หลับ ลึก กี่ ชั่วโมง ดี

การนอนหลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่สำคัญของร่างกาย เนื่องจากทำให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ดังนั้นถ้านอนไม่พอหรืออดนอน จะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก

ระดับของการนอน (Sleep Stages)

โดยปกติวงจรการนอนของคนเรานี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงระดับการนอน คือ

1) ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep)

ช่วง Non-REM Sleep นี้สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ระยะดังนี้

  1. ระยะที่ 1 (Stage 1) เริ่มง่วง เป็นช่วงที่เราเริ่มจะนอนหลับ โดยทั่วไปจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในระยะนี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าถูกปลุกให้ตื่นในระยะนี้ เราจะไม่ค่อยงัวเงียหรืออาจจะรู้สึกว่าเรายังไม่ได้นอน บางทีอาจมีการกลอกตาไปมาช้าๆได้ บางคนอาจจะเคยเจอปรากฎการณ์ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือการรู้สึกเหมือนกำลังจะตกจากที่สูง แล้วก็สะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา นอกจากนี้บางคนอาจจะได้ยินหรือเห็นอะไรบางอย่าง(Hypnagogic Hallucination) ซึ่งการนอนในระยะนี้ไม่ค่อยส่งผลต่อร่างกายมากเท่าไร
  2. ระยะที่ 2 (Stage 2) ช่วงผล็อยหลับหรือเคลิ้มหลับ เป็นช่วงรอยต่อระหว่างเริ่มหลับไปยังหลับลึก ในระยะนี้หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายจะลดลงเล็กน้อย ปกติในช่วงนี้จะใช้เวลามากกว่า 50% ของการนอน ซึ่งการนอนในระยะนี้จะส่งผลต่อร่างกายทั้งกระตุ้นความจำระยะสั้น รวมถึงเพิ่มสมาธิได้
  3. ระยะที่ 3 (Stage 3) ช่วงหลับลึก ช่วงการหลับในระยะนี้ร่างกายจะเริ่มไม่ค่อยตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก ถ้าถูกปลุกช่วงนี้จะงัวเงียมาก ร่างกายจะอยู่ในภาวะพักผ่อนมากที่สุด และมีการหลั่ง Growth Hormone

2) ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep)

การนอนหลับในช่วงนี้จะมีการเคลื่อนไหวไปมาของตาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองของเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่น ช่วงนี้เป็นช่วงที่จะฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่นๆ การนอนหลับในช่วยนี้จะช่วยเรื่องการความทรงจำ การเรียนรู้ถาวร และการสร้างจินตนาการ

หลับ ลึก กี่ ชั่วโมง ดี

วงจรการนอนหลับ (Sleep Cycle) ทำงานอย่างไร

ในขณะที่เราเริ่มหลับนั้น เราจะเข้าสู่ระยะ Non-REM ระยะที่ 1 และค่อยๆไปสู่ระยะที่ 2, 3 ตามลำดับ แล้วจึงถอยกลับมาเข้าสู่ระยะ Non-REM จากระยะที่ 3 ไประยะที่ 2, 1 จากนั้นจึงเข้าสู่ ระยะ REM แล้วจึงเริ่มกลับมาเข้าสู่ระยะ Non-REM ระยะที่ 1, 2, 3 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นการเริ่มรอบใหม่ของวงจรของการนอนหลับ

จากจุดเริ่มต้นของ REM ไปสู่จุดเริ่มต้นของ REM อีกรอบหนึ่ง จะเรียกว่า รอบการนอน (Sleep Cycle) ซึ่ง 1 รอบการนอนนั้นใช้เวลาประมาณ 90 นาที ซึ่งประกอบไปด้วยช่วง Non-REM ประมาณ 80 นาทีและช่วง REM อีก 10 นาทีในหนึ่งคืนของการนอน ควรจะมีจำนวนรอบการนอนประมาณ 3-6 รอบ จึงจะถือว่าเป็นการนอนที่ดีและมีประสิทธิภาพ

การตรวจวัด Sleep Stages และ Sleep Cycle ของเราว่ามีประสิทธิภาพการนอนที่ดีมากน้อยเพียงใด สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจการนอนหลับ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งที่บ้าน (Home sleep test) และ การตรวจการนอนหลับในสถานพยาบาล

ปกติแล้วมนุษย์เราควรนอนกี่ชั่วโมง? คำถามยอดฮิตติดลมบนไม่ว่าคุณเป็นคนรักสุขภาพมากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เด็ดขาดนั่นคือ การนอนถือเป็นวิธีพักผ่อนดีที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่แค่การนอนตามจำนวนเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เรื่องของการเลือกที่นอนเพื่อสุขภาพก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณหลับลึก นอนนาน ตื่นมาพร้อมกับความสดใสในทุกเช้า สร้างสุขภาพที่ดีกับตนเอง

ตอบข้อสงสัยเราควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวัน?

