสมอก็ได้
สาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติ

หัวใจเต้นช้าผิดปกติเกิดจากความเสื่อมของศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ (SA node) ที่ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมากระตุ้นหัวใจได้ไม่เพียงพอหรือเกิดจากความเสื่อมของสายไฟฟ้า (AV  conducting system) ในหัวใจทำให้ไฟฟ้าที่ออกจาก SA node ไม่สามารถลงไปกระตุ้นหัวใจได้ ในกรณีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมักจะเกิดจากการที่มีจุดกำเนิดไฟฟ้าหรือวงจรไฟฟ้าอื่นนอกเหนือจาก SA node และ AV  conducting system ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมามากเกินไปหรือเกิดการหมุนวนของกระแสไฟฟ้าหรือที่นิยม เรียกกันว่าไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป
อาการ..ของหัวใจเต้นผิดปกติเป็นอย่างไร

    ในรายที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ จะมีอาการเด่นที่สำคัญคือ อาการที่ร่างกายได้รับเลือดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ถ้าหัวใจเต้นช้าไม่มากก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นก็จะมีอาการเหนื่อยในขณะพัก ถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงจะมีอาการหน้ามืด หมดสติหรือเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นได้

    ในรายที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง เหนื่อยง่ายในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคหัวใจอ่อนกำลังอยู่เดิม อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เกิดหัวใจล้มเหลว หมดสติหรือเสียชีวิตได้  

กรณี หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกหัวใจเต้นสะดุด ใจหาย เหนื่อย บางรายอาจมีอาการสะอึก หรือไอตามการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ

จะรู้ได้อย่างไรว่า..หัวใจเต้นผิดปกติ
ขณะเกิดอาการควรตรวจวัดชีพจรดูว่ามีอัตราการเต้นอยู่ที่เท่าไรและมีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะบอกได้แต่วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ขณะที่มีอาการ ซึ่งนอกจากจะบอกได้ว่าความรู้สึกที่หัวใจเต้นผิดปกตินั้นใช่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ ยังสามารถบอกชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติได้อีกด้วย 
อย่างไรก็ตามหัวใจเต้นผิดปกติมักเป็นๆ หายๆ ช่วงสั้นๆ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลในบางรายก็จะหายเป็นปกติแล้ว บ่อยครั้งเราจึงไม่สามารถตรวจพบได้ ในกรณีที่เป็นบ่อยๆ แต่เป็นไม่นาน  
วิธีการรักษาแพทย์จะสั่งให้ตรวจบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา  ซึ่งเรียกเครื่องนี้ว่า  Holter monitoring  เป็นการติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง ไว้กับตัว โดยที่สามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องเสียเวลานอนพักค้างที่โรงพยาบาล

    ในรายที่อาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดนานๆ ครั้ง และเป็นเวลาไม่นาน อาจไม่สามารถพบได้จากการตรวจ ECG หรือ การใช้เครื่อง Holter monitoring ได้  
วิธีการรักษาแพทย์จะสั่งให้ตรวจด้วยเครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา แบบบันทึกเฉพาะเวลาที่มีอาการ  ซึ่งเรียกเครื่องนี้ว่า  Event recorder   มีขนาดเล็ก จึงสามารถพกพาไว้ในกระเป๋า โดยไม่จำเป็นต้องห้อยติดตัวตลอดเวลา  เมื่อใดที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้น ผู้ป่วยสามารถนำเครื่องมาวางบริเวณหัวใจ เพื่อให้เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจได้ทันที และนำมาให้แพทย์แปรผล ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 

    อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องไม่มีอาการหมดสติขณะเกิดอาการ เพราะเครื่องจะไม่สามารถบันทึกการเต้นของหัวใจด้วยตัวเองได้

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด iCATH  อาคาร 1 ชั้น 2
โทร. 02-3487000 ต่อ 2200,2210,2211 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อันตราย แต่สามารถป้องกันและรักษาได้

อ่านต่อ...

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

การทำเอคโค่หัวใจ (Echo) อัลตราซาวด์หัวใจ มีวิธีการตรวจอย่างไร?

อ่านต่อ...

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

นวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

อ่านต่อ...

หัวใจเต้นเร็วแค่ไหนอันตราย

เทคโนโลยีตรวจเช็คโรคหัวใจด้วยเตียงปรับเอียง Tilt table test

อ่านต่อ...

ดูบทความทั้งหมด

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วัดชีพจรอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

ชีพจรเต้นเร็วไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที

อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกติ ขณะพักจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที กรณีที่หัวใจเต้นเร็วคือ สูงกว่า 100 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

หัวใจเต้นเร็วมาก เกิดจากอะไร

การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก นอนน้อย การติดเชื้อ มีไข้สูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) ท้องเสีย ถ่ายเหลวปริมาณมาก

หัวใจเต้นแรงดีไหม

ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นเร็วที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการหน้ามืดหรือหมดสติบ่อยครั้ง เกิดลิ่มเลือด (Blood Clots) ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่โรคที่ร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน หรือโรคหัวใจ หัวใจวาย (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เพียงพอ

ทำยังไงไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว

การรักษา.
งดเหล้า บุหรี่ กาแฟและสารเสพติด.
รักษาต้นเหตุของใจสั่น เช่น ไทรอยด์ อาการไข้ โรควิตกกังวล.
การรักษาด้วยาเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ.
การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด.
การช็อคด้วยไฟฟ้า.
การจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง.
การใส่เครื่องกระตุ้น หรือกระตุ้นหัวใจ.