MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

สวัสดีครับ หลายๆ คงเห็นกันแล้วใช่ไหมครับว่าช่วงนี้รถไฟฟ้าบ้านเรากำลังสร้างกันหลายสายเลยทีเดียว วันนี้ Living Pop ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ที่ชาวฝั่งธนน่าจะคุ้นเคยกับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายนี้ดี เพราะสร้างมาได้นานพอสมควรแล้ว ซึ่งตอนนี้ต้องบอกเลยว่าอีกไม่นานเกินรอ ได้ใช้กันตลอดสายเร็วๆ นี้แน่นอนจ้า

LivingPop

แต่ก่อนจะไปดูเรื่องราวของส่วนต่อขยาย เผื่อใครที่อาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าเอ๊ะ ต่อขยายมันขยายไปไหน เส้นทางเป็นอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่างๆ กันแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าเอ๊ะ ต่อขยายมันขยายไปไหน เส้นทางเป็นอย่างไรบ้าง เรามาทำความรู้จักกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายต่างๆ กันแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ

สำหรับในประเทศไทย (หรือในกรุงเทพมหานคร) รถไฟฟ้าสายแรกจะเป็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือที่เราเรียกกันว่า “รถไฟฟ้า BTS” นั่นเองครับ เริ่มให้บริการครั้งแรกใน 2542 โดยเปิดพร้อมกัน 2 สายได้แก่ สายสีเขียวอ่อน และ สายสีเขียวเข้ม หรือที่เรียกกันว่าสายสุขุมวิท และสายสีลม โดยลักษณะของสายนี้จะเป็นแนววิ่งจากนอกเมืองผ่าเข้ามาในเมือง โดยมีสถานีสยามเป็นศูนย์กลาง

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

ภาพเปรียบเทียบเส้นทางให้บริการรถไฟฟ้าใน กทม. ปี 2542 กับปี 2547

สำหรับรถไฟฟ้าอีกสายที่สร้างเสร็จถัดมา นั่นคือ รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เปิดให้บริการในปี 2547 ลักษณะของสายนี้ในตอนที่เปิดจะอยู่ใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นเส้นทางจาก “สถานีหัวลำโพง” ถึง “สถานีบางซื่อ” ซึ่งจะไม่ได้ผ่านเข้าเมืองตรงๆ แบบสายสีเขียว แต่ก็ยังผ่านจุดสำคัญๆ เช่นสีลม, อโศก, รัชดา, ลาดพร้าว โดยเน้นเชื่อมโยงไปจุดต่างๆ ของเมือง

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

จะเห็นได้ว่า สายสีน้ำเงิน ในปัจจุบันที่เปิดให้บริการจะมีเส้นทางเป็นเหมือนครึ่งวงกลมไปรอบๆ เมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่างๆ ซึ่งปัจจุบันสายสีน้ำเงินเองก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ครึ่งวงกลมนี้ครับ แต่กำลังสร้างส่วนต่อขยายมาด้านฝั่งธนเพิ่มเติม ให้เส้นทางเชื่อมคล้ายกับลักษณะของวงกลม แถมยังมีส่วนที่ต่อเพิ่มออกไปนอกเมืองทางด้านถนนเพชรเกษมด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้

ส่วนต่อขยายจากด้านบางซื่อ

ส่วนนี้ปัจจุบันเปิดแล้ว 1 สถานี คือส่วนต่อขยายสถานีเตาปูน ที่เชื่อมกับ รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง โดยจะขึ้นมาบนดิน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาบนถนนจรัญสนิทวงศ์ และมาจบที่สถานีท่าพระครับ

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

ส่วนต่อขยายจากด้านหัวลำโพง

ในส่วนนี้จะมีบางช่วงเป็นใต้ดิน โดยจะผ่านทางเยาวราช มาทางวังบูรพา และลอดใต้แม่น้ำผ่านถนนอิสรภาพ ก่อนที่ขึ้นมาบนดินที่สถานีท่าพระ เป็น interchange กันกับ สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่มาจากทางจรัญฯ แต่ไม่สุดแค่นั้น สายนี้ยังวิ่งต่อไปทางถนนเพชรเกษมอีกไปจนถึงสถานีหลักสองที่หน้าเดอะมอลล์บางแคครับ

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

แต่ถึงแม้ว่าเส้นทางจะคล้ายกับวงกลม แต่การเดินรถของสายนี้ก็ไม่ได้เป็นวงกลมซะทีเดียวครับ โดยการเดินรถจะเป็นแบบวิ่งไปกลับคล้ายเลข 9 จากด้านหลักสอง วิ่งเข้าไปในเมืองไปเรื่อยๆ ผ่านสถานีท่าพระ ผ่านบางซื่อ ผ่านถนนจรัญฯ แล้วมาสุดที่สถานีท่าพระอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นก็ย้อนกลับทางเดิมเข้าเมือง และมาจบที่สถานีหลักสอง

รูปแบบการให้บริการของสายสีน้ำเงินที่ไม่ได้วิ่งวนเป็นวงกลม Loop Line

แต่ใครที่อยู่ด้านจรัญฯ แล้วอยากจะมาสีลมก็ไม่ยากครับ ก็นั่งมาที่สถานีท่าพระซึ่งเป็นสถานี interchange เปลี่ยนขบวนมาขึ้นสายสีน้ำเงินเหมือนเดิม แต่เป็นฝั่งที่วิ่งไปสีลม ก็เรียบร้อย ไม่ต้องแตะบัตรออก เพียงแค่เปลี่ยนไปขึ้นรถอีกชานชาลาเท่านั้นเองครับ

แล้วทำไมถึงไม่ทำเป็นสายวงกลมซะเลย?

ไม่เคยมีเหตุผลที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่ออกแบบโครงการ แต่พอจะมีข้อมูลเก่าๆ อยู่ว่าแต่เดิมนั้นส่วนต่อขยายของสายสีน้ำเงินไม่ได้ขดมาเป็นวงกลมอย่างนี้ โดยแผนเก่านั้นส่วนต่อขยายจากบางซื่อจะวิ่งเลี้ยวไปทางแคราย ไปสุดที่สะพานพระนั่งเกล้า (สายสีม่วงปัจจุบัน) และส่วนต่อขยายทางหัวลำโพงจะไปตามทางปัจจุบัน และสิ้นสุดที่บางแค

แต่เมื่อมีการปรับแนวเส้นทางใหม่ ส่วนต่อขยายของเดิมที่จะวิ่งออกจากบางซื่อไปทางนนทบุรี ได้เปลี่ยนเส้นทางข้ามแม่น้ำแล้วเลี้ยวเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์แทน ทำให้เมื่อวิ่งตรงลงมาเรื่อยๆ ก็จะมาบรรจบกับส่วนต่อขยายที่ออกมาจากหัวลำโพง กลายเป็นสายที่เหมือนจะเป็นวงกลมไป

ประกอบกับสภาพพื้นที่บริเวณแยกท่าพระที่ทำให้การสร้างเส้นทางจากจรัญฯ ให้เลี้ยววกกลับไปเป็นวงกลมที่สมบูรณ์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเส้นทางจะต้องลดระดับลงไปเป็นทางใต้ดินเพื่อมุดลอดใต้แม่น้ำ (คือถ้าจะทำก็ต้องเลี้ยวแล้วมุดดินเลย ทำสถานีท่าพระไม่ได้) ดังนั้นจึงออกแบบให้เป็นสถานียกระดับตัดกันตรงทางแยกท่าพระแทน ใครจะวกเข้าเมืองก็เปลี่ยนขบวนรถเอา

ซึ่งในอนาคตอีกไม่ไกล ในปี 2566 เมื่อรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่กำลังสร้างในปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เป็นเหมือนกับตัวกลางที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายต่างๆ น่าจะทำให้หลายๆ คนเดินทางได้สะดวกกว่าปัจจุบันนั่นเองครับ


ค่าโดยสารจะแพงมั้ย??

สำหรับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จะคิดค่าโดยสารตามระยะทางครั้งเดียวต่อเนื่องกันทั้งสาย (ไม่ได้คิดแยกส่วนหลัก-ส่วนต่อขยายแบบ BTS) โดยจะมีค่าโดยสารอยู่ที่ 16-42 บาทถ้าอยู่ในสายสีน้ำเงินอย่างเดียว และ 16-70 บาท ถ้าข้ามไปสายสีม่วงครับ

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี

วิธีการคิดราคากรณีที่ข้ามสายไปสีม่วง หรือจากสีม่วงข้ามมาสายสีน้ำเงิน มีสูตรคำนวณง่ายๆ คือ

(ค่าโดยสารสายสีน้ำเงิน + ค่าโดยสารสายสีม่วง) – ค่าแรกเข้า 14 บาท

ตัวอย่างจากสถานีสวนจตุจักรไปศูนย์ราชการนนทบุรี ก็จะเป็น (21 + 28) – 14 = 35 บาทนั่นเองครับ ก็หวังว่าในอนาคตทาง รฟม. และ BEM จะมีโปรโมชั่นบัตรส่วนลดหรือบัตรเหมาจำนวนเที่ยวกลับมาใหม่ ให้เราได้เสียค่าโดยสารถูกลงกว่านี้ครับ


จะมีขบวนรถไฟมาเพิ่มหรือเปล่า ปัจจุบันก็แน่น+รอนานอยู่แล้ว…

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีขบวนรถไฟให้บริการอยู่ 19 ขบวน ความยาวขบวนละ 3 ตู้ จุคนได้ขบวนละประมาณ 1,000 คนครับ ซึ่งใครที่ใช้บริการประจำก็จะมีภาพจำว่าในชั่วโมงเร่งด่วนมักจะมีปัญหารถไฟเต็ม ต้องรอหลายขบวนกว่าจะได้เดินทาง

MRT สายสีน้ำเงิน มีกี่สถานี
รถไฟฟ้าขบวนใหม่ของสายสีน้ำเงิน ผลิตที่ประเทศออสเตรียและเยอรมนี
ที่มา : Facebook MRT Bangkok Metro

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยาย ก็จะต้องมีการสั่งซื้อขบวนรถไฟมาเพิ่ม โดยส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินที่กำลังจะเปิดให้บริการนั้น ได้มีการสั่งขบวนรถไฟมาเพิ่มอีก 35 ขบวน (ยาว 3 ตู้/ขบวน) เมื่อรวมกับของเก่า 19 ขบวนแล้วจะทำให้มีรถไฟให้บริการได้ถึง 54 ขบวนเลยทีเดียว โดยขบวนแรกมาถึงไทยตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา และจะทยอยส่งมาจนครบภายในต้นปี 2563 ครับ

สถานี MRT สีน้ำเงิน มีสถานีอะไรบ้าง

MRT สีน้ำเงินวิ่งแบบครบลูป ในทางกลับกัน ก็จะวิ่งจากสถานีหลักสอง ผ่านท่าพระ อิสรภาพ วัดมังกร หัวลำโพง สามย่าน สีลม คลองเตย พระราม 9 ศูนย์วัฒนธรรมฯ ห้วยขวาง รัชดาฯ จตุจักร บางซื่อ เตาปูน บางโพ จรัญสนิทวงศ์ และสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ

MRT สาย สีน้ำเงิน มีกี่ขบวน

อัตราขนส่งผู้โดยสาร ในปัจจุบัน มีรถไฟฟ้าภายในระบบทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้

BTS สายสีน้ำเงิน ไปไหนบ้าง

ลักษณะการวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินนับจากนี้ไป จะเริ่มต้นที่สถานีท่าพระ ชานชาลาที่ 3-4 (ชั้น 4 ของสถานี) ไปตามสถานีจรัญฯ 13, ไฟฉาย, บางขุนนนท์, บางยี่ขัน, สิรินธร, บางพลัด, บางอ้อ, บางโพ, เตาปูน (เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง), บางซื่อ, กำแพงเพชร, สวนจตุจักร (เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต)

MRT ท่าพระ ไป บางซื่อ กี่ สถานี

ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มีระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งแบบยกระดับทั้งหมด มีลักษณะเป็นทางวิ่งรางคู่บนเสาตอม่อบริเวณเกาะกลางถนน มีทั้งหมด 10 สถานี โดยเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อซึ่งเป็นสถานีร่วมกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล , รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม , รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และ แอร์พอร์ตลิงค์ เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์ ...