นักเรียนคิดว่าภาษามีความสำคัญอย่างไร

นักเรียนคิดว่าภาษามีความสำคัญอย่างไร

❝ การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ❞

นักเรียนคิดว่าภาษามีความสำคัญอย่างไร

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

สาระสำคัญ
              ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ

เนื้อหา
             การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

ความสำคัญของการสื่อสาร

 ๑) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจาก การสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
 ๒) การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆ จำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ
 ๓) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ  อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น

ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
         ๑.  ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร  ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร  ภาษาแบ่งออกได้  เป็น  ๒ ชนิด  คือ
               ๑.๑  วัจนภาษา  (verbal  languaye)  เป็นภาษาถ้อยคำ  อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้  การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน  การออกเสียงคำ  และการเรียงเรื่องประโยค  นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร  ลักษณะงาน   สื่อ  และผู้รับสารด้วย
               ๑.๒  อวัจนภาษา  (non-verbal  languaye)  คือภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ  แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ  ได้แก่  สีหน้า  สายตา  ท่าทาง  น้ำเสียง  วัตถุ  ช่องว่าง  เวลา การสัมผัส  กลิ่น  รส  ภาพและลักษณะของอักษร  เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม   เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้  ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ระดับภาษาในการสื่อสาร
               การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส  สถานการณ์และบุคคล  ระดับภาษามี  ๓  ระดับ  คือ
               ๑.  ระดับพิธีการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  เช่น   ภาษาในศาล  การประชุมรัฐสภา  และในพิธีการต่าง ๆ
ตัวอย่าง  ข้าพระพุทธเจ้าของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลอัญเชิญใต้ผ่าละอองธุลีพระบาทพระราชทาน    ปริญญาบัตร
               ๒.   ระดับทางการ
เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในโอกาสหรือเรื่องสำคัญ  ได้แก่ภาษาในบทความวิชาการ  เอกสารทางราชการ  สุนทรพจน์  การประชุมทางการ  ตัวอย่าง  ประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
               ๓.  ระดับกึ่งทางการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้ปรึกษาหารือกิจธุระ  การประชุมไม่เป็นทางการ  บทความแสดงความคิดเห็น  สารคดีกึ่งวิชาการ 


                สามารถสรุปได้ว่าเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์อันมีคุณค่าของบรรพบุรุษ เป็นเครื่องมือเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง คำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระเบียบของเสียงและเรื่องของคำเป็นเครื่องกำหนด ในพจนาณุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525 ใหความหมายของคำว่าภาษาคือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน

    ภาษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา และ อวัจนภาษา

1. วัจนภาษา เป็นภาษาที่พูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำ สร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการพูด นอกจากนั้นยังเป็นหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะเป็นคำที่เลือกสรรแล้ว มีระเบียบในการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา

2. อวัจนภาษา เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจางคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูดหรือสัญลักษณ์ต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญานไฟจราจร สัญญานธง เป็นต้น

   ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

อ้างอิง  https://nungruatai11.wordpress.com


ความหมายของภาษา

บันลือ  พฤกษะวัน(2522หน้า 5) ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า “คือเครื่องมือที่ใช้สื่อความหมายที่สำคัญที่สุดของมนุษย์” เมย์ (MAY,  อ้างถึง  บันลือ  พฤกษะวัน ,2533, หน้า5)ได้กล่าวถึงภาษาว่า  การที่มนุษย์ใช้ภาษาสื่อความหมายกันได้  ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่ามนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์  นอกจากนี้  ศุภวัตน์  ชื่นชอบ  ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ว่า  ภาษาคือเครื่องมือการสื่อสาร (2524, หน้า1)และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2530, หน้า203)ได้ให้ความหมายของภาษาไว้ดังนี้ ภาษา  หมายถึง  เสียงหรือกริยาอาการที่เป็นสื่อเข้าใจความหมายรู้กันได้,คำพูด,ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน โดยสรุปแล้วภาษาก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันและกันให้เข้าใจนั่นเอง

อ้างอิง  https://www.gotoknow.org/posts/212080


ความหมายของภาษา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า “ ภาษา ” ไว้ว่า “ ภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ” (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 : 616)
วิจินตน์ ภาณุพงศ์ อธิบายความหมายของภาษาว่า “ ภาษา หมายถึง เสียงพูดที่มีระเบียบและมีความหมาย ซึ่งมนุษย์ใช้ในการสื่อความคิด ความรู้สึก และในการที่จะให้ผู้ที่เราพูดด้วยทำสิ่งที่เราต้องการ และแทนสิ่งที่เราพูดถึง ” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ 2524 : 85)
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญๆ อันเป็นคุณสมบัติของภาษา สรุปได้ดังนี้ (วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ 2526 : 2)
1. ภาษาประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย โดยนัยของคุณสมบัตินี้ ภาษาหมายถึงภาษาพูดเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ใช้บันทึกภาษาพูด
2. ภาษาเป็นเรื่องของสัญลักษณ์ ซึ่งต้องมีการเรียนรู้จึงจะเข้าใจได้ว่าสัญลักษณ์นั้นมีความหมายว่าอย่างไร
3. ภาษามีระบบ เช่น การเรียงลำดับเสียง หรือการเรียงลำดับคำในประโยค การจะใช้ภาษาให้ถูกต้องจึงต้องเรียนรู้ระเบียบและกฎของภาษานั้นๆ
4. ภาษามีพลังงอกงามอันไม่สิ้นสุด จากจำนวนเสียงที่มีอยู่ ผู้พูดสามารถผลิตคำพูดได้ไม่รู้จบ เราจึงไม่อาจนับได้ว่าในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนคำเท่าใด

     ความหมายของ ภาษา อาจแยกได้เป็นความหมายโดยอรรถและความหมายโดยปริยายดังนี้
     ความหมายโดยอรรถ ภาษา หมายถึง
1. เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความต้องการของมนุษย์เครื่องมือดังกล่าวอาจได้แก่ เสียงพูด เสียงสัญญาณต่างๆ รูปภาพ แผนภูมิ ตัวอักษร ท่าทาง ฯลฯ การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงในกลุ่มชนซึ่งผู้ใช้จะต้อง เรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกันได้
2. การติดต่อ การสื่อความรู้สึก ในหมู่สัตว์ด้วยกัน ได้แก่ การใช้เสียง ท่าทาง ฯลฯ
3. วิชาการแขนงหนึ่ง ว่าด้วยการศึกษาภาษาในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น ศึกษาเพื่อให้มีทักษะ มีความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน หรือศึกษาเพื่อรู้ระเบียบโครงสร้างของภาษา ฯลฯ

