อเมริกาเรียนกี่ชั่วโมงต่อวัน

  • ทำไมต้องมาเรียนต่ออเมริกา?
  • ค่าแรงขั้นต่ำในสหรัฐอเมริกาเท่าไหร่?
  • วีซ่านักเรียนอเมริกา มีกี่ประเภท?
  • เรียนต่ออเมริกา วีซ่านักเรียนอเมริกา F-1 สามารถทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่?
  • การทำงานระหว่างเรียนด้วยวีซ่านักเรียน F-1 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  • 1. การทำงาน On-Campus ระหว่างเรียน ด้วยวีซ่านักเรียน F-1
  • 2. การทำงาน Off-Campus ระหว่างเรียน และหลังเรียนจบ ด้วยวีซ่านักเรียน F-1
  • เรียนหลักสูตรอะไรถึงสามารถทำงานระหว่างเรียนได้บ้าง?
  • เรียนภาษาอังกฤษที่อเมริกา สามารถทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่?
  • กฏ และเงื่อนไขของการทำงานระหว่างเรียนด้วยวีซ่านักเรียน F-1 ประเทศอเมริกา
  • วิธีการเตรียมตัวสำหรับการหางานในสหรัฐอเมริกา
  • ติดต่อเดอะเบสท์เพื่อสอบถามข้อมูลการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเติม

Show

เรียนต่ออเมริกา ทำงานพาร์ทไทม์ระหว่างเรียนได้หรือไม่? คำตอบคือ เรียนต่ออเมริกา สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรียนภาษา เรียนประกาศนียบัตร เรียนอนุปริญญา เรียนปริญญาตรี แต่เงื่อนไขการทำงาน จะมีเงื่อนไขและข้อกำหนดแตกต่างกันในแต่ละวุฒิการศึกษา และรูปแบบการทำงานยังแตกต่างกันออกไปทั้ง การทำงานภายในวิทยาเขต On-Campus และการทำงานนอกวิทยาเขต Off-Campus นอกจากนี้ ยังมีการทำงานแบบ CPT และ OPT ที่จะต้องพิจารณา และศึกษาเงื่อนไข วิธีการให้ครบถ้วน โดยในบทความนี้ ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ จะมาสรุปข้อมูล เกี่ยวกับการทำงานระหว่างเรียนในอเมริกา มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เรียนจบแล้ว อยู่ทำงานต่อได้หรือไม่ รวมถึงคำถามยอดนิยม เรียนภาษาที่อเมริกาทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่ หาคำตอบในบทความนี้ได้เลยค่ะ

การทำงานระหว่างเรียนต่ออเมริกา


ประเทศสหรัฐอเมริกา หรืออเมริกา (United State of America หรือ USA) เป็นประเทศแห่งเสรีภาพ และโอกาสที่เปิดกว้าง  ทุกๆ ปี มีนักเรียน นักศึกษาต่างชาติเดินทางมาเรียนต่ออเมริกากว่า 4 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เหตุผลหลักในการเลือกเรียนต่ออเมริกาคือ เพื่อโอกาส และความก้าวหน้าในอนาคต เนื่องจากประเทศอเมริกาเป็นชั้นนำด้านการเรียนต่อ มหาวิทยาลัยระดับโลกหลายแห่ง เช่น MIT, Stanford University, Harvard University มีมาตรฐานทางวิชาการสูง การเรียนการสอนเข้มงวด เน้นวิชาการและงานวิจัย มีหลักสูตรการศึกษาทุกหลักสูตร 

สหรัฐอเมริกาเป็นสังคมหลายเชื้อชาติซึมซับวัฒนธรรมใหม่ๆ ตลอดเวลา ยอมรับและเปิดกว้าง ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนในอเมริกา ก็จะได้สัมผัสวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ภูมิภาคชายฝั่งตะวันตก มีชายหาดกิจกรรมกลางแจ้งมากมายผู้คนจะมีสไตล์สโลไลฟ์ ชื่นชอบการพักผ่อน มิดเวสต์มีมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่หลายแห่งและผู้คนขึ้นชื่อเรื่องการต้อนรับและความมีน้ำใจ

เนื่องจาก การเรียนต่ออเมริกามีค่าใช้จ่ายที่สูง นักเรียน นักศึกษาหลายคนจึงเลือกที่จะทำงานระหว่างเรียน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ค่าอาหารบางส่วน หรือนักเรียนบางคน อาจทำงานพาร์ทไทม์เพื่อหาประสบการณ์ เพื่อเพียบพร้อมสำหรับการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา โดยสถาบันการศึกษาในอเมริกา เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา สามารถทำงานระหว่างเรียนได้ภายในบริเวณสถาบัน On-Campus และมีโปรแกรมฝึกงาน เพื่อโอกาสในการทำงานหลังเรียนจบที่อเมริกา


ทำไมต้องมาเรียนต่ออเมริกา?

  • สหรัฐอเมริกามีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกมากมาย เช่น MIT, Stanford University, Harvard University และ Caltech University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย TOP 10 ของโลก
  • หลักสูตร STEM พร้อมโอกาสที่เปิดกว้าง หลักสูตร STEM หรือ Science, Technology, Engineering, Math เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ทำงานหลังเรียนจบ OPT ที่มากกว่า เพื่อฝึกปฏิบัติ และสามารถก้าวสู่การทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น ระบบโอนหน่วยกิต Credit Transfer ช่วยให้การเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกาง่ายขึ้น ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนจบ High School ที่อเมริกา ก็สามารถเรียนต่อ 2-Year College และโอนหน่วยกิตเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ไม่ต้องสอบ SAT, GMAT, GRE
  • มีหลักสูตรที่ครอบคลุมทุกหลักสูตร มหาวิทยาลัยในอเมริกา เปิดสอนหลักสูตรมากกว่า 2 ล้านหลักสูตร ผ่านมหาวิทยาลัยกว่า 4 พันแห่ง ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญเอก รวมถึงหลักสูตรอนุปริญญา Associate Degree และประกาศนียบัตร Certificate ทุกหลักสูตร มีคุณภาพและอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
  • เป็นศูนย์วิจัยระดับโลก สหรัฐอเมริกามีชื่อเสียงโด่งดังด้านงานวิจัย และเป็นแนวหน้าในการพัฒนาของโลก ตั้งแต่งานวิจัยวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม สังคม วัฒนธรรม โดยจากข้อมูลของ NSF ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้งานในการวิจัยและนวัตกรรมอยู่ที่ 22 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015
  • อเมริกาเป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีและเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ได้รู้จักกับความรู้ใหม่ล่าสุดในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะ และพร้อมทำงานโดยใช้เทคโนโลยีล่าสุด
  • ประเทศอเมริกา ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ เหมาะสำหรับผู้อยากเรียนภาษา ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ใช้ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกัน ก็โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์น่าฟังอย่างมาก
  • โอกาสในการจ้างงานที่มากกว่า หลังจากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี นักศึกษากว่า 70% ได้งานทำหลังเรียนจบ โดยอัตราค่าตอบแทนอยู่ที่ $61,000 – $120,700 หรือประมาณ 1.89 – 3.74 ล้านบาทต่อปี
  • มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมประเทศอเมริกา เป็นประเทศแห่งเสรีภาพ เปิดรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม เข้าใจและพร้อมซึมซัมวัฒนธรรมใหม่ๆ ตลอดเวลา 
  • บริการช่วยเหลือสำหรับนักศึกษาต่างชาติ อเมริกายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติสำหรับการศึกษาต่อในอเมริกาและมีระบบสนับสนุนเพื่อช่วยให้นักเรียนปรับตัวเข้ากับชีวิตในอเมริกาได้อย่างสะดวกสบาย

ค่าแรงขั้นต่ำในสหรัฐอเมริกาเท่าไหร่?

ค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลกลาง คือ $ 7.25 ต่อชั่วโมง ซึ่งได้รับการกำหนดโดย Fair Labor Standards Act (FLSA) โดยจะได้มากกว่า หรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับประเภทงานที่ทำ และกฏหมายค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละรัฐที่กำหนด โดยมหานครนิวยอร์ก เป็นเมืองที่มีค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุด อยู่ที่ $15.00 ต่อชั่วโมง รองลงมาคือ ลองไอส์แลนด์ และเวสต์เชสเตอร์ มีค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ $13.00 ต่อชั่วโมง

สำหรับรัฐอื่นๆ ก็จะมีค่าแรงขั้นต่ำ สูงกว่า หรือต่ำกว่า ที่รัฐบาลกำหนด คลิก เพื่อดูค่าแรงขั้นต่ำและกฏหมายที่บังคับใช้ในแต่ละรัฐ


วีซ่านักเรียนอเมริกา มีกี่ประเภท?

วีซ่านักเรียนอเมริกา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ F M และ J

  • วีซ่าประเภท F วีซ่าประเภทนี้เป็นวีซ่าหลักที่ออกให้แก่นักเรียนส่วนใหญ่ ในกรณีที่ต้องการเข้าเรียนในสหรัฐอเมริกาตามสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองแล้วเช่น วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรอง โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา หรือโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษที่ผ่านการอนุมัติ ผู้สมัครต้องมีวีซ่าประเภท F-1 รวมไปถึงผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในหลักสูตรอื่นๆที่มากกว่า 18 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ต้องใช้วีซ่าประเภท F-1 เช่นกัน
  • วีซ่าประเภท M ในกรณีที่มีความประสงค์จะเข้ารับการศึกษาในด้านวิชาชีพ หรือด้านอื่นๆที่นอกเหนือจากด้านวิชาการ หรือเข้าฝึกอบรมใดๆที่จัดโดยสถาบันในสหรัฐอเมริกา ผู้สมัครจะต้องมีวีซ่าประเภท M-1
  • วีซ่าประเภท Jเป็นวีซ่าที่ออกให้ผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา มีภาระผูกพันที่จะต้องเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด เช่น นักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน และรวมถึง ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Work and Travel หรือ Au-Pair
ประเภทและระดับการศึกษา ประเภทของวีซ่า
University or College มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย F
High School โรงเรียนมัธยม
Private elementary school โรงเรียนประถมศึกษาเอกชน
Seminary โรงเรียนสอนศาสนา
Conservatory โรงเรียนสอนดนตรี
Another academic institution, including a language training program สถาบันการศึกษาประเภทอื่นรวมถึงโปรแกรมสอนภาษา
Vocational or other recognized nonacademic institution, other than a language training program

สถาบันสอนวิชาชีพหรือสถาบันสอนอื่นๆที่ไม่ใช่วิชาการรวมทั้งสถาบันอื่นที่ไม่ใช่โปรแกรมสอนภาษา

M

Exchange Visitor Programs

ผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา มีภาระผูกพันที่จะต้องเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด

J

นักเรียนต่างชาติ ที่เดินทางมาเรียนที่อเมริกามักจะถือวีซ่านักเรียน F-1 เป็นหลัก ซึ่ง เงื่อนไขของวีซ่า F-1 คือ อนุญาตให้ชาวต่างชาติ ซึ่งไม่ใช่พลเมืองของอเมริกา หรือสัญชาติอมเริกา สามารถเดินทาง และศึกษาในอเมริกาได้ ไม่ใช่วีซ่าสำหรับการทำงาน แต่อนุญาตให้ทำงานบางประเภทในขณะที่เรียนอยู่ในอเมริกา และหลังเรียนจบเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยในบทความนี้ ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ จะอธิบายรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานระหว่างเรียนในอเมริกาสำหรับวีซ่านักเรียน F-1 เท่านั้น


เรียนต่ออเมริกา วีซ่านักเรียนอเมริกา F-1 สามารถทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่?

