ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภรรยา มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

, 27/11/202023/02/2022, Law - Accounting - Tax, Line Today, ความรู้ทางกฎหมาย, ด้านกฎหมาย, ด้านกฏหมาย, กฎหมาย, สินสมรส, สินส่วนตัว,

23 กุมภาพันธ์ 2565

ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภรรยา มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

สินสมรส” และ “สินส่วนตัว

ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน เมื่อชายหญิงได้ทำการสมรสกันตามกฎหมายแล้ว ทรัพย์สินต่าง ๆ ของแต่ละฝ่าย ที่มีอยู่ก่อนสมรสหรือจะมีขึ้นภายหลังการสมรสต้องมีการจัดระบบใหม่ ซึ่งกฎหมายได้แยกทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภท คือ

• สินสมรส

• สินส่วนตัว (สินเดิม)

สินสมรส

ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่เป็นสินส่วนตัวแล้ว ถ้าคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้มา ก็ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เป็นต้น

กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้ที่ทำเป็นหนังสือ แต่พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้น ต้องระบุว่าให้เป็นสินสมรสด้วย ถ้าไม่ระบุก็ถือเป็นสินส่วนตัว

ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว คำว่า “ดอกผล” หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์นั้น ซึ่งอาจเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากความผูกพันตามกฏหมายก็ได้ เช่น มีแม่วัว ลูกวัวก็เป็นดอกผลธรรมชาติ มีรถแล้วเอารถไปให้เขาเช่า ค่าเช่าก็เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย เป็นต้น

สินส่วนตัว

ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นกฎหมายให้ถือเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง นอกจากนี้ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพไป เช่น ขายไปได้เงินมาเงินนั้นก็จะกลายเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน หรือ เอาเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อของสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นสินส่วนตัวด้วย

กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น บ้าน ที่ดิน แก้วแหวน เงิน ทอง ถ้ามีอยู่ก่อนสมรสกฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้นั้น

ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับตามสมควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น

เครื่องใช้สอยส่วนตัว เช่น แว่นตา แปรงสีฟัน เป็นต้น เครื่องประดับกาย เช่น สร้อยคอ แหวน กำไล ต่างหู แต่ต้องพิจารณาถึงฐานะด้วย เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ ต้องดูว่าอาชีพนั้นจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เช่น เป็นหมอก็ต้องมีเครื่องมือตรวจโรค

ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสไม่ว่าโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา ในกรณีนี้หมายถึงการได้มาในส่วนตัวโดยแท้ ดังนั้น กฎหมายจึงให้ถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละคน

tag

สินส่วนตัว

                  ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ที่ไม่ได้แยกเป็นสินสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามกฎหมายปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทเท่านั้น คือสินส่วนตัวและสินสมรส ฉะนั้น จึงต้องศึกษาว่าทรัพย์สินอย่างใดเป็นสินส่วนตัวและอย่างใดเป็นสินสมรส เพราะการจัดการทรัพย์สินสองประเภทแตกต่างกัน กฎหมายได้วางหลักไว้ว่า "สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน"

1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส  ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสนี้ ก่อนใช้บรรพ 5 ฉบับปัจจุบัน กฎหมายได้บัญญัติให้เป็นสินเดิม แต่ถ้าคู่สมรสประสงค์ที่จะให้เป็นสินส่วนตัว จะต้องระบุไว้ว่าเป็นสินส่วนตัว การระบุเช่นนั้นก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวในภายหลัง ฉะนั้นเพื่อขจัดปัญหา กฎหมายปัจจุบันจึงได้กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดที่มีอยู่ก่อนสมรสเป็นสินส่วนตัว โดยไม่ต้องระบุว่าทรัพย์ชิ้นนี้ชิ้นนั้นเป็นส่วนตัว คำว่า "สินส่วนตัว" หมายถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนการสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะใหญ่หรือเล็ก จะมีค่าหรือไม่มีค่ารวมตลอดทั้งทรัพย์สิทธิ์ต่างๆ เป็นต้น

