แนวความคิดทางการขายแตกต่างจากแนวคิดทางการตลาดยังไง

การตลาดระหว่างประเทศคือการตลาดของสินค้าหรือบริการนอกกลุ่มเป้าหมายภายในประเทศของแบรนด์ อาจมองว่าเป็นการค้าระหว่างประเทศรูปแบบหนึ่งก็ได้ ด้วยการขยายไปสู่ต่างประเทศ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ พัฒนากลุ่มเป้าหมายทั่วโลก และแน่นอน ขยายธุรกิจของตน

แนวความคิดทางการตลาด  คือ “การที่องค์การใช้ความพยายามทั้งสิ้นเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพื่อมุ่งให้เกิดยอดขายและกำไรในที่สุด”

            วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด แบ่งออกเป็น 5 แนวความคิด ดังนี้

1.แนวความคิดแบบมุ่งเน้นการผลิต (Production Concept)

          เป็นแนวความคิดที่เก่าแก่ที่สุดของฝ่ายขาย โดยคิดว่าผู้บริุโภคพอใจที่จะซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตนชอบ หาซึ้อง่าย และต้นทุนต่ำเท่านั้น ดังนั้นหน้าที่ด้านการตลาดคือปรับปรุงผลิตในปริมาณมากภายใต้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด สินค้าที่ผลิตออกมาสามารถขายได้เกือบทั้งหมด เนื่องจากอุปสงค์ (Demand) หรือปริมาณความต้องการในสินค้าที่จะใช้บริโภคมีมากกว่าอุปทาน (Supply) ซึ่งเป็นปริมาณของการเสนอขายสินค้าที่ผลิตสินค้าออกสู่ตลาด

แนวความคิดทางการตลาดแบบมุ่งเน้นสังคม จะยึดหลักว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจะต้องควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคมองกิจการในแง่ดีว่าเป็นผู้ทำธุรกิจเพื่อสังคม ห่วงใยสังคม และห่วงใยสิ่งแวดล้อม

   ในการดำเนินงานทางการตลาดต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุตามจุดมุ่งหมายทางการตลาด ต้องอาศัยแนวคิดหรือแนวทางในการดำเนินงาน ที่เรียกว่าแนวคิดทางการตลาด(Marketing Concept) หมายถึง ลักษณะการใดๆ ที่ทรัพยากรทั้งหมดของกิจการหนึ่งได้รับการจัดสรร เพื่อสร้างสรรค์ กระตุ้น และก่อให้เกิดความพอใจกับลูกค้าในระดับที่กิจการได้กำไร

 

แนวความคิดทางการตลาด แบ่งออกเป็น5 แนวความคิด ดังนี้

1.แนวความคิดมุ่งการผลิต

            แนวความคิดมุ่งการผลิต (The Production Concept) เป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นการปรับปรุงและให้ความสำคัญกับการผลิตรวมถึงการหาวิธีที่จะจำหน่ายจ่ายแจกให้มีประสิทธิผลมากที่สุดแนวความคิดนี้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางธุรกิจ 2 ประการคือ

              1.1 เหมาะกับธุรกิจที่มีปริมาณความต้องการในตัวผลิตภัณฑ์มากกว่าสิ่งที่มีขายอยู่หรืออาจกล่าวว่าเหมาะกับธุรกิจที่มีอุปสงค์ (Demands) มากกว่าอุปทาน (Supplies) นั้นหมายถึงลูกค้าพร้อมที่จะซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเลือก

              1.2 ธุรกิจที่มีต้นทุนในการผลิตสูงมากและองค์กรต้องการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงด้วยวิธีการผลิตในจำนวนมาก ๆ ในแต่ละครั้งการผลิต

2. แนวความคิดมุ่งผลิตภัณฑ์

            แนวความคิดมุ่งผลิตภัณฑ์ (The Product Concept) เป็นแนวความคิดที่ได้รับการพัฒนามาจากสถานการณ์สินค้าล้นตลาด ส่วนหนึ่งอาจมาจากการแข่งขันการผลิตมากจนเกินไปเนื่องจากยึดปรัชญามุ่งการผลิตมากเกินไปทำให้เกิดสินค้ามากมาย ประกอบกับสมมุติฐานที่ว่าผู้บริโภคจะมีความชอบพอในสินค้าต่างๆ ที่ให้ความคุ้มค่าสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับราคา ดังนั้นกิจการจึงทุ่มเทความสามารถในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีมากที่สุด ดีกว่าคู่แข่งขันภายใต้แนวความคิดที่ว่า“ ของดีย่อมขายได้”

3. แนวความคิดมุ่งการขาย

             แนวความคิดมุ่งการขาย (The Selling Concept) แนวความคิดนี้เป็นไปตามข้อสมมติฐานที่ว่า โดยปกติวิสัยของผู้บริโภคจะไม่พยายามซื้อของที่ไม่จำเป็นจริงๆ  แต่ก็สามารถชักจูงใจได้ไม่ยาก ฉะนั้นกิจการจึงมุ่งใช้ความพยายามในการใช้เครื่องมือขาย เข้ามาช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและต้องการในผลิตภัณฑ์ของตน ธุรกิจที่ยึดแนวความคิดนี้จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับทีมงานขายของกิจการ แนวความคิดนี้มักถูกใช้ในทางปฏิบัติกับกลุ่มของสินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) เช่น สารานุกรม การประกันภัย รวมถึงสินค้าที่ผู้ซื้อไม่ได้วางแผนการซื้อมาก่อนผู้ขายจะต้องใช้ความพยายามหาทางเปลี่ยนมุมมองกลุ่มลูกค้าคาดหวัง และขายสินค้าดังกล่าวภายใต้ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับในผลิตภัณฑ์นั้น

4. แนวความคิดมุ่งการตลาด

            แนวความคิดมุ่งการตลาด (The Marketing Concept) เป็นแนวความคิดมุ่งที่ถือว่าการบรรลุเป้าหมายกิจการขึ้นอยู่กับการกำหนดความจำเป็น และความต้องการของตลาดเป้าหมายการส่งมอบความพึงพอใจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหนือคู่แข่งขัน ตัวอย่างของแนวคิดนี้เป็นต้นว่า คติพจน์ของสายการบินไทย“ รักคุณเท่าฟ้า” หรือรถยนต์โตโยต้า“ You Come First”

5. แนวความคิดการตลาดเพื่อสังคม

            แนวความคิดการตลาดเพื่อสังคม (The Social Marketing Concept)เป็นแนวความคิดสมัยใหม่ที่ธุรกิจในปัจจุบันนี้ให้ความสนใจ และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจการ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีความคิดเห็นว่าธุรกิจควรให้บริการช่วยเหลือแก่สังคมในด้านต่างๆ โดยมิใช่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายเพียงเท่านั่นแต่ควรจะคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การไม่ผลิตสินค้าด้อยคุณภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรวมถึงการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ด้วย

การปฏิบัติตามหลัก 3 R คือ

Re-fill = การผลิตสินค้าชนิดเติม ทำให้ประหยัดวัสดุในการผลิตบรรจุภัณฑ์

Re-use = การผลิตสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ซ้ำหรือกลับมาใช้ประโยชน์อื่นได้

Recycle = การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษหรือพลาสติกที่ผลิตจากวัสดุที่ใช้แล้วนำมาผลิตใหม่

แนวความคิดทางการตลาดแบบมุ่งเน้นสังคมจะยึดหลักว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจะต้องควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคมองกิจการในแง่ดีว่าเป็นผู้ทำธุรกิจเพื่อสังคมห่วงใยสังคม และห่วงใยสิ่งแวดล้อม

แนวความคิดทางการขายแตกต่างจากแนวความคิดทางการตลาดอย่างไร

" การขาย " คือ กิจกรรมที่นำสินค้าที่ผลิตขึ้นมาโดยความคิด และความต้องการของผู้ผลิต แล้วนำสินค้านั้นออกไปกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เพื่อผลักดันให้เป็นเงินสดขึ้นมา " การตลาด " คือ การมุ่งเสาะแสวงหากลุ่ม ลูกค้าเป้าหมาย สอบถามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และผลิตสินค้า สร้างสรรค์สินค้า บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ

อะไรคือความแตกต่างระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย

ขั้นที่สาม สภาพแวดล้อมองค์กร ก่อนอื่นผมขอทบทวนข้อจำกัดความของฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายก่อนนะครับ ฝ่ายการตลาดหรือ “Marketing” นั้น คือ ฝ่ายที่วางแผนและลงมือทำจนนำไปสู่การสร้างฐานลูกค้าและมีการซื้อขายสินค้า หรือฝ่ายที่ทำให้เกิดการขาย จากนั้นฝ่ายขายหรือ “Sale” คือ ฝ่ายที่ทำการปิดการขาย ทำให้ได้เงินผู้บริโภคมาและสินค้าเราออกไป ...

การขายกับการตลาดแตกต่างกันอย่างไร

การขายจะโฟกัสไปที่การ Convert หรืออัตราการเปลี่ยนให้เป็นลูกค้า ในขณะที่การตลาดคือการดึงผู้คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมาให้ได้มากที่สุด

แนวความคิดการขายมีอะไรบ้าง

แนวความคิดแบบเน้นการผลิต (The Production Concept) แนวความคิดแบบเน้นผลิตภัณฑ์(The Product Concept) แนวความคิดแบบเน้นการขาย (The Selling Concept) แนวความคิดแบบเน้นการตลาด (The Marketing Concept) แนวความคิดแบบเน้นการตลาดและสังคม (The Social Marketing Concept)