สามารถทำได้ นักเรียนต่างชาติส่วนใหญ่ในอเมริกาที่ถือวีซ่า F-1 อนุญาตให้ทำงานในอเมริกาได้ โดยจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน DSO (Designated School Officials) ซึ่งหนึ่งในผู้กำกับดูแลนักเรียน นักศึกษาต่างชาติเป็นหลัก รวมถึงนักเรียนแลกเปลี่ยน ทำหน้าที่ในการติดต่อ ประสานงานสำหรับปัญหาต่างๆ เช่น การเสนอชื่อโรงเรียนที่ได้รับการรับรอง SEVP อัปเดทข้อมูลนักเรียน ให้คำแนะนำนักเรียน ภายใต้เงื่อนไขโดย United States Citizenship and Immigration Service (USCIS)

อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของวีซ่านักเรียน F-1 คือ อนุญาตให้ผู้ที่ถือวีซ่า มาเรียนและอาศัยอยู่ในอเมริกาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง การทำงานระหว่างเรียน เป็นเพียงสิทธิ์ที่ผู้ถือวีซ่านักเรียน F-1 สามารถขอได้ และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมาย และไม่แนะนำให้ผู้ถือวีซ่านักเรียน F-1 ทำผิดกฏหมายใดๆ ถ้าหากถูกจับจะโดนยกเลิกวีซ่า โดนส่งกลับประเทศ ถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย หรือโดนแบนห้ามเข้าประเทศอเมริกา นอกจากนี้ ยังทำให้นักศึกษารุ่นหลังๆ ที่ตั้งใจไปเรียนต่ออเมริกาจริงๆ ขอวีซ่าลำบากขึ้นด้วย

DSO คืออะไร? DSO คือหน่วยงานที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติเป็นหลัก โดยหน้าที่หลักๆ คือ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียน และการใช้ชีวิตในอเมริกา ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานในอเมริกา รวมถึงการขอหมายเลข SSN (Social Security Number) และการขอใบขับขี่ Driver’s License โดยปกติจะมีสำนักงานอยู่ในสถาบันการศึกษา


การทำงานระหว่างเรียนด้วยวีซ่านักเรียน F-1 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. On-Campusคือการทำงานในเขตสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย เป็นงานที่สนับสนุนกิจการภายในมหาวิทยาลัย สามารถทำได้เลยเพียงขออนุญาตจาก DSO และงานที่ทำไม่จำเป็นต้องตรงสายก็ได้ อาจได้รับค่าตอบแทน หรือไม่ได้รับค่าตอบแทนก็ได้
  2. Off-Campus คือการทำงานนอกเขตสถาบันการศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีปัญหาด้านการเงินขั้นรุนแรง หรือ นักศึกษาที่ต้องการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในสาขาวิชาที่เรียนเท่านั้น

1. การทำงาน On-Campus ระหว่างเรียน ด้วยวีซ่านักเรียน F-1

สำหรับนักเรียนต่างชาติอเมริกาที่มีวีซ่า F-1 การทำงาน On-Campus เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด และ เป็นทางเลือกเดียวสำหรับวีซ่านักเรียน F-1 ในช่วงปีการศึกษาแรกในอเมริกา โดยสามารถทำงานได้ 20 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ในช่วงเปิดภาคการศึกษา และมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในช่วงปิดภาคการศึกษา

โอกาสในการทำงานในมหาวิทยาลัย On-Campus นั่นค่อนข้างสูง เนื่องจาก มหาวิทยาลัยในอเมริกามีขนาดใหญ่มากๆ บางมหาวิทยาลัยอาจเทียบได้เป็นเมือง เมืองหนึ่ง ที่มีร้านค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ มากมาย รวมถึงยังมีโอกาสทำงานที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยด้วย เช่น งานธุรการ บรรณารักษ์ พนักงานร้านขายหนังสือ พนักงานร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต เทรนเนอร์ในฟิตเนสเซ็นเตอร์ บางมหาวิทยาลัยที่มี Campus ใหญ่ๆ อาจมีทั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยมรวมอยู่ใน Campus ด้วย ซึ่งโอกาสการหางานทำก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

อเมริกาเรียนกี่ชั่วโมงต่อวัน

 ตัวอย่างภาพอาณาเขตของมหาวิทยาลัย University of Nebraska–Lincoln 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยที่มีพื้นที่กว้างที่สุดในอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 856 เอเคอร์ (ประมาณ 2,166 ไร่)

การทำงานในมหาวิทยาลัย On-Campus  จะต้องปฏิบัติตามกฎต่อไปนี้

  • นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนด้วยวีซ่า F-1 และรักษาสถานะการเป็นนักเรียน
  • ระหว่างเปิดภาคการศึกษา จะต้องทำงานเป็น Part-Time เท่านั้น หรือไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ระหว่างปิดภาคการศึกษา อนุญาตให้ทำงานแบบ Full-Time หรือมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จะต้องลงทะเบียนสำหรับภาคการศึกษาถัดไป)
  • การทำงานจะต้องทำในเขตสถาบันการศึกษา On-Campus เท่านั้น

ขั้นตอนการทำงานระหว่างเรียน On-Campus

  1. ติดต่อ DSO เพื่อขออนุญาตทำงานในวิทยาเขต On-Campus
  2. ทาง DSO จะออก Work Permit ให้ สามารถเริ่มงานได้ 30 วันก่อนเปิดเรียน
  3. เมื่อได้งานทำแล้วให้นำหนังสือจากนายจ้างไปขอหมายเลขประกันสังคม SSN
  4. จะต้องแจ้ง DSO ปีต่อปี หากปีถัดไปยังวางแผนลงทะเบียนใหม่