     ความหมายโดยปริยาย เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบ ภาษา อาจหมายถึง
1. ความรู้ ความเข้าใจ ความมีทักษะในการ ฟัง พูด อ่าน เขียน
2. กลุ่มชน เผ่า หรือชนชาติ
3. ระเบียบ แบบแผน แบบอย่าง

https://www.l3nr.org/posts/408206

สรุปได้ว่า  ภาษา หมายถึง เครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารถึงกันและกัน ซึ่งภาษาแต่ละท้องถิ่นก็จะแตกต่างกันออกไปอาจจะใช้คำพูดหรือใช้กิริยาท่าทางก็ได้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ 
ความสำคัญของภาษา

 บันลือ  พฤกษะวัน(2522หน้า 13-16) กล่าวว่า ภาษายังเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการถ่ายทอด การเรียนรู้จึงจะสามารถใช้ และ  สื่อความหมายกันได้  ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของภาษาไว้ดังนี้

1. มนุษย์สามารถใช้ภาษาในการติดต่อทำความเข้าใจกันได้ กล่าวคือ สามารถใช้ภาษาแสดงความต้องการทางร่างกายและจิตใจด้วย
2. มนุษย์ใช้ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต

3. ภาษาเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน   โดยเน้นการฝึกฝนที่ถูกวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในประจำวัน

4. ภาษาเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในสังคม เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารและมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

5. ภาษามีความสำคัญต่อบุคคลเพราะการที่บุคคลรู้จักใช้ภาษาได้ดีขึ้นย่อมได้รับการยกย่องจากสังคม

อ้างอิง  https://www.gotoknow.org/posts/212080


ความสำคัญของภาษา

1.เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
การดำเนินชีวิตประจำวันและในการประกอบอาชีพจะมีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องราว ความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการของแต่ละฝ่าย ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสาร ซึ่งจะส่งสารโดยแสดงพฤติกรรมในรูปของการพูด การเขียน หรือแสดงด้วยท่าทาง ส่วนผู้รับสารจะรับสารด้วยการฟัง การดู หรือการอ่าน แต่ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารหรือรับสารก็ตาม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เป็นสะพานเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันคือ ภาษา


2.เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ 
บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์ สะสม อนุรักษ์และถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมให้เป็นมรดกของชาติโดยใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ คนรุ่นหลังจึงใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาแสวงหาความรู้ ประสบการณ์ และรับสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ทั้งการพัฒนาสติปัญญา กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การวิพากษ์วิจารณ์ การแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่งอกงาม กลายเป็นผู้ที่มีชีวทัศน์และโลกทัศน์ที่สอดคล้องกับยุคสมัย สามารถติดตามความเจริญก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆ จึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกปัจจุบัน ซึ่งนำมาพัฒนาประเทศชาติได้อย่างดี


3.เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
ในประเทศไทยนอกจากจะมีภาษาไทยกลางซึ่งเป็นภาษาประจำชาติแล้ว เรายังมีภาษาถิ่นต่างๆ ซึ่งเป็นภาษาที่ติดต่อกันเฉพาะในกลุ่ม และเมื่อกำหนดให้ภาษาไทยกลางเป็นภาษามาตรฐานเป็นภาษาที่ใช้ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในการศึกษา ในทางราชการ และในสื่อสารมวลชน การใช้ภาษาไทยกลางช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมไทยโดยส่วนรวม


4.เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของบรรพบุรุษในรูปของวรรณคดีและวรรณกรรม
การอ่านและการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมแต่ละสมัย ทำให้ชนรุ่นหลังรับรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้แต่ง เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ เข้าใจเหตุการณ์ เข้าใจลักษณะสังคม และสังคมของผู้คนในสมัยนั้นๆ


5.เป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติ
การที่ประเทศไทยมีภาษาไทยกลางเป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีความเจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรม การใช้ภาษาไทยในการนติดต่อสื่อสารทำให้เกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความผูกพันเป็นเชื้อชาติเดียวกัน ทำให้เกิดความปรองดองและร่วมมือกันที่นะพัฒนาชาติไทยให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป

6.เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจ
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงไพเราะเมื่อผู้เขียนได้นำมาแต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เมื่อใครได้อ่านได้ฟังก็จะเกิดความรู้สึกชื่นบาน เกิดความจรรโลงใจ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอะไรก็ตามซึ่งเป็นเรื่องราวที่ช่วยให้เกิดความจรรโลงใจ และความชื่นบานนี้จำเป็นต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ภาษาไทยจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตคนไทยมีความสดชื่น รื่นรมย์ มีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เคร่งเครียด เกิดความคิดสร้างสรรค์ และสังคมดำรงอยู่ได้ด้วยดี

อ้างอิง http://www.htc.ac.th/thai/L1.htm




ความสำคัญของภาษา

      วัฒนธรรมไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ของตน การที่วัฒนธรรมไทยจะสืบทอดลักษณะ และรายละเอียดทั้ง มวล จาก อดีต มาถึงปัจจุบันและจากปัจจุบันที่จะสืบทอดต่อไปในอนาคตได้นั้น ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือทั้งโดยการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  และการเล่าจดจำสืบกันต่อมาจึงมีคำกล่าวว่า   ภาษาไทยจึงเป็นหัวใจของวัฒนธรรม ถ้าปราศจากจากหัวใจคือภาษาเสียแล้ว วัฒนธรรมก็สืบทอดไม่ได้และต้องสูญหายไปโดยเร็วขณะที่ภาษาไทยทำหน้าที่สืบทอดวัฒนธรรมไทยนั้น  ภาษาไทยยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่เป็นเครื่องสื่อความหมายทางวัฒนธรรมด้วย

    ความสำคัญของภาษา ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกำหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ 

 ภาษาช่วยธำรงสังคม
สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยภาษา คือ

– ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน

– ภาษาใช้แสดงกฎเกณฑ์ของสังคมว่าคนในสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ศีล ๕ เป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน

– ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล แต่ละบุคคลมีฐานะ บทบาท และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่างๆ กันไป การใช้ภาษาจึงแสดงฐานะและบทบาทในสังคมด้วย  

 การแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล

ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล ทำให้ทราบถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม ตลอดจนความคิดต่างๆ แต่ละบุคคลจะมีวิธีพูด หรือการใช้ภาษาแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของตน เช่น ถ้าเราอ่านเรื่องของนักเขียนคนนั้นหลายๆ เรื่องก็จะทราบว่านักเขียนคนนั้นชอบหรือไม่ชอบอะไร

ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
มนุษย์อาศัยภาษาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ต่อๆ กันมา ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น มนุษย์ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องทุกเรื่องใหม่ แต่สามารถพัฒนาค้นคว้าต่อให้เจริญก้าวหน้าต่อไป    บางครั้งเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้ภาษาอภิปรายโต้แย้งกัน ทำให้ความรู้ความคิดเจริญงอกงามยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาษาเขียนจะช่วยบันทึกเรื่องราวความรู้ต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ คำสั่ง สัญญา คำพิพากษา กำหนดการ คำพยากรณ์ ซึ่งจะเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ในบางกรณีสิ่งที่กำหนดล่วงหน้าไว้นี้อาจไม่เป็นไปตามนั้นก็ได้ เพราะอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

ภาษาช่วยจรรโลงใจ  

การจรรโลงใจ คือ ค้ำจุนจิตใจให้มั่นคง ไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ โดยปกติมนุษย์ต้อง

การได้รับความจรรโลงใจอยู่เสมอ มนุษย์จึงอาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร ฯลฯ ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยดี        ภาษามีความสำคัญสำหรับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วย ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ไม่ได้คิดว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเท่านั้น เช่น การตั้งชื่อก็จะหลีกเลี่ยงคำที่มีเสียงคล้ายคลึงกับสิ่งไม่ดี สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือมีความหมายไม่เป็นมงคล หรือการถูกนินทาก็จะเสียใจ ได้รับคำชมก็ดีใจ ดังกล่าวนี้ในบางครั้งมนุษย์ก็ยึดมั่นกับตัวอักษรโดยไม่พิจารณาเหตุผล   การที่ภาษาช่วยจรรโลงจิตใจของมนุษย์จะช่วยให้สังคมอยู่ได้ด้วยดี ทำให้โลกสดชื่นเบิกบาน ช่วยคลายเครียด


อ้างอิง https://nungruatai11.wordpress.com


สรุปได้ว่า ภาษาถือเป็นหัวใจหลักในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาในการบอกความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด หรือสื่อสารเรื่องราวต่างๆให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ได้ทำให้เกิดสัมพันธ์อันดีงามต่อกัน และนอกจากนี้ภาษายังเป็นวัฒนธรรมประำชาติอีกด้วย


