สมาชิก อบ ต. มี กี่ คน 2564

เลือกตั้งอบต. 2564 คึก วันแรกคนแห่สมัครเฉียดแสนราย สนใจสมัคร นายก อบต.-ส.อบต. ต้องทำอย่างไร เปิดสมัครถึงวันไหน ใช้เอกสารอะไรประกอบบ้าง สรุปให้ครบที่นี่

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  (นายก อบต.) และสมาชิกสภา อบต. ยื่นใบสมัครต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบล พร้อมทั้งหลักฐานและค่าธรรมเนียมการสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ถึง วันที่ 15 ตุลาคมนี้

สำหรับการรับสมัครในวันแรกได้รับความสนใจจากผู้สมัครจำนวนมาก โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานว่า ผลการเปิดรับสมัครในวันแรก คือ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ในจำนวน อบต.รวม 5,300 แห่งทั่วประเทศ มีผู้สมัครนายกและสมาชิก อบต. ครบทั้ง 76 จังหวัด รวม 98,398 ราย แยกเป็น ผู้สมัครสมาชิกสภาอบต. จำนวน 88,835 ราย ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกอบต. จำนวน 9,563 ราย โดยจังหวัดที่มียอดรวมผู้สมัครนายกและสมาชิกอบต.สูงสุด 5 อันดับแรก มีดังนี้  

1.จังหวัดนครราชสีมา รวม 5,409 ราย 

  • มีผู้สมัคร นายก อบต. 440 ราย
  • สมาชิก อบต. 4,969 ราย

2.จังหวัดบุรีรัมย์ รวม 3,025 ราย 

  • มีผู้สมัคร นายก อบต. 247 ราย
  • สมาชิก อบต. 2,778 ราย

3.จังหวัดนครสวรรค์ รวม 2,693 ราย

  • มีผู้สมัคร นายก อบต. 219 ราย
  • สมาชิก อบต. 2,474 ราย

4.จังหวัดขอนแก่น รวม 2,623 ราย

  • มีผู้สมัคร นายก อบต. 270 ราย
  • สมาชิก อบต. 2,353 ราย

5.จังหวัดเพชรบูรณ์ รวม 2,502 ราย

  • มีผู้สมัคร นายก อบต. 192 ราย
  • สมาชิก อบต. 2,310 ราย

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง
  3. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต.ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35  ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
  4. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขต อบต.ที่สมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
  5. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

ลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

  • ผู้ที่ติดยาเสพติดให้โทษ
  • เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  • เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใด ๆ
  • เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 39 (1), (2) หรือ (4)
  • ผู้ที่อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราว หรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
  • ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล และเคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เป็นต้น สามารถคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดในปัจจุบัน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศ ห้ามผู้อยู่ระหว่างกักตัวจากโควิด-19 ออกมาสมัครรับเลือกตั้ง อบต.และใช้สิทธิเลือกตั้ง อบต.ด้วย 

บทกำหนดโทษ

กรณีผู้สมัครที่รู้ว่าตัวเองขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัครแล้วมาสมัครมีโทษตามมาตรา 120 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่  20,000 -200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัครรับเลือกตั้งตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 4/1
  2. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของตนเอง กว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  4. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  5. ใบรับรองแพทย์
  6. หลักฐานการศึกษา (เฉพาะผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต.)
  7. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี นับถึงปีที่สมัครรับเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษี พร้อมทั้งสาเหตุแห่งการไม่ได้เสียภาษี ตามแบบ ส.ถ./ผ.ถ. 4/2

ผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งสามารถขอคัดสำเนาหลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาย้อนหลัง 3 ปี ได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

หลักฐานอื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดงว่า ตนเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่มิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น และ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล

พลันที่ ครม.มีมติให้มีการเลือกตั้ง อบต.หลังจากที่ว่างเว้นการเลือกตั้งมาเกือบ 10 ปี และ กกต.ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ก็มีความสงสัยว่า อบต.ที่ว่านี้มันคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.2538 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ส่งผลให้มีการกระจายอำนาจสู่ประชาชนในระดับรากหญ้าเป็นอย่างมาก โดยได้ยกฐานะสภาตำบลซึ่งมีรายได้ตามเกณฑ์คือ มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000 บาท ขึ้นเป็น อบต.
    อบต.มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท ปัจจุบันมี อบต. จำนวน 5,300 แห่ง

ความเป็นมา
    เมื่อปี 2537 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งโดยโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 กำหนดให้ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและคณะกรรมการบริหาร

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาสองประเภท ประเภทแรกเป็นสมาชิกสภาโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล ประเภทที่สองเป็นสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนหมู่บ้านละ 2 คน
    ส่วนคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย กำนันเป็นประธานโดยตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านอีกไม่เกิน 2 คน และสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งอีกไม่เกิน 4 คน รวมแล้วมีคณะกรรมการบริหารได้ไม่เกิน 7 คน

ต่อมาในปี  2542 พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 โดยมีการแก้ไขให้สมาชิกสภาทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน และให้คณะกรรมการบริหารมาจากความเห็นชอบของสภา

ในปี 2546 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 โดยได้มีการยกเลิกชื่อเรียก “คณะกรรมการบริหารและกรรมการบริหาร” เปลี่ยนเป็น “คณะผู้บริหาร” และชื่อเรียก “ประธานกรรมการบริหาร” เปลี่ยนเป็น “นายกองค์การบริหารส่วนตำบล”รองประธานกรรมการบริหารเปลี่ยนเป็น รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เปลี่ยนชื่อเรียก “ข้อบังคับตำบล”เป็น “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล” และยกเลิกไม่ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเลขานุการคณะผู้บริหาร
    ในที่สุดในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อรัฐสภาได้พิจารณาผ่านกฎหมายท้องถิ่นแก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับ อันได้แก่ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ 12) และพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 โดยเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายทั้ง 3 ฉบับคือการกำหนดให้ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในท้องถิ่น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าตามกฎหมายจัดตั้งฯแล้ว ผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบของไทยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเหมือนกันหมดทั้งประเทศ(ยกเว้นในช่วง คสช.)

นายก อบต. คือใคร
    นายก อบต. คือหัวหน้าผู้บริหาร อบต. เป็นควบคุมและรับผิดชอบการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างของ อบต.

การเลือกตั้งและการดำรงตำแหน่งของนายก อบต.
    อบต. มีนายก อบต. 1 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง โดยดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีที่นายก อบต.ดำรงตำแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง

ผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการของ นายก อบต.  ดังนี้
          (1) รองนายก อบต. - นายก อบต. สามารถแต่งตั้งรองนายก อบต. ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบต. ได้ไม่เกิน 2 คน
          (2) เลขานุการนายก อบต. - นายก อบต. สามารถแต่งตั้ง เลขานุการนายก อบต. จากผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกสภา อบต. หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ 1 คน (หมายเหตุ - อบต.ไม่มีตำแหน่งที่ปรึกษาเหมือนเทศบาลหรือ อบจ.)

อำนาจหน้าที่ของ นายก อบต.
          1. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                (1)  กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนา อบต. ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับทางราชการ
                (2)  สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบต.
                (3)  แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบต. และเลขานุการนายก อบต. วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                (4)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
          2. ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบต. ตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างและพนักงานจ้างของ อบต.
          3. นายก อบต. รองนายก อบต. หรือผู้ซึ่งนายก อบต. มอบหมาย มีสิทธิเข้าประชุมสภา อบต. และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุมแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
          4. เป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต. ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

สภา อบต.
    สภา อบต.มีหน้าที่ในการออกข้อบัญญัติและตรวจสอบการทำงานของคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย สมาชิกสภา อบต.ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยให้เขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง หากหมู่บ้านใดมีราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน /หาก อบต. ใด มีเพียง 1 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิก 6 คน /หากมี 2 หมู่บ้าน ให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน/ หากมี 3 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 3 คน /หากมี 4 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และ 2 หมู่บ้านที่มีประชากรมากเพิ่มอีกหมู่บ้านละ 1 คน/ และหากมี 5 หมู่บ้านให้มีสมาชิกหมู่บ้านละ 1 คน และอีก 1 หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุดเพิ่มอีก 1 คน โดยมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
    จากที่กล่าวมาข้างต้น คงพอที่จะทราบถึงที่มาและอำนาจหน้าที่ของนายก อบต.และสภา อบต.บ้างแล้วนะครับ

นายก อบต มีกี่คน

องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน และรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

อบต ต้องมีประชากรกี่คน

“ องค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีพื้นที่เท่ากับตำบลแต่ละตำบล จัดตั้งมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดและมีจำนวนราษฎรไม่น้อยกว่า 2,000 คน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล เขต อบต. แทนรัฐบาลกลาง มีฐานะเป็น ...

ประชากร 2 ล้านคนขึ้นไปมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน

(จ) จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 2,000,000 คนขึ้นไป มีสมาชิกได้ 48 คน สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด อยู่ในต าแหน่งได้คราวละ 4 ปี ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกตั้งสมาชิกสภา เป็นประธานสภา 1 คน และเป็นรองประธานสภา 2 คน

สมาชิกสภาตําบล มีกี่คน

หากองค์การบริหารส่วนค่าบล ใดมีเขตเลือกตั้ง (หมู่บ้าน) ไม่ถึง 6 เขต เลือกตั้ง (หมู่บ้าน) ให้สภาองค์การบริหารส่วนตําบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิก 6 คน โดย - ถ้ามี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต.6 คน - ถ้ามี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต.ได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน - ถ้ามี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต.ได้เขตเลือกตั้งละ 2 คน - ถ้ามี 4 ...