พระพุทธ รูป มีความ สํา คั ญ อย่างไร

งานวิจัย เรื่อง พระพุทธรูปสำคัญ : แนวคิด คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย และเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของ พระพุทธรูปสำคัญกับพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้า อาวาส ผู้นำชุมชน นักวิชาการศาสนาและประวัติศาสตร์พุทธศิลป์ ประชาชนผู้มานมัสการ พระพุทธรูปสำคัญ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน ๑๗ รูป/คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key- Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผล การศึกษาพบว่า ๑. ประวัติความเป็นมาและลักษณะพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ๑) หลวงพ่อโสธร ไม่ได้ทำขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยฝีมือเป็นช่างแบบลานช้าง หรือแบบพระลาว ครั้งแรกหล่อด้วยสำริด ภายหลังพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายใน พระพุทธลักษณ์จึงเป็นแบบ ปูนปั้น ลงรักปิดทองพระวรกายแบบเทวรูป พระพักตร์แบบศิลปะลานนา ตามประวัติสร้างในสมัยลาน ช้างและล้านนา ๒) หลวงพ่อวัดไร่ขิง ตามตำนานกล่าวว่าได้ถูกอัญเชิญมาจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) ลักษณะพุทธศิลป์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ พุทธศิลป สมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่า เป็นฝีมือช่างสมัยล้านนาและล้านช้าง ๓) หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน เป็นหนึ่งในพระพุทธรูป ๓ องค์ที่ลอยมาตามลำน้ำ และได้ล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านพากัน อาราธนาให้ขึ้นที่ปากคลองสำโรง ได้อัญเชิญท่านขึ้นไปประดิษฐานในวิหาร และอาราธนาประดิษฐาน ไว้ในอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน ลักษณะพุทธศิลป์ของหลวงพอ่ โต วัดบางพลี ใหญ่ใน เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) ศิลปะสุโขทัย ๔) หลวงพ่อบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ อิริยาบถยืนปางอุ้มบาตร ภายในองค์พระโปร่ง ขนาดสูงตั้งแต่ ปลายนิ้วพระบาทถึงยอดพระเกตุมาลาประมาณ ๑๗๐ เซนติเมตร ประดิษฐานท่ายืนอยู่บนแท่น มี พุทธลักษณะเป็นศิลปะตามสมัยสุโขทัยตอนปลายจนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีลักษณะพิเศษ คือ พระพักตร์งดงาม อ่อนช้อยราวกับเทพบุตร ส่วนพระหัตถ์เป็นคนละชิ้นกับพาหาทำให้สามารถถอด ออกประกอบได ้ พระบาทไม่สวมฉลอง พระบาทแบบพระพทุ ธรปู ทรงเคร่อื งที่เรยี กว่าพระโพธิสัตว์สมัย อยุธยา พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิงแบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สังฆาฏิพาดยาวลงมาถึงพระชงฆ์ จีวรทำแผ่นเป็นแผ่นแผงอยู่เบื้องหลัง แท่นฐานรองพระบาทนั้นตอนบนทำเป็นรูปดอกบัวบานรองรับ ข พระบาท ตอนล่างทำเป็นฐานย่อมุมสิบสอง เป็นรูปฐานพระเจดีย์ ล่างสุดทำเป็นฐานเท้าสิงห์มีลวดลาย วิจิตรบรรจง ๒. แนวคิดและคุณค่าของพระพุทธรูปสำคัญในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า พระพุทธรูปมีความศักดิ์สิทธิ์สามารถช่วยให้บรรลุในสิ่งที่ตนประสงค์ได้ โดยชาวพุทธส่วนใหญ่มองว่า การได้กราบไหว้สักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญเพื่อความเป็นสิริมงคล และนิยมไปไหว้พระพุทธรูปที่มี ชื่อเสียง ซึ่งเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ โดยการเล่าลือกันมาอย่างนี้ก็ถือว่าเป็นการถือมงคลตื่นข่าวซึ่งไม่ สอดคล้องกับหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงควรฝึกตนให้เข้ากับหลักการพื้นฐานของ พระพุทธศาสนา ที่สอนให้พึ่งตนเอง สอนให้ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ หรือสามารถพึ่งตนได้ และสอน มรรคาแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ซึ่งในขั้นสุดท้าย ให้ข้ามพ้นได้แม้กระทั่งศรัทธาที่มีเหตุผล ไปสู่ ความเป็นอยู่ด้วยปญั ญาบริสุทธิ์ เริ่มต้นมรรคาจากการอิงอาศัยปญั ญาส่องนำขององค์พระศาสดาผูเ้ ป็น กัลยาณมิตร ไปสู่การยืนได้ลำพังตน โดยไม่ต้องอาศัยการประคับประคองของพระศาสดา ๓. การวิเคราะห์อิทธิพลของพระพุทธรูปสำคัญกับพัฒนาการทางพระพุทธศาสนาใน สังคมไทย พบว่า การที่พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องหมาย สื่อแทนพระพุทธเจ้า ได้ระลึกนึกถึงพุทธคุณ นึกถึงหลักธรรมคำสอนแล้วน้อมนำเอามาใช้ประพฤติ ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่บนพื้นฐานของปัญญาหรือความมีเหตุผล โดยมุ่งหมายให้เกิดความสงบทาง ใจ และเกิดสติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ก็ชื่อว่าได้พัฒนาจิตใจ และปัญญา สามารถอบรมเจริญ วิปัสสนาซึ่งเป็นหนทางการดับกิเลส หรือความหลุดพ้นได้, พระพุทธรูปสำคัญเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ของแต่ละจังหวัด และเป็นเครื่องหมายสื่อแทนพระพุทธเจ้าที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อพุทธศาสนิกชนเป็น อย่างมาก เป็นรากฐานแห่งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิด จนถึงตาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นวัตถุธรรมที่สร้างขึ้นเพื่อแทนองค์จริงของ พระพุทธเจ้า และแฝงไว้ด้วยปรัชญาและคติคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง นำมาสู่ความระลึก ถึงพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นบุคคลสำคัญผู้เป็นบรมครูและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้ นทุกข์อันเป็นแก่นคำสอนของพระพุทธศาสนา