ระดับของภาษา

  1.      ระดับภาษา ระดับภาษา คือ การใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ในโอกาสที่แตกต่าง หรือใช้กับผู้รับสารแต่ละ บุคคลย่อมมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป
  2.      ระดับภาษา ระดับที่เป็นทางการ ( แบบแผน ) ระดับที่ไม่เป็นทางการ ( ไม่เป็นแบบแผน ) ระดับทางการ ( แบบแผน ) ระดับกึ่งทางการ ( กึ่งแบบแผน ) ระดับไม่เป็นทางการ (ไม่เป็นแบบแผนหรือภาษาปาก ) ระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับไม่เป็นทางการ : ระดับสนทนา ระดับปาก (กันเอง)
  3.     ระดับของภาษาแบ่งตาม การใช้ภาษาตามสัมพันธภาพ ของบุคคล ตามโอกาสและกาลเทศะ แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับสนทนา ภาษาระดับกันเอง
  4.  ๑. ภาษาระดับพิธีการ  เป็นภาษาที่มีการเลือกสรรถ้อยคาในระดับสูง ไพเราะ สละสลวย  โอกาสที่ใช้ภาษาระดับนี้จะเป็นงานพิธีที่มีความสาคัญ  สัมพันธภาพระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสารจะเป็นในลักษณะการ สื่อสาร แบบทางเดียว  เช่น คากราบบังคมทูลในงานพระราชพิธี พระบรมราโชวาท สุนทร พจน์ วรรณคดีมรดก เป็นต้น
  5.  ตัวอย่าง เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทเจริญพระ ชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ปวงประชาชาวไทยขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย ขอให้ สิ่งศักด์ิสิทธ์ิอันทรงมหาพลานุภาพทั้งหลาย จงโปรดอภิบาลบันดาลดลให้ใต้ฝ่า ละอองธุลีพระบาทจงเจริญด้วยมิ่งมหาศุภสวัสด์ิ เจริญพระชนมพรรษานับหมื่น ๆ ศตพรรษ สถิตเสถียรเป็นร่มโพธ์ิทองของปวงประชาชาวไทย ตราบชั่วกัลปาวสาน ( ภาวาส บุนนาค . “ ราชาภิสดุดี ” ใน ภาษาพิจารณ์ เล่ม ๒, หน้า ๑๓๙.)
  6.  ๒. ภาษาระดับทางการ  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาแบบแผน  เป็นภาษาที่มีการเลือกสรรถ้อยคาอย่างถูกต้องตามแบบแผนของ ภาษาไทยที่ดี ใช้ถ้อยคาสุภาพ อาจมีการใช้ศัพท์ทางวิชาการปะปนอยู่ ด้วย  เกิดขึ้นเนื่องจากตาแหน่งหน้าที่ หรือการติดต่อประสานงานที่เป็น ทางการเท่านั้น  เช่น การเขียนรายงานทางวิชาการ งานวิจัย ตา รา บทความทางวิชาการ หนังสือราชการ เป็นต้น
  7. ตัวอย่าง ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชจง คุ้มครองประเทศชาติและประชาชนชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติภัยทั้ง ปวง อริราชศัตรูภายนอกอย่าล่วงเข้าทาอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอด วายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุขความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาล ความร่มเย็นแก่อเนกนิกรชนครบคามเขตขอบขัณฑสีมา
  8. ๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ  เป็นภาษาที่ใช้เพื่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความรวดเร็ว ลดความเป็นทางการลงบ้าง เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยงิ่ขึ้นระหว่างผู้ ส่งสารและผู้รับสาร  มักใช้ในการปรึกษาหารือกิจธุระระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล การ ประชุมกลุ่ม การปรึกษางาน การวางแผนร่วมกัน ฯลฯ  มีการเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับผู้ ส่งสาร  เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย
  9.  ตัวอย่าง “… หนังเรื่องนี้มีโครงเรื่องหลักอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศโลกในองค์รวม อันเป็นผลพวงจากปฏิกิริยาเรือนกระจก หรือ green house effect ซึ่งเกิดจากน้ามือมนุษย์โลกอย่างเราๆทั้งนั้น ไม่ว่า จะเป็นการเผาไหม้เชื้อเพลิงให้เกิดความร้อนและควันลอยขึ้นไปเกิดเป็น ชั้นห่อหุ้มโลกไว้ ส่งผลให้รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายัง โลกสะท้อนกลับออกไปในห้วงอวกาศไม่ได้โลกเลยกลายเป็นเตาอบยักษ์ ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ…” (ชาธร สิทธิเคหภาค, ๒๕๔๗: ๑๑๒)
  10. ๔. ภาษาระดับสนทนา (ไม่เป็นทางการ)  เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ยังไม่ถึง ขั้นสนิทสนม  ใช้เฉพาะการพูด การสนทนาในชีวิตประจาวัน เช่น การพูดจากัน ระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนที่มาติดต่องาน หรือการแนะ นาตัวใน งานสังคม โดยที่บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  มักจะนาไปใช้ถ่ายทอดในงานเขียนเรื่องบันเทิงคดี เช่น บทสนทนา ในนวนิยายหรือเรื่องสั้น บทละคร การเขียนบันทึกส่วนตัว เป็นต้น
  11. ตัวอย่าง บทความเรื่องเขาอีโต้ สถานีความมันเชิงเขาใหญ่ ในคอลัมน์BikeLine ความว่า “...ความตั้งใจในการเดินทางของผมครั้งนี้อยู่ที่การหาเส้นทาง ซอกแซกไปที่น้าตกเหวอีอ่า ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ความตั้งใจมิเป็นผล เมื่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯที่หน่วยพิทักษ์ป่าคลองเพกาปฏิเสธอย่างนิ่มนวลว่า ไม่ สามารถอนุญาตให้ขึ้นไปปั่นจักรยานได้ เนื่องจากยังไม่มีนโยบายให้ปั่น จักรยานขึ้นไปเที่ยวน้าตกเหวอีอา่ ซึ่งคงจะต้องรอไปอีกพักใหญ่ๆ เพราะอยู่ ในช่วงสารวจจัดทาเส้นทาง โดยทางอุทยานฯมีแนวคิดที่จะเปิดให้จักรยานเสือ ภูเขาขึ้นไปอยู่แล้ว แต่เมื่อไหร่ยังไม่ทราบ เป็นคา ปฏิเสธที่นุ่มนวล เราจึงได้แต่ น้อมรับโดยดี…” (หมูหวาน, ๒๕๔๗: ๗๒)
  12. ๕. ภาษาระดับปาก หรือภาษาระดับกันเอง  เป็นภาษาที่ใช้ในวงจากัด ใช้กับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกันเป็นพิเศษ เช่น ระหว่างเพื่อนสนิท บุคคลในครอบครัว  สื่อสารกันในเนื้อหาที่รับรู้กันได้เฉพาะคู่สนทนาเท่านั้น  สถานที่ใช้มักเป็นที่ส่วนตัว เช่น ที่บ้าน  เน้นความสนุกสนาน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  สารที่สื่อถึงกันไม่มีขอบเขต แต่มักใช้ในการพูดจากันเท่านั้น  อาจปรากฏอยู่ในบทสนทนานวนิยายหรือเรื่องสั้นเพอื่ความสมจริง บทความเสียดสีล้อเลียนในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
  13. ตัวอย่าง บทสนทนาจากนวนิยายเรื่องมายาตะวัน กล่าวว่า “เออ นังบ้า ไป ไปนั่งรวมกันที่เก้าอี้โน่น จาไว้ ถ้าคิดหนีฉันยิงจริงๆ ไอ้ชิด เอ็งดูนังสองตัวนี่ให้ดี ถ้ามันไปที่ประตูเมื่อไหร่ยิงมันได้เลย” เชนขู่เสียงเกรี้ยว (กิ่งฉัตร, ๒๕๔๙: ๔๖๒)
  14. อ้างอิง http://www.slideshare.net/thaisubject/ss-41933082
  15.  
  16. ระดับของภาษา
  17.       ระดับของภาษา คือ การใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนในโอกาสที่แตกต่าง หรือใช้กับผู้รับสารแต่ละบุคคลย่อมมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป  การเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับของภาษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราพะระดับของภาษาจะเป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร  ผู้ใช้จำเป็นจะต้อคำนึงถึงกาลเทศะเป็นประการสำคัญ  ภาษาลักษณะหนึ่งอาจจะเหมาะสำหรับใช้ในกาลเทศะอย่างหนึ่ง  แต่อาจไม่เหมาะสำหรับใช้ในกาลเทศะอีกอย่างหนึ่งก็เป็นได้
  18. ลักษณะภาษาในระดับต่างๆ
    ภาษาที่ใช้ในระดับต่างๆ มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
    ๑.ภาษาระดับพิธีการ ผู้ใช้ภาษาระดับพิธีการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญต่างๆ ผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มใหญ่ ใช้การส่งสารผ่านสื่อสารมวลชน หรือในที่ประชุมชน ภาษาระดับนี้มีการเลือกถ้อยคำที่สุภาพสละสลวย สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับพิธีการ ได้แก่ คำกล่าวในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์ โอวาท ปาฐกถาคำกล่าวสดุดี คำไว้อาลัย คำกล่าวปราศรัย การแนะนำบุคคลสำคัญ บทร้อยกรองที่ต้องการจรรโลงใจให้ข้อคิด

    ๒.ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารในวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพเดียวกัน ผู้รับสารกับผู้ส่งสารมีความสัมพันธ์กันในด้านหน้าที่การงาน สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับทางการ ได้แก่ งานเขียนทางวิชาการสาขาต่างๆ งานเขียนในแวดวงอาชีพเดียวกัน เอกสารของราชการ เช่น รายงานการประชุม จดหมายราชการ คำสั่งประกาศ การประชุมปรึกษาในวาระสำคัญ การเขียนข้อสอบอัตนัย การเป็นพิธีกรรายการที่มีสาระ

  19. ๓.ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันวงการวิชาการหรือวงการอาชีพ สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ ได้แก่ งานเขียนในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทบรรยายในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายกิจธุระ จดหมายธุรกิจ จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลซึ่งไม่คุ้นเคยกัน การประชุมภายในหน่วยงาน การพูดโทรศัพท์กับบุคคลทั่วไป การเป็นพิธีกรรายการบันเทิง

