หลักฐานชั้นรองมีประโยชน์อย่างไร

 นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความรักและความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆกันและที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลหลักฐานที่หลากหลายได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่องและการนำเสนออย่างมีเหตุผลอันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง

    3) จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณจดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า        จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ   ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว

หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary sources) หมายถึง หลักฐานที่เกิดจากการนำหลักฐานชั้นต้นมาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ ตำนาน พงศาวดาร
นักประวัติศาสตร์บางท่านยังได้แบ่งหลักฐานประวัติศาสตร์ออกไปอีกเป็น หลักฐานชั้นที่สามหรือตติยภูมิ (Tertiary sources) หมายถึง หลักฐานที่เขียนหรือรวบรวมขึ้น จากหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาอ้างอิง เช่น สารานุกรม หนังสือแบบเรียน และบทความทางประวัติศาสตร์ต่างๆ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

               2.5 หลักฐานประเภทบอกเล่า แบ่งออกเป็นประเพณีจากการบอกเล่า และประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า ข้อจำกัดคือ อาจคลาดเคลื่อนได้ง่าย ตามอคติของผู้เล่าจึงต้องมีการตรวจสอบกับเอกสารอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ

คือ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การแบ่งประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

  1. แบ่งตามยุคสมัย

     1.1 หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นอักษร แต่เป็นพวกซากโครงกระดูกมนุษย์ ซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนความพยายามที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ในลักษณะของการบอกเล่าต่อๆกันมา เป็นนิทานหรือตำนานซึ่งเราเรียกว่า “มุขปาฐะ”

      1.2 หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ตัวอักษร และบันทึกในวัสดุต่างๆ มีร่องรอยที่แน่นอนเกี่ยวกับสังคมเมือง มีการรู้จักใช้เหล็ก และโลหะอื่นๆ มาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ปราณีต มีร่องรอยศาสนสถานและประติมากรรมรูปเคารพในศาสนาอย่างชัดเจน

                                                                      2.แบ่งตามลักษณะหรือวิธีการบันทึก

     2.1 หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ เอกสารทางวิชาการ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ในการศึกษาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีการเน้นการฝึกฝนทักษะการใช้หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เป็นส่วนใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าหลักฐานประเภทนี้เป็นแก่นของงานทางประวัติศาสตร์ไทย

      2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานโบราณคดี เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ เงินตรา หลักฐานจากการบอกเล่า ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” หลักฐานด้านภาษา เกี่ยวกับพัฒนาการของภาษาพูด หลักฐานทางศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ หลักฐานประเภทโสตทัศน์ ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพสไสด์ แผนที่ โปสเตอร์ แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร

หลักฐานชั้นรองมีประโยชน์อย่างไร

     3.1หลักฐานชั้นต้น(Primary sources) อันได้แก่หลักฐานที่บันทึกไว้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง   หรือรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง

3.2 หลักฐานรอง(Secondary sources) ซึ่งได้แก่บันทึกของผู้ที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง หนังสือประวัติศาสตร์ที่มีผู้เขียนขึ้นภายหลัง โดยอาศัยการศึกษาจากหลักฐานชั้นต้น  ก็ยังถือว่าเป็นหลักฐานรองอยู่นั่นเอง  นิธิ  เอียวศรีวงศ์  ได้กล่าวไว้ว่าการแบ่งประเภทของหลักฐานเป็นชั้นต้นและชั้นรอง  มีประโยชน์ในการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน  หลักฐานชั้นต้นมักได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือจากนักประวัติศาสตร์มาก  เพราะได้มาจากผู้รู้เห็นใกล้ชิดกับข้อเท็จจริง  ในขณะที่หลักฐานรองได้รับน้ำหนักความน่าเชื่อถือน้อยลง  อย่างไรก็ตาม  ไม่ควรถือในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัดมากนัก  เพราะหลักฐานชั้นต้นก็อาจให้ข้อเท็จจริงผิดพลาดได้  เช่นผู้บันทึกไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงในเหตุการณ์ที่ตนบันทึก  หรืออาจจะตั้งใจปกปิดบิดเบือนความจริงเพื่อประโยชน์ของตนหรือคนที่ตนรักเคารพ  เป็นต้น  ในทางตรงกันข้าม  เอกสารชั้นรองที่บันทึกไว้โดยผู้ไม่มีส่วนได้เสีย  แม้ว่าห่างไกลจากเหตุการณ์  แต่ก็สอบสวนข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้แล้ว  ก็อาจให้ความจริงที่ถูกต้องกว่าก็ได้

หลักฐานในทางประวัติศาสตร์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเอกสารที่เป็นตัวเล่ม  หรือเป็นก้อนศิลาที่เราจับต้องได้   แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในที่นี้คือข้อความที่บรรจุอยู่ในเอกสาร  หรือข้อความที่ปรากฏอยู่บนก้อนศิลานั้นต่างหากที่ถือว่าเป็นหลักฐาน เพราะข้อความดังกล่าวสามารถบอกเล่าให้เราทราบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวได้  ข้อความที่บรรจุอยู่ในหลักฐานทั้งชั้นต้นและชั้นรองนั้น   เราเรียกกันว่า “ ข้อสนเทศ ”  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าข้อสนเทศนี้คือตัวหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั่นเอง

หลักฐานชั้นต้นกับชั้นรองมีประโยชน์อย่างไร

ไม่ได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง เกิดจากการน าหลักฐานชั้นต้น มาวิเคราะห์ ตีความเมื่อเวลาผ่านพ้นไปแล้ว ได้แก่ บทความทาง วิชาการ หนังสือต่าง ๆ หลักฐานชั้นต้นมีประโยชน์ที่ท าให้ทราบ ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ ส่วนหลักฐานชั้นรองเป็นข้อมูลประกอบ ที่ทาให้เข้าใจเหตุการณ์ได้ดีขึ้น

หลักฐานชั้นต้นมีประโยชน์ในการศึกษาอย่างไร

1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ...

หลักฐานมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นเครื่องมือในการสืบค้นร่องรอยของอดีต เป็นแหล่งค้นคว้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยนำเอาไปประกอบกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

การจําแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็นประเภทมีประโยชน์อย่างไร

การแบ่งประเภทของหลักฐานออกเป็นหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองมีประโยชน์ในแง่การประเมิน ความน่าเชื่อถือของหลักฐาน อย่างไรก็ตามหลักฐานชั้นต้นบางครั้งอาจให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนได้ ส่วนหลักฐานชั้นรองแม้จะเรียบเรียงหรือศึกษาจากคำบอกเล่าของผู้อื่นหรือจากหลักฐานชั้นต้น แต่หาก มีการคัดเลือก กลั่นกรอง วิพากษ์วิจารณ์หลักฐานที่ใช้ในการ ...