การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

ข้อมูลและการเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล เป็นข้อความจริงหรือสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง โดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ เช่น ในปี พ.ศ. 2547 คณะรัฐมนตรีกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดนก หรือในเดือนกันยายน 2547 น้ำมันเบนซิน 91 จำหน่ายในเขตกรุงเทพและปริมณฑลราคาลิตรละ 20.99 บาท โดยทั่ว ๆ ไป ข้อมูลมักจะอยู่ในรูปตัวเลขซึ่งมีหลาย ๆ จำนวนที่สามารถนำมาเปรียบเทียบขนาดกันได้ เช่น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2547 ไทยส่งออกข้าวไปยังประเทศหนึ่งรวม 2.88 ล้านตัน ลดลงจาก 5.00 ล้านตัน ของการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42.4
ข้อมูลเชิงสถิติเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาประมวลผลหรือวิเคราะห์ด้วยกระบวนการหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ ได้

ประเภทของข้อมูล
ประเภทของข้อมูลสามารถจำแนกได้จากวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และจากลักษณะของข้อมูล

การจำแนกข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อจำแนกประเภทของข้อมูลตามวิธีการเก็บรวบรวมจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)
1) ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ วัด นับ หรือสังเกตจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยมีผู้ใดเก็บรวบรวมไว้ก่อน
การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทำได้ 2 วิธีคือ การสำมะโน (census) และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง (sample survey)
2) ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว ข้อมูลประเภทนี้ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอง สามารถนำข้อมูลที่มีผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้วมาใช้ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้จะต้องระมัดระวังในการนำข้อมูลประเภทนี้มาใช้ให้มาก เนื่องจากมีโอกาสผิดพลากได้มากหากผู้เก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่างใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
แหล่งที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญ คือ
(1) รายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาล โดยทั่ว ๆ ไป หน่วยงานราชการหรือองค์การของรัฐบาล มักจะมีรายงานแสดงข้อมูลพิมพ์ออกมาเผยแพร่เป็นประจำซึ่งอาจเป็นรายงานรายเดือน รายสามเดือน หรือรายปี ข้อมูลที่ได้จากรายงานต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการและองค์การของรัฐบาลนี้อาจถือได้ว่าเป็นที่มาของข้อมูลทุติยภูมิที่สำคัญที่สุด
(2) รายงานและบทความจากหนังสือหรือรายงานจากหน่วยงานเอกชน หน่วยงานของเอกชนบางแห่งโดยเฉพาะหน่วยงานใหญ่ ๆ จะพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของตนออกเผยแพร่เช่นเดียวกับหน่วยงานของราชการ เช่น รายงานประจำเดือนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์รายวัน หรือสื่ออื่น ๆ มักจะมีข้อมูลทุติยภูมิประกอบบทความหรือรายงานด้วย

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ในหนังสือ รายงาน บทความหรือเอกสารต่าง ๆ ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาตัวบุคคลผู้เขียนรายงาน บทความ หรือเอกสารเหล่านั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนถึงขั้นพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่ การเขียนอาศัยเหตุผลและหลักวิชาการมากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่จะนำมาใช้ซึ่งรวบรวมจากรายงาน บทความ หรือเอกสารดังกล่าวควรใช้ข้อมูลที่ผู้เขียนเก็บรวบรวมมาเองโดยตรง
(2) ถ้าข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมสามารถหาได้จากหลาย ๆ แหล่ง ควรเก็บรวบรวมมาจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่าข้อมูลที่ต้องการมีความผิดพลาดเนื่องจากการลอกผิด พิมพ์ผิด หรือเข้าใจผิดบ้างหรือไม่
(3) พิจารณาจากลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวมว่าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียน ข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติ ข้อมูลประเภทความลับ หรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ถ้าเป็นข้อมูลที่เป็นข้อความจริง ข้อมูลที่ได้จากทะเบียนหรือข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นหรือเจตคติส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้สูง แต่ถ้าเป็นข้อมูลประเภทความลับหรือข้อมูลซึ่งผู้ตอบอาจต้องเสียประโยชน์จากการตอบ ส่วนใหญ่มักจะมีความถูกต้องเชื่อถือได้น้อย

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งอาจทำได้โดยการสำมะโนหรือสำรวจสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปมี 5 วิธีคือ
(1) การสัมภาษณ์
(2) การสอบถามทางไปรษณีย์
(3) การสอบถามทางโทรศัพท์
(4) การสังเกต
(5) การทดลอง

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

http://www.vcharkarn.com/lesson/1506

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

นายเดี่ยว ใจบุญ.  ปีที่ผลิต.  ค30203 สถิติเบื้องต้น. [ออนไลน์].  รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี).  เข้าถึงได้จาก : cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/…/06Kept_information_6a82.ppt.  (วันที่ค้นข้อมูล : 30 มกราคม  2553)

