ทํางานวันหยุดนักขัตฤกษ์ ได้กี่เท่า

"กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน" เปิดอัตราค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ลูกจ้างต้องได้กี่เท่าของอัตราค่าจ้าง

แฟนเพจเฟซบุ๊ก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความเรื่อง รู้หรือไม่ ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ต้องได้รับค่าจ้างอย่างไร มาทำความเข้าใจเรื่องอัตราค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลา (OT) ไปด้วยกัน ดังนี้


1. ค่าทำงาน ในวันหยุดประจำสัปดาห์

ลูกจ้างรายวัน / คำนวณตามผลงาน รับ 2 เท่า ลูกจ้างรายเดือน รับ 1 เท่า สำหรับข้อควรทราบ กรณีลูกจ้างรายเดือน แม้ไม่มาทำงาน ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่หากนายจ้างสั่งให้มาทำงาน นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 เท่า จากค่าจ้าง รวมเป็น 2 เท่า

2. ค่าทำงาน ในวันหยุดตามประเพณี / วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ลูกจ้างรายวัน / คำนวณตามผลงาน รับ 1 เท่า ลูกจ้างรายเดือน รับ 1 เท่า สำหรับข้อควรทราบ กรณีลูกจ้างรายวัน/ลูกจ้างคำนวณตามผลงาน/ลูกจ้างรายเดือน แม้ไม่มาทำงาน ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่หากนายจ้างสั่งให้มาทำงาน นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 เท่า จากค่าจ้าง รวมเป็น 2 เท่า

3. ค่าล่วงเวลา ในวันทำงานปกติ

ลูกจ้างรายวัน / คำนวณตามผลงาน รับ 1.5 เท่า ลูกจ้างรายเดือน รับ 1.5 เท่า สำหรับข้อควรทราบ หากให้ทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติเกิน 2 ชม. ต้องพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที

4. ค่าล่วงเวลา ในวันหยุดประจำสัปดาห์ / วันหยุดตามประเพณี / วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ลูกจ้างรายวัน / คำนวณตามผลงาน รับ 3 เท่า ลูกจ้างรายเดือน รับ 3 เท่า สำหรับข้อควรทราบ มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541.

ทํางานวันหยุดนักขัตฤกษ์ ได้กี่เท่า

ทำงานนักขัตฤกษ์ ต้องได้ ค่าแรงวันหยุด กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน

ทำงานนักขัตฤกษ์ ต้องได้ ค่าแรงวันหยุด กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงาน

จากกรณีที่มีข่าว รปภ.รายหนึ่งได้ออกมาแฉ หลังถูกบริษัทแห่งหนึ่งดีดออกจากกรุ๊ปแชท พร้อมให้พ้นสภาพพนักงาน เนื่องจากเจ้าตัวถามเกี่ยวกับค่าแรงในการทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งรายงานไปก่อนหน้านี้นั้น

ไปไม่เป็น! รปภ.ถามเรื่อง ค่าแรงวันหยุด โดนดีดจากกรุ๊ป-พ้นสภาพพนักงาน

ทางด้านสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ระบุข้อกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และค่าแรงวันหยุด ดังนี้

การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด

  • ในกรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
  • กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
  • ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)

ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

  • ถ้าทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
  • ถ้าทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
  • ถ้าทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

นิวซีแลนด์ ประกาศ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 437 บาทต่อชั่วโมง
โควิด ทำคนธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรม ตกงาน กว่า 1.45 ล้านคน ยังหางานใหม่ไม่ได้

01 พ.ค. 2565 เวลา 3:27 น. 29.3k

"วันแรงงานแห่งชาติ 2565" สิทธิประโยชน์ลูกจ้างควรรู้ ค่าแรงวันหยุด ค่าล่วงเวลา (OT) ต้องได้รับกี่เท่าของอัตราค่าจ้าง มัดรวมคำตอบให้แล้วที่นี่

วันแรงงานแห่งชาติ 2565  สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างควรรู้ !  การทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ลูกจ้างต้องได้รับค่าจ้างอย่างไร ทำความเข้าใจเรื่องอัตราค่าแรงในวันหยุด และค่าล่วงเวลา (OT) ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  ได้ระบุถึงข้อกฎหมายแรงงานรายละเอียดดังนี้

1.กรณีลูกจ้างทำงานในวันหยุด 

(วันหยุดประจำสัปดาห์, วันหยุดตามประเพณี ,วันหยุดพักผ่อนประจำปี )  

ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

1.ลูกจ้างรายเดือน หรือลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2.ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด  จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด  หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

2.กรณีลูกจ้างทำล่วงเวลา(OT)ในวันทำงานปกติ

กรณีพนักงานทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน (OT)  นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน

3.กรณีลูกจ้างทำล่วงเวลา(OT )ในวันหยุด

(วันหยุดประจำสัปดาห์ / วันหยุดตามประเพณี / วันหยุดนักขัตฤกษ์)

กรณีพนักงานทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ  หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย 

ตัวอย่างเช่น  เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้แล้วเสร็จ จึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะแบบนี้เข้าข่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง

ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) 

วันหยุดนักขัตฤกษ์มาทํางานได้กี่แรง

(วันหยุดประจำสัปดาห์ / วันหยุดตามประเพณี / วันหยุดนักขัตฤกษ์) กรณีพนักงานทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

โอทีวันหยุดได้กี่เท่า

1 ค่าล่วงเวลา (OT) ของวันทำงานปกติ และค่าทำงานในวันหยุด ได้รับไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง ตามมาตรา 61. 2 ทำงานในวันหยุดในเวลาปกติ ได้รับไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้าง / ชั่วโมง กรณีที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดนั้นอยู่แล้ว

ทํางานวันหยุดสงกรานต์ได้กี่แรง

ลูกจ้างรายวัน หรือลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เมื่อมาทำงานในวันหยุดสงกรานต์ 2562 ในเวลาทำงานปกติ จะได้รับค่าจ้างในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุด

ค่าจ้างทํางานในวันหยุดมีกี่ประเภท

นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดทั้ง 3 ประเภท.
วันหยุดประจำสัปดาห์.
วันหยุดตามประเพณี.
วันหยุดพักผ่อนประจำปี.