    ๔.ภาษาระดับสนทนาหรือระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารกับบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น เพื่อน ญาติ การเรียบเรียงภาษาไม่เคร่งครัดตามหลักไวยากรณ์มากนัก สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับสนทนา ได้แก่ การสนทนากับบุคคลทั่วไป บทสนทนาใน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร จดหมายส่วนตัวที่เขียนถึงบุคคลที่มีความสนิทสนมกัน การรายงานข่าวชาวบ้านในรายการโทรทัศน์ การเขียนบันทึกส่วนตัว การเขียนบทความในหนังสือพิมพ์

    ๕.ภาษาระดับกันเองหรือระดับปาก ภาษาระดับนี้ใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเป็นพิเศษ เช่น เพื่อนสนิท ลักษณะภาษาอาจมีคำไม่สุภาพปะปนอยู่บ้าง สถานการณ์ที่ใช้ภาษาระดับกันเอง เช่น การสนทนากับบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมาก การเขียนบทสนทนาในนวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร การเขียนจดหมายติดต่อสื่อสารกับเพื่อนสนิท การเขียนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ 

  20. หลักการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา        

  21. การใช้ภาษาระดับใดในการสื่อสารจึงจะเหมาะสมนั้น ควรพิจารณา ดังนี้
    ๑. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ถ้าใช้ภาษาสื่อสารกับบุคคลที่มีความคุ้นเคย ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากอาจใช้ภาษาระดับกันเอง แต่ถ้าไม่คุ้นเคยกับบุคคลนั้นควรใช้ภาษาระดับสนทนา
    ๒. กาลเทศะ การใช้ภาษาให้ถูกต้องควรคำนึงถึงกาละหรือโอกาส และเทศะหรือสถานที่
    ๓. เนื้อของสาระ การใช้ภาษาระดับใดขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อ
    ๔. วิธีการสื่อสาร วิธีการสื่อสารที่มีลักษณะเปิดเผย แม้จะส่งสารถึงเพื่อนใกล้ชิดสนิทสนม ก็ไม่ควรใช้ภาษาระดับกันเอง เพราะถ้ามีผู้อื่นมาเห็นเข้าก็จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้เขียนได้ ถ้าเป็นการสื่อสารผ่านมวลชน ก็ยิ่งจะต้องระมัดระวังมากขึ้น
  22. อ้างอิง http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3841


  23. ระดับภาษา

  24. การสื่อสารด้วยการพูดนั้น  ต้องคำนึงถึงระดับของภาษา  เนื่องจากสังคมไทยมีการเคารพและยกย่องกันตามอาวุโส และตำแหน่งหน้าที่  ภาษาที่เราใช้สนทนากับเพื่อนสนิท อาจนำไปสนทนากับครูอาจารย์ไม่ได้  เนื่องจากคำอาจไม่สุภาพเหมาะสม  หรือภาษาที่เราใช้สนทนากับคนในครอบครัวก็อาจไม่เหมาะสมที่จะสนทนากับคนแปลกหน้า  เป็นต้น  นอกจากนี้การสื่อสารกับบุคคลเดียวกันแต่ต่างโอกาสหรือต่างสถานที่กัน ก็ต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะสม ภาษาบางระดับคนบางคนอาจจะไม่มีโอกาสใช้เลย เช่น ภาษาระดับพิธีการ   บางระดับต้องใช้กันอยู่เสมอในชีวิตประจำวันการเรียนรู้เรื่องระดับภาษา จึงเป็นเรื่องจำเป็น ถึงแม้บางระดับเราไม่ได้ใช้แต่ อย่างน้อยก็ทำให้เรารับรู้ว่าภาษามีระดับ เมื่อถึงคราวที่จะต้องใช้ก็จะใช้ได้อย่างถูกต้อง ไม่ต้องถูกใครมาตำหนิว่าพูดจาไม่เหมาะสม
    ดังนั้นการใช้ภาษาจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาสเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงมารยาท และ ความสุภาพเหมาะสม  

     ภาษาแบ่งออกเป็น ๕ ระดับ  ดังนี้

     1) ภาษาระดับพิธีการ

     2) ภาษาระดับทางการ

     3) ภาษาระดับกึ่งทางการ

     4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป

     5) ภาาระดับกันเอง

                 การแบ่งระดับภาษาดังกล่าวนี้ โอกาสและบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าเรื่องอื่นๆ

     1) ภาษาระดับพิธีการ

         ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี

    กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่างเป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่ม การใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้น ถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่ง ยิ่งใหญ่จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น

      2) ภาษาระดับทางการ

         ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก

    อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน  อาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน

     3) ภาษาระดับกึ่งทางการ 

         ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลงผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย

     4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป      

        ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็นการส่วนตัวเต็มที่ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน  จึงต้องคำนึงถึงความสุภาพมิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา

    5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก

        ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัดอาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัว    สถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก ได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวด ฯลฯ

         

  25. อ้างอิง https://krusurang.wordpress.com
  26. สรุปได้ว่า  ระดับภาษาแบ่งออกเป็น 5 ได้แก่
  27. 1.ภาษาระดับพิธีการ                                                                                    

    เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่จัดเป็นพิธี

    2. ภาษาระดับ

    เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการ การรายงานทางวิชาการ หรือจดหมายที่ติดต่อในวงธุรกิจ เป็นภาษาที่มีแบบแผนในการใช้                                                   

    3.  ภาษาระดับกึ่งทางการ

    คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้างเพื่อแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้สงสารกับผู้ใช้สาร

    4. การใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ

    เป็นภาษาที่ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน ในสถานที่หรือกาละที่ไม่เป็นส่วนตัว เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกันอยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว

    5. ภาษาระดับกันเอง

    เป็นภาษาที่ใช้กันในครอบครัว เพื่อนสนิท ซึ่งพูดจากันในเรื่องใดก็ได้   

  28.  การใช้ภาษาผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาท กาลเทศะ เพราะแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอน เป็ผู้มีสมบัติผู้ดีและมีจิตใจดี

ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษา และลีลาในการสอน
ทักษะ คือ การพูดของผู้สอนว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจและวิธีการพูดโน้มน้าวผู้เรียนต่างๆ และทักษะการเคลื่อนไหว ผู้สอนควรจะเคลื่อนไหว ผู้สอนอย่างไรให้เหมาะสมกริยาท่าทางต่างๆที่ผู้สอนเคลื่อนไหวในชั้นเรียนและตลอดเวลาการสอนและหมายถึงความคล่องแคล้ว ความชำนาญในการสอน
เทคนิค คือ กลวิธีและรูปเล่มที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆ
การสอน คือ การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์
ความสำคัญของทักษะการสอน
1.ถ้าเรามีทักษะการสอนเราสามารถสอนได้ และส่งเสริมความชำนาญ
2.ทักษะนับเป็นจุดมุ่งหมายหมวดหนึ่งของการศึกษาครูจะฝึกควบคู่กับความรูและเจตคติ
3.ช่วยให้เกิดความมั่นใจ ความคล่องแคล่วในการสอน
4.ช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการสอน เพราะถ้าผิดพลาดเด็กจะเข้าใจในการสอน
5.ช่วยให้สอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
6.ช่วยให้เกิดความชื่นชม ศรัทธาจากผู้เรียนเพราะผู้สอนสามารถสอนได้กระฉับกระเฉงถูกต้อง
7.ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสามารถพัฒนาการสอน
ทักษะการสอนพื้นฐาน หมายถึงความสามารถความชำนาญในการสอน ไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน และการที่ครูจะมีความสามารถในการใช้ทักษะให้ได้ผลนั้นต้องมีการแยกทักษะแต่ละลักษณะให้ชำนาญเสียก่อน
1.ทักษะการนำสู่บทเรียน
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้นักเรียนเกิดความพร้อมในการที่จะเรียน
2.เพื่อโยงประสบการณ์จากเดิมของผู้เรียนเข้ากับประสบการณ์ที่จะสอน
3.เพื่อจัดบรรยากาศของการเรียนให้เป็นที่น่าสนใจ
4.กำหนดขอบเขตของบทเรียนว่าจะเรียนอะไร แค่ไหน
5.เพื่อให้ผู้เรียนรู้ความหมาย ความรู้ความคิดรวมยอด หลักการของบทเรียนใหม่
ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน
1.ก่อนเริ่มบทเรียน
2.ก่อนเริ่มอธิบายและซักถาม
3.ก่อนจะตั้งคำถาม
4.ก่อนจะให้นักเรียนอธิบาย
5.ก่อนจะให้นักเรียนดูภาพยนต์
6.ก่อนทำกิจกรรมต่างๆ
เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน
1.ใช้อุปกรณ์การสอน เช่นของจริง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ
2.ลองให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบ้าง อย่างมีสัมพันธ์กับบทเรียน การให้นักเรียนลองใส่RAMในคอมพิวเตอร์
3.ใช้เรื่องเล่านิทานหรือเหตุการณ์ต่างๆเพื่อนำสู่บทเรียน
4.ตั้งปัญหา ทายปัญหา เพื่อเร้าความสนใจ
5.สนทนาซักถามเรื่องต่างๆเพื่อนำสู่บทเรียน
6.ทบทวนบทเรียนเดิมที่สัมพันธ์กับบทเรียนใหม่
7.แสดงละคร
8.ร้องเพลง เป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ
9.สาธิต ซึ่งอาจสาธิตโดยครู
10.ทำสิ่งที่แปลกไปตามเดิมเพื่อเรียกร้องความสนใจ
11.ให้นักเรียนฟังเพลงต่างๆเช่นเสียงดนตรี
2.ทักษะการใช้กริยาวาจา ท่าทางการสอน
การใช้กริยาวาจานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของครู เพราะนักเรียนจะเกิดความพอใจและสนใจที่จะเรียน บุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของครู รวมทั้งความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างครูกับนักเรียน ไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย
เทคนิคการใช้กริยา และท่าทางประกอบในการสอน
1.การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนอิริยาบท
เข้ามาในห้องครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างาม ดูเป็นธรรมชาติ และครูควรเดินดูนักเรียนให้ทั่วถึง เป็นการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่นักเรียนไม่เข้าใจ
2.การใช้มือและแขน
เป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของนักเรียน เพราะนักเรียนชอบดูความสนใจสิ่งที่เคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง การใช้มือและแขนควรสัมพันธ์กับเรื่องจะสอน มองดูไม่ขัดตา ควรให้เหมาะสมกับโอกาสและเนื้อหาที่จะสอน และให้มีลักษณะการใช้ที่เป็นธรรมชาติ
3.การแสดงออกสีหน้าสายตา
ช่วยในการสื่อความหมายของผู้เรียน ในการแสดงออกสีหน้าของครู โดยทั่วไปครูที่ดีของครูควรมีใบหน้าที่แสดงออกถึงความเป็นมิตร ความรัก ความเห็นอกเห็นใจและครูควรกวาดสายตาไปให้นักเรียน
4.การทรงตัวและวางท่าทาง
ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ตึงเครียด หรือเกร็งเกินไปควรวางตัวให้เป็นธรรมชาติ
5.การใช้น้ำเสียง
ครูควรใช้น้ำเสียงที่น่าสนใจ เสียงดังฟังชัด ออกเสียง ร  ให้ชัดเจนต้องใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียง
6.การแต่งกาย
เป็นสิ่งสำคัญและดึงดูดความสนใจของนักเรียน ควรแต่งกายให้เรียบร้อยเหมาะสม เพราะถ้าครูแต่งสวยเกินไปนักเรียนก็จะให้ความสนใจกับการแต่งกายของครูมากกว่าบทเรียน
3.ทักษะการอธิบาย
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเป็นการบอกการเล่าให้เห็นตามลำดับขั้นตอนการสอนและการอธิบายควรมีการยกตัวอย่าง มี 2ทางคือ
1แบบนิรนัย โดยบอกแล้วยกตัวอย่างขยายกฎหรือหลักการนั้นๆให้เข้าใจ ทฤษฎีหลักการ
2.แบบอุปนัย การยกตัวอย่างรายละเอียดย่อยๆ แล้วให้เด็กคิดวิเคราะห์รวบรวมเป็นหลักการ
ลักษณะการอธิบาย
ใช้เวลาอธิบายไม่เกิน10 นาที ควรใช้ภาษาที่ง่ายๆที่เด็กเข้าใจง่ายควบคลุมใจความสนใจเรื่องยากไปง่ายและอธิบายตามแนวคิดของนักเรียนเราจะรู้ว่าเด็กเด็กเข้าใจหรือไม่เข้าใจและครูควรสรุปผลการอธิบายให้เด็กนักเรียนเข้าใจด้วย
4.ทักษะการเร้าความสนใจ
เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการเรียนการสอนประสบผลดี เพราะจะช่วยให้ครูปรับปรุงกลวิธีการสอน
ประโยชน์
1.เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนมากขึ้น
2.เด็กมีความสนใจในบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
3.ทำให้ครูมีความสนใจในการสอนและเด็กสนใจเรียน
เทคนิคการเร้าความสนใจ
1.การใช้   ท่าทางประกอบการสอน
2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง  ถ้อยคำน้ำเสียงควรกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจ
3.การเคลื่อนไหว ขณะสอน ครูควรเปลี่ยนจุดนั่ง และจุดยืนของตน   ภาพเคลื่อนไหวย่อมมีชีวิตมากกว่า และน่าสนใจกว่า
4.การเน้นจุดสำคัญ ต้องใช้ลีลา น้ำเสียง และการเว้นระยะการพูดหรือการอธิบาย
5.ทักษะการใช้คำถาม
เป็นสิ่งสำคัญในการสอน เฉพาะอย่างการใช้คำถามให้เด็กคิดเห็น สติปัญญาเป็นผู้ตามต้องเข้าใจจัดประสงค์ของคำถาม และไม่ควรเป็นคำถามที่อธิบาย แต่ควรเป็นคำถามที่เน้นวิเคราะห์
ประเภทคำถาม
1.คำถามที่ใช้ความคิดพื้นฐาน  เป็นคำถามง่ายๆไม่ต้องคิดลึกซึ้ง
คำถามที่ขยายความคิด เมื่อให้เด็กมองสิ่งที่เรียนอยู่และขยายความในสิ่งที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คำถามประเภทได้แก่ การคาดคะเน เป็นคำถามเชิงสมมุติฐาน คาดการณ์ ซึ่งคำตอบย่อมเป็นไปได้หลายอย่าง
–          คำถามที่ใช้การวางแผนเป็นคำถามที่เสนอแนวคิดทางโครงการหรือเสนอแผนงานใหม่
–          การวิจารณ์ เป็นคำถามที่ผู้ตอบพิจารณ์เรื่องราวหรือเหตุการณ์ในจุดสำคัญ
–          การประเมินค่า  ว่านักเรียนชอบสิ่งไหนมากกว่ากัน
เทคนิคการใช้คำถาม