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่

จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว, น้ำหนัก, ส่วนสูง, และอายุ เป็นต้น
  2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัด และแสดงเป็นตัวเลขไม่ได้โดยตรง แต่อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติเชิงคุณภาพได้ (เป็นข้อความหรือตัวเลข) เช่น เพศ, ศาสนา, และคุณภาพสินค้า เป็นต้น

ตัวอย่าง เรามีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับน้องหมาตัวนี้บ้าง

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data):

                          • น้องมี 4 ขา
                          • น้องมี 2 ตา
                          • น้องมี 2 หู

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data):

                          • น้องมีสีดำและสีน้ำตาล
                          • น้องมีขนยาว
                          • น้องเป็นเพศผู้

จำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ บุคคล เช่นผู้ให้สัมภาษณ์, ผู้กรอกแบบสอบถาม, เอกสารทุกประเภท, และข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน รวมไปถึงภาพถ่าย แผนที่ หรือแม้กระทั่งวัตถุ สิ่งของ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมมาโดยตรงจากแหล่งของข้อมูล เช่น การสอบถาม, การสัมภาษณ์, การทดลอง เป็นต้น
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งของข้อมูล แต่ได้จากการรวบรวมข้อมูลของผู้อื่นที่ได้มีการทำการเก็บข้อมูลไว้แล้ว เช่น เอกสาร, รายงาน, หนังสือ, ข้อมูลที่หน่วยงานได้จัดทำไว้ เป็นต้น

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยทั่วไปสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธี ได้แก่

  • การสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง สามารถมีได้หลายรูปแบบ เช่น การสัมภาษณ์โดยตรง, การใช้แบบสอบถาม, การทำโพล (Poll) เป็นต้น
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
  • การทดลอง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติจริงและสามารถกำหนดตัวแปรที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาได้
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
  • การสังเกต เป็นการสังเกตและจดบันทึกในสิ่งที่เราสนใจเอาไว้
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
  • การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เช่น หนังสือ, บทความ, เอกสารงานวิจัย เป็นต้น
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
    การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของประเภทข้อมูลและคำถามทางสถิติที่เราสนใจ โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญดังนี้

    1. ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปตอบคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้หรือไม่
    2. แหล่งข้อมูลเหมาะสมกับคำถามทางสถิติที่ตั้งไว้ได้ไหม
    3. จะดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างไร

การตั้งคำถามทางสถิติที่ดีน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ –> การตั้งคำถามทางสถิติ


ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

คำถามที่ 1 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสิงโตวิทยาเดินทางมาโรงเรียนด้วยวิธีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การสังเกต และใช้แบบฟอร์มจดบันทึกในทุก ๆ เช้าด้านหน้าโรงเรียน

           ตัวอย่างเเบบฟอร์มจดบันทึก

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

 วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยทำแบบสอบถามเพื่อน ๆ ในโรงเรียนโดยการสุ่มเพื่อน ๆ ในโรงเรียน

 ตัวอย่างเเบบสำรวจ

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

คำถามที่ 2 ปริมาณของน้ำมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของต้นถั่วหรือไม่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การทดลอง เช่น เราสามารถปลูกต้นถั่ว 3 ต้น โดยให้ปริมาณน้ำที่ต่างกันและบันทึกความสูงของต้นถั่วทุก ๆ สัปดาห์ เเล้วนำข้อมูลมาสรุปผลเพื่อตอบคำถามทางสถิติ

           วิธีที่ 2.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว ในกรณีที่มีคนเคยทดลองและมีแหล่งข้อมูลแล้ว

คำถามที่ 3 นักเรียนห้อง A ชอบสีใดบ้าง

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ    วิธีที่ 1.) การสำรวจ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสอบถามโดยตรงกับนักเรียนในห้อง A

            วิธีที่ 2.) การสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ก็สามารถนำข้อมูลมาตอบคำถามทางสถิติที่เราตั้งไว้ได้

คำถามที่ 4 จำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนในแต่ละวันเป็นเท่าไหร่

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   วิธีที่ 1.) การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว โดยการสอบถามบรรณารักษ์ของห้องสมุดโรงเรียน ในโรงเรียนส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะมีการเก็บข้อมูลการใช้งานห้องสมุดด้วยวิธีการต่าง ๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น การใช้แผงกั้นสำหรับนับจำนวน, การเขียนชื่อในสมุดก่อนเข้าใช้ห้องสมุด, การแสกนบัตรนักเรียนก่อนใช้งาน เป็นต้น