สำหรับคำถามที่ว่าทุก ๆ คนควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวัน อยากให้แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นใหญ่ จากนั้นจะสามารถตอบได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

  1. หากจะนับกันตามจำนวนชั่วโมงที่ร่างกายควรพักผ่อนด้วยวิธีนอนหลับ สำหรับผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง ขณะที่เด็กต้องนอนไม่น้อยกว่า 11-13 ชั่วโมง
  2. ขณะที่เมื่อมองในเรื่องคุณภาพการหลับต่อครั้ง ภายในระยะเวลา 30 วินาที – 7 นาทีแรกของการนอนเป็นช่วงเริ่มต้นหากมีสิ่งเร้าใดกระตุ้นก็จะทำให้คุณสะดุ้งตื่นได้ แต่หลังจากนั้นหากไม่ได้มีภาวะหลับยากก็จะเข้าสู่วงจรในการหลับซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง และทุกช่วงนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
  • ระยะการหลับตื้น เป็นช่วงแรกของการหลับ แต่ยังไม่ถึงขั้นฝัน
  • ระยะการหลับลึก ปกติแล้วร่างกายคนเราจะมีช่วงในการหลับลึกแบบสนิทสุด ๆ อยู่ประมาณ 30-60 นาที ต่อการนอน 1 ครั้ง ในช่วงดังกล่าวความดันโลหิตและอุณหภูมิของร่างกายจะปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจก็ต่ำระดับ 60 ครั้ง / นาทีเท่านั้น นับเป็นช่วงการนอนที่มีความสำคัญมากสุด Growth Hormone ก็จะถูกหลั่งออกมาเพื่อซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  •  ระยะการหลักฝัน ใครที่ชอบบอกว่าตนเองฝันบ่อย ๆ ไม่ว่าดีหรือร้ายก็ตามจริงแล้วนี่คืออีกช่วงระยะของการนอนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนแต่สมองมีการตื่นตัว คนส่วนใหญ่มักกังวลว่าการฝันทำให้ตนเองหลับไม่สนิท บางครั้งตื่นนอนแล้วเหนื่อย ทว่าความจริงการนอนในระยะดังกล่าวสมองจะได้รับการจัดระบบด้านความจำเพื่อเสริมทักษะชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

จากทั้ง 2 นัยยะที่กล่าวมานี้ก็พอสรุปชัดเจนในระดับหนึ่งกับคำถามที่ว่า “เราควรนอนกี่ชั่วโมง” คำตอบคือหากเป็นไปได้ก็ควรเลือกพยายามนอน 7-8 ชั่วโมง / วัน มากไปกว่านั้นไม่ต้องเครียดหรือคิดมากเกินไปเพื่อให้ร่างกายสามารถหลับลึกได้เต็มที่ จะส่งผลดีต่อสุขภาพมากที่สุด

ที่นอนและปัจจัยแวดล้อมก็มีผลต่อการนอนหลับสนิทด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าคนส่วนใหญ่เองรู้ดีอยู่แล้วถึงการนอนหลับในแต่ละวันให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทว่าปัจจัยสำคัญไม่ได้อยู่แค่เรื่องของความเครียด การผ่อนคลายสมองก่อนนอนเท่านั้น การเลือกเตียงนอนหรือที่นอนก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดด้วยเช่นกัน เพราะแม้คุณจะอยากนอนหลับให้มากขนาดไหนแต่พอนอนลงไปแล้วปวดหลัง ปวดคอ ไม่สบายตัว ก็คงเกิดอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ อยู่ทุกวันได้เช่นกัน

ที่นอนNASA เพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ในทุกการพักผ่อน

เมื่อคุณรู้แล้วว่าในแต่ละวันควรนอนกี่ชั่วโมง จากนั้นลองหันมามองชุดเครื่องนอนของตนเองแล้วตอบคำถามกันสักนิดว่า เหมาะสำหรับการพักผ่อนเพื่อสุขภาพที่ดีแล้วหรือยัง? หากคำตอบคือ “ยังไม่ใช่” คำแนะนำอันแสนตอบโจทย์โดนใจต้องขอยกให้กับ “ที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ” Lunio Gen 3 