ตัวอย่างงาน On-Campus ยอดนิยมสำหรับนักศึกษาในสหรัฐอเมริกา

  • พี่เลี้ยงเด็กมหาวิทยาลัย On-Campus หลายๆ แห่ง มีศูนย์รับเลี้ยงเด็ก Nursery รายได้ขั้นต่ำประมาณ $11.17 ต่อชั่วโมง
  • บาริสต้า –  มหาวิทยาลัยทุกแห่ง จะมีร้านกาแฟตั้งอยู่ในวิทยาเขต ทั้ง Starbuck, Dunkin Donuts และร้านกาแฟเล็กๆ หลายร้าน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชื่นชอบกาแฟ รักการชงกาแฟ รายได้ขั้นต่ำประมาณ $10.45 ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ อาจได้ดื่มกาแฟฟรีๆ อีกด้วย
  • บาร์เทนเดอร์ – งานบาร์เทนเดอร์ คล้ายกับบาริสต้า เพียงแค่จะต้องเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รายได้ขั้นต่ำประมาณ $10.84 ต่อชั่วโมง ไม่รวมทิป
  • พนักงานแคชเชียร์ – มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัยมีร้านสะดวกซื้อ มินิมาร์ท บางแห่งมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ด้วย ลักษณะงานที่ทำคืองานแคชเชียร์คิดเงินทั่วไป รายได้ขั้นต่ำประมาณ $10.78 ต่อชั่วโมง
  • เทรนเนอร์ฟิตเนส – หากเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือชื่นชอบการออกกำลังกาย สามารถสมัครทำงานกับ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ได้ ซึ่งนอกจากได้การออกกำลังกายฟรีในเนสแล้ว ยังได้รับการรับรองในฐานะผู้ฝึกสอนฟิตเนสด้วย และรายได้ค่อนข้างสูง ประมาณ $19.15 ต่อชั่วโมง
  • ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT – เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ต้องการอย่างมากในมหาวิทยาลัย หากเรียนเกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์ IT เทคโนโลยีสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม งานด้าน IT เหมาะมากๆ สำหรับฝึกประสบการณ์ ที่สำคัญ รายได้สูงถึง $25.70 ต่อชั่วโมง
  • ผู้ช่วยพยาบาล – หากกำลังเรียนสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ พยาบาล การทำงานในโรงพยาบาล หรือศูนย์บริการสุขภาพถือเป็นทางเลือกที่ดีมากๆ เพราะนอกจากจะได้ฝึกประสบการณ์การทำงานแล้ว ยังสามารถสร้างคอนเนคชั่นได้อีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งที่เปิดสอนหลักสูตรแพทย์ พยาบาล เพสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะมีโรงพยาบาลประจำวิทยาเขต รายได้ขั้นตำประมาณ $13.72 ต่อชั่วโมง
  • พนักงานเสิร์ฟ – พนักงานเสิร์ฟเป็นอาชีพที่เริ่มต้นสำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาเรียนต่ออเมริกาและอยากทำงานพาร์ทไทม์ เนื่องจาก ยังไม่ต้องใช้ทักษะ และความสามารถเฉพาะด้านมาก เพียงแค่มีทักษะการสื่อสารที่ดี และอัธยาศัยดี ก็สามารถทำงานพนักงานเสิร์ฟได้ โดยมหาวิทยาลัยทุกแห่งมีร้านอาหาร ตั้งแต่โรงอาหาร จนถึงร้านอาหารระดับภัตราคารคอยบริการ รายได้ขั้นต่ำประมาณ $10.45 ต่อชั่วโมง ยังไม่รวมทิป

2. การทำงาน Off-Campus ระหว่างเรียน และหลังเรียนจบ ด้วยวีซ่านักเรียน F-1

การทำงาน Off-Campus มีกฏที่ว่า นักศึกษาจะต้องเรียนจบปีการศึกษาแรกก่อน “Academic Year Rule” ถึงจะได้รับอนุญาตให้ทำงาน Off-Campus โดยมีการทำงาน 2 รูปแบบ คือ

  1. Severe Economic Hardshipหรือ ผู้ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจขั้นรุนแรงหลังจากที่เดินทางมาเรียนต่ออเมริกา เช่น การสูญเสียความช่วยเหลือทางการเงินโดยไม่ใช่ความผิดของนักเรียน ค่าเล่าเรียนหรือค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดในสถานะทางการเงินของแหล่งที่มาของการสนับสนุนของนักเรียน (สปอนเซอร์เสียชีวิต) โดยต้องมีเอกสาร หลักฐานยืนยันว่ามีปัญหาจริงๆ และเจ้าหน้าที่ DSO จะต้องตรวจสอบว่านักเรียนมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการจ้างงานนอกมหาวิทยาลัยโดยการป้อนข้อมูลการจ้างงานใน SEVIS ปกติแล้วไม่ค่อยมี หรือมีน้อยมาก ที่จะทำเรื่องขอทำ Severe Economic Hardship
  2. Practical Training หรือการทำงานที่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน เพื่อฝึกประสบการณ์ วิชาชีพ โดยทาง Department of Homeland Security จะแบ่งการทำงาน Practical Training ออกเป็น 2 แบบ คือ Curricular Practical Training (CPT) เป็นการทำงานที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เช่น การฝึกงาน (Internship) โดยจะได้รับเครดิตทางวิชาการด้วย (Credit) และ Optional Practical Training (OPT) การทำงานแบบพาร์ทไทม์ Part-Time หรือเต็มเวลา Full-Time ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียน แต่ไม่ใช่การฝึกงาน และไม่ได้รับเครดิตทางวิชาการ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Pre-Completion OPT และ Post-Completion OPT ระยะเวลา OPT คือ 12 เดือน ในแต่ละระดับการศึกษา ตัวอย่าง เช่น จะได้รับ 12 เดือนในระดับปริญญาตรี และ 12 เดือนในระดับปริญญาโท นอกจากนี้ ยังสามารถขอขยายระยะเวลา OPT หากเรียนหลักสูตร STEM ได้ด้วย