หากจะพิจารณาถึงความสำคัญของพระพุทธรูปว่า ว่าวัตถุเช่นนี้มีความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงต้องสร้างและดูแลกันอย่างดีตลอดเวลากว่า 2,000 ปี ก็จะเห็นความสำคัญได้ดังนี้



1.เป็นสิ่งแทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธรูปจะสร้างด้วย หิน ดิน ทราย หรือวัสดุอย่างใดๆ ก็ตามเมื่อเป็นรูปพระพุทธรูปขึ้นมาแล้ว ผู้คนก็พากันเคารพนับถือกราบไหว้โดยมิได้นึกถึงความเป็นวัสดุนั้นต่อไปอีก เพราะทั้งผู้สร้างและผู้พบเห็นต่างมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันว่าจะให้เป็นรูปพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปจึงเป็นสื่อความหมายให้ผู้คนได้คิดถึงพระพุทธเจ้าได้ดีที่สุด พระพุทธรูปจึงเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าได้ดีที่สุด



2.เป็นสิ่งอนุสรณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในบรรดาสิ่งที่ชาวพุทธกำหนดขึ้นเป็นสิ่งระลึกถึงพระพุทธเจ้า เช่น พระสถูปเจดีย์ พระแท่นใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ รอยพระพุทธบาท หรือแผ่นจารึกหัวข้อพุทธธรรม เมื่อเกิดพระพุทธรูปขึ้นมาแล้วปรากฏว่าพระพุทธรูปเป็นสิ่งอนุสรณ์ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ดี และชัดเจนกว่าสิ่งใดๆ จึงมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นพุทธสาวรีย์ที่ใดมีพระพุทธรูปชาวพุทธก็ปฏิบัติต่อรูปนั้นเสมือนว่าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อผู้คนพบเห็นก็จะระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้โดยทันที