 วิธีที่ 2.) การสังเกต โดยการนับจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วยตนเองแล้วจดบันทึก

คำถามที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ตอบ   การทำแบบสอบถาม โดยอาจจะมีการประเมินเป็นระดับเกณฑ์ 1 ถึง 5 หรืออาจจะใช้เป็นระดับความพึงพอใจเช่น น้อย, ปานกลาง, มาก เป็นต้น


สุดท้ายนี้การเลือกใช้วิธีการใดในการเก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมการเก็บรวบรวมข้อมูล ไม่มีวิธีใดผิด หากจะต้องเก็บข้อมูลความสูงของต้นไม้ เราคงไม่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่หากเราจะเก็บข้อมูลความสูงของเพื่อนในห้องเราก็สามาถใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนทางสถิติที่มีความสำคัญมาก หากข้อมูลที่ได้รับเกิดความผิดพลาดน้อยก็จะส่งผลให้การนำข้อมูลไปนำเสนอและวิเคราะห์ต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คลิปวิดีโอ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูล ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

ดูคลิป

แนะนำ

แชร์

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละ

หัวใจสำคัญของการทำโจทย์ปัญหาก็คือการวิเคราะห์ประโยคที่เป็นตัวหนังสือออกมาเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์หรือเรียกสั้นๆว่า “การตีโจทย์”ถ้าเราวิเคราะห์ถูกต้องเราก็สามารถแสดงวิธีคิดได้ออกมาอย่างถูกต้องคำตอบที่ได้ก็จะถูกต้องตามมาด้วย ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้คือการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและการแสดงวิธีทำ รับรองว่าถ้าอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้จะได้คำตอบที่ถูกทุกข้ออย่างแน่นอน

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

เขียนแนะนำความรู้อย่างไรให้น่าอ่าน แค่ทำตามหลักการต่อไปนี้

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย วันนี้เราได้เตรียมสาระความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียนมาให้น้อง ๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์กัน โดยเนื้อหาที่เราจะมาเรียนในวันนี้จะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อแนะนำความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจหลักการง่าย ๆ ที่จะนำไปใช้ในการเขียนให้ความรู้ผู้อื่น โดยที่น้อง ๆ สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ ได้ หรือใช้กับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้เลย เป็นพื้นฐานการเขียนที่เด็ก ๆ ทุกคนควรได้รับการฝึกฝนจะได้นำไปเขียนได้อย่างถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่บทเรียนวันนี้กันเลยดีกว่า    

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

ตัวบ่งปริมาณและค่าความจริงของตัวบ่งปริมาณ

ตัวบ่งปริมาณ ตัวบ่งปริมาณ คือ สัญลักษณ์หรือข้อความที่เมื่อเราเอาไปเติมใน “ประโยคเปิด” แล้วจะทำให้ประโยคนั้นกลายเป็นประพจน์ ประโยคเปิด คือประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธที่ติดค่าตัวแปรที่ยัง “ไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ” โดยตัวแปรนั้นเป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ (Universe : U) ประโยคเปิด ยังไม่ใช่ประพจน์ (แต่เกือบเป็นแล้ว) เพราะเรายังไม่รู้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ เช่น  “x มากกว่า 3” จะเห็นว่าตัวแปร คือ x ซึ่งเราไม่รู้ว่า x

การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี
การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ มีกี่วิธี

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีกี่ประเภท

3.การเก็บรวบรวมข้อมูล จะมีวิธีเก็บ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และ 2. เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคืออะไร

การเก็บรวบรวมข้อมูลหมายถึง กระบวนการที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาเพื่อตอบสนองตามวัตถุประสงค์ การเก็บรวบรวบข้อมูลเริ่มต้นจากการวางแผนการเก็บเสียก่อน นักสถิติจำเป็นที่จะต้องเก็บข้อมูล หรือค้นคว้าด้วยตัวเอง แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว Exit.

Data Collection มีอะไรบ้าง

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คืออะไร?.
Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ) ... .
Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) ... .
Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) ... .
Secondary Data (ข้อมูลทุติยภูมิ) ... .
Questionnaires (แบบสอบถาม) ... .
Interview (การสัมภาษณ์) ... .
Focus Group (การสนทนากลุ่ม) ... .
Observation (การสังเกตการณ์).

สถิติมีความสําคัญอย่างไร

ประโยชน์ของสถิติ สถิติเป็นศาสตร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล การแก้ปัญหาส่วนใหญ่มีความ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศและกระบวนการทางสถิติมาช่วยในการสรุปผลปัญหาหรืองานต่างๆ ใน ชีวิตประจำวันทั้งในวงการธุรกิจและราชการต้องใช้สถิติมาช่วยในการตัดสินใจและวางแผนในกรณีต่อไปนี้