ศัพท์ทางทัศนศิลป์มีความสําคัญอย่างไร

เนื่องจากได้ทำรายงานเรื่องนี้อยู่ก็เลยนำศัพท์ศิลป์พร้อมความหมายมาให้ศึกษา
แก่ผู้สนใจค่ะ

ศัพท์ทางทัศนศิลป์

Fine Art   วิจิตรศิลป์
งานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงดงาม

Appiled Art ศิลปะประยุกต์
งานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ใช้สอย

Painting จิตรกรรม
งานศิลปะที่เกิดจากการขีดเขียน ระบายสี โดยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
และความนึกคิดลงบนพื้นระนาบรองรับ

Drawing  วาดเส้น
การวาดเขียนด้วยดินสอเป็นภาพหรือการร่างภาพไว้ก่อน

Monochrome เอกรงค์
สีสีเดียว

Aural arts โสตศิลป์
ศิลปะที่ผ่านการสัมผัสทางหู

Art@ crafts
เป็นงานที่ทำด้วยมือ เช่น งานถักทอ

Unity ความเป็นเอกภาพ
ดูแล้วเป็นภาพที่กลมกลืนกัน

Logo ตราสัญลักษณ์
เป็นสัญลักษณ์ เครื่องหมายทั่วไป

Mascot สัญลักษณ์นำโชค
มีความวิเศษ เฉพาะกิจกรรม

Tint สีที่ผสมด้วยสีขาว
สีที่ไม่ใช้สีแท้

Shadow เงาตกทอด
ส่วนที่โดนแสง ส่วนที่แสงกระทบ และเกิดเป็นเงา

Figure  ภาพคนเต็มตัว
ภาพเขียนคนเต็มตัว

Mother wash สีชุ่มน้ำ
สีที่มีน้ำอยู่มากกว่าครึ่งของสี

Values  น้ำหนักสี
การไล่ค่าน้ำหนักสี

Mosaic งานโมเสก
จิตรกรรมกระเบื้องสี

Architecture สถาปัตยกรรม
งานก่อสร้าง  งานโครงสร้าง

Art brut  ศิลปะดิบ
ศิลปะแบบทำกะทันหัน หรือเพิ่งสร้างสรรค์เสร็จ

Balance  ดุลยภาพ
ความสมดุลสองข้างเท่ากัน และสองข้างไม่เท่ากัน

Celadon  เครื่องสังคโลก
งานจำพวกอุตสาหกรรม การตกแต่ง

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

           การเรียนรู้ทางด้านการวิจารณ์งานศิลปะ เป็นผลทำให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐาน และเป็นทฤษฎีที่สำคัญที่นำไปสู่วิธีการตัดสินผลงานและประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะได้ ดังนั้น ผู้เรียนควรเรียนรู้ถึงแนวทางการบรรยายผลงานทัศนศิลป์โดยการใช้ศัทพ์ทางทัศนศิลป์ เนื่องจากผลงานทุกชิ้นของทางทัศนศิลป์ ล้วนประกอบด้วยการสร้างสรรค์โดยใช้ทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์เช่นเดียวกัน
                1.   ความสำคัญของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์
                       การบรรยายเป็นกระบวนการรับรู้ที่เกิดจากการมองเห็น สังเกตและบันทึกสิ่งที่พบเห็นในผลงาน ความเด่น และรายละเอียดอื่นๆ ที่อยู่ในผลงาน และดำเนินการบรรยาย อธิบายให้ผู้อื่นรับรู้ให้สังเกตรายละเอียด และทำความเข้าใจในผลงานอย่าง่ายๆ เพื่อให้รู้จักภาษาง่ายๆ ในการบรรยายตลอดจนรู้จักศัพท์ทางทัศนศิลป์ เนื่องจากการบรรยายเป็นขั้นตอนแรกของการรู้จัก การวิจารณ์ศิลปะและจะมีผลไปสู่ขั้นการวิเคราะห์ ขั้นตี และขั้นตัดสินประเมินคุณค่าของผลงานทางทัศนศิลป์
                2.   หลักของการบรรยายเกี่ยวกับผลงานทางทัศนศิลป์
                       การบรรยายผลงานทางทัศนศิลป์ มีจุดประสงค์เพื่อสื่อให้เห็นจุดประสงค์ของการสร้างสรรค์งานและเนื้อหาของงาน รวมถึงเพื่อให้เข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ศิลปินต้องการสื่อ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์ในการสื่อความหมาย
                             ตัวอย่างการบรรยายผลงานทัศนศิลป์โดยใช้ศัพท์ทางทัศนศิลป์
                แนวคิดในการสร้างงานของศิลปิน โดยมีความต้องการให้ศาลานี้เป็นตัวแทนของทวีป ทั้ง 4 ทิศ ทั้ง 8, พนัสบดี,ธาตุ 4 , อริยสัจ 4 และสุดท้าย คือ อริยมรรค การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้นับว่า ทรงพลังมีสถาปัตยกรรมที่ดี เป็นกระแสวัฒนธรรมร่วมสมัย
ทัศนะของศิลปิน อาจารย์ถวัลย์  ดัชนี