Curricular Practical Training (CPT)

Curricular Practical Training (CPT) เป็นการทำงานนอกสถาบันการศึกษา Off-Campus ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เช่น การฝึกงาน (Internship) และได้รับเครดิตทางวิชาการ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ถือวีซ่านักเรียน F-1 ทำงานนอกสถาบันการศึกษา Off-Campus เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร เช่น การศึกษาทางเลือก การฝึกงานสหกิจศึกษา นักศึกษาจึงสามารถขอ CPT ได้ โดยสามารถทำงานแบบได้รับค่าตอบแทน Paid หรือไม่ได้รับค่าตอบแทน Unpaid ก็ได้

ข้อกำหนด CPT

  • ต้องลงทะเบียนในโรงเรียนเต็มเวลา Full-Time เป็นเวลาหนึ่งปีโดยมีสถานะ F-1 ที่ถูกต้อง (ยกเว้นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ต้องทำ CPT ทันที)
  • การจ้างงาน CPT ต้องเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปริญญา หรือ ได้รับเครดิตทางวิชาการ
  • ต้องได้งานที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจากนายจ้างเรียบร้อยแล้ว (มี Job Offer) และงานที่ได้จะต้องอยู่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่เรียน
  • หากเปลี่ยนงานใหม่จะต้องขอ CPT ใหม่
  • ช่วงระยะเวลาที่ทำ CPT จะถูกหักจาก OPT และผู้ที่ขอ CPT ครบ 12 เดือน จะไม่มีสิทธิ์ขอ OPT

ขั้นตอนการขอ CPT

1 Student
  • ไปที่สำนักงาน DSO ของสถาบัน เพื่อขอทำเรื่อง CPT
  • ผู้สมัครต้องมีเอกสารการจ้างงาน Job Offer
2 DSO
  • ตรวจสอบคำขอและกำหนดคุณสมบัติของนักเรียนสำหรับ CPT
3 DSO
  • อนุญาตให้ทำ CPT 
  • พิมพ์และลงนามแบบฟอร์ม I-20 พร้อมการอนุญาต CPT
4 Student
  • เริ่มทำงานตามวัน และเวลาที่ได้รับการอนุมัติจาก CPT เท่านั้น

Optional Practical Training (OPT)

Optional Practical Training (OPT) เป็นการทำงานนอกวิทยาเขต Off-Campus สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีหลักสูตรฝึกงาน Internship สามารถขอ OPT ได้ทั้งในระหว่างและหลังจากสำเร็จการศึกษา การขอ OPT จะต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจาก U.S. Citizenship and Immigration Service (USCIS) โดย OPT ช่วยให้นักศึกษาสามารถฝึกทักษะและประสบการณ์ในสาขาวิชาของนักเรียนได้ ยกตัวอย่าง เช่น นักศึกษาธุรกิจสามารถฝึกงานกับ บริษัทบัญชี หรือ นักศึกษาหลักสูตรการโรงแรม สามารถฝึกงานในโรงแรม หรือภัตราคารได้

ข้อกำหนด OPT

  • ต้องลงทะเบียนในโรงเรียนเต็มเวลา Full-Tim เป็นเวลาหนึ่งปีโดยมีสถานะ F-1 ที่ถูกต้อง
  • การจ้างงานต้อง “เกี่ยวข้องโดยตรง” กับวิชาเอกของนักเรียน
  • การทำงาน OPT ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ดังนั้น จะไม่ได้รับเครดิตทางวิชาการ
  • ระยะเวลา OPT คือ 12 เดือน ในแต่ละระดับการศึกษา ตัวอย่าง เช่น คุณจะได้รับ 12 เดือนในระดับปริญญาตรีและ 12 เดือนในระดับปริญญาโท
  • ในระหว่างที่ทำ OPT อนุญาตให้ว่างงานได้ 90 วัน
  • เจ้าหน้าที่ SEVP สามารถเลิก OPT กรณีที่มีจำนวนวันว่างงานรวมมากกว่าที่ระเบียบอนุญาต

OPT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Pre-Completion OPT และ Post-Completion OPT

  • Pre-Completion OPTอนุญาตให้นักศึกษาสามารถทำงานระหว่างเรียน นอกวิทยาเขต Off-Campus ได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ระหว่างเปิดภาคการศึกษา จะต้องทำงานเป็น Part-Time เท่านั้น หรือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • ระหว่างปิดภาคการศึกษา อนุญาตให้ทำงานแบบ Full-Time หรือมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    • ผู้ที่ขอ Pre-Completion OPT จะต้องกำหนดวันเริ่มต้น – วันสุดท้าย ของการทำงาน (ไม่จำเป็นต้องได้งานทำทันที หรือ ไม่จำเป็นต้องมี Job Offer)
    • ช่วงเวลาที่ขอ Pre-Completion OPT จะถูกหักจาก Post-Completion OPT (เช่นเดียวกับ CPT)
  • Post-Completion OPTอนุญาตให้นักศึกษา ทำงานหลังเรียนจบได้ ในระยะเวลา 12 เดือน นอกวิทยาเขต Off-Campus ได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    • ต้องสำเร็จการศึกษาเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องหางานแบบเต็มเวลา Full-Time ภายในระยะเวลา 90 วันหลังเรียนจบ
    • สามารถทำงานแบบ Part-Time หรือ Full-Time ก็ได้
    • การขอ Post-Completion OPT จะต้องนับวันที่สำเร็จการศึกษาตาม SEVIS Form I-20 (ไม่ได้นับวันพิธีสำเร็จการศึกษา)

