เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


ความหมายของภาพตัด

         ภาพตัด หมายถึง การผ่าหรือตัดเนื้อวัสดุงานเพื่อแสดงรายละเอียดรูปร่างชิ้นงานภายใน เช่น รูเจาะ รูคว้าน ร่องลิ่ม หรือแสดงลักษณะประกอบกันของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านแบบ ดังรูป 9.1

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง



รูปที่ 9.1 ตัวอย่างภาพตัดที่แสดงรายละเอียดข้างใน

ในการเขียนแบบ การฉายภาพรายละเอียดเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนแบบซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นงานสามารถทำได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ดังนั้น เทคนิคในการเขียนแบบที่สามารถแสดงรายละเอียดภายในชิ้นส่วนต่างๆ คือ การสมมุติว่า ให้ชิ้นงานถูกตัดออกและภาพที่สมมุติให้ตัดนั้นเรียกว่า ภาพตัด โดยสมมุติให้มีแผ่นกระจกระนาบตัดผ่านผ่านตรงกลางวัตถุ ดังรูป 9.2 โดยแผ่นตัดเหมือนกับคมมีด แยกชิ้นงานออกเป็น 2 ส่วน

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

รูปที่ 9.2 แสดงการตัดชิ้นงานตามแนวตัด

ส่วนประกอบของภาพตัด
การเขียนภาพตัดเป็นการเขียนแบบภาพฉายด้านที่ต้องการแสดงให้เห็นรายละเอียดภายในชิ้นงานซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
                สัญลักษณ์เส้นลายตัด จะเขียนด้วยลายเส้นเต็มบางเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระดับ โดยมีระยะห่างระหว่างเส้นเท่ากันสม่ำเสมอในพื้นที่หน้าตัด ดังรูป 9.3


เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง



รูปที่ 9.3 ลักษณะเส้นลายตัดแบบต่าง

เส้นแนวตัด เป็นเส้นสมมติว่าตัดชิ้นงานผ่านแนวระนาบ แทนด้วยเส้นลูกโซ่หนัก ส่วนทิศทางการมองภาพจะเขียนด้วยหัวลูกศร ซึ่งเขียนด้วยเส้นเต็มหนักชี้เข้าหาเส้นแนวตัด ที่ปลายทั้งสองข้างมีตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่แสดงกำกับอยู่ข้างลูกศรด้วย ดังรูป 9.4


เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

รูปที่ 9.4 ลักษณะของเส้นแนวตัด


ชนิดของภาพตัด
ภาพตัดที่เขียนในแบบงานมีหลายชนิด การที่จะเขียนภาพตัดชนิดไหนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของงานแต่ละชนิด และความต้องการแสดงรายละเอียดส่วนใดของงาน ภาพตัดที่เขียนในแบบงาน มีดังนี้
      1 ภาพตัดเต็ม (FULL SECTION)
ภาพตัดเต็ม เป็นภาพที่ต้องการแสดงรายละเอียดภายในตลอดเต็มหน้าของชิ้นงานเสมือนผ่าแบ่งครึ่งชิ้นงานให้แยกออกจากกัน ดังรูป 9.5 แนวตัดในชิ้นงานระนาบเดียว หรือหลายระนาบ จะเรียกว่า ระนาบตัด ที่ทำให้เกิดพื้นที่ที่เรียกว่า พื้นที่ภาพตัด


เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

รูปที่ 9.5 แสดงพื้นที่ระนาบตัดชิ้นงานให้แยกจากกัน

เส้นที่แสดงตำแหน่งแนวตัด การเขียนแบบภาพฉาย เพื่อให้ทราบว่าแบบของชิ้นงานถูกตัดที่ตำแหน่งใด เส้นแสดงแนวตัดจะใช้เส้นศูนย์ใหญ่เขียนไว้ที่ขอบนอกทั้งสองข้างของชิ้นงาน ดังรูป 9.6 และยื่นออกมานอกของชิ้นงานประมาณ 10 มม. ที่ปลายเส้นแนวตัด จะมีลูกศรชี้ไปยังภาพที่แสดงภาพที่ถูกตัดหรือส่วนที่ไม่ได้ตัดออก โดยลูกศรห่างจากขอบงาน 8 มม. (สามารถเปลี่ยนระยะห่างตามความเหมาะสมของขนาดภาพฉาย)

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.6 แสดงภาพฉายปกติและภาพฉายแบบตัดเต็ม




2 ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
เป็นภาพที่ตัดวัตถุออก 1 ใน 4 ส่วนของภาพ ภาพตัดครึ่งนี้ส่วนมากจะใช้ตัดวัตถุที่สมมาตรกัน เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยตัดแยกตามเส้นศูนย์กลาง ส่วนที่ไม่ถูกตัดจะเขียนเป็นภาพปกติ ไม่ใช้เส้นประในภาพตัดครึ่ง จะใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น (ดังรูป 9.7)

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.7 ลักษณะของภาพตัดครึ่ง

การกำหนดขนาดจะเขียนเส้นกำหนดขนาดที่มีหัวลูกศรเพียงข้างเดียว และอีกด้านหนึ่งจะลากเส้นเลยเส้นศูนย์กลางไปพอประมาณ (ดังรูป 9.8)

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.8 ลักษณะของภาพตัดครึ่ง

ภาพตัดครึ่ง (HALF SECTION)
1. ในภาพตัดครึ่งไม่ต้องแสดงเส้นประในภาพซีกที่ไม่ได้ถูกตัดซึ่งจะเป็นภาพที่แสดงรายละเอียดภายนอกของชิ้นงาน
2. เส้นแบ่งซีกระหว่างครึ่งที่ถูกตัด กับซีกที่ไม่ถูกตัดให้แบ่งด้วยเส้นผ่านศูย์กลาง (เพราะชิ้นงานจริงไม่ถูกตัดจริงๆ เป็นการตัดตามจินตนาการเท่านั้น)
3. การวางภาพตามมาตรฐานยุโรป ถ้าภาพตัดวางในแนวนอน นิยมให้ซีกด้านที่ถูกตัดอยู่ทางด้านล่างของเส้นผ่านศูนย์กลาง
4. การกำหนดขนาดรูเจาะ สามารถกำหนดขนาดโดยใช้เส้นกำหนดขนาด ซึ่งมีหัวลูกศรข้างเดียว ปลายหางของลูกศรจะต้องลากให้เกินเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กน้อย

3 ภาพตัดเยื้องศูนย์ (OFFSET SECTION)

ภาพตัดเยื้องจะมีลักษณะพิเศษคือระนาบตัดเยื้องจะไปตามส่วนที่จะตัดส่วนที่สำคัญต่างๆ ของชิ้นงาน ภาพตัดเยื้องมีข้อดีคือ สามารถแสดงรูปร่างลักษณะ รูเจาะ หรือส่วนที่อยู่ภายในที่มีตำแหน่งไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน มาร่วมแสดงให้เห็นในแนวเดียวกัน (ดังรูป 9.9)

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

รูปที่ 9.9 แนวตัดและภาพชิ้นงานที่ได้จากการตัด OFFSET

การเขียนภาพฉายที่ได้จากการตัด OFFSET

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.10 แสดงภาพฉายที่ได้จากการตัดตามแนว A-A และ B-B

จากรูป 9.10 จะเห็นว่า ถ้าตัดตรงตามแนว A-A จะได้ภาพเกิดขึ้นภาพหนึ่ง และตัดตามแนว B-B จะได้ภาพเกิดขึ้นอีกภาพหนึ่ง ซึ่งจะต้องเขียนถึง 2 ภาพ เพื่อที่จะแสดงรายละเอียดภายในของรูปทั้งสอง
ดังนั้นวิธีการตัดแบบ OFFSET จึงเป็นลักษณะการนำเอาภาพที่เกิดขึ้นจากการตัดตรงทั้งสองแนวมารวมไว้ในภาพเดียวกัน และเขียนเส้นแนวตัดที่ทำให้เกิดภาพตามแนวตัด A-B โดยยกเว้นไม่ต้องเขียนเส้นแสดงรอยต่อของแนวตัดทั้งสองนั้น ดังรูปที่ 9.11 และรูป 9.12

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.11 แสดงการตัดแบบ OFFSET


เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.12 ภาพฉายและการแสดงแนวตัด OFFSET

4. ภาพตัดลักษณะพิเศษ
          4.1 ภาพตัดเฉพาะส่วน (PARTIAL SECTION)
ภาพตัดเฉพาะส่วนเป็นภาพตัดเพื่อแสดงรายละเอียดลักษณะรูปร่างที่อยู่ภายในชิ้นงานเฉพาะ บางทีก็เข้าใจแบบงานได้ เช่น บริเวณรูเจาะ ร่องลิ่ม การเขียนภาพตัดเฉพาะส่วนทำได้โดยการเขียนเส้นมือเปล่า (FREE HAND) เฉพาะบริเวณที่ต้องการแสดงรายละเอียด ดังรูป 9.13

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.13 ภาพตัดเฉพาะส่วน

4.2 ภาพตัดหมุนข้าง (ROTATED SECTION)
ภาพตัดหมุนข้าง เป็นภาพการเขียนเพื่อแสดงรูปร่างหน้าตัดของชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ทำได้โดยตัดบริเวณนั้น แล้วหมุนหน้างานไป 90 องศา เพื่อสามารถเข้าใจลักษณะหน้าตัดนั้นอย่างชัดเจน หรือยังสามารถเห็นลักษณะรูปร่าง สัดส่วนของชิ้นงานได้ตามปกติ ดังรูป 9.14

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.14 ภาพตัดหมุน

4.3 ภาพตัดหมุนเคลื่อน (REMOVEL SECTION)
ภาพตัดหมุนเคลื่อน เป็นภาพตัดที่ใช้ในกรณีที่ชิ้นงานมีรายละเอียดแต่ละช่วงแตกต่างกัน และต้องการแสดงให้เห็นพื้นที่หน้าตัดของแต่ละช่วงนั้น เพราะไม่สามารถแสดงโดยภาพตัดหมุนข้างได้ จะทำให้ยุ่งยากในการอ่านแบบ จึงจำเป็นต้องยกออกมาแสดงให้เห็น ดังรูป 9.15

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.15 ภาพตัดหมุนเคลื่อน

4.4 ภาพตัดหมุนโค้ง (ALIGNED SECTION)
ภาพตัดหมุนโค้ง เป็นภาพตัดที่แสดงรายละเอียดของส่วนที่เอียงหรือบิดไปจากแนวศูนย์กลาง โดยการหมุนโค้งหรือลากเส้นฉายให้มาอยู่ในระนาบเดียวกัน ดังรูป 9.16

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.16 ภาพตัดหมุนโค้ง

4.5 ภาพตัดย่อส่วน (CONVENTIONAL SECTION)
สำหรับวัตถุที่มีรูปร่างยาวมากๆ เช่น งานเพลากลม ท่อกลม แท่งโลหะ ถ้าเขียนความยาวจริงทั้งหมดลงไปในกระดาษเขียนแบบจะไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกระดาษเขียนแบบมีพื้นที่จำกัด ในลักษณะเช่นนี้ สามารถแก้ไขได้โดยใช้วิธีการตัดย่อส่วน การตัดย่อส่วนนี้จะย่อเฉพาะความยาว หน้าตัดของงานยังคงเดิมโดยจะย่อตรงกลางรูป มาตราส่วนต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม ลักษณะการตัดย่อรูปจะมีการเขียนแตกต่างกันไปตามลักษณะของวัตถุนั้นดังรูป 9.17

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.17 การตัดชิ้นงานย่อส่วนชนิดต่างๆ

5. ชิ้นงานที่ได้รับการยกเว้นการตัด
การเขียนแบบในชิ้นงานบางประเภท เช่น ซี่ล้อ หรือแขนพวงมาลัย จะเห็นว่า ถ้าตัดในแนวของการตัดจริงๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการอ่านและเขียนแบบอย่างมาก ดังนั้นในงานเขียนแบบจึงนิยม เขียนแบบ ดังรูป 9.18 และ 9.19

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.18 แสดงให้เห็นแนวตัดผ่านแขวนพวงมาลัยข้างเดียว แต่มีแขน 5 อัน
ในงานเขียนแบบจะเขียนให้มีเพียง 2 อัน เพื่อให้สมมาตรกัน

เส้นในการเขียนแบบมีกี่ชนิด อะไรบ้าง


รูปที่ 9.19 แสดงให้เห็นแนวตัดผ่านพวงมาลัย 2 อัน แม้ว่าแขนพวงมาลัยมีจำนวนไม่เท่ากัน
แต่ภาพสมมาตรเหมือนกัน

ชิ้นงานที่ยกเว้นไม่แสดงการตัด ได้แก่ ส่วนที่เป็นปีก (ดังรูป 9.20) เพราะถ้าแสดงลายตัดแล้วจะไปเหมือนกับรูปทรงตัน ชิ้นงานอีกประเภทหนึ่งที่ยกเว้นไม่แสดงการตัด คือ ชิ้นส่วนที่ไม่มีรายละเอียดภายใน เช่น ชิ้นส่วนจับยึดต่างๆ เพลาในสุด เป็นต้น ดังรูป

เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบมีกี่ชนิด

งานเขียนแบบจะใช้เส้นชนิดต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่างเพื่อเป็นการแสดง ความหมายของแบบงาน ให้ผู้อ่านแบบเข้าใจความหมายของแบบ และทาให้แบบมีความถูกต้องสมบูรณ์ เส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบตามมาตรฐาน DIN ISO 128-24 (1999-12) แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 0.25, 0.35, 0.5, 0.7, 1.0, 1.4 และกลุ่มเส้น 2.0 มิลลิเมตร ส่วนการ ...

เส้นที่ใช้ในการเขียนแบบมีความสําคัญอย่างไร

เส้นเป็นสัญลักษณ์ของงานเขียนแบบ เป็นภาษาที่ใช้สื่อความหมายในแบบ จึงมีความส าคัญในการเขียน แบบมาก ลักษณะละขนาดของเส้นที่แตกต่างกันย่อมสื่อความหมายต่างกัน เส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบต้องมี คุณภาพดี มีความคมชัด ความเข้ม แล้วความหนาแน่นสม่าเสมอเท่ากันตลอด

เส้นชนิดใดใช้สำหรับเขียนขอบรูป

2. เส้นขอบหรือเส้นกรอบ (Border line) เป็นเส้นแสดงกรอบรูป เพื่อกำหนดให้เห็นถึง ขอบเขตที่จะเขียนรูปให้อยู่ภายในกรอบที่กำหนด เส้นกรอบเป็นเส้นที่หนาและหนัก มาก มีความหนาของเส้น 0.5 - 1 มม. ดังรูปที่2.2 เมื่อติดกระดาษลงบนโต๊ะเขียน แบบแล้ว เราจะตีกรอบให้เส้นห่างจากขอบกระดาษ 1 ซม. โดยรอบทั้ง 4 ด้านของ กระดาษเขียนแบบ เพื่อ ...

เส้นประ ในงานเขียนแบบใช้งานอย่างไร

6. เส้นประหรือเส้นไข่ปลา(Hidden or Dotted line) เป็นเส้นแสดงวัตถุในส่วน ที่ถูกบังเอาไว้ หรือด้านหลังซึ่งมองไม่เห็น เช่น วัตถุหรือรูปทรงที่เขียนขึ้นมีมุมเว้า หรือรูปทรงต่างไป จากด้านหน้า ก็สามารถแสดงมุมเว้า หรือรูปทรงด้านหลังที่มองไม่เห็นนั้นด้วยเส้นประ เส้นประ เป็นเส้นเต็มบาง เส้นประมีลักษณะเป็นเส้นสั้น ๆ แต่ละเส้นมี ...