3.เป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนา

ในบรรดาสิ่งที่ชาวพุทธกำหนดขึ้นเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนา เพื่อสื่อความหมายที่เป็นนามธรรมโดยให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้เข้าใจพุทธปรัชญา และคุณลักษณะของพระพุทธศาสนา ปรากฏว่า พระพุทธรูปเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนาได้ดีที่สุด โดยรูปลักษณ์ของพระพุทธรูป โดยทั่วไปจะแสดงความสงบ ความเมตตา ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ได้อย่างชัดเจน เมื่อปรากฏพระพุทธรูปขึ้น ณ ที่ใดก็รู้ว่าป็นที่ของพุทธศาสนาเมื่อปรากฏผู้คนกราบไหว้บูชาก็รู้ว่าเป็นชาวพุทธ พระพุทธรูปจึงเป็นเครื่องหมายของพุทธศาสนาได้ดีกว่าเครื่องหมายใด



4.เป็นสัญลักษณ์ของความดี

ตั้งแต่มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในโลกกว่า 2,000 ปีแล้วล้วนแต่มีผู้ใช้พระพุทธรูปไปในทางความดีงานสถานที่หรือกิจกรรมใดที่มีพระพุทธรูปเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยก็กลายเป็นสถานที่หรือกิจกรรมที่ดีงาม เช่นทางโค้งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เมื่อนำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานก็เกิดความระมัดระวัง ทำให้ลดอุบัติเหตุได้ เมื่อใดที่ผู้คนมีความทุกข์ ทั้งกายและใจ เมื่อได้เพ่งดูพระพุทธรูป ความทุกข์เร่าร้อนก็จะลดลง พระพุทธรูปจึงเป็นเครื่องหมายของการดับทุกข์ ดับปัญหา เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจคนในด้านความดีงา



5.เป็นสิ่งประกอบในศาสนาพิธี

การปฏิบัติศาสนาพิธีใดๆ ของชาวพุทธย่อมจะต้องมีพระพุทธรูปเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอเพียงแต่การสวดมนต์ไหว้พระ หรือนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระตาหารเช้า เพล รวมไปถึงราชพิธี และรัฐพิธีที่มีพิธีทางศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องก็จะต้องมีพระพุทธรูปอยู่ด้วยทั้งพระสงฆ์และชาวบ้านต่งปฎิบัติต่อพระพุทธรูปประหนึ่งว่าประปฏิบัติแก่พระพุทธเจ้า ทำนองเดียวกับการเซ่นไหว้ของศาสนาอื่น ทั้งที่พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ไม่รับการเซ่นสรวงเช่นเดียวกับเทวดา หรือทูตผีทั่วไป



6.เป็นทางแห่งการทำบุญกุศลของชาวพุทธ

การปฏิบัติความดี หรือบุญกุศลไม่ว่าศาสนาใดๆ ก็คือ เชิดชูศาสนธรรม อุปถัมภ์บำรุงศาสนาบุคคลและบำรุงดูแลศาสนวัตถุ การสร้างและการทำนุบำรุงวัตถุสถานในศาสนา จึงเป็นหน้าที่ของศาสนิกชนของทุกศาสนา พระพุทธรูปเป็นวัตถุที่มีความสำคัญสูงสุดในพุทธศาสนาเพราะเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า จึงป็นทางแห่งการประกอบบุญกุศล โดยอาศัยพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง เช่นการกราบไหว้บูชา เพื่อน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติธรรม การสร้างพระ การปิดทองพระ การบูรณะซ่อมแซม ถือเป็นกุศลหลักทางพุทธศาสนา เรียกว่า บุญกิรกยาวัตถุ คือวัตถุที่ควรเกี่ยวข้องเพราะเป็นทางแห่งการปฏิบัติความดีได้ทางหนึ่ง