ด้วยการเป็นที่นอนยางพาราฉีดขึ้นรูปแบบไฮบริดบวกกับนวัตกรรมเมมโมรี่โฟมซึ่งถูกคิดค้นโดยองค์การ NASA ของสหรัฐฯ จึงพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในทุกการนอนหลับให้เต็มตื่นยิ่งกว่าเคย รองรับกระดูกสันหลังตามหลักสรีรศาสตร์ มาพร้อมกับเทคโนโลยีการันตีรางวัลโนเบลในการช่วยลดความร้อนสะสม คุณภาพระดับนี้จึงมั่นใจได้ชัดเจนว่า “ที่นอน Lunio Gen 3” จะพาคุณเข้าสู่ห่วงเวลาแห่งการพักผ่อน หลักลึกสนิททั้งกายและใจในทุกวันได้ตามปรารถนา เมื่อได้นอนกับที่นอนสุขภาพรุ่นนี้ก็จะช่วยให้ร่างกายเกิดผลลัพธ์ดี ๆ ตามมาอีกมากมาย

ที่นอนยางพารา Lunio Gen 3 เหมาะกับใครบ้างนะ?

สำหรับที่นอนเพื่อสุขภาพอย่าง Lunio Gen 3 เหมาะกับทุกคนผู้ต้องการการนอนหลับพักผ่อนในทุกค่ำคืน ไม่ว่าคุณจะมีปัญหาการปวดเมื่อยหลังผ่านการทำงานมาตลอดวัน เคยเมื่อยหลังจากที่นอนไม่ได้คุณภาพ อยากฟื้นฟูการนอนของตนเองใหม่เพื่อปรับร่างกายให้มีสุขภาพดีขึ้น ไปจนถึงผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้ มีน้ำมูก จามตลอดจากที่นอนเก่าเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่นและเชื้อโรค เพียงแค่เปลี่ยนมาใช้งานที่นอนยางพาราแท้ จาก Lunio รุ่นนี้ ขนาดการพลิกตัวคนข้าง ๆ ยังแทบไม่รู้สึก หลับสนิทกันตลอดคืน ตื่นเช้าพร้อมความสดใส

เราทุกคนควรนอนกี่ชั่วโมงต่อวัน? คำถามนี้อาจต้องลงรายละเอียดให้ลึกลงไปหลังจากอ่านข้อมูลกันเรียบร้อยว่าไม่ใช่แค่การนอนแบบไหน ที่ใดก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ต้องตอบโจทย์ และที่นอนเพื่อสุขภาพก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง Lunio Gen 3 ถูกสร้างสรรค์มาเพื่อทุกคน พร้อมให้การพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพในทุกวัน

เราควรหลับลึกกี่นาที

หลับลึก ร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเมื่อเข้าสู่ระยะหลับลึกเป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอนใช้เวลา 30 – 60 นาที ช่วงระยะนี้อุณหภูมิร่างกายและความดันโลหิตจะลดลง อัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือประมาณ 60 ครั้งต่อนาที โกรทฮอร์โมนจะหลั่งในระยะนี้

นอนหลับวันละกี่ชั่วโมง

เด็ก 6-12 ปี ควรนอน 9 -12 ชั่วโมง/ วัน​ วัยรุ่น 13-18 ปี ควรนอน 8 -10 ชั่วโมง/ วัน​ วัยทำงาน ควรนอน 7 -9 ชั่วโมง/ วัน​

ทำยังไงให้หลับภายใน1นาที

เราจะฝึกสมองให้นอนหลับง่ายภายใน 1 นาทีหรือน้อยกว่า ได้อย่างไร?.
นั่งตัวตรงในท่าที่ผ่อนคลาย โดยไม่ต้องเกร็งไหล่ และสามารถหายใจลึกๆ ได้อย่างสะดวก.
วางปลายลิ้นไว้ที่เพดานปากบริเวณหลังฟันหน้า วางไว้ที่ตรงนี้ตลอดเวลาที่ฝึก หรือแม้แต่หายใจออก.
ไล่ลมหายใจออกจากปอดจนหมดอย่างช้าๆ.
สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอด โดยเริ่มต้นนับ 1 จนถึง 4..

การนอนหลับมีกี่ระดับ

การนอนของเราจะแบ่งคร่าวๆเป็น Non-REM (Non-Rapid-Eye Movement) sleep stage และ REM (Rapid-Eye Movement) sleep stage ค่ะ โดยแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 5 stage ด้วยกัน Stageที่ 1-4 เราเรียกว่า Non-REM sleep stage และ stage ที่ 5 เรียกว่า REM sleep stage ค่ะ มาดูความแตกต่างของแต่ละ stage หรือแต่ละช่วงการนอนกันนะคะ