โครงสร้างโปรแกรมมีทั้งหมดกี่รูปแบบ

2.1 โครงสร้างโปรแกรม (program structure)
รูปแบบการสร้างโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ โปรแกรมที่ใช้รูปแบบพื้นฐานดังกล่าวมาประกอบกัน เรียกว่า โปรแกรมโครงสร้าง ซึ่งมีรายละเอียดดันนี้
1)โครงสร้างตามลำดับ (sequence structure) เป็นโครงสร้างแสดงขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามลำดับก่อน-หลัง ทำงานจากบนล่าง หรือทำงานจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด โดยมีจุดเริ่มต้นจุดเดียวและจุดสิ้นสุดจุดเดียว และแต่ล่ะขั้นตอนจะถูกประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแสดงผลได้ดังผังงานต่อไปนี้

ตัวอย่างที่1 โปรแกมคำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 10 คน และแสดงผลที่คำณวนได้
วิธีทำ
1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ คือ คำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3/1
2. แสดงผลลัพธ์ คือ แสดงการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ได้
3. ข้อมูลนำเข้า คือ คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนแต่ละคนจำนาน 10 คน
4. ตัวแปรจำนวน 11 ตัวแปร ตั้งแต่ score 1 ถึง score 10 และค่าเฉลี่ย ซึ่งกำหนด ดังนี้
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 1 แทนด้วย score 1
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 2 แทนด้วย score 2
… … … …
– คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนคนที่ 10 แทนด้วย score 10
5. ขั้นตอนการประมวล
– รับข้อมูลคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 คือ score 1 ถึง score 10
– คำนวณหาค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1
– แสดงผลการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกาปีที่ 3/1
6. จบการทำงาน
– ผลการคำนวณค่าเฉลี่ยคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 3/1 แทนด้วย mean

เริ่มต้น

รับข้อมูล score 1 , score 2 , score 3 , score 4 , score 5 , score6 ,
score 7 , score 8 , score 9 , score 10

คำนวณหาค่า mean
(score 1+ score 2+ score 3+ score 4+ score 5+ score 6+ score 7+ score 8
+ score 9+ score 10) /10

แสดงผลการคำนวณค่า mean

จบการ

2)โครงสร้างแบบมีเลือก (selection structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสอนใจเลือกว่าจะใช้วิธีใด โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือไม่ หากเป็นจริงจะต้องไปทำคำสั่งชุดหนึ่ง แต่ถ้าป็นเท็จต้องไปทำคำสั่งอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1) เลือกทำงานเฉพาะเงื่อนไขเป็นจริง เป็นการทำงานที่ตรวจสอบเงื่อนไขจริงเท่านั้น แสดงได้ดังผังงานต่อไปนี้

เงื่อนไข

คำสั่ง A

จบการทำงาน

ตัวอย่างที่ 2 โปรแกรมการแสดงผลการสอบถามทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยถ้าคะแนน 50 ขึ้นไป จะแสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน”
วิธีทำ
1. สิ่งที่โจทย์ต้องการ คือ ตรวจสอบคะแนนว่าผ่านหรือไม่ แล้วแสดงผลการตรวจสอบคะแนนนั้น
2. แสดงผลลัพธ์ คือ แสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน”
3. ข้อมูลนำเข้า คือ คะแนนที่จะใช้ตรวจสอบ
4. ตัวแปรที่ใช้มีจำนวน 1 ตัวแปร คือคะแนนที่รับเข้ามาตรวจ แทนด้วย score
5. ขั้นตอนการประมวลผล
– รับข้อมูลคะแนนการแสดงผลการสอบทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ คือ score
– ตรวจสอบค่าคะแนน 50 คะแนน ขึ้นไป หรือไม่
– แสดงผล กรณีที่ได้ 50 คะแนนขึ้นไป แสดงข้อความว่า “นักเรียนสอบผ่าน” แต่ถ้าได้น้อยกว่า 50 คะแนน ให้
จบการทำงาน
6. จบการทำงาน

เริ่มต้น

รับข้อมูล

เท็จ/false
Score > =50
จริง/true
แสดงผล “นักเรียนสอบ

จบการทำงาน

2.2) เลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการทำงานที่ตรวจสอบเงื่อนไขถ้าเป็นจริงให้ทำคำสั่งหนึ่งและถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง แสดงได้ดังผังงานต่อไปนี้

เงื่อนไข
คำสั่ง A

คำสั่ง B

โครงสร้างของโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมจะมีรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ ( Sequence structure ) เป็นโครงสร้างที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน ก่อน-หลัง ทำงานจากบนลงล่าง หรือจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด

โครงสร้างโปรแกรมมีทั้งหมดกี่รูปแบบ

2. โครงสร้างแบบทางเลือก ( Selection Structure ) คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นจริงให้ทำในคำสั่งสั่งชุดหนึ่ง และถ้าตรวจสอบแล้วเป็นเท็จให้ทำในคำสั่งอีกชุดหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

   2.1. เลือกทำเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริง เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น ดังผังงานต่อไปนี้

   2.2. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขโดยถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำในคำสั่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง ดังผังงานดังต่อไปนี้

   2.3. เลือกทำแบบซ้ำซ้อน เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่มีลักษณะคล้ายๆกับเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างจริงและเท็จแต่มีข้อแตกต่างคือเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงหรือเท็จจะมีเงื่อนไขเพื่อทำการตรวจสอบอีกรอบ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดังผังงานต่อไปนี้

   2.4. คำสั่งแบบหลายทางเลือก เมื่อมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข และทำตามคำสั่งเมี่อเงื่อนไขตรงกับคำสั่งที่กำหนดไว้ ดังผังงานต่อไปนี้

โครงสร้างโปรแกรมมีทั้งหมดกี่รูปแบบ

3. โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ (Iteration Structure) เป็นโครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ โดยทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การแสดงข้อมูลของนักเรียนจากฐานข้อมูลโดยกำหนดจำนวนการแสดง ดังตัวอย่าง

    เมื่อกำหนดจำนวนที่แสดงหรือกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรแล้ว เงื่อนไขจะทำการตรวจสอบว่าตัวแปรมีค่าเท่าไหร่ แล้วทำการค้นหาข้อมูลนักเรียนตามจำนวนที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงออกจาก การวนซ้ำ ( Loop ) เช่น ถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 10 ก็แสดงว่าต้องการแสดงข้อมูลของนักเรียน 10 คน และเมื่อครบ 10 คนจะทำตามเงื่อนไขถัดไปหรือออกจากการวนซ้ำ

โครงสร้างโปรแกรมมีทั้งหมดกี่รูปแบบ