ประกันสุขภาพมีระยะเวลารอคอยกี่วัน

เหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้เสมอแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เราอยากให้เกิดขึ้นก็ตามและถึงแม้เราจะทำประกันไว้แล้วแต่ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงจะลดลง ประกันเพียงแค่ช่วยรองรับพร้อมทั้งดูแลกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเรา

กรณีเสียชีวิตในช่วงระยะเวลารอคอย
ถ้าหากผู้ซื้อประกันเสียชีวิตในช่วงระหว่างเวลารอคอยด้วยโรคที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันอาจพิจารณาประวัติการรักษาโรคเพื่อชดเชยผลประโยชน์ให้ แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ทำประกันเสียชีวิตจากโรคที่ตรวจพบหรือเป็นมาก่อนทำประกัน บริษัทจะไม่ชดเชยให้แต่จะคืนเบี้ยประกันทั้งหมดที่เคยจ่ายให้แทน อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่บริษัทประกันกำหนดให้สามารถใช้สิทธิรักษาบางประเภทในช่วงระยะเวลาประกันได้ เงื่อนไขขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่เราเลือกซื้อ

ทั้งนี้ บริษัทประกันจำเป็นต้องกำหนดช่วงเวลารอคอยขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดกรณีตั้งใจปิดบัง หรือต้องการโกงเงินประกัน เพราะมีเคสที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองเป็นโรค แต่ตั้งใจมาซื้อประกันโดยปกปิดประวัติการรักษาเพื่อรอเบิกเงินค่ารักษาจากกรมธรรม์นั่นเอง

ยัง! อย่าเพิ่งหัวร้อนใจร้อนกันตอนนี้ พี่เรนนี่เข้าใจนะว่ากว่าจะเลือกประกันได้สักตัว ก็ต้องศึกษาแผนประกัน แบบอ่านแล้วอ่านอีก หลายคนก็เริ่มของขึ้น...ซื้อประกันแล้วยังต้องรอคุ้มครองอีกหรอ? ใจเย็นๆกันก่อนนะทุกคน ความซับซ้อนซ่อนเงื่อนของประกันแบบนี้มันมีที่มาที่ไปที่ฟังแล้วก็เมคเซ้นส์อยู่นะเออ ถ้าอยากรู้ว่า “ระยะเวลารอคอย” คืออะไร? มีไว้ทำไม? มาจ้ะเดี๋ยวพี่เรนนี่จะอธิบายให้ฟัง

ระยะเวลารอคอย คืออะไร? ความคุ้มครองเริ่มที่ตรงไหน?

ในภาษาประกัน “ระยะเวลารอคอย” (Waiting Period) คือ ระยะเวลาที่ผู้ซื้อประกันแล้ว แต่ยังเคลมประกันไม่ได้ โดยเริ่มนับให้รอตั้งแต่วันที่บริษัทคุ้มครอง หรือวันที่อนุมัติกรมธรรม์/กรมธรรม์มีผลบังคับ

โดยถ้าดูเป็นไทม์ไลน์ง่ายๆ ในการซื้อประกันไปจนถึงช่วงที่เริ่มคุ้มครอง จะเป็นแบบนี้:

ประกันสุขภาพมีระยะเวลารอคอยกี่วัน

ซึ่งการกำหนดระยะเวลารอคอยจะขึ้นกับแต่ละแผนประกันเลยนะคะ บางตัวก็สามารถคุ้มครองทันทีที่อนุมัติกรมธรรม์ บางตัวก็ต้องมีระยะเวลารอคอยก่อนถึงจะคุ้มครองให้

อย่างเช่นถ้าเราซื้อประกันโควิด-19 ก็มักจะมีระยะเวลารอคอย 14 วัน สมมุติว่าซื้อวันที่ 29 ธ.ค. แล้วกรมธรรม์อนุมัติ/มีผลบังคับวันที่ 1 ม.ค. น้องจะสามารถเคลมประกันได้จริงๆคือตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. เป็นต้นไป แต่ถ้าหากน้องดันเจอแจ๊คพอตตรวจเจอเชื้อโควิด-19 แล้วต้องแอดมิทเข้าโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค. นั่นหมายความว่า น้องเป็นโรคที่กำหนดก่อนที่จะครบระยะเวลารอคอย 14 วัน แบบนี้คือโชคร้ายสุดๆ เพราะประกันจะไม่จ่ายนะจ๊ะ ซึ่งในเคสแบบนี้บริษัทจะคืนเบี้ยที่เราจ่ายไปแล้วให้ด้วย

ทำไมต้องมีระยะเวลารอคอย?