ศัพท์ทางทัศนศิลป์มีความสําคัญอย่างไร
ศาลาศูนย์ธรรมจักรวาล
ผลงานอาจารย์ถวัลย์  ดัชนี

                การสร้างงานศิลปะกรรมของศิลปิน เห็นว่า
น่าจะประกอบไปด้วยรูปแบบของศิลปะที่แสดงถึงจิต
วิญญาณของเชียงแสน ศรีสัชนาลัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ โดยจำลองรูปแบบศิลปะสมัยต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อแสดงสุนทรียภาพโดยรวมของความเป็นไทย รวมทั้งเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติครบ50ปี เพื่อให้ได้ศาลาที่เป็นงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย และยังคงความงามเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน
โครงสร้างและความหมายของผลงาน
                  เป็นลักษณะเสา4ต้น ซึ่งเป็นตัวแทนของทวีปทั้ง4ที่ล้อมโลก อยู่ตามปกีรณัมโบราณของอินเดียโดยเสาทางทิศเหนือแทนอุดรทวีป ทิศใต้แทนอมรโคยานทวีป ทิศตะวันตกแทนชมพูทวีป ทิศตะวันออกแทนปุรพวิเพ ซึ่งเสา4ต้น อยู่บนอ่างศิลาดำ ซึ่งหมายถึงตัวแทนของโลก จักวาล ความคิดนี้เป็นแรงบันดาลใจมาจากภาพโบราณที่มีสันเขาพระสุเมรุอยู่ ศาลานั้นแบ่งเป็น3ชั้น ชั้นที่3 แบ่งย่อยออกเป็น2ชั้น รวมเป็น4ชั้น แทนความหมายมหาสติปัตฐาน4 คือ กายานุปฏิปทา เวทนานุปฏิปทา จิตตานุปฏิปทา และธรรมานุปฏิปทา ซึ่งเป็นธรรมที่นำไปสู่อริยมรรค หรือความหลุดพ้นทางพระพุทธศาสนา สำหรับช่อฟ้ากาแล แทนธาตุทั้ง4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่บริเวณปลายยอดของศาลาจะมีบราลี 8 อัน เปรีบยได้กับอริยมรรค (มรรคมีองค์8) ซึ่งเป็นสุดยอดของการของการนำไปสู่การหลุดพ้น ลักษณะศาลาเปลือยเพื่อต้องการให้มองเห็นได้จากทุกทิศ และส่วนประกอบที่พิเศษมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ หางหงส์ที่ศาลาที่1 เพราะว่าเป็นศุนย์รวมของความคิดในการสร้างศาลาร่วมสมัย นั่นคือ พนัสบดี ซึ่งเป็นตรีมูรติของพระศิวะ (ทรงโค)  พระพรหม (ทรงสิงห์) และพระนารายณ์ (ทรงครุฑ) โดยเป็นวัวมีเขาปกติ แต่มีปีกเป็นหงส์และมีปากเป็นครุฑ
ลักษณะที่สำคัญ
               ลายนกทั้งหมดจะเป็นลายคมกริช ซึ่งมีเฉพาะที่อยุธยาเท่านั้น ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่ที่วัดหน้าพระสุเมรุ(สมัยพระนเรศวร) อีกประการหนึ่งคือเป็นศิลปกรรมร่วมสมัยตั้งแต่เชียงแสนถึงรัตนโกสินทร์โดยแต่ละสมัยจะมีตัวแทนแตกต่างกันออกไป ได้แก่ ล้านนา-กาแล  อยุธยา-คมกริช  สุโขทัย-บราลีคันทวย


                    ความรู้เพิ่มเติม  

อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) เมื่อปี พ.ศ.2544 เกิดที่จังหวัดเชียงราย