  1. ถามด้วยความสนใจ
  2. ถามอยางกลมกลืน
  3. ถามโดยใช้ภาษาที่พูดเข้าใจง่าย
  4. การให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคนในการสอน
  5. การเลือกถาม ควรถามผู้เรียนที่อ่อนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจดังนี้
  6. การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ ควรให้คำชมเชยกับเด็กที่ตอบคำถาม
  7. การใช้คำถามหลายๆประเภทในการสอนแต่ละครั้ง
  8. การใช้กิริยาท่าทางเสียงในการประกอบคำถาม
  9. การใช้คำถามเชิงรุก การใช้คำถามต่อเนื่องอีก เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้และขยายความคิด
6.ทักษะ การใช้อุปกรณ์การสอน
ประโยชน์ของอุปกรณ์การสอน
  1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
  2. เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
  3. ทำให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด
  4. ทำให้เกิดทักษะการศึกษาหาความรู้
  5. ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆได้นาน
  6. ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์
เทคนิคการใช้อุปกรณ์
  1. ใช้อุปกรณ์อย่างคล่องแคล่ว
  2. แสดงอุปกรณ์ให้เห็นชัดทั่วห้อง
  3. ควรหาที่ตั้ง  แขวนอุปกรณ์ที่มีขนานใหญ่
  4. ควรใช้ไม้ยางและมีปลายแหลมชี้แผนภูมิ
  5. ควรนำอุปกรณ์มาวาง  เรียงกันไว้เป็นลำดับก่อนถึงเวลาสอนเพื่อสะดวกในการหยิบใช้
  6. ควรเลือกใช้เครื่องมือประกอบการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม
  7. ควรมาการเตรียมผู้เรียนก่อนล่วงหน้าการใช้อุปกรณ์
  8. ควรใช้อุปกรณ์ให้คุ้มค่ากับที่เตรียมมา
  9. พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรม
  10. ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์บางชนิด
7ทักษะและเทคนิคการใช้กระดานดำ
  1. ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่เข้าสอน
  2. การเรียนควรแบ่ง3ส่วนหรือ4ส่วน หรือขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเขียน
  3. ในการเรียนควรเขียนจากซ้ายมือไปขวามือ
  4. ถ้ามีหัวข้อเรื่อง ชื่อเรื่องควรไว้ตรงกลางกระดานดำในส่วนที่เราแบ่งไว้
  5. ขณะเขียนต้องแบ่งกระดานพอประมาณ
  6. ในการเขียนหนังสือ ต้องให้เป็นเส้นตรงไม่คดเคียว
  7. ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนการดานดำ ไม่ควรยืนมาก
  8. ถ้ามีข้อความสำคัญ อาจใช้ชอล์กขีดเส้นใต้
  9. ควรใช้ชอล์กสี เมื่อต้องการเน้นข้อความโดยเฉพาะ
  10. เขียนคำตอบของผู้เรียนลงกระดาน เพื่อเสริมกำลังใจ
  11. ใช้เครื่องมือในกานเขียนรูปทรงบนกระดาน
  12. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการใช้กระดานดำด้วย
  13. ถ้ามีเรื่องใหม่ควรลบของเก่าออกให้หมด
  14. การลบกระดานต้องลบให้ถูกวิธี โดยลบกระดานจากบนลงล่างและลบไปทางเดียวกัน
8.ทักษะการเสริมกำลังใจ
ประเภทการเสริมกำลังใจ
  1. ความต้องการภายใน เช่น ความพอใจ
  2. การเสริมกำลังใจภายนอก เช่น การชมเชย การให้รางวัล ได้แก่
–     การเสริมกำลังใจโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการชมเชย เช่นตบมือ
–     การเสริมกำลังไว้โดยการให้รางวัล
–     โดยการให้ผู้เรียนเห็นความต้องการของตนเอง
9.ทักษะการสรุปบทเรียน
–     เป็นการสอนที่ผู้สอนพยายามให้นักเรียนรวบรวมความคิด ความเข้าใจของตนจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ว่าได้สาระสำคัญหลักเกณฑ์   ข้อเท็จจริง
–     การสรุปบทเรียนเป็นสิ่งที่ต้องทำคู่กับการสอน
รูปแบบการสรุปบทเรียน มี 2 รูปแบบ คือ
  1. การสรุปคิดเนื้อหาสาระ
  2. การสรุปคิดความเห็น
เทคนิคการสรุปบทเรียน
  1. สรุปโดยการอธิบาย
  2. สรุปโดยใช้อุปกรณ์
  1. สรุปโดยการเล่านิทาน
  2. สรุปโดยการสร้างสถานการณ์
  3. สรุปโดยการสาธิต  
อ้างอิง  https://yupawanthowmuang.wordpress.com/                                                                                                 