ขั้นตอนการขอ OPT

1
  • ติดต่อ DSO พร้อมยื่นใบสมัครขอทำ OPT
2
  • DSO จะตรวจสอบคุณสมบัติ และยื่นคำร้องต่อ SEVIS พร้อมแบบฟอร์ม I-20 ที่ลงนามโดย DSO
3
  • ยื่นเอกสารกับ USCIS ภายใน 30 วัน
    • แบบฟอร์ม I-20 ที่ลงนามโดย DSO
    • แบบฟอร์ม I-765
4
  • USCIS จะออกหนังสือแจ้งการรับ (แบบฟอร์ม I-797)
  • หลังจากนั้น USCIS จะพิจารณาใบสมัคร
    • หากใบสมัครได้รับการอนุมัติ USCIS จะออกเอกสารการอนุญาตการจ้างงาน EAD (Employment Authorization Document) และสถานะคำขอ OPT ใน SEVIS จะเปลี่ยนเป็นอนุมัติ
    • หากแบบฟอร์ม I-765 ถูกปฏิเสธสถานะคำขอ OPT ใน SEVIS จะเปลี่ยนเป็นปฏิเสธ
5
  • เมื่อได้รับ EAD เรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มทำงานได้เมื่อถึงวันที่ได้รับอนุญาต
  • เมื่อได้งาน จะต้องรายงานให้กับ DSO
  • หากเปลี่ยนชื่อ หรือข้อมูลการจ้างงาน จะต้องรายงานต่อ DSO ทุกครั้ง (ช้าสุดไม่เกิน 10 วัน)
6
  • DSO จะอัพเดทข้อมูลให้ภายใน 21 วัน

อเมริกาเรียนกี่ชั่วโมงต่อวัน

การขอขยายเวลา OPT ด้วยสิทธิ์ STEM OPT Extension 

STEM ย่อมาจาก Science Technology Engineering Math เป็นหลักสูตรที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารการแพทย์ และวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชา STEM สามารถขยาย OPT ได้อีก 24 เดือนทำให้ระยะเวลา OPT รวม 36 เดือน

ข้อกำหนด STEM OPT Extension

นักศึกษาสามารถขอ STEM OPT Extension ได้สูงสุด 2 ครั้ง โดย การขอ STEM OPT Extension ครั้งที่ 2 ระดับการศึกษาจะต้องสูงกกว่าระดับแรก ตัวอย่าง เช่น หากเรียนในระดับปริญญาตรี Bachelor’s Degree in Engineering เมื่อเรียนจบ สามารถขอ STEM OPT Extension ระยะเวลา 24 เดือน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา STEM OPT Extension แล้ว จะต้องเรียนในระดับปริญญาโท Master’s Degree in Engineering ถึงจะสามารถขอ STEM OPT Extension ได้อีก 1 ครั้ง แต่จะไม่มีสิทธิ์ขอ STEM OPT Extension ครั้งที่ 3 ถึงแม้จะเรียนจบในระดับปริญญาเอก

  • ข้อกำหนดสำหรับนักศึกษาที่ขอ STEM OPT ครั้งแรก
    • จะต้องขอในช่วงหลังจาก Post-Completion OPT
    • จะต้องเรียนจบในระดับปริญญา ในสาขาวิชา STEM ที่ได้รับการรับรองจาก SEVP
    • จะต้องได้รับการว่าจ้างจากนายจ้างที่ได้รับการรับรอง E-Verify (นักเรียนที่มีประวัติขาดข้อมูลนายจ้างถือว่าว่างงาน)
    • สามารถว่างงานได้รวม 150 วัน ซึ่งรวมถึง 90 วันที่เหลือของการว่างงานของ OPT ปกติ ในช่วงขยายเวลา STEM OPT
    • เจ้าหน้าที่ SEVP สามารถเลิก STEM OPT กรณีที่มีจำนวนวันว่างงานรวมมากกว่าที่ระเบียบอนุญาต
  • ข้อกำหนดสำหรับนักศึกษาที่ขอ STEM OPT ครั้งที่สอง
    • ระดับการศึกษาหลักสูตร STEM จะต้องสูงกว่าระดับการศึกษาหลักสูตร STEM หลักสูตรแรก
    • ข้อกำหนดอื่นๆ ตรงกับข้อกำหนดการขอ STEM OPT ครั้งแรก

ขั้นตอนการขอ STEM OPT Extension

อเมริกาเรียนกี่ชั่วโมงต่อวัน


เรียนหลักสูตรอะไรถึงสามารถทำงานระหว่างเรียนได้บ้าง?