     2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หมายความว่า ทรัพย์สินเหล่านี้แม้ว่าได้มาระหว่างสมรสไม่ว่าด้วยประการใดๆ เช่น เอาสินสมรสไปซื้อถ้าหากพิสูจน์ได้ว่า เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวถือว่าเป็นสินส่วนตัวทั้งสิ้น สำหรับ "เครื่องใช้ส่วนตัว" นั้น  ก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไปตามข้อเท็จจริงว่าเป็นเครื่องใช้ส่วนตัวจริงหรือไม่ "เครื่องแต่งกาย" ก็เช่น เสื้อผ้า กางเกง กระโปรง "เครื่องประดับ" เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน แต่ทั้งหมดนี้จะต้องมีตามควรแก่ฐานะด้วย เช่น มีฐานะปานกลางแต่ซื้อสร้อยข้อมือฝังเพชรราคาเป็นแสน จะถือว่าเป็นสินส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรมนัก ส่วน "เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง" นั้น จะเป็นสินส่วนตัวได้ก็ต้องเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพจริงๆกล่าวคือ ในการประกอบวิชาชีพหรืออาชีพนั้นๆ จะขาดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้

3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา  คำว่า "รับมรดก" หมายความถึงการที่ผู้ให้ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ถึงแก่ความตายแล้ว กล่าวคือ ถ้าเป็นโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หาแล้ว ทรัพย์สินเหล่านั้นจะตกเป็นสินส่วนตัว แม้ว่าจะได้รับทรัพย์สินเหล่านั้นมาในระหว่างสมรสก็ตาม คำว่า "โดยการรับมรดก" นั้น หมายถึงการรับมรดกไม่ว่าจะเป็นการรับมรดกในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือทายาทโดยธรรม ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวทั้งสิ้น ส่วน "การให้โดยเสน่หา" นั้นหมายถึงการให้โดยผู้รับมิต้องตอบแทนอย่างใดๆ ทั้งสิ้น ทรัพย์สินที่ได้รับมานั้นก็เป็นสินส่วนตัว แม้ว่าจะได้รับมาในระหว่างสมรสก็ตาม ฝ่ายใดให้ก็เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น

                          สินสมรสนั้นดูจากตัวอักษรก็น่าจะเข้าใจความหมายได้ว่า เป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส แต่ถ้าจะให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสเพียงอย่างเดียวก็จะเห็นว่าสินสมรสระหว่างสามีภริยาจะมีน้อยมาก ผู้ร่างกฎหมายประสงค์จะให้สามีภริยามีส่วนร่วมกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสามีภริยา ได้มั่นคงไม่ถูกบั่นทอนได้ง่าย จึงได้กำหนดให้ดอกผลอันเกิดจากสินส่วนตัวเป็นสินสมรสด้วย ซึ่งเป็นการขัดกับหลักทั่วไป เพราะโดยปกติใครเป็นเจ้าของทัพย์สินสิ่งใดย่อมเป็นเจ้าของดอกผลอันเกิดจากทัพย์สินนั้น แต่เมื่อกฎหมายครอบครัวได้บัญญัติไว้ก็เท่ากับว่าเป็นการยกเว้นจากหลักทั่วไป ก็จำต้องปฏิบัติตาม เรื่องนี้แตกต่างไปจากกฎหมายเดิม เพราะแต่ก่อนดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินส่วนตัว ในเรื่องสินสมรสนี้กฎหมายได้วางหลักไว้ว่า "สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน"

1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส  ทรัพย์สินใดๆก็ตามที่ได้มาในระหว่างสมรสนอกเหนือไปจากที่ถูกกำหนดไว้เป็นสินส่วนตัวแล้วย่อมเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน เงินหรือทรัพย์อื่นที่ได้มาในระหว่างสมรส , ภริยาทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในระหว่างที่ยังอยู่ร่วมกัน เมื่อหย่ากันสิทธิตามสัญญาเป็นสินสมรส หรือสามีทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ขณะที่เป็นสามีภริยากัน สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสินสมรส เพราะย่อมเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส , เงินบำนาญหรือสิทธิในการรับบำนาญได้มาในระหว่างสมรสแม้จะรับราชการอยู่ก่อนสมรสก็ตาม เป็นสินสมรส  เป็นต้น

2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส  คือในระหว่างสมรสหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทรัพย์สินมาและทรัพย์สินนั้นจะเป็นสินสมรสต้องเป็นการได้มาโดย
                 2.1 พินัยกรรม หมายความว่า พินัยกรรมต้องเป็นหนังสือและระบุว่าเป็นสินสมรสไม่ใช่การเป็นทายาทโดยธรรม
                 2.2 การให้เป็นหนังสือ และหนังสือนั้นระบุว่าเป็นสินสมรส
                 หากพินัยกรรมหรือการยกให้เป็นหนังสือมิได้ระบุให้เป็นสินสมรส หรือเป็นการให้ด้วยวาจา ทรัพย์สินนั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัว

3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว  ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นี้มิได้กำหนดไว้เป็นพิเศษว่าอะไรคือดอกผล เพราะฉะนั้น ต้องถือหลักทั่วไปซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่า ดอกผลนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
                 3.1 ดอกผลธรรมดา กล่าวคือ บรรดาสิ่งทั้งปวงซึ่งได้มาเพราะการใช้ของนั้นอันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ดังเช่น ผลไม้ น้ำนม ขนและลูกของสัตว์ เหล่านี้ย่อมสามารถจะถือเอาได้เมื่อขาด จากสิ่งนั้นๆ
                 3.2 ดอกผลนิตินัย กล่าวคือ ดอกเบี้ย กำไร ค่าเช่า ค่าปันผล และลาภอื่นๆ ที่ได้เป็นครั้งคราวแก่เจ้าทรัพย์จากผู้อื่น เมื่อได้ใช้ทรัพย์นั้นดอกผลเหล่านี้ย่อมคำนวณและถือเอาได้ตามรายวัน
                 สำหรับเรื่องดอกผลนี้เฉพาะในเรื่องครอบครัวแตกต่างกับหลักทั่วไป ดังได้กล่าวมาแล้ว เพราะปกติแล้วใครเป็นเจ้าของทรัพย์อันใดย่อมเป็นเจ้าของดอกผลด้วย ฉะนั้น ดอกผลของสินสมรสย่อมเป็นสินสมรส แต่ในกรณีถ้าทรัพย์สินเป็นสินส่วนตัว ดอกผลของทรัพย์แทนที่จะเป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกับทรัพย์ แต่กลายเป็นทรัพย์ของทั้งสองคนซึ่งเรียกว่าสินสมรส

                 สำหรับเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานี้ "หากเป็นที่สงสัยว่าจะเป็นสินสมรสใช่หรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส" บทสันนิษฐานของกฎหมายนี้เป็นบทสันนิษฐานไม่เด็ดขาด กล่าวคือ หากคู่สมรสฝ่ายใดมีปัญหาว่าทรัพย์สินในส่วนนี้จะเป็นส่วนตัวหรือสินสมรสให้ถือว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่ถือว่าเป็นสินส่วนตัวจะต้องเป็นฝ่ายนำสืบ แต่จะนำข้อสันนิษฐานนี้ไปใช้กับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่สามีภริยากันไม่ได้

    

ทรัพย์สิน ระหว่าง สามี ภรรยา มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
                    
ทนายอภินันท์ อากาศวิภาต       
   โทร 081-8491969            

 

ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาแบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

ระหว่างสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สินส่วนตัวและสินสมรส เมื่อ มีการจัดการทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ไม่ว่าจะโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยสัญญาก็ดี ถ้าก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้นแก่สามีภริยาย่อมไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าก่อให้เกิดหนี้สินขึ้น

สินสมรสเป็นของใคร

สินสมรส” คือ ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และบุคคลทั้งสอง จะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ร่วมกัน เช่น บ้าน, คอนโด รถยนต์ หรือแม้แต่ เงินเดือน รวมไปถึงเงินโบนัส เป็นต้น

สินสมรสในข้อใดถูกต้อง

สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาหรือหาเพิ่มเติม หลังการจดทะเบียนสมรส แม้สามี-ภรรยาจะแยกกันอยู่ โดยยังไม่ได้ทำการหย่าตามกฎหมาย หากแต่ละฝ่ายได้รับทรัพย์สินอะไรมาทุกอย่างยังคงเป็นสินสมรส

สินสมรสมาตราใด

มาตรา ๑๔๗๔ สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน (๑) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส (๒) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส (๓) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว