ลาออกจากงานประกันสังคมคุ้มครองกี่เดือน 2565

สำหรับลูกจ้างประจำของบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ย่อมได้รับสวัสดิการคุ้มครองในการทำงานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน สุขภาพ ความปลอดภัย รวมถึงเงินชดเชยกรณีต่างๆ ทั้งที่ออกจากงาน ถูกไล่ออก ชราภาพ และเสียชีวิต โดยทั้งหมดนี้จะรวมอยู่ในสิทธิ์ของผู้ประกันตนมาตรา 33 ซึ่งวันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจและรู้ลึกถึงสิทธิ์ที่ควรได้เมื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ลาออกจากงาน จะมีสิทธิ์อะไรที่ไม่ควรพลาดบ้าง ติดตามไปดูกัน

ผู้ประกันตนมาตรา ลาออกจากงาน จะได้สิทธิ์อะไรบ้าง

ประกันตนตามมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ เสียชีวิต และว่างงาน

สำหรับผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน โดยอายุยังไม่ถึงวาระเกษียณนั้นสามารถยื่นขอสิทธิ์ต่างๆ ได้ดังนี้

1. ใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

โดยผู้ประกันตนที่ลาออกจากงาน หากไม่ได้ต่อประกันสังคมกับที่ทำงานใหม่ จะยังสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน สำหรับกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

2. เปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา

โดยสามารถรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมต่อเนื่องโดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยมีเงื่อนไขคือ
• ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33มาก่อน

• นำส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน

• ออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ระบุไว้ในการลาออก

• ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 นั้นเป็นการประกันตนโดยสมัครใจ ซึ่งผู้ประกันตนจะเป็นผู้ส่งเงินสมทบเอง และจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีชราภาพ และกรณีเสียชีวิต

การเปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส.1-20)  และแนบบัตรประชาชนพร้อมสำเนา ยื่นเรื่องภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครทุกเขตพื้นที่ หรือยื่นที่จังหวัด หรือสาขา ที่ใกล้ที่พักอาศัย

3. สิทธิ์ได้รับเงินชดเชยกรณีว่างงาน

โดยในที่นี้จะโฟกัสไปที่ประเด็นผู้ประกันตนลาออกจากงานตามขั้นตอนปกติ (ไม่ใช่ผู้ถูกไล่ออก หรือบริษัทปิดกิจการ) ซึ่งจะมีขั้นตอนและรายละเอียดการขอรับเงินชดเชยดังนี้
• เป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

• มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป

• หลังลาออกจากงานแล้วต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออก

• จากนั้นต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ https://empui.doe.go.th ของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

• ผู้ลงทะเบียนว่างงานไว้แล้วจะมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยมีฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท

การลาออกจากงานไม่ว่าจะเป็นการลาออกโดยมีที่ทำงานที่ใหม่รองรับ หรือไม่มีก็ตาม แต่หากมีช่วงระยะเวลาระหว่างการรอเริ่มต้นทำงานใหม่ ผู้ประกันตนเองควรรู้เรื่องสิทธิ์ที่พึงได้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์สำหรับตนเองให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาลหรือการรับเงินชดเชยก็ตาม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 อย่าลืมรักษาสิทธิ แม้จะตัดสินใจลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง เพราะใช่ว่าสิทธิประกันสังคมนั้น จะสิ้นสุดลงทันที ยังสามารถใช้สิทธิได้ ดังนี้

 

1.) ใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน

ผู้ประกันมาตรา 33 ที่ลาออกจากงาน หรือถูกเลิกจ้าง จะยังใช้สิทธิประกันสังครบทั้ง 7 กรณีเหมือนเดิม ได้แก่ การได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และว่างงาน ภายใน 6 เดือนหลังจากลาออกจากงานได้

ผู้ประกันตนม. 33 เกษียณ 55 ปี เช็กสิทธิประโยชน์รับเงินชราภาพ

รู้ไว้! ทำงานอย่างไร ไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ "แรงงาน" เปิดวิธีคำนวณเงินโอที แลกค่าล่วงเวลาเป็นวันห...

เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น วิถีชีวิตเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร

ลาออกจากงานประกันสังคมคุ้มครองกี่เดือน 2565

2.) รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

  • กรณีถูกเลิกจ้าง : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา : รับเงินทดแทน 30 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย : รับเงินทดแทน 50 % ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
ทั้งนี้ หากใน 1 ปี ปฏิทินมีการขอยื่นรับเงินทดแทน กรณีถูกเลิกจ้างและกรณีลาออก/สิ้นสุดสัญญา ให้นับระยะเวลารับเงินทดแทนไม่เกิน 180 วัน

อย่างไรก็ตาม จะต้องลงทะเบียนว่างงาน ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th ของกรมการจัดหางานด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ลงทะเบียนว่างงาน

  • สำหรับคนไทย
  1. ลงทะเบียนขอใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล / Digtal ID ของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร.
  2. ผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบ (Login) โดยใช้ User / Password ที่ลงทะเบียน Digital ID ในการขึ้นทะเบียนว่างงาน
  3. กรอกข้อมูลรายละเอียดตามระบบ และแนบไฟล์บัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินเข้าบัญชีในระบบ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นเอกสารใดๆ กับสำนักงานประกันสังคมอีก
  4. ภาพถ่ายสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึงมีชื่อและเลขที่บัญชีของตนเองที่จะยื่นในระบบ
  5. รายงานตัวตามกำหนด
  • สำหรับต่างชาติ/ต่างด้าว ไม่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้
  1. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  2. หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) (ถ้ามี) ดาวน์โหลดเอกสาร >>> คลิกที่นี่ <<<
  3. หนังสือ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  4. กรณีว่างงานจากสาเหตุสุดวิสัยแนบหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากสาเหตุสุดวิสัย
  5. สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล
  6. สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้
  7. หากเอกสารสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทย และรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
  8. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
  9. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี
  10. รายงานตัวตามกำหนดนัด ณ สำนักงานจัดหางานพื้นที่ที่สะดวก
ทั้งนี้ ผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากสาเหตุ ไล่ออก ปลดออก ให้ออกเนื่องจากกระทำความผิด ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีการติดต่อนายจ้างภายใน 7 วันทำงานติดต่อกัน จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

สภาพอากาศวันนี้!ไทยร้อนจัดสูงสุด 42 องศา เตือนพายุฤดูร้อนถล่ม 28 เม.ย.

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนฉบับ1 ไทยจ่อเจอพายุฤดูร้อนถล่ม 5 วัน

ลาออกจากงานประกันสังคมคุ้มครองกี่เดือน 2565

3.) เปลี่ยนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

หลังจากใช้สิทธิประกันสังคมเดิมครบ 6 เดือน หลังจากออกจากงาน หรือ ถูกเลิกจ้าง/สิ้นสุดสัญญาแล้ว ยังสามารถรักษาสิทธิต่อไปได้ด้วยการสมัครเข้าเป็น “ผู้ประกันตนมาตรา 39” แต่จะได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิมหรือไม่ และต้องสมัครอย่างไร มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

มาตรา 39 คุ้มครอง 6 กรณี

หากได้สมัครเข้ามาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองใน 6 กรณี ได้แก่

  1. ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
  2. ทุพพลภาพ
  3. ตาย
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ
มาตรา 39 สมัครอย่างไร
  • ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
  • สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน
  • ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง : ต้องใช้ แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) พร้อมบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้พร้อมสำเนา จากนั้นให้ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ
  • ยื่นใบสมัครออนไลน์ : ดาวน์โหลด แบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ออนไลน์ จากนั้นกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย พร้อมแนบหลักฐานบัตรประชาชน/บัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งราชการออกให้ แล้วสมัครออนไลน์ผ่านอีเมล/ไลน์ เก็บหลักฐานการส่งเพื่อตรวจสอบต่อไป ทั้งนี้แนะนำว่าให้ติดตามผลการสมัครมาตรา 39 จนกว่าจะสำเร็จด้วย
  • ส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน
ส่งเงินสมทบได้ 6 วิธี
  • จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
  • จ่ายเงินทางธนาณัติหรือจ่ายผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาติ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย
  • ส่งผ่าน CenPay
  • ส่งผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • เปิดบัญชีออมทรัพย์และให้ทางธนาคารหักจากบัญชีธนาคารข้างต้น (มีค่าธรรมเนียมในการหักบัญชี)
ทั้งนี้ หากไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ดังนั้นแนะนำว่า ไม่ควรขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน เพราะจะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ และหากส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือนภายในระยะเวลา 12 เดือน จะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบเก้าเดือน

นอกจากการไม่ส่งเงินสมทบตามกำหนดแล้ว การเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ยังสามารถสิ้นสุดลงได้เนื่องจากสาเหตุอื่นด้วย คือ ผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือกลับไปเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลาออกจากมาตรา 39

ประกันสังคมอยู่ได้กี่เดือนหลังออกจากงาน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม แนะว่า หากผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ลาออกจากงานหรือถูกเลิกจ้าง ต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้คุ้มครองต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังลาออกจากงาน สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบเพียงเดือนละ 432 บาท และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ...

ประกันสังคมหักกี่บาท 2565

ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งโดยปกติต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม ในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 จะได้ปรับลดเหลือ 3% ของค่าจ้าง

ประกันสังคมเดือนกรกฎาคม 2565 หักกี่เปอร์เซ็นต์

บอร์ด “ประกันสังคม” มีมติเห็นชอบ ปรับลดอัตราเงินสมทบ ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง เหลือฝ่ายละ 3% เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2565. ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2565 ประกาศใช้แล้ว เริ่ม 1 พ.ค. ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2565 สำหรับรอบเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 ประกาศเป็นกฎหมายแล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565.

ประกันสังคมลดเดือนไหนบ้าง

ประกาศกฎกระทรวง ได้กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้ปรับลดอัตราเงินสมทบ โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 3 ของค่าจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 240 บาท โดยเริ่มตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565.