  • Associate Degree (หลักสูตรอนุปริญญา)
    • สามารถทำงาน On-Campus หรือ Off-Campus ก็ได้
    • หากเรียน Associate Degree สามารถขอ CPT หรือ OPT ได้ 12 เดือน
  • Bachelor Degree (หลักสูตรปริญญาตรี)
    • สามารถทำงาน On-Campus หรือ Off-Campus ก็ได้
    • หากเรียนต่อในระดับ Bachelor Degree สามารถขอ CPT หรือ OPT ได้ 12 เดือน
    • หากเรียน Bachelor Degree หลักสูตร STEM สามารถขอ STEM OPT Extension ได้ 24 เดือน รวม 36 เดือน
  • Master Degree (หลักสูตรปริญญาโท)
    • สามารถทำงาน On-Campus หรือ Off-Campus ก็ได้
    • หากเรียนต่อในระดับ Master Degree สามารถขอ CPT หรือ OPT ได้ 12 เดือน
    • หากเรียน Master Degree หลักสูตร STEM สามารถขอ STEM OPT Extension ได้ 24 เดือน รวม 36 เดือน
    • หมายเหตุ: หากขอ STEM OPT Extension ครบ 2 ครั้งแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ขอครั้งที่ 3
  • Ph Degree (หลักสูตรปริญญาเอก)
    • สามารถทำงาน On-Campus หรือ Off-Campus ก็ได้
    • หากเรียนต่อในระดับ Ph Degree สามารถขอ CPT หรือ OPT ได้ 12 เดือน
    • หากเรียน Ph Degree หลักสูตร STEM สามารถขอ STEM OPT Extension ได้ 24 เดือน รวม 36 เดือน
    • หมายเหตุ: หากขอ STEM OPT Extension ครบ 2 ครั้งแล้ว จะไม่มีสิทธิ์ขอครั้งที่ 3

เรียนภาษาอังกฤษที่อเมริกา สามารถทำงานระหว่างเรียนได้หรือไม่?

สามารถทำได้แบบ On-Campus เท่านั้น ถ้าหากเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาอังกฤษ ที่ตั้งอยู่ในภายในสถาบันการศึกษา เช่น สถาบัน ELS วิทยาเขต Houston รัฐ Texas ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัย University of St.Thomas สามารถทำงานระหว่างเรียนแบบ On-Campus ได้ โดยสามารถทำงานในร้านอาหาร ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าในบริเวณมหาวิทยาลัยได้

แต่ถ้าหากเลือกเรียนภาษาอังกฤษ ที่อยู่ใจกลางเมือง ไม่ได้อยู่ในเขตสถาบันการศึกษา จะสามารถทำงานได้เฉพาะในโรงเรียนสอนภาษาเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ทำงานร้านอาหาร ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้าใกล้เคียง และแน่นอนว่า ไม่สามารถทำงาน Off-Campus ได้ทุกกรณี

สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ และทำงานพาร์ทไทม์นอกสถาบันการศึกษา ทางศูนย์ฯ เดอะเบสท์ ขอแนะนำให้เลือกเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย หรือ นิวซีแลนด์ จะดีกว่า เนื่องจาก ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เปิดกว้างให้ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน สามารถทำงานพาร์ทไทม์ได้ทันที ไม่ต้องขออนุญาต และสามารถทำได้ทั้งในสถาบันการศึกษา และนอกสถาบันการศึกษา


กฏ และเงื่อนไขของการทำงานระหว่างเรียนด้วยวีซ่านักเรียน F-1 ประเทศอเมริกา

ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฏระเบียบที่เข้มงวด รวมถึงกฏระเบียบการทำงานระหว่างเรียนสำหรับนักเรียน นักศึกษาต่างชาติด้วย ดังนั้น ไม่แนะนำให้ละเมิดกฏ ทำงานผิดกฏหมาย การทำงานที่ไม่ได้รับการอนุญาตกับทาง DSO หรือทำงานเกินชั่วโมงที่กำหนดเพราะถ้าหากถูกจับได้จะถูกส่งกลับทันที และอาจจะโดนแบนด์ห้ามเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาสูงสุด 20 ปี นอกจากนี้ การทำงานกับร้านที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือ การทำงานโดยรับเงินสด หรือทำงานกับร้านที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายแรงงานของอเมริกา ถือว่ามีความผิดด้วยเช่นกัน 

ข้อจำกัดของการทำงานระหว่างที่ด้วยวีซ่านักเรียนอเมริกา F-1

  • ได้รับอนุญาตให้ทำงานระหว่างเรียนภายในวิทยาเขตของสถาบันการศึกษาเท่านั้น On-Campus
  • หากต้องการทำงานระหว่างเรียนนอกวิทยาเขตของสถาบันการศึกษา Off-Campus จะต้องทำงานตรงกับสาขาวิชาที่เรียนเท่านั้น และจะต้องรายงานกับทาง DSO ตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น
  • จะต้องรักษาสถานภาพวีซ่านักเรียนอเมริกา F-1 ให้ถูกต้องตามกฏหมาย และรักษาสถานะการเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ
  • ข้อบังคับชั่วโมงทำงานระหว่างเปิดภาคการศึกษาคือไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • ข้อบังคับชั่วโมงทำงานระหว่างปิดภาคการศึกษาคือมากกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ในช่วงเปิดภาคการศึกษา หากทำงานเกิน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะเกิดอะไรขึ้น?

การทำงานระหว่างเรียนจำกัดชั่วโมงสำหรับนักศึกษาต่างชาติเท่านั้น ดังนั้น นายจ้างจะไม่ทราบว่า ลูกจ้างทำงานเกินเวลาหรือไม่ และนักศึกษาจะต้องรับผิดชอบ และตรวจสอบให้แน่ใจด้วยตนเองว่าไม่ได้ทำงานเกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ระหว่างเปิดภาคการศึกษาถึงแม้ว่าจะทำงานเกินเพียง 15 นาที นั่นแสดงว่า ได้ละเมิดกฏการจ้างงานของสถานะวีซ่านักเรียน F-1 เรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่จะสามารถทราบได้จากบัญชีของนายจ้าง ที่ส่งให้กับทางสำนักงานบัญชี ซึ่งทางสำนักงานบัญชีจะส่งข้อมูลให้กับทาง DSO โดยตรงหากมีการทำงานเกินขีดจำกัด

หากได้ทำการละเมิดกฏการทำงานระหว่างเรียนไปแล้ว ควรทำอย่างไร?

