จริยธรรม สิ่งแวดล้อม มีความสำคัญ ต่อการพัฒนา สิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน อย่างไร

ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมศึกษา

ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยรักษาระบบนิเวศโลกให้มีเสถียรภาพและเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนั้นหากความหลากหลาย ทางชีวภาพลดลงจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

กว่า 40 ปีที่ผ่านมา “สิ่งแวดล้อมศึกษา” เป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าและรักษาความหลากหลาย ทางชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม

การประชุมระดับโลกหลายเวทีได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมศึกษาจนเกิดกรอบแนวคิดและหลักการปฏิบัติสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กฏบัตรเบลเกรด (Belgrade Charter) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2518 กล่าวถึงจุดมุ่งหมายและแนวทางปฏิบัติของสิ่งแวดล้อมศึกษา และถือเป็นหลักการในการดำเนินงาน “กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา” ต่อมาในปี พ.ศ.2520 จากการประชุมผู้แทนทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ ที่เมืองทบิลิซี สหภาพโซเวียต ได้ให้คำจำกัดความ “ สิ่งแวดล้อมศึกษา คือ กระบวนการที่มุ่งสร้างให้ประชากรโลก มีความสำนึกและห่วงใยปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และมีความรู้ ทัศนคติ ความตั้งใจจริง และ ความมุ่งมั่นที่จะหาทางแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ และป้องกันปัญหาใหม่ ทั้งด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือกับผู้อื่น”

สำหรับประเทศไทย สิ่งแวดล้อมศึกษานับเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้คนได้ตระหนักถึงการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540 – 2559 มีความมุ่งหมายที่จะให้มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม อันจะส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การสร้างจิตสำนึกและจิตวิญญาณด้านการอนุรักษ์ให้แก่ผู้บริหารในหน่วยงานภาครัฐ นักการเมืองทุกระดับ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดการประสานแนวคิดทางด้านการพัฒนาและการอนุรักษ์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นโยบายด้านการศึกษาและประชาสัมพันธ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่จะสามารถเสริมสร้างสมรรถนะ ของชุมชนในทุกระดับให้มีความเข้มแข็งและเกิดความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาอย่างยั่งยืนและกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา

 “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” คือ การพัฒนาโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและชาญฉลาด ไม่ทำลายฐานการผลิต ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งกล่าวได้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับ การอนุรักษ์

สำหรับกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน โดยรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมสามารถ จำแนกได้ 3 รูปแบบ

  1. การเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อม (to Learn in Environment) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงในสิ่งแวดล้อม
  2. การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (to Learn about Environment) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาสิ่งแวดล้อมผ่าน กิจกรรมที่หลากหลาย
  3. การเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อม (to Learn for Environment) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติและ การมีส่วนร่วมในการปกป้องและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

“กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education Process)” มีความหมายใกล้เคียงกับวัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 5 ประการ ได้แก่

1. การรับรู้ปัญหา (Awareness) กระบวนการที่ช่วยให้รับรู้ปัญหาและพิจารณา วิเคราะห์อย่างรอบด้านในการเกิดปัญหา และผลกระทบแนวกว้างและแนวดิ่ง

2. ความรู้ (Knowledge) กระบวนการช่วยให้ได้เรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและแนวทางแก้ไข

3. ทัศนคติ (Attitude) กระบวนการช่วยให้มีค่านิยม ห่วงใย ตั้งใจจริง และมุ่งมั่น ที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาและ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม

4. ทักษะ (Skill) กระบวนการช่วยให้เกิดทักษะที่จำเป็นในการชี้ปัญหาและดำเนินการตรวจสอบ รวมทั้งร่วมกันหา หนทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

5. การมีส่วนร่วม (Participation) กระบวนการช่วยให้มีประสบการณ์ในการนำความรู้ และทักษะที่ได้มาใช้ใน การดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

นักสิ่งแวดล้อมศึกษาพยายามคิดค้นหากระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้คือ