ตามจริงแล้วบริษัทประกันมีเงื่อนไขให้คนที่จะทำประกันได้ต้องมีสุขภาพดี ถ้าหากมีโรคอะไรก็ให้แจ้งกับบริษัทตั้งแต่ต้น โดยจะมีผลกับการพิจารณารับประกัน ซึ่งก็แล้วแต่ข้อกำหนดของประกันนั้นๆว่าจะมีข้อยกเว้นบางโรค หรือสามารถกำหนดให้รับประกันแต่เพิ่มเบี้ยประกันได้หรือไม่

ซึ่งวิธีการที่บริษัทประกันให้เรายืนยันว่าสุขภาพดีก็คือให้ไปตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน แต่ในบางแบบประกันจะใช้การกำหนดระยะเวลารอคอยแทนการตรวจสุขภาพ หรือใช้ทั้งสองอย่างไปเลย ดังนั้นหากเราสุขภาพดีจริงก็ไม่น่าจะไปเบิกเคลมก่อนสิ้นสุดระยะเวลารอคอยอะเนอะ (ยกเว้นว่าเจอแจ็คพอร์ต...น้ำตาไหลล)

เอาจริงๆ พี่เรนนี่ก็ไม่ค่อยชอบรอนะเพราะก็จ่ายตังไปแล้วทำไมต้องรออีก แต่ถ้าไม่มีระยะเวลารอคอยแล้วคนป่วยสามารถมาซื้อประกันในราคาเบาๆแล้วเคลมกันหนักๆทันทีทันใด บริษัทประกันคงจะเจ๊งกันระนาว, เบี้ยคงจะแพงหนักกว่านี้อีก, หรืออย่างเลวร้ายสุดก็คือไม่มีบริษัทไหนรับประกันสุขภาพอีกเลย (ม่ายยย พี่เรนนี่จะเอาเงินเก็บไปเที่ยวรอบโลก ไม่ใช่มาจ่ายค่าหมออ)

ดังนั้น ถ้าให้พูดสรุปง่ายๆก็คือ บริษัทประกันต้องการ “รอ” ดูว่าเรา “ป่วย” เป็นโรค “ก่อนทำประกัน” หรือไม่นั่นเองค่ะ และโดยทั่วไปประกันก็จะมีระยะเวลารอคอยตั้งแต่ 30 - 120 วัน แล้วแต่โรคและข้อกำหนดของตัวประกันนั้นๆ

อะไรบ้างที่มีระยะเวลารอคอย?"

จริงๆก็จะมีรายละเอียดยิบย่อยเกี่ยวกับระยะเวลารอคอยตามแต่ละประกันจะกำหนดนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มักจะมีระยะเวลารอคอยมาตรฐานอยู่ เป็นประมาณนี้:
  • ประกันสุขภาพ: ระยะรอคอยอาจแบ่งได้ เป็น 2 แบบคือ
    •    รอคอย 120 วัน สำหรับ:
      • เนื้องอก ถุงน้ำดี หรือมะเร็งทุกชนิด
      • การตัดทอนซิลหรืออดีนอยด์
      • นิ่วทุกชนิด
      • เส้นเลือดขอดที่ขา
      • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
      • ต้อเนื้อหรือต้อกระจก
      • ไส้เลื่อนทุกชนิด
      • ริดสีดวงทวาร
    •    รอคอย 30 วัน: สำหรับโรคทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ ทั้ง IPD (ผู้ป่วยในที่แอดมิทในโรงพยาบาล) และ OPD (ผู้ป่วยนอกที่รับยาแล้วกลับบ้าน)
  • ประกันโรคร้ายแรง: มักจะระบุว่ามีระยะรอคอยประมาณ 90 วัน สำหรับโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
  • แสดงว่าต้องรอทุกโรคเลยหรอ?: ก็ไม่จำเป็นนะคะ จริงๆจะแล้วแต่ประกันกำหนด จึงควรต้องอ่านรายละเอียดในกรมธรรม์ให้ดี ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าหากประกันตัวนั้นครอบคลุมการรักษาที่เกิดมาจากอุบัติเหตุ (หรือพูดง่ายๆก็คือมีประกันอุบัติเหตุด้วย) ก็จะคุ้มครองอุบัติเหตุทันทีหลังกรมธรรม์มีผลบังคับ โดยไม่ต้องมีระยะเวลารอคอยค่ะ

รู้แบบนี้แล้ว เวลาซื้อประกันก็คงโล่งใจไปได้หนึ่งเปลาะ ว่าเรารับรู้และเข้าใจเงื่อนไขของประกันตรงนี้แล้ว ไม่ไปแพนิคอีกเอาทีหลังตอนเบิกไม่ได้ โดยประเด็นระยะเวลาการรอคอยก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขประกันอีกนับสิบๆอย่างที่พี่รู้ว่าน้องไม่เข้าใจ (55+) ยังไงวันหลังเดี๋ยวพี่เรนนี่จะเอามาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ และถ้าน้องอยากให้ความรู้เรื่องประกันไม่ใช่ศาสตร์ลึกลับอีกต่อไป ก็ติดตามบทความตอนหน้าของพี่เรนนี่ที่เว็บไซต์รีวิวประกันได้เลยนะคะ

บจก. เมืองไทย โบรกเกอร์ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาการให้บริการเว็บไซต์แก่คุณ หากคุณดำเนินการต่อหรือปิดข้อความนี้ลง เราถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา close

ระยะเวลารอคอยหลังทำประกันสุขภาพสูงสุดกี่วัน

ประกันสุขภาพ มี 2 ระยะรอคอย คือ 30 วัน สำหรับโรคทั่วไป และ 120 วันสำหรับ 8 โรคที่มีระยะก่อโรคนาน เช่น ก้อนเนื้อ มะเร็ง ต้อกระจก ริดสีดวง นิ่ว ไส้เลื่อน เป็นต้น ประกันโรคร้าย มีระยะรอคอย ตั้งแต่ 60 - 120 วัน แล้วแต่แบบประกัน ประกันอุบัติเหตุ จะไม่มีระยะเวลารอคอย เพราะ อุบัติเหตุนั้นไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้

ระยะรอคอยมะเร็งกี่วัน

สำหรับประกันมะเร็งและประกันโรคร้ายแรง จะมีระยะเวลารอคอยประมาณ 90 วัน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

ประกันชีวิต มีระยะเวลารอคอยไหม

สรุปง่ายๆก็คือ บริษัทประกันต้องการ “รอ” ดูว่าเรา “ป่วย” เป็นโรค “ก่อนทำประกัน” หรือไม่ และโดยทั่วไปประกันก็จะมี "ระยะเวลารอคอย" ตั้งแต่ 30 วัน 90 วัน ไปจนถึง 120 วัน (แล้วแต่โรคและข้อกำหนดของตัวประกันนั้นๆ)

ระยะเวลารอคอย คืออะไร

ระยะเวลารอคอย คือช่วงเวลาที่ประกันไม่คุ้มครอง แม้ผู้เอาประกันจะป่วยเป็นโรคที่กำหนดไว้ในกรรมธรรม์ก็ไม่สามารถเคลมในช่วงดังกล่าวได้ บริษัทประกันมีระยะเวลารอคอย เพื่อป้องกันกรณีผู้เอาประกันเป็นโรคก่อนซื้อประกันค่ะ