รูปแบบการให้บริการของ Cloud มีกี่ประเภท

Cloud หรือ Cloud Computing คืออะไร 

         ก่อนเข้าสู่บทความอยากให้ทุกคนลองเข้าไปดู Video สั้นๆนี้เพื่อให้เข้าในพื้นฐาน และ Concept  ของ Cloud Computing กันก่อน 

         เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Concept ของ Cloud Computing หากเนื้อหายังไม่พอเราไปดูนิยามของ Cloud Computing กันต่อเลยได้เลย...

นิยามของ Cloud Computing 

         เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในปัจจุบัน ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากความไม่เป็นระเบียบของข้อมูล ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากการลงทุน ความหลากหลายของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การดูแลรักษา ค่าไฟฟ้า ค่า Bandwidth บุคลากรและอื่นๆ จึงทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาเพื่อทดแทนและแก้ไขความซับซ้อนของข้อมูลเหล่านี้ 

Cloud Computing ถูกนิยามและให้คำจัดกัดความว่า 

         การประมวลผลใดๆ ผ่านเครือข่าย Internet ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งาน เมื่อไรก็ตามที่มีความต้องการใช้ โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ อุปกรณ์ และไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและเวลา 

แผนภาพของ Cloud Computing 

 
 

รูปแบบการให้บริการของ Cloud มีกี่ประเภท

คุณลักษณะของ Cloud Computing 

  1. On-demand self-serviceCloud Computingต้องสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ 
  2. Broad Network AccessCloud Computingต้องสามารถเข้าถึงได้จากที่ใดก็ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดของสถานที่และอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ 
  3. Resource PoolingCloud Computingต้องสามารถนำทรัพยากรมารวมกันและใช้งานร่วมกันได้ 
  4. Rapid ElasticityCloud Computingต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเพิ่มลดทรัพยากรได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณและระยะเวลา 
  5. Measured ServiceCloud Computingต้องสามารถวัดปริมาณการใช้งานได้ และสามารถคิดค่าใช้งานได้ตามการใช้งานจริง 

ประเภทของ Cloud Technology 

แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน 

  1. Private Cloud เป็นการใช้งานภายในองค์กร สำหรับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ผู้ใช้บริการเป็นผู้บริหารจัดการระบบ สามารถปรับเปลี่ยนระบบต่างๆได้ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ติดตั้งและดูแลรักษาให้เท่านั้น ข้อดีของบริการนี้คือมีความปลอดภัยสูงสุด
    รูปแบบการให้บริการของ Cloud มีกี่ประเภท
  2. Community Cloud บริการ Cloud แบบกลุ่ม ประกอบไปด้วย Private Cloud ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ซึ่งมีการกำหนดข้อตกลงและแชร์ข้อมูลร่วมกัน 
  3. Public Cloud เป็นบริการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยปกติจะใช้งานผ่านผู้ให้บริการซึ่งให้บริการผ่านเครือข่ายสาธารณะ จุดเด่นของบริการนี้คือ ประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ 
    รูปแบบการให้บริการของ Cloud มีกี่ประเภท
  4. Hybrid Cloud เป็นการผสมผสานกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud โดยการนำข้อดีของแต่ละบริการมาใช้งานร่วมกัน 
    รูปแบบการให้บริการของ Cloud มีกี่ประเภท

แบ่งตามรูปแบบการให้บริการ 

  1. SaaS (Software as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น 
  2. PaaS (Platform as a service) เป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App EngineAzure DB และ Amazon RDS เป็นต้น 
  3. IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการเช่น Azure, AWS และ Netway Cloud เป็นต้น  

ประโยชน์ของ Cloud Computing 

  1. ประหยัดการลงทุนทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพราะใช้รูปแบบบริการแบบเช่าผ่านผู้ให้บริการ สามารถใช้บริการได้เท่าที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง พัฒนาและขึ้นระบบเองทั้งหมด 
  2. สามารถสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทันที ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ การสร้างและลบจึงสามารถทำได้ทันที โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา 
  3. เพิ่มขนาดทรัพยากรได้ง่ายดายและรวดเร็ว ตามปริมาณการใช้งานหรือลดการใช้งานของผู้ที่ต้องการใช้ 
  4. เข้าถึงบริการได้จากทุกที่ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet ผ่านผู้ให้บริการจึงไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปกรณ์ 
  5. ลดปัญหาการดูแลระบบ เนื่องจากบริการเป็นรูปแบบของการเช่าใช้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องดูแลระบบแทน ซึ่งจะช่วยลดทั้งความยุ่งยากของการดูแลและลดจำนวนบุคลากรที่ต้องจ้างมาเพื่อมาดูแลระบบ 

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Cloud ในองค์กร 

  1. Compute Engine – ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการสร้าง Cloud Server สำหรับทำ Web Server รือ Mail Server เป็นต้น 
  2. Test and Developmnet – องค์กรที่มีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาใช้งานด้วยตนเองอาจพบปัญหาระบบที่มีอยู่ที่ไม่เพียงพอ หรือต้องเสียเวลาในการขึ้นระบบซึ่งค่อนข้างยาก ซับซ้อนและใช้เวลานาน เมื่อใช้ Cloud นักพัฒนาสามารถทดสอบระบบบน Cloud ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถย้าย Application จากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่งได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องจำเป็นต้องขึ้นระบบขึ้นใหม่ 
  3. Big Data Analytics - เนื่องจากข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆ ปี องค์กรขนาดใหญ่จึงเลือกที่จะลงทุนหรือพัฒนา Big Data เพื่อรองรับการเติบโตและการประมวลผลในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการ Big Data เป็นจำนวนมาก ตัวอย่างที่เรารู้จักเช่น Google เป็นต้น 
  4. Disaster Recovery – ในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง อาจเกิดจากความไม่สงบ สงคราม หรือภัพิบัติทางธรรมชาติ การมองหาไซต์สำรองหรือ DR Site จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก ทำให้เรามั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ระบบของเราจะยังสามารถทำงานต่อไปได้ 
  5. Storage and Backup - การเก็บข้อมูลบน Data Center ของตนเองอาจยังปลอดภัย หรือมีข้อจำกัดเรื่องของพื้นที่การจัดเก็บ การใช้บริการ Cloud ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่ามีข้อมูลสำรองกรณีที่ต้องการใช้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องของการปรับขนาดในอนาคต 

    ___________________________________________________________________________________________

            Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft, Google, Zendesk, Digicert, ฯลฯ

            เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ

    Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ https://bit.ly/line-netway
    Facebook : m.me/netway.offcial

    Tel : 02-055-1095
    Email :  
    Web Chat : https://netway.co.th/ #ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที ​​#การสื่อสาร Netway  #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Google #Zendesk #Digicer