สมรรถภาพทางกลไกมีกี่ด้านอะไรบ้าง

          จากหัวข้อข้างต้นที่ได้กล่าวมานั้นเป็นเพียงความรู้พื้นฐานและข้อมูลเบื่องต้นที่จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและการฝึกฝนอย่างถูกวิธีตามหลักการคิดโปรแกรมการฝึกในรูปแบบต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายนั้นสามารถต่อยอดไปได้หลายอย่างขึ้นอยู่การนำไปปรับใช้ แต่จงอย่าลืมว่าเราใช้ร่างกายทุกวันทั้งวันไม่เว้นแม้แต่การนอนดังนั้นผมอยากให้ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้นำความรู้ไปต่อยอดในสิ่งที่จะทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตของทุกคนดีขึ้น
           ในการคัดเลือกนักกีฬาเพื่อทำการแข่งขันระดับนานาประเทศ  หรือ  ระดับโลก  ปัจจัยสำคัญที่จะต้องเน้นก็คือ   สมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน มีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่  คงไม่มีใครคัดเลือกนักกีฬาที่เก่ง แต่สมรรถภาพทางกายไม่ดีเพราะขาดการฝึกซ้อม  แต่ถ้า หากมีนักกีฬาที่ ชนะเลิศและมีสถิติใกล้เคียงกัน  แน่นอนผู้ทำการคัดเลือกก็ต้องเลือกนักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางกายดีกว่า  โดยทำการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายในแต่ละด้าน  (วันใหม่  ประพันธ์บัณฑิต  2549)

สมรรถภาพทางกลไก from 593non

สมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางกลไก

๑.สมรรถภาพทางกาย

                สมรรถภาพทางกาย คือ ความสามารถในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีย่อมสามารถประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉง ไม่เหนื่อยล้าเกินไป และยังมีพลังเพียงพอในการเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย

                สมรรถภาพทางกาย สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑.สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะ (Health related fitness)

๒.สมรรถภาพทางกลไกหรือทักษะสมรรถนะ(Motor fitness) หรือสมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ

๑.๑ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะ

๑) องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพหรือสุขสมรรถนะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๕ องค์ประกอบ ดังนี้

๑. องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) ตามปกติในร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายจะหมายถึงสัดส่วนของปริมาณไขมันภายในร่างกายกับมวลของร่างกายที่ปราศจากไขมัน โดยการวัดออกมาเป็นดัชนีมวลภายหรือวัดเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ไขมัน(% fat) ด้วยเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีหลายชนิด

๒. ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ (Cardio respiratory Endurance) หมายถึง สมรรถนะเชิงปฏิบัติการของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) และระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อต่างๆ ทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะเวลานานได้

๓. ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ความสามารถของการเคลื่อนไหวที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ

๔. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่ง หรือกลุ่มกล้ามเนื้อในการหดตัวซ้ำๆ เพื่อต้านแรงหรือความสามารถในการคงสภาพการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลานาน

๕. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ(Muscular Strength) หมายถึง ปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ สามารถออกแรงต้านทานได้ในช่วงการหดตัว ๑ ครั้ง

๒) การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

                การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นการปรับปรุงสภาวะของร่างกายให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำหน้าที่สูง และมีการประสานงานกันของระบบต่างๆภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ เป็นการสร้างเสริมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี วิธีการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ คือ การออกกำลังกายนั่นเอง การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพที่นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี เช่น

๑. การเดิน-วิ่ง ๑,๖๐๐ เมตร

๒. การนั่งงอตัว

๓. การลุก-นั่ง

๔. การดันพื้น

                เมื่อนักเรียนปฏิบัติแล้วรู้ว่า สมรรถภาพทางกายของเราไม่แข็งแรงพอ หรือเราต้องการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดี ก็ควรปฏิบัติเฉพาะในการสร้างเสริมทางกายด้านนั้น เช่น เรารู้ว่าเราไม่มีความอดทนเพียงพอในการวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เราก็ต้องฝึกหรือเพิ่มการปฏิบัติให้มากกว่าปกติ

๓) หลักสำคัญในการฝึกสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

                หลักสำคัญในการฝึกสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ คือ การเพิ่มงานมากกว่าปกติ หมายถึง การออกแรงทำงานหรือออกกำลังกายให้มากกว่าปกติและมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ร่างกายต้องรับได้โดยการเพิ่มน้ำหนักของงาน เพิ่มระยะเวลา หรือเพิ่มจำนวนชุดในการฝึกปฏิบัติให้มากขึ้น

                การออกกำลังกายที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพได้ ต้องปฏิบัติอย่างน้อย ๓-๕ ครั้ง ใน ๑ สัปดาห์ หรือบ่อยครั้งเท่าที่ทำได้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า ๓ ครั้ง ใน ๑ สัปดาห์ และในการออกกำลังกายแต่ละครั้งควรให้มีความหนักหรือความเหนื่อย โดยวัดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดร้อยละ ๕๕-๘๕ ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ถ้าออกกำลังกายแล้ว การเหนื่อยที่น้อยกว่าร้อยละ ๕o ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด จะไม่เกิดผลต่อการเพิ่มสมรรถภาพทางกาย การออกกำลังกายในแต่ละครั้งต้องออกกำลังกายติดต่อกันให้นานอย่างน้อย ๑๕-๓o นาทีต่อครั้ง ซึ่งสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพได้ และกิจกรรมที่จะช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและหัวใจได้ต้องเป็นกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการออกแรง เช่น การวิ่ง การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ

                ดังนั้น หลักในการฝึกสมรรถภาพทางกาย ต้องเน้นหลัก ๓ ประการ คือ ความถี่ ความนาน และความหนักในการออกกำลังกาย หรือดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย

                ดัชนีกิจกรรมการออกกำลังกาย หมายถึง การประเมินกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างมีแบบแผน โดยมีการกำหนดความหนักหรือความเหนื่อย ช่วงเวลาเวลาหรือความนานและความถี่ของการกระทำกิจกรรมนั้นๆ

ค่าดัชนีกิจกรรมออกกำลังกาย = ความถี่ x ความนาน x ความหนัก

1.2  สมรรถภาพทางกลไก หรือทักษะสมรรถนะ หรือสมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ

                สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะการเล่นกีฬาได้ดี โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไก

1. ความคล่องตัว (Ability) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้

2. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ได้ ทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนไหว

3. การประสานสัมพันธ์ (Coordination) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างตา มือ และเท้า

4. พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆส่วนของร่างกาย ในการหดตัวเพื่อทำงานด้วยความเร็วสูง แรงหรืองานที่ได้เป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเช่น การยืนอยู่กับที่ การกระโดดไกล การทุ่มลูกน้ำหนัก

5. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Time) หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆเช่น แสง เสียง

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย 6 ด้าน มีอะไรบ้าง

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานระหว่างประเทศ (ICSPFI) การชั่งน้ำหนัก 1) วิ่ง ใช้วัดความเร็ว.
วิ่ง 50 เมตร (วินาที) ... .
ยืนกระโดดไกล (ซม.) ... .
แรงบีบมือที่ถนัด (กก.) ... .
ลุก-นั่ง 30 วินาที (ครั้ง) ... .
ดึงข้อราวเดี่ยว (ครั้ง) ... .
วิ่งเก็บของ (วินาที).

สมรรถภาพทางกลไกมี 6 ด้าน อะไรบ้าง

1. ความคล่องตัว (Ability) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้นได้ 2. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ได้ ทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนไหว.
การเดิน-วิ่ง ๑,๖๐๐ เมตร.
การนั่งงอตัว.
การลุก-นั่ง.
การดันพื้น.

ข้อใดเป็นสมรรถภาพทางกลไก

สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วน ร่างกายที่สามารถแสดงออกในร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการวิ่ง การกระโดด การหลบหลีก การล้ม การยกน้ำหนัก การทำงาน ที่ต้องใช้เวลาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ความสามารถทาง กลไกจึงเป็นความสามารถของร่างกายที่ใช้ประสาทการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ พลังงานของ 5.

การทดสอบสมรรถภาพทางกลไกหมายถึงอะไร

1. สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับทักษะการ เคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้งหมด ได้แก่ ยืนกระโดดไกล (Standing Broad Jump) ดันพื้น (Floor Push - Up) ลุกนั่ง (Knee – Touch Sit - Up) และงอแขนห้อยตัว (Hanging in arm – flexed position)