7.เป็นที่สถิตของพุทธภาวะตามความเชื่อของฝ่ายมหายาน

ชาวพุทธฝ่ายมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายหลายองค์ ต่างองค์ต่างมีบารมีหรืออำนาจลี้ลับเช่นเดียวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เมื่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้ว อำนาจนั้นจะสถิตอยู่ในองค์พระพุทธรูป แล้วจะสามารถบนบานบวงสรวงแบ่งอำนาจลี้ลับนั้นไปใช้ เพื่อประโยชน์ทางวัตถุ คือ สนองกิเลศตัณหาของมนุษย์ได้ ความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เกิดพระศักดิ์สิทธิ์ในยุคที่มีชาวพุทธมีความเสื่อมทรามทางปัญญา ไม่เข้าใจสัจธรรม ไม่สามารถพึ่งธรรมต่อไปได้ก็จะแสวงหาที่พึ่งอื่นใดเช่นเดียวกับศาสนาเทวนิยม จนกลายเป็นทางแสวงหาผลประโยชน์จากคนโง่งมงาย เกิดเกจิอาจารย์ เกิดพิธีพุทธาภิเษก เกิดกระบวนการหลอกลวงทุกรูปแบบจนกลายเป็นสวนทางกับพุทธธรรมในพุทธศาสนาที่สอนให้คนฉลาด รู้จักเหตุผลให้พึ่งธรรมและพึ่งตนเอง



8.เป็นศิลปวัตถุของสังคม

พระพุทธรูป นอกจากจะมีลักษณะอื่นใดแล้วจะต้องมีความงดงามถูกตาถูกใจคนเพราะช่างผู้จะต้องตั้งใจถ่ายทอดสุนทรียรส คือความประสานกลมกลืนของรูปร่าง ทรวดทรงสัดส่วน เส้น สี ผิว และลวดลาย การจัดวางตำแหน่ง ลักษณะท่าทางให้สามารถสื่อความคิดแก่ผู้พบเห็น หรือกราบไหว้บูชาได้ เป็นการใส่ชีวิตและวิญญาณ


แหล่งที่มา :โลกสันติธรรม

 

พระพุทธรูปมีความสําคัญกับพระพุทธศาสนาอย่างไร

พระพุทธรูปเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นแทนองค์พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่ตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น เพื่อให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนาได้เคารพบูชา และระลึกถึงพระพุทธเจ้า ดังนั้น วัดในพระพุทธศาสนา จึงมีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญ แม้แต่ตามบ้านของคนที่นับถือพระพุทธศาสนา ก็มักมีพระพุทธรูปตั้งไว้เป็นที่สักการบูชาด้วย ...

ความสำคัญของพระพุทธรูปที่มีต่อวิถีชีวิตคนไทยอย่างไร

พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ให้เราได้มีพุทธานุสสติ คือระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงมีพระคุณอันล้ำเลิศเพื่อประโยชน์สุขต่อมนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งปวงพระพุทธคุณดังกล่าวได้แก่ - พระกรุณาคุณ ที่ทรงช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์

รูปปั้นพระพุทธเจ้ามีความสำคัญอย่างไร

พระพุทธรูป คือ สัญลักษณ์ แทนองค์พระพุทธเจ้า องค์ศาสดาผู้ก่อตั้งพระศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพกราบไหว้บูชา สร้างขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น แกะสลัก จากหินหรือไม้ หล่อด้วยโลหะ ปั้นด้วยดินเผา วาดภาพลงบนพื้นผ้า หรือผนังอาคาร มีขนาดต่าง ๆ กัน ตั้งแต่องค์ขนาดใหญ่ มากประดิษฐานไว้ตามวัดวาอาราม องค์ขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งบูชา ...

พระพุทธรูปประจำวันเกิดมีความสําคัญอย่างไร

การบูชาพระพุทธรูปประจำวันเกิดจึงเสมือนการน้อมนำพุทธคุณมาเป็นเครื่องปกป้องภยันตรายแก่ชีวิต โดยมีศรัทธาต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์มีอานุภาพปกป้องคุ้มครอง ทั้งเป็นการเสริมเคราะห์หรือเกื้อหนุนดวงชะตาให้ดำเนินไปในทางแคล้วคลาดปลอดภัย