คิดในระดับโลก แต่ทำในระดับท้องถิ่น

กระบวนการจะบอกกลุ่มเป้าหมายว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อมมักจะเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกเสมอ แต่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การเริ่มทำในระดับบุคคลหรือชุมชน เช่น ผู้เรียนอาจรู้สึกว่าตนเองทำอะไรไม่ได้กับปัญหาเรื่องการทำลายโอโซน แต่พวกเขา จะรู้สึกถึงพลังของตน เมื่อรู้ว่าตนเองสามารถช่วยลดสารเคมี หรือพลาสติกที่มีผลต่อการทำลายดังกล่าว

ไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์ อาจสอดแทรกได้ทุกรายวิชา

กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา แม้จะต้องการความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์บ้าง แต่ยังต้องประกอบด้วยความเข้าใจด้านอื่น ด้วย เช่น เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง จริยธรรม เป็นต้น

ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ

สิ่งแวดล้อมศึกษาไม่ใช่เรื่องของวิชาใดวิชาหนึ่งแต่เพียงวิชาเดียว หากยังรวมถึงการปลูกฝัง ค่านิยม การตัดสินใจ ทักษะการสื่อสาร ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทักษะอื่น ๆ มากมาย  หน้าที่ของผู้คิดค้นกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การทำให้การศึกษาเป็นเรื่องง่ายที่จะเข้าใจ ร่วมกันทำ และง่ายที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองและกลุ่ม

กระบวนการที่เหมาะสม

กระบวนการนั้น ๆ จะคิดค้นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับวัยของผู้ปฏิบัติ ภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ และระยะเวลา ในการดำเนินงานตามกระบวนการดังกล่าว

เรียนรู้จากการค้นพบด้วยตัวเอง

กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาเน้นการลงมือทำ เน้นการปฏิบัติทำให้เกิดความรู้และประสบการณ์ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ นักเรียนหรือผู้ปฏิบัติเกิดการอยากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สนุก และไม่เบื่อที่จะเรียนรู้

การเปลี่ยนสถานที่เรียนรู้

จากห้องเรียนสี่เหลี่ยมสู่ห้องเรียนธรรมชาติ เป็นการเปิดประตูสู่โลกที่กว้างใหญ่ เปลี่ยนความรู้สึกของผู้เรียน จนอาจทำให้เกิด ความรู้และประสบการณ์ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ในที่สุด ดังนั้นฐานการเรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น นับได้ว่าเป็น สิ่งสำคัญมากกับกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา

มองโลกตามความเป็นจริง

จุดมุ่งหมายของการจัดกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ การทำให้กลุ่มเป้าหมายมองโลกตามความเป็นจริง มองเห็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  สามารถแยกแยะสิ่งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นออกจากกัน มองเห็นปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาตามที่เป็นจริง  ซึ่งแตกต่างจากระบบการศึกษาทั่วไป

ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา

[download id=”2447″ template=”education”]

Post Views: 8,588

จริยธรรมมีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

- เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างสมดุลในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมการพัฒนา - สร้างความมั่นใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและปกป้องสิทธิของชนรุ่นหลัง - หลักการทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมและความเท่าเทียมกัน

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

1. การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. การเคารพและเห็นคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม 3. ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม 4. รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 5. กตัญญูกตเวทีต่อสิ่งแวดล้อม จริยธรรม สิ่งแวดล้อม (Environment Ethics) สรุปและ ประเมินผล

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม คืออะไร

จริยธรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Ethic) เป็นหลักการปฏิบัติ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมส าหรับมนุษย์ที่ยึดความดีงาม ความถูกต้องตามหลักคุณธรรม และความเมตตาที่พึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชีวิตและต่อมนุษย์ ด้วยกัน การที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมจึงประกอบด้วยรากฐานความเชื่อมั่น ในเชิงคุณธรรมที่มีความแตกต่างใน ...

การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมีองค์ประกอบสำคัญอย่างไร

ส่วนประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1.ระบบเศรษฐกิจ 2. ระบบสังคม 3. ระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสัมพันธ์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นในส่วนที่ ทับซ้อนกันของ 3 องค์ประกอบ กล่าวคือ มีการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และมีการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยในขณะเดียวกัน หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน