ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า กี่ วัน ได้

ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสิทธิเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนได้ที่ https://cdp.pea.co.th/ หรือ สแกน QR Code ตามรูป

วิธีขอคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

  • กรอกข้อมูล
  • เลือกประเภทผู้รับผลประโยชน์
  • กรอกช่องทางการรับเงินคืน
  • แนบเอกสารหลักฐาน
  • รอรับเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563

มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ดูแลปัญหาภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจ

👍 ลงทะเบียนรับส่วนลดค่าไฟฟ้า 230 บาท/เดือน

👍 วิธีตรวจสอบยอดเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

👍 วิธีลงทะเบียนกู้เงินสินเชื่อเสริมพลังฐานราก

แนวทางการขอคืนเงินไว้ดังนี้

ข้อที่ 1 เงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะคืนให้แก่

  • ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก

ข้อที่ 2 การไฟฟ้าจะให้ส่งคำร้องผ่านทาง website และสำหนักงานการไฟฟ้าในพื้นที่

ข้อที่ 3 จะคืนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และโอนเงินธนาคาร

ข้อที่ 4 ตรวจสอบสิทธิผู้ที่จะได้ขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้าในกรณีต่างๆ (กดตรวจสอบ)

วิธีการลงทะเบียนรับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า

ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า กี่ วัน ได้
วิธีการลงทะเบียนขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 1 เข้าเว็บไซต์

  • https://cdp.pea.co.th/
  • กรอกหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า
  • กรอกรหัสเครืองวัด

*ดูตามบิลค่าไฟฟ้าของเรา

ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า กี่ วัน ได้
เข้าเว็บไซต์ลงทะเบียนขอคืนเงินค่าประกันไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบข้อมูล / เลือกประเภทผู้ขอคืนเงินประกันค่าไฟฟ้า

  • ด้านซ้ายมือให้ท่านทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ
  • ด้านขวามือ ให้ท่านเลือกประเภทผู้มีสิทธิที่ต้องการขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

อธิบายเพิ่มเติมผู้มีสิทธิขอเงินคืนประกันค่าไฟฟ้า

  1. บุคคลเดี่ยวกับชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คือ กรณีที่ท่านเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ำฟฟ้าตามข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (หากมีการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ขอให้แนบหลักฐานประกอบเข้ามาด้วย)
  2. ผู้จัดการมรกด / ทายาท คือ กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อปรากฏบนข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าเสียชีวิตหรือศาลส่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ และท่านเป็นผู้จัดการมรกด/ทายาท
  3. กรณีซื้อขาย โอนกรรมสิทธิ์, บ้านเช่า คือ กรณีที่ท่านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่ใช้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อปรากฏบนข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า (ต้องมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย โฉนด ที่ดิน) ส่วนกรณีบ้านเช่า ต้องมีหนังสือการโอนสิทธิให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกัน
  4. หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ คือ ต้องมีหนังสือขอรับคืนเงินประกันจากหน่วยงาน ลงนามโดยหัวหน้าหน่วยงาน
  5. มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ คือ ต้องมีใบอนุญาติจัดตั้งสมาคมมูลนิธิ หนังสือ ข้อบังคับของสหกรณ์ ฯลฯ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรองทุกฉบับ
ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า กี่ วัน ได้
เลือกประเภทผู้ขอรับสิทธิเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 3 กรอกรายละเอียดผู้ขอคืนเงิน / ช่องทางการคืนเงิน

กรอกข้อมูลในช่องที่มีเครื่องหมาย ดอกจันทร์สีแดง “*” ให้ครบถ้วน

  • ประเภทบุคคล
  • สัญญาติ
  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • คำนำหน้า
  • ชื่อ – นามสกุล
  • อีเมล (หากไม่มีไม่ต้องกรอก) วิธีสมัครอีเมล์
  • เบอร์โทรศัพท์ (สำหรับแจ้งผลการรับเงินประกัน)

ทางด้านขวามือโปรดเลือกช่องทางการคืนเงินที่ท่านสะดวก

ช่องทางที่ 1 คืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านพร้อมเพย์

ท่านต้องทำการสมัครบริการผูกพร้อมเพย์กับบัญชีธนาคารก่อน ทำได้ที่ตู้ ATM, App mobile bank หรือจะติดต่อสาขาของทางธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่

ช่องทางที่ 2 คืนเงินค่าประกันไฟฟ้าผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคาร

ต้องเป็นบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวันที่มีการเคลื่อนไหวเท่านั้น

  • ธนาคารกรุงไทย
  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารอิสลาม
  • ธนาคาร ธ.ก.ส.

ช่องทางที่ 3 รับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนที่สำหนักงานการไฟฟ้า ประจำสาขาใกล้บ้าน

ขอคืนเงินประกันไฟฟ้า กี่ วัน ได้

กรอกข้อมูลการขอเงินคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 4 แนบเอกสาร

ให้ท่านแนบเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล , เอกสารใบรับประกัน เป็นต้น

การลงทะเบียนรับการคืนเงินประกันไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านที่อยู่อาศัย และประเภท 2 กิจการขนาดเล็ก จากฝ่ายผลิต ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้รับความสนใจจำนวนมาก แต่มีหลายคนที่ยังไม่ได้ รอการตรวจสอบ

นายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA ในฐานะโฆษก MEA เคยชี้แจง (18 เม.ย.) ตามที่ MEA ได้เปิดให้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์ และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2256 3333 ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นมานั้น ในการดำเนินคืนเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้าในครั้งนี้ MEA ขออภัยที่อาจทำให้การคืนเงินล่าช้าในบางท่าน เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อจ่ายคืนให้ถูกต้องไม่ให้ผิดพลาด

อ่านข่าวเพิ่มเติม : 

ตอบปัญหา 'ตรวจสอบสถานะเงินเยียวยา 5,000 บาท' สถานะไหน 'เราไม่ทิ้งกัน' จ่ายเงินเมื่อไหร่

จึงต้องตรวจสอบรัดกุมพยายามเร่งรัดจ่ายเงินให้ถึงมือทุกท่านอย่างถูกต้องรวดเร็วที่สุดไปพร้อมกันเมื่อลูกค้าลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีขั้นตอนการตรวจสอบทั้งส่วนของ MEA และธนาคารแต่เนื่องจากช่วงนี้มีลูกค้าลงทะเบียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก MEA สามารถตรวจสอบได้วันละประมาณ 1 แสนราย หลังจากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปให้ธนาคาร ซึ่งธนาคารเองก็จะใช้เวลาตรวจสอบอีกระยะหนึ่ง แต่หากหลักฐานที่ส่งมาไม่ตรงกันก็จะต้องใช้เวลาการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมด้วย สำหรับการรับลงทะเบียนคืนเงินหลักประกันการใช้ไฟฟ้าไม่มีการปิดรับลงทะเบียน

ทั้งนี้ ผู้ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ที่ได้เลือกรับเงินในแต่ละช่องทางนั้น จะได้รับเงินตามระยะเวลาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับช่องทางการรับเงินที่เลือก รวมถึงขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบประมวลผล และการประสานกับหน่วยงานการคืนเงินที่เข้าร่วม ซึ่งผู้ลงทะเบียนที่ MEA ตรวจสอบสิทธิ์ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีกรอบระยะเวลาสำหรับการรับคืนเงินผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

1.พร้อมเพย์ ประมาณ 3 วันทำการ
2.โอนบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ ประมาณ 7 วันทำการ (ธนาคารกรุงเทพ เริ่มโอนวันแรก 20 เม.ย. 63)
3.โอนบัญชีธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 10 วันทำการ
4.เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา ประมาณ 3 วันทำการ

อย่างไรก็ตาม ในจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินคืน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 แสนรายนั้น MEA ได้ดำเนินการตรวจสอบและพบว่าอาจมีสาเหตุมาจากการผิดเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้

1.ลงทะเบียนผิดองค์กร
เนื่องจาก MEA ดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เท่านั้น สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจาก 3 จังหวัดดังกล่าว จะต้องลงทะเบียนผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ที่เว็บไซต์ PEA เท่านั้น

2.เป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ในเงินประกัน
เนื่องจากหลักการคืนเงินประกันของ MEA จะพิจารณาว่า ผู้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันนั้น เป็นบุคคลที่มีชื่อ-นามสกุล ตรงกับผู้วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไว้หรือไม่ ดังนั้น หากชื่อ-นามสกุล ไม่ตรง ผู้ลงทะเบียนจะไม่ได้รับเงิน ยกเว้นในกรณีที่ข้อมูลไม่ตรงเนื่องจากการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือเป็นทายาทของผู้วางเงินประกัน จะต้องรอข้อความ SMS จาก MEA แจ้งให้ยื่นเอกสารยืนยันเพิ่มเติมผ่าน http://measy.mea.or.th เพื่อดำเนินการตรวจสอบ

3.รับเงินผ่านบัญชีธนาคารที่ชื่อไม่ตรงกับผู้วางเงินประกัน
เพื่อป้องกันการลักลอบรับสิทธิ์เงินประกันของบุคคลอื่น MEA จึงกำหนดให้ผู้ลงทะเบียนที่เลือกรับเงินผ่านช่องทางบัญชีธนาคาร จะต้องใช้บัญชีที่มีชื่อตรงกับชื่อผู้วางหลักประกันเท่านั้น โดยผู้ลงทะเบียนที่เลือกบัญชีที่ชื่อไม่ตรง จะต้องรอข้อความแจ้งผลลงทะเบียนไม่สำเร็จ จึงจะสามารถลงทะเบียนใหม่ได้

4.รับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์
ระบบการลงทะเบียนของ MEA กำหนดให้ผู้ที่เลือกช่องทางการรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ต้องเป็นประเภทผูกกับบัตรประชาชนเท่านั้น โดยผู้ลงทะเบียนที่เลือกรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเบอร์โทรศัพท์ จะต้องรอข้อความแจ้งผลลงทะเบียนไม่สำเร็จ จึงจะสามารถลงทะเบียนใหม่ได้

5.ระบบคืนเงินประกันผ่าน 7-ELEVEN แล้ว แต่ผู้ขอคืนเงินประกันยังไม่ไปรับเงิน
สำหรับผู้ลงทะเบียนที่รับเงินคืนผ่านระบบเคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-ELEVEN นั้น เมื่อ MEA ตรวจสอบสำเร็จแล้ว จะแจ้งข้อความ SMS ที่ระบุ จำนวนเงิน และรหัส PIN CODE ไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ขอคืนประกันได้ลงทะเบียนไว้ เพื่อให้ผู้ลงทะเบียนใช้ยื่นรับเงินพร้อมกับแสดงบัตรประชาชน แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีผู้ที่ได้รับสิทธิ์รับเงินผ่าน 7-ELEVEN แล้วจำนวนมากที่ยังไม่ได้ไปรับเงิน ซึ่งหากผู้ลงทะเบียนไม่ไปรับในระยะเวลาที่กำหนด 30 วัน (นับจากวันที่ MEA แจ้งผ่าน SMS) MEA จะดำเนินการยกเลิกการลงทะเบียนในครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ขอคืนเงินประกันที่ถูกยกเลิกการลงทะเบียนจะสามารถลงทะเบียนครั้งใหม่ได้ตามปกติ

โฆษก MEA กล่าวอีกว่า นอกจากเงื่อนไขในการลงทะเบียนผิดที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้รับเงินแล้ว ยังพบว่ามีผู้ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าบางส่วนที่ได้รับเงินแล้ว แต่เข้าใจผิดว่ายังไม่ได้รับเงินคืน ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ทราบว่าเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้าที่ MEA คืนให้ เพราะยอดเงินที่ได้รับคืนไม่ตรงกับยอดเงินที่เคยวางเงินประกันไว้ ซึ่งในเรื่องนี้เกิดจาก MEA ได้คืนเงินประกันพร้อมกับดอกผลจากการวางเงินประกันของผู้ใช้ไฟฟ้า ในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นมา MEA จึงได้เริ่มคำนวณดอกผลจากเงินประกันการใช้ไฟฟ้าในรอบใหม่คืนให้ในคราวเดียวกัน แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ขอคืนเงินประกัน MEA จะคำนวณดอกผลให้ต่อเนื่องจนกว่าผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีการขอคืนเงินประกันนั้นๆ

สำหรับผู้ลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า สามารถตรวจสอบสถานะการขอคืนเงิน รวมถึงตรวจสอบรหัสการยืนยันการรับเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสของท่านได้ที่ https://measy.mea.or.th ในฟังก์ชันตรวจสอบเรื่อง โดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชน หรือรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี พร้อมกับหมายเลขรับเรื่อง 10 หลัก

เงินประกันมิเตอร์กี่วันได้

1.พร้อมเพย์ ประมาณ 3 วันทำการ 2.โอนบัญชีธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ประมาณ 5 วันทำการ 3.โอนบัญชีธนาคารกสิกรไทย ประมาณ 10 วันทำการ 4.เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา ประมาณ 3 วันทำการ

การขอคืนเงินประกันไฟฟ้าหมดเขตวันไหน

ผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับสิทธิช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ขอให้รีบลงทะเบียนกับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ของ กระทรวงการคลัง ซึ่งได้มีการขยายเวลาลงทะเบียนจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 นี้ โดยสามารถดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ (คลิกที่นี่)

รับเงินคืนไฟฟ้าได้ที่ไหน

-MEA ดูแลไฟฟ้าให้ท่านดีเหมือนเดิม รับเงินคืนได้ 2 ช่องทาง -บัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เฉพาะผูกกับบัตรประชาชน 13 หลัก -บัญชีธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมรายการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กสิกรไทย โดยจะต้องระบุชื่อบัญชีตรงกับชื่อของผู้วางหลักประกันเท่านั้น

คืนค่าไฟทำยังไง

3. วิธีลงทะเบียนรับสิทธิ์ "ลดค่าไฟ" 3.1) เข้าไปที่เว็บไซต์ "การไฟฟ้านครหลวง" คลิกที่นี่ หรือ เว็บไซต์ "การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค" คลิกที่นี่ 3.2) กรอกข้อมูลรหัสเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (เลขมิเตอร์ไฟฟ้า) ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ (เฉพาะหมายเลข 8 หลัก) 3.3) กรอกบัญชีแสดงสัญญา (เฉพาะหมายเลข 9 หลัก หรือ 10 หลัก)