ไตรสิกขา มีความสําคัญอย่างไร

ความสัมพันธ์ของไตรสิกขา

 

ไตรสิกขา มีความสําคัญอย่างไร

ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ

    (ศีล -> สมาธิ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยชน์อย่างน้อยดำเนินชีวิตโดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของ ตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึก ไม่ยอมรับของ

สังคม และไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอดโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำที่พูดและการที่ทำ

    (สมาธิ -> ปัญญา) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามอง เห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น

อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน ( ปัญญา )

    ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห็นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆ ได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งาน แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป

                   ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ อย่าง ) คือ

                                            สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )

                                            กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ ) 

                                             สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )

ไตรสิกขา มีความสําคัญอย่างไร

                   นอกจากนี้ยังมีวิธีการเรียนรู้ตามหลักโดยทั่วไป ซึ่งพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ คือ

                         1. การฟัง หมายถึงการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในห้องเรียน                                      

                       2. การจำได้ หมายถึงการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้จำได้

                         3. การสาธยาย หมายถึงการท่อง การทบทวนความจำบ่อย ๆ

                         4. การเพ่งพินิจด้วยใจ หมายถึงการตั้งใจจินตนาการถึงความรู้นั้นไว้เสมอ

                         5. การแทงทะลุด้วยความเห็น หมายถึงการเข้าถึงความรู้อย่างถูกต้อง เป็นความรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ติดอยู่แต่เพียงความจำเท่านั้น แต่เป็นความรู้ความจำที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้

                      จะเห็นได้ว่า สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา การศึกษาทั้ 3 ขั้นนี้ ต่างก็เป็นพื้นฐานกันและกัน ซึ่งในการศึกษา พุทธศาสนามุ่งสอนให้คนเป็นคนดี คนเก่งและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากกระบวนการศึกษาที่กล่าวมาทั้ง 3 ขั้นตอนของพุทธศาสนานี้ หากสามารถนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเกิดผลดีกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งหลักการทั้ง 3 นั้น เป็นที่ยอมรับจากชาวโลก ทำให้พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงนับได้ว่าพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาอย่างแท้จริง

ไตรสิกขา มีความสําคัญอย่างไร