หากได้ทำการละเมิดการจ้างงานไม่ว่าจะเป็นการทำงานนอกวิทยาเขตโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำงานเกินขีดจำกัดรายสัปดาห์ จะต้องยื่นขอคืนสถานะวีซ่าที่ชอบด้วยกฏหมาย Reinstatement to lawful F-1 status ทันที โดยทาง DSO จะช่วยขอคืนสถานะวีซ่านักเรียนให้ โดยจะต้องขอคืนสถานะภายใน 5 เดือนหลังทำผิดกฏ ในระหว่างที่รอการคืนสถานะวีซ่า จะต้องหยุดการทำงานทั้งหมดทันที และควรจะเข้าเรียนต่อในสถาบันการศึกษา หากไม่ขอคืนสถานะวีซ่านักเรียน F-1 หรือสถานะถูกปฏิเสธจาก USCIS จะต้องติดต่อทนายความด้านการย้ายถิ่นถาน ถึงแม้การละเมิดกฏการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ก็เป็นสิทธิ์ที่จะขอยื่นคำร้องขอคืนสถานะวีซ่านักเรียน


วิธีการเตรียมตัวสำหรับการหางานในสหรัฐอเมริกา

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในระดับอนุปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก สิ่งแรกที่คุณต้องทำเพื่อหางานทำในสหรัฐอเมริกาคือการเตรียมประวัติส่วนตัวหรือเรซูเม่ Resume ซึ่ง เรซูเม่นี้ควรมีประวัติการเรียน ประวัติการฝึกอบรม ประวัติการทำงาน ทักษะ และความสามารถที่โดดเด่น นอกจากนี้ หากมีประสบการณ์การเป็นอาสาสมัคร Volunteer เช่น เป็นส่วนหนึ่งของทีมกีฬา หรือชมรมอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม จะถือว่าเรซูเม่มีความโดดเด่นอย่างมาก 

เรซูเม่ไม่ควรเน้นเฉพาะลักษณะบุคลิกภาพเชิงบวกของ หรือประสบการณ์การทำงานเท่านั้น แต่ยังควรให้ความสำคัญกับแผนการณ์ในอนาคต หรือสิ่งที่ต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบบริษัท หรืองานที่สมัครด้วย


เป็นอย่างไรบ้างคะ กับข้อมูลการทำงานระหว่างเรียนในอเมริกา ด้วยวีซ่านักเรียน F-1 ที่ทาง ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ ได้สรุปมาให้ น้องๆ คงพอจะเข้าใจมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ? อย่างไรก็ตาม หากน้องๆ คนไหนที่ยังมีคำถาม หรือสงสัยในส่วนไหน สามารถสอบถาม ศูนย์ฯ เดอะเบสท์ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลยค่ะ


ติดต่อเดอะเบสท์เพื่อสอบถามข้อมูลการเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มเติม

เดอะเบสท์ เป็นศูนย์บริการให้คำปรึกษาเรียนต่อต่างประเทศครบวงจร เราเป็นตัวแทนที่ให้บริการแนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และ ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศทั่วโลก เรายินดีให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน จนสำเร็จการศึกษา รวมถึงดูแลนักเรียนระหว่างเรียนจนนักเรียนเรียนจบด้วยทีมผู้เชียวชาญในด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ขั้นตอนเหล่านี้เราดำเนินการให้ฟรี และเราพร้อมที่จะทำตามคุณภาพ และมาตรฐานดังสโลแกนที่ว่า “We are Quality”

บริการของเรามีอะไรบ้าง ?

  • ฟรี!! บริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศทุกระดับชั้นทั่วโลก ตั้งแต่ โรงเรียนประถม โรงเรียนมัธยม สถาบันวิชาชีพ และสถาบันในระดับอุดมศึกษา รวมถึงหลักสูตรภาษาต่างประเทศ และเลือกสถาบันที่ดีที่สุดให้กับผู้เรียน
  • เราให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การประสานงานโรงเรียน เลือกโรงเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน เตรียมเอกสารสมัครเรียน และดำเนินเรื่องสมัครเรียนให้ฟรี
  • บริการเตรียมเอกสารยื่นวีซ่าครบวงจร และบริการยื่นวีซ่ากว่า 25 ประเทศทั่วโลก พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าอย่างตรงจุด และแนะนำวิธีการเตรียมตัวในการสัมภาษณ์วีซ่า 
  • บริการแปลเอกสาร ภาษาไทย – ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษ – ภาษาไทย รวมถึงภาษาที่ 3 เริ่มต้นเพียงแผ่นละ 200 บาท
  • เดอะเบสท์ เป็นตัวแทนรับสมัครสอบ IELTS IDP อย่างเป็นทางการ พร้อมให้คำแนะนำ และนัดวันสอบให้โดยน้องๆ ไม่ต้องเสียเวลาสมัครเอง สมัครสอบได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  • บริการซื้อประกันภัยการเดินทางและประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติ จากบริษัทประกันชั้นนำ MSIG, NIB, Allianz, Orbit และอื่นๆ
  • บริการจองตั๋วเครื่องบิน ทุกสายการบิน และประสานงานกับสถาบันเกี่ยวกับรถรับ – ส่ง สนามบิน
  • บริการจัดหาที่พักทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโฮมสเตย์ อพาร์ทเม้น หรือหอพักนักศึกษา จัดหาให้ตามความต้องการส่วนบุคคล

“เรายินดีที่จะดูแลนักเรียนทุกคน ตั้งแต่เริ่มต้นจนนักเรียนสำเร็จการศึกษา และทำให้การเรียนต่อของคุณเป็นเรื่องง่าย ” สอบถามข้อมูลการบริการเพิ่มเติมติดต่อ
โทร : 090-327 3558, 088-269 5099
Email :
Line : @thebesteduหรือคลิกเพิ่มเพื่อนด้านล่างได้เลยค่ะ

อเมริกาเรียนกี่ชั่วโมงต่อวัน

Related