การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีกี่รูปแบบ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

คำจำกัดความของ “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”     มนุษย์ คือ สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง ทรัพยากร หมายถึง สิ่งทั้งปวงอันเป็นทรัพย์ ส่วนพัฒนา หมายถึง ทำให้เจริญ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันได้เน้นที่การพัฒนาทรัพยากรทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development: HRD) เพราะเป็นกระบวนการที่จะเสริมสร้าง และเปลี่ยนแปลงบุคลากรในด้านต่างๆ เช่น ทางด้านความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ รวมทั้งวิธีการทำงานอันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพของความเข้มแข็งในการทำงาน

ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) หรือ การพัฒนากำลังคน (Manpower Development)คือ กระบวนการในการพัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ มีทักษะในการปฏิบัติงานตลอดจนมีทัศนคติและพฤติกรรมที่ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น ทั้งในปัจจุบันและอนาคตดังนั้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งในการบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กรสมัยใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีชั้นสูงและมีแนวโน้มที่จะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ การดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของทางปฏิบัตินั้นควรจะเริ่มตั้งแต่เมื่อพนักงานเหล่านั้นเริ่มเข้ามาทำงานโดยการปฐมนิเทศ (Orientation) และจะต้องดำเนินการพัฒนาอีกต่อไปเรื่อยๆตลอดเวลาที่เขายังคงทำงานอยู่ในองค์กร

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์ซึ่งสามารถแบ่งการพิจารณาได้เป็นลักษณะต่างๆได้ 3 ลักษณะคือ     1. วัตถุประสงค์โดยทั่วไป         - เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากร         - เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ         - เพื่อสร้าง กำลังใจ และทัศนคติที่ดีให้แก่บุคลากร         - เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร         - เพื่อบำรุงรักษาบุคลากรและสามารถทดแทนการขาดแคลนบุคลากรได้         - เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆได้อย่างถูกต้องและคุ้มค่า     2. วัตถุประสงค์ขององค์การ         - เพื่อเสริมสร้างขวัญทัศนคติและความสนใจในการปฏิบัติงานของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น         - เพื่อสอนแนะวิธีการทำงานที่ถูกต้องเหมาะสมหรือดีที่สุดแก่พนักงาน         - เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานขององค์การให้ได้รับผลผลิตสูงสุด         - เพื่อลดความสินเปลืองและป้องกันอุบัติเหตุอันอาจจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน         - เพื่อพัฒนาฝีมือในการปฏิบัติงานของพนักงาน ให้สามารถรู้ถึงระบบและวิธีการทำงานที่ถูกต้องและรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆได้อย่างถูกต้อง         - เพื่อฝึกฝนบุคคลเตรียมไว้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของงาน และการเพิ่มขยายองค์การหรือตั้งหน่วยงานใหม่ในอนาคต     3. วัตถุประสงค์ของบุคลากร         - เพื่อความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานของตน ทำให้มีโอกาสได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นไปได้ ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น         - เพื่อพัฒนาทัศนคติและบุคลิกภาพให้ถูกต้องดีงามและเหมาะสมยิ่งขึ้น         - เพื่อพัฒนาทักษะหรือฝีมือในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น         - เพื่อฝึกฝนความสามารถมนการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น         - เพื่อเรียนรู้และลดการเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน         - เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานของตนให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น         - เพื่อให้เข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์การที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ได้ดียิ่งขึ้น จะได้สามารถปฏิบัติตนและทำงานได้อย่างถูกต้อง         - เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประเภทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีการแบ่งประเภทซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังต่อไปนี้         1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องทั่วไป (General Human Resource Development) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหัวข้อเรื่องทั่ว ๆ ไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ไม่ว่าบุคลากรที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมนั้น จะมีตำแหน่งหน้าที่การงานอยู่ในตำแหน่งใด หรืออยู่ในระดับผู้บริหารหรือไม่ ก็สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมไปใช้ได้เช่นเดียวกัน เช่น การพัฒนาและฝึกอบรมในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม การพัฒนาและฝึกอบรมในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับการทำงานอย่างไรให้สนุกกับการทำงาน เป็นต้น         2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เฉพาะเรื่อง (Specific Human Resource Development) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหัวข้อเรื่องที่เป็นเรื่องเฉพาะตำแหน่ง เฉพาะหน้าที่ เพื่อให้นำไปใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานไม่เกี่ยวข้องก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม เช่น การพัฒนาและฝึกอบรมในหัวข้อเรื่องเกี่ยวกับการลงบัญชีระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาและฝึกอบรมในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการลงรหัสสินค้า เป็นต้น

แนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    1. เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่ทำให้บุคลากรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้ เพราะเมื่อมีการให้การพัฒนาและฝึกอบรมกับบุคลากรแล้ว ตามแนวคิดถือว่าจะทำให้บุคลากรเป็นบุคลากรที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น ซึ้งทำให้เกิดคุณค่าต่อตัวบุคลากรเองและต่อองค์การด้วย     2. เป็นกิจกรรมที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฝึกอบรมให้กับบุคลากรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพราะถ้าองค์การมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเป็นประจำอย่างต่อเนื่องแล้ว จะเท่ากับทำให้กับบุคลากรได้รับการตอกย้ำให้เกิดความเข้าใจ จดจำได้ และสร้างความชำนาญในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น     3. เป็นกิจกรรมที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องยอมรับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่บุคลากรทุกฝ่ายในองค์การจะต้องให้ความร่วมมือ สนับสนุ่น ยอมรับและคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับองค์การเป็นหลักโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ต้องให้การส่งเสริมและสนับสนุนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณทรัพยากรและอื่น ๆ หรือผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมก็จะให้ความร่วมมือยอมรับและปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ     4. เป็นกิจกรรมที่จะต้องกระทำอย่างเหมาะสม ทั้งระยะเวลา ช่วงเวลาและค่าใช้จ่าย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่ต้องคำนึงถึงเรื่องของงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นว่าคุ้มค่าหรือไม่ รวมทั้งจะต้องพิจารณาถึงระยะเวลาและช่วงเวลาที่จะใช้ในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในองค์การด้วยว่า มีความเหมาะสมหรือไม่กระทบกับการปฏิบัติงานในองค์การมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การควรกระทำ ในช่วงเวลาและระยะเวลาที่เหมาะสม และคุ้มกับงบประมาณที่เกิดขึ้นด้วย     5. เป็นกิจกรรมที่จะต้องประเมินผลบ่อย ๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่จะต้องมีการประเมินผลและติดตามผล เพื่อที่จะได้รับทราบว่ากิจกรรมในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรที่องค์การได้จัดขึ้นนั้น ประสบความสำเร็จหรือไม่ มีสิ่งที่ควรพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข โดยแนวคิดสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แล้ว จะต้องมีการติดตามและประเมินผลบ่อย ๆ เพื่อที่จะได้รับทราบผลของกิจกรรม แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขการจัดทำกิจกรรมในครั้งต่อไปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น     6.เป็นกิจกรรมที่มีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมจะต้องมีการเรียนรู้เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการเรียนรู้ในงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นสิ่งจำเป็นหรือเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในปัจจุบันหรืออนาคต ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งตัวบุคลากรเองรวมทั้งองค์การด้วย นอกจากนี้ กิจกรรมในการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรควรเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ ด้วย ตามหลักของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (Management by Participation : MBP)

หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีหลักการที่สำคัญ คือ         1. หลักการเสริมสร้างความเชื่อถือ และศรัทธา ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีหลักการที่สำคัญ คือ จะต้องให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีความเชื่อถือและศรัทธาเกิดขึ้นก่อน เมื่อทุกฝ่ายเกิดความเชื่อถือและศรัทธาแล้วก็จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้ เช่น ความเชื่อถือและศรัทธาที่มีต่อหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินงาน ความเชื่อถือ และศรัทธาในชื่อเสียงและประสบการณ์ของวิทยากร เป็นต้น         2. หลักการรักษาระดับความสนใจให้อยู่ในระดับที่สูงอยู่เสมอ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีหลักการที่สำคัญ คือจะต้องทำให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นให้อยู่ในระดับที่สูงเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมเกิดความสนในในเรื่องที่กำลังรับรู้และรับฟังโดยเฉพาะวิทยาการควรที่จะมีความสามารถในการสร้างความสนใจผู้ที่รับการพัฒนาและฝึกอบรม เช่น มีการให้ทำกิจกรรมต่างๆ มรการใช้เทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาและฝึกอบรม เป็นต้น         3. หลักการเสริมสร้างภาวะสมอง ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการที่สำคัญคือจะต้องทำให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมได้มีการเสริมสร้างภาวะสมองด้วยการฝึกให้รู้จักคิด ฝึกให้มีการปฏิบัติ ฝึกให้มีการโต้ตอบหรือฝึกให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งวิธีการฝึกต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมเกิดความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น และเป็นการเสริมสร้างภาวะสมองของผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมด้วย         4. หลักการเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีในหัวข้อต่างๆ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการที่สำคัญ คือ จะต้องทำให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม ได้รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ และความจำเป็น ที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่อง หัวข้อ และเนื้อหาต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของการพัฒนาและฝึกอบรม จึงเป็นหลักการสำคัญที่ว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องยึดหลักการเพื่อเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีในหัวข้อต่าง ๆ ให้กับผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม         5. หลักการเสริมสร้างความเข้าใจ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการที่สำคัญ คือจะต้องทำให้ผู้รับการพัฒนาและฝึกอบรม เกิดความเข้าใจ สามารถนำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับ ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้กล่าวคือผู้ที่รับการพัฒนาและฝึกอบรม เมื่อได้ความรู้จากการพัฒนาและฝึกอบรมแล้วจะต้องมีความเข้าใจได้ด้วยว่าจะนำความรู้ที่ได้นั้น ไปใช้หรือประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้อย่างไรทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น ดังนั้น จึงเป็นหลักการสำคัญที่ว่าจะต้องเสริมสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรมด้วย         6. หลักการเน้นหรือย้ำ ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการที่สำคัญ คือจะต้องทำให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม สามารถที่จะจดจำจากสิ่งที่ได้รับจากการพัฒนาและฝึกอบรมให้ได้ การที่ให้จะรับการพัฒนาและฝึกอบรมสามารถจดจำได้ดีนั้นวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันก็คือ การเน้นหรือการย้ำนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การที่บุคคลบางคนร้องเพลงบางเพลงได้ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นเนื้อเพลงนั้น เลย ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะบุคคลผู้นั้นได้ยินและได้ฟังเพลงนั้นบ่อยๆ จึงทำให้จดจำเนื้อเพลงและร้องเพลงนั้นได้ในที่สุดนี่คือหลักการสำคัญที่ว่าจะต้องมีการเน้นหรือย้ำกับผู้ที่เข้ารับการพัฒนาและฝึกอบรม     ในปัจจุบัน โลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้โลกก้าวสู่ยุคการแข่งขันทางเศรษฐกิจเสรีไร้พรมแดน และสังคมบนฐานแห่งความรู้ กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาองค์การให้สามารถก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ องค์การจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง และวางแผนกลยุทธ์ ในการพัฒนาองค์การ เพื่อสร้างจุดแข็ง ดังนั้น การพัฒนาองค์การจึงมีความสำคัญ โดยจะต้องพัฒนาบุคลกรให้มีความรู้ ความสามารถและมีศักยภาพในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ท่ามกลางความท้าทายของการบริหารในยุคของการแข่งขันด้วยทุนมนุษย์ “คน” จึงเป็นต้นทุนสำคัญขององค์การในการทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และตอบสนองต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรจึงจำเป็น ต้องสร้างความเข้มแข็งให้เพียงพอที่จะเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและปรับเปลี่ยนบทบาทจากการให้ความสำคัญกับการทำงานประจำและงานเอกสารมาเป็นการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์ให้องค์การสามารถบริหารกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อนำพาองค์การให้บรรลุพันธะกิจและเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ (อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์, 2550) ทรัพยากรบุคคลที่มีสมรรถนะสูง มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ และองค์กรจะบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างสร้างสรรค์และชาญฉลาด โดยใช้ทักษะการบริหารจัดวางคนให้เหมาะสมกับงาน เพื่อจะได้ดึงศักยภาพและความสามารถที่มีอยู่ในตัวของบุคลากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรจะต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร ทั้งนี้เพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบทาง การแข่งขันกับองค์การอื่นๆ ได้ ดังนั้น จึงทำให้องค์การต่างๆ หันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพราะ เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Capital) และสิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องก็คือ การสร้างระบบในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของบุคลากร ควบคู่ไปกับระบบการรักษาคนให้อยู่กับองค์กร โดยใช้การจูงใจ การสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรมีความรู้สึกอยากที่จะทำงานร่วมกับองค์การนั้นๆ ตลอดไป

อ้างอิง : พรชัย เจดามาน. (2556).การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์.(ออนไลน์)

จัดทำโดย นางสาวประภาพร โสภารักษ์ รหัสนิสิต 54105010110


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีกี่ด้าน

Champion) ขอบข่ายงานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ เป็นการพัฒนาองค์รวม 3 ด้าน คือ การพัฒนาบุคคล (ID) พัฒนาวิชาชีพ (CD) และพัฒนาองค์การ (OD) ประการที่หนึ่ง การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นรายบุคคล (Individual Training and.

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความเป็นมาอย่างไร

Human Resource Development.  คือการวางอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อจัดให้มีการพัฒนาระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร โดยใช้วิธีการฝึกอบรม การให้ความรู้ และจัดโปรแกรมการพัฒนาเจ้าหน้าที่ ให้มีโอกาสได้รับความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับอนาคต

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสําคัญอย่างไร

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการนำศักยภาพของแต่ละบุคคลมาใช้ ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างให้แต่ละบุคคลเกิดทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ เมื่อพิจารณา

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีกี่รูปแบบ

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะสาคัญ ตั้งแต่การได้ คนมาทางานในองค์กร (Acquisition) การดูแลรักษาให้คนในองค์กรทางานได้อย่างมีประสิทธิผล (Retention) และการดูแลการออกจากงานของคนงาน (Separation) โดยในแต่ละขั้นตอนจะมี กิจกรรมย่อยที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะได้รับอิทธิพลจาก ...