ทักษะและเทคนิคการใช้ภาษาและรีลาการสอน    

การใช้ภาษามนุษย์สามารถใช้ภาษาแสดงออกทางความคิดของตนได้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ คือ
         
การใช้ภาษาแสดงเหตุผล ความหมายของคำว่าเหตุผล

     เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไปกฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง ที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุน ข้อสรุป เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลาง ๆ เป็นศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้นอาจเรียกว่า ข้อสังเกต,การคาดคะเน, คำวิงวอน, ข้อคิด, หรือการตัดสินใจ ก็ได้

โครงสร้างของการแสดงเหตุผลและภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

     1. โครงสร้างของการแสดงเหตุผล ประกอบด้วย
            - ตัวเหตุผล หรือเรีรยกว่า ข้อสนับสนุน
            - ข้อสรุป
     2. ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล มี 4 ลักษณะดังต่อไปนี้
    2.1ใช้สันธานที่จำเป็นบางคำ มักเรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป โดยใช้สันธาน จึง เพราะ เพราะว่า เพราะฉะนั้น เพราะ……จึง หรืออาจเรียงข้อสรุปไว้ก่อนเหตุผล โดยใช้คำสันธาน เพราะ เพราะว่า ทั้งนี้เพราะว่า
    2.2 ไม่ใช้สันธาน แต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผล หรือส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม  ผู้ฟังก็จะรับสารได้ว่า ข้อความนั้นเป็นการแสดง เหตุผล อยู่ในตัว เช่น ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด ฉันได้รับการสั่งสอนจากคุณแม่ให้สู้เสมอ จะเห็นว่า วรรคแรก เป็นข้อสรุป วรรคที่สอง เป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อสรุป
    2.3 ใช้กลุ่มคำเรียงกันบ่งชี้ว่า ตอนใดเป็นเหตุผล หรือข้อสรุป เมื่อต้องการชี้เหตุผลและข้อสรุป ให้ชัดแจ้งลงไป ก็ระบุไปว่า ข้อสรุป ข้อสรุปว่า เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ
    2.4 ใช้เหตุผลหลาย ๆ ประกอบกันเข้า เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุปของตน โดยแยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

ลีลาการสอน

ลีลาการสอน

คุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่าดังนี้
  1. อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือจูงมือไปดูเห็นกับตา (สันทัสสนา)
  2. ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้อยอมรับ และนำไปปฏิบัติ (สมาทปนา)
  3. เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
  4. ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากกาปฏิบัติ (สัมปหังสนา)
นักเรียนคิดว่าภาษามีความสำคัญอย่างไร
อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน
นักเรียนคิดว่าภาษามีความสำคัญอย่างไร

วิธีสอนแบบต่างๆ

วิธีการสอน มีหลายแบบหลายอย่าง ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้
  1. สนทนา 
  2. แบบบรรยาย
  3. แบบตอบปัญหา แยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ
    1. ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณียปัญหา)
    2. ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา)
    3. ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา)
    4. ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) 
    5. แบบวางกฎข้อบังคับ 

อ้างอิง http://www.easyinsurance4u.com


วัฒนธรรมในการใช้ภาษา

   1. การใช้ภาษาให้ถูกวัฒนธรรม    เมื่อได้มีการให้ความหมายของคำวัฒนธรรมไว้ว่า  "คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชนในชาติ  และศีลธรรมอันดีของประชาชน"  การใช้ภาษาให้ถูกหลักวัฒนธรรมน่าจะเป็นไปในความสอดคลัองกับความหมายดังกล่าว  พระยาอนุมานราชธน  ให้ข้อคิดไว้ว่า  "การใช้ภาษาไม่ถูกตามแบบแผนของภาษาไทยหรือพูดจาสามหาวนั้น เป็นการผิดวัฒนธรรม"  การใช้ภาษาให้ถูกวัฒนธรรมจึงน่าจะมีลักษณะดังนี้

1. ใช้ถูกตามแบบแผนของภาษาไทย

2. ใช้คำสุภาพ หลีกเลี่ยงคำหยาบคาย หรือหยาบโลน

3. ใช้คำพูดที่สื่อความหมายแจ่มแจ้ง ไม่กำกวม

4. ใช้ภาษาที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจดีระหว่างกัน  ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะ

5.ใช้ภาษาที่เป็นสิริมงคล ในพิธีการต่าง ๆ

6.ใช้ภาษาที่ไพเราะ ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ

7.ใช้ภาษาที่เป็นคติเตือนใจ

8. ใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ  และเหมาะกับฐานะของบุคคล

      2.  วัฒนธรรมที่แทรกหรือสัมพันธ์อยู่กับการใช้ภาษา  การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน เห็นได้ว่ามีเรื่องของวัฒนธรรมแทรกอยู่ด้วยเสมอ เช่น  เมื่อมีการกล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้

คติธรรม  สำนวน  ภาษิต  สุภาษิต  ทัั้งในร้อยแก้ว  ร้อยกรอง  ในภาษาพูดและภาษาเขียน

ความเชื่อต่าง ๆ ของชาวบ้านที่แทรกอยู่ในนิทาน เรื่องเล่า

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ

โบราณสถาน  โบราณวัตถุ ที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรม

ศิลปหัตถกรรม  แต่ละยุคแต่ละสมัย

เพลงพื้นเมือง นิทาน การละเล่น  คำทายต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า  คติชาวบ้าน  หรือคติชนวิทยา

 จุดมุ่งหมายในการใช้ภาษาตามแนววัฒนธรรม

1.  เพื่อสื่อสาร

2.  เพื่อสั่งสอน

3. เพื่อสร้างสรรค์


หลักทั่วไปในการสอน

เกี่ยวกับเนื้อหา หรือเรื่องที่สอน

สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจได้ยาก หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ

สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลำดับขั้น และความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา..

ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียน ได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง

สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา

สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทานํ

สอนเท่าที่จำเป็นพอดี สำหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้เการเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก

ภาษามีสำคัญอย่างไร

ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ

ความสำคัญของภาษามีกี่ความสำคัญ

ความสำคัญของภาษา ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่ ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาช่วยกำหนดอนาคต ภาษาช่วยจรรโลงใจ . ภาษาช่วยธำรงสังคม สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยภาษา คือ

นักเรียนคิดว่าภาษาไทยมีความสำคัญต่อชาติอย่างไร

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาชาติได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ...

ภาษาสำคัญแค่ไหน

ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน