ศาลมี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

อำนาจในการปกครองประเทศไทยนั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน อำนาจตุลาการถือว่าเป็นอำนาจสำคัญอย่างหนึ่งที่ออกมาในรูปแบบของศาล โดยศาลไทยนั้นมีรายละเอียดที่หลายคนไม่รู้จัก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกันว่า ศาลไทยมีอะไรบ้าง

ความรู้เกี่ยวกับประเภทของศาลไทยมีอะไรบ้าง

หากแบ่งตามกฎหมาย นั่นคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 197 ถึง มาตรา 228 ศาลไทยจะแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มได้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร โดยทั่วไปเราจะรู้จักศาลยุติธรรมเป็นหลัก ซึ่งศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

ศาลชั้นต้น

เริ่มกันจากศาลชั้นต้น ศาลนี้จะเป็นด่านแรกในการพิจารณาคดีตามกระบวนการของศาลไม่ว่าจะเป็นไต่สวน การสืบพยานทั้งวัตถุและบุคคล จนถึงขั้นตอนการตัดสิน ศาลชั้นต้นนอกจากศาลทั่วไปตามพื้นที่อย่างศาลจังหวัด ศาลแขวง ยังมีศาลแพ่ง (ศาลพิจารณาคดีแพ่งเป็นหลัก รวมถึงคดีอื่นที่ไม่สามารถระบุว่าต้องไปศาลไหนอีก) ศาลอาญา ยังมีศาลเฉพาะทางเพื่อพิจารณาคดีพิเศษอีกด้วย ศาลกลุ่มนี้ได้แก่ศาลภาษีอากรกลาง ศาลแรงงาน เป็นต้น

ศาลอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลลำดับต่อมา หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาออกมาแล้ว จำเลย ไม่พอใจคำตัดสิน สามารถขอยื่นเรื่องไปยังศาลอุทธรณ์ต่อไป เพื่อพิจารณาคดีนี้อีกครั้ง เมื่อผ่านกระบวนการไต่สวน สืบพยานเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์จะตัดสินคดีอีกครั้งซึ่งอาจจะยืนยันคำตัดสินเดิมจากศาลชั้นต้น หรือ อาจจะเปลี่ยนแปลงคำตัดสินเป็นอื่นก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปคดี พยานหลักฐาน ที่นำมาแสดงเพิ่มเติม

ศาลฏีกา

ศาลฏีกานับว่าเป็นศาลชั้นสูงสุดในการดำเนินคดีอะไรก็ตาม ไม่ว่าผลออกมาเป็นเช่นไรทุกอย่างถือว่าสิ้นสุดลงตามกฎหมาย ขั้นตอนกระบวนการศาลฏีกาจะเหมือนกับศาลอุทธรณ์นั่นคือ เข้าสู่กระบวนการไต่สวน ด้วยพยานทั้งวัตถุและบุคคล หลักฐานอื่น จากนั้นศาลท่านก็จะตัดสิน ศาลฏีกาจะต้องประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 ท่านเพื่อให้ความเห็นของรูปคดีออกมาให้ชัดเจนที่สุดทั้งแง่ของกฏหมายและการวินิจฉัย ศาลฏีกาเองจะมีกรณีพิเศษอยู่นั่นคือ ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง แผนกนี้จะพิจารณาคดีเกี่ยวกับนักการเมืองเป็นหลัก ทำให้ต้องใช้ผู้พิพากษามากกว่าปกติเนื่องจากเป็นคดีสำคัญอย่างมาก

ศาลปกครอง

นอกจากระบบศาลยุติธรรมทั้ง 3 ศาล ยังมีศาลอื่นด้วย อย่างเช่น ศาลปกครอง อันนี้สำคัญมาก ศาลปกครองเป็นศาลที่กฎหมายจัดขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ ศาลปกครองจะมีสองระดับคือ ศาลปกครองชั้นต้น และ ศาลปกครองสูงสุด

ศาลทหาร

ศาลทหารโดยหลักจะทำหน้าที่พิจารณาความผิด ข้อขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับทหารเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และ ศาลอาญาศึก แต่ละศาลก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ตามสถานการณ์ รู้อย่างนี้แล้วเวลาเกิดเหตุจะได้ฟ้องศาลถูกต้อง

ประเทศไทยมีกี่ศาล from Nanthapong Sornkaew

ศาลมี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

       เป็นศาลที่เพิ่งเกิดขึ้นในไทย เมื่อ พ.ศ. 2540 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เช่นเดียวกับศาลปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือ ถ้ามีข้อสงสัยใดใดเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และสงสัยว่าจะขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนี้ได้

        ศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลที่มีในบางประเทศ เช่น โปแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี ฯลฯ แต่ในสหรัฐอเมริกาก็มีผู้อธิบายว่า ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ก็มีลักษณะเป็นศาลรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน เพราะตัดสินคดีที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้ด้วย

        ในขณะที่ศาลยุติธรรม และ ศาลปกครอง มีคณะกรรมการศาลเป็นผู้ดำเนินการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลทหารก็มีรัฐมนตรีกลาโหม และผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร จังหวัดทหาร มณฑลทหาร เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาล

        ศาลรัฐธรรมนูญมีวิธีสรรหาผู้พิพากษาที่ซับซ้อนไม่น้อย กล่าวคือ คณะตุลาการมี 9 คน พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ “วุฒิสภา” จากบุคคลดังต่อไปนี้
        1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 3 คน
        2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน
        3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์อย่างแท้จริง จำนวน 2 คน
        4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง จำนวน 2 คน
       

ศาลมี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

และศาลรัฐธรรมนูญ ก็ยังเป็นศาลประเภทเดียวจาก 4 ศาลตาม ที่ไม่มีการกล่าวถึงอำนาจของศาลอย่างชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะในรัฐธรรมนูญนั้น ศาลอีก 3 ศาล จะมีการระบุอำนาจของศาลไว้ในมาตราแรกของส่วนนั้นเลย แต่ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญนั้น มาตราแรกจะระบุถึงการองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทันที โดยไม่ได้ระบุถึงอำนาจของศาลไว้แต่อย่างใดในมาตรานั้น

        แต่ในมาตราต่อๆไป ก็จะมีการกล่าวถึงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอยู่พอประมาณด้วย เช่นในมาตรา 212 จะระบุว่า “…บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้…” หรือในมาตรา 213 ก็มีการกล่าวไว้ว่า “…ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้…”

        จึงถือว่าเป็นศาลที่มีอำนาจมากทีเดียว ซึ่งเราคงจะเห็นได้จากสถานการณ์ทั่วไปในปัจจุบัน ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีการแสดงบทบาทเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองอย่างไรบ้างและด้วยเหตุที่ศาลตุลาการทั้งหลาย เป็นหน่วยงานที่มีบทบาท อำนาจ อิทธิพล เป็นอย่างมาก จึงถูกคาดหมายว่า จะต้องอยู่เป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของบ้านเมืองได้ตลอดไปเช่นกัน……..”


1. เตมีย์ชาดก – ( พระเตมีย์ใบ้ ), เว็บไซต์ธรรมะไทย (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

2. ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi), เว็บไซต์ trueปลูกปัญญา (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

3. ภาพการแสดงพิพิธภัณฑ์ศาลไทย, เว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

4. บทความ: ยืดอกเดินขึ้นศาล ตามรอยตุลาการไทย, เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์, วันที่ 23 สิงหาคม 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

5. กฎหมายตราสามดวง, เว็บไซต์ไทยลอว์ดอทคอม (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

6. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (กฎหมายและการศาล), เว็บไซต์หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

7. ข้อมูลเรื่องศาลทหาร (ประเทศไทย) ศาลปกครอง ศาลปกครอง (ประเทศไทย) ศาลรัฐธรรมนูญ และ ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย) จากวิกิพีเดียว (เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557)

ระบบศาลมีอะไรบ้าง

1. ศาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศาลยุติธรรม และ ศาลพิเศษ.
2. มีศาลสูงสุด 2 ศาล ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงาน.
3. ศาลทั้ง 2 ระบบอยู่ภายใต้หลักกฎหมายที่แตกต่างกัน.
4. บรรทัดฐานคำพิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลพิเศษอาจจะ แตกต่างกันในสาระสำคัญ.

ศาลของไทยแบ่งเป็นกี่ประเภท

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งใช้ในปัจจุบัน มาตรา 188 ถึงมาตรา 214 ศาลไทยมีสี่ประเภทดังต่อไปนี้ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร

ศาลชั้นต้นมีอะไรบ้าง

ศาลชั้นต้น (ประเทศไทย).
2.1 ศาลแพ่ง 2.1.1 ศาลแพ่ง 2.1.2 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ 2.1.3 ศาลแพ่งธนบุรี.
2.2 ศาลอาญา.
2.3 ศาลจังหวัด.
2.4 ศาลแขวง.
2.5 ศาลชำนัญพิเศษ.

ศาลมีกี่แผนก

ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น โดยศาลยุติธรรมมีจำนวน 274 ศาล และ 9 สาขา