สายตีเกลียวคู่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

บทที่ 7 > 7.3 สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล > สายคู่บิดเกลียว 7/11    สายคู่บิดเกลียว
            สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว ทั้งนี้เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น(ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP)
สายตีเกลียวคู่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
     เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP)
สายตีเกลียวคู่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
      เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวันคือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน
สายตีเกลียวคู่มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
         1.1) �������Ǥ��Ẻ����ͧ�ѹ�ѭ�ҳú�ǹ���ͪ�Դ���������ǹ (Un-shielded Twisted Pair : UTP) ����µ�����Ǥ��������թ�ǹ��鹹͡ ������дǡ㹡���駧� ������ö��ͧ�ѹ���ú�ǹ�ͧ�����������俿������¡�����µ�����Ǥ�� ��Դ������ǹ (STP) ����к�ǧ�����Ѿ��Ẻ������ �Ѩ�غѹ�ա�û�Ѻ�س���ѵ����բ�� ����ö��Ѻ�ѭ�ҳ��������٧�� ������ͧ�ҡ���Ҥ��٧�֧������㹡�����������ػ�ó�����͢���

สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลบการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้น เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(นิยมนำมาใช้เป็นสายโทรศัพท์)

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้น ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวัน คือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน

Unshielded Twisted : UTP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยูทีพี สายสัญญาณประเภทนี้เป็นสายบิดคู่ตีเกลียวที่ให้ในระบบวงจรโทรศัพท์ตั้งเดิม ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น สายยูทีพีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้ปรับปรุงคุณสมบัติจนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ สายยูทีพีใช้ลวดทองแดง 8 เส้น ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้เพียง 2 หรือ 4 เส้น ซึ่งต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งเป็นตัวต่อที่มีลักษณะคล้ายกับหัวต่อในระบบโทรศัพท์ทั่วไป แต่ในระบบโทรศัพท์ จะเรียกหัวต่อว่า RJ 11 การที่มีสายทองแดงไว้หลายเส้นก็เพื่อให้หัวต่อ RJ 45 ซึ่งเป็นหัวต่อมาตรฐานสามารถเลือกใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น

+ ใช้สายทองแดงตั้งแต่ 3 - 8 เส้น เป็นสายสัญญาณ 10 เมกะบิตของ อีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE-T

+ ใช้สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 เมกะบิต ของอีเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T

+ ใช้สายทองแดง 8 เส้น เป็นสายสัญญาณของเสียง                        

+ ใช้สายทองแดง 2 เส้น สำหรับระบบโทรศัพท์        

 


รูปสาย Unshielded Twisted Pairs (UTP) 

 

 

คุณสมบัติพิเศษของสายบิดคู่ตีเกลียว
     
การใช้สายบิดคู่ตีเกลียวในการรบส่งสัญญาณนั้นจำเป็นต้องใช้สายหนึ่งคู่ในการส่งสัญญาณ และอีกหนึ่งคู่ในการรับสัญญาณ ซึ่งในแต่ละคู่สายจะมีทั้งขั้วบวกและขั้วลบ ในการทำเช่นนี้เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า "Differential Signaling" ซึ่งเทคนิคนี้คิดค้นขึ้นมาเพื่อจะกำจัดคลื่นรบกวน (Electromagnetic Noise) ที่เกิดกับสัญญาณข้อมูล ซึ่งคลื่นรบกวนนี้เกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดขึ้นกับสายสัญญาณแล้วจะทำให้สัญญาณข้อมูลยากต่อการอ่านหรือแปลความหมาย
มาตรฐานสายสัญญาณ
      สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EIA (Electronics Industries Association) และสมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หรือ TIA (Telecommunication Industries Association) ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการผลิตสาย UTP โดยมาตรฐานนี้ได้แบ่งประเภทของสายออกเป็นหลายประเภทโดยแต่ละประเภทเรียกว่า Category N โดย N คือหมายเลขที่บอกประเภท ส่วนสถาบันมาตรฐานนานาชาติ (International Organization for Standardization) ได้กำหนดมาตรฐานนี้เช่นกัน โดยจะเรียกสายแต่ละประเภทเป็น Class A-F คุณสมบัติทั่วไปของสายแต่ละประเภทเป็นดังนี้

          Category 1 / Class A : เป็นสายที่ใช้ในระบบโทรศัพท์อย่างเดียว โดยสายนี้ไม่สามารถใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ สายโทรศัพท์ที่ใช้ก่อนปี 1983 จะเป็นสายแบบ Cat 1
           Category 2 / Class B : เป็นสายที่รองรับแบนด์วิธได้ถึง 4 MHz ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลแบบดิจิตอลได้ถึง 4 MHz ซึ่งจะประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 3 / Class C : เป็นสายที่สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 16 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 4 : ส่งข้อมูลได้ถึง 20 Mbps และมีสายคู่บิดเกลียวอยู่ 4 คู่
           Category 5 / Class D : ส่งข้อมูลได้ถึง 100 Mbps โดยใช้ 2 คู่สาย และรับส่งข้อมูลได้ถึง 1000 mbpsเมื่อใช้ 4 คู่สาย
           Category 5 Enhanced (5e) : เช่นเดียวกับ Cat 5 แต่มีคุณภาพของสายที่ดีกว่า เพื่อรองรับการส่งข้อมูลแบบฟูลล์ดูเพล็กซ์ที่ 1000 Mbps ซึ่งใช้4 คู่สาย
           Category 6 / Class E : รองรับแบนด์วิธได้ถึง 250 MHz
           Category 7 / Class F : รองรบแบนด์วิธได้ถึง 600 MHz และกำลังอยู่ในระหว่างการวิจัย
           มาตรฐาน TIA/EIA นั้นได้กำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ของสายสัญญาณ UTP ดังนี้
           - ค่าความต้านทาน (Impedance)  :  โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ที่ 100 Ohm + 15%
           - ค่าสูญเสียสัญญาณ (Attenuation) : ของสายที่ความยาว 100 เมตร หรือ อัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งต่อกำลังสัญญาณที่วัดได้ที่ปลายสาย โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB)
           - NEXT (Near-End Cross Talk) : เป็นค่าของสัญญาณรบกวนของสายคู่ส่งต่อสายคู่รับที่ฝั่งส่งสัญญาณ โดยวัดเป็นเดซิเบลเช่นกัน
           - PS-NEXT (Power-Sum NEXT) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากสัญญาณรบกวน NEXT ของสายอีก 3 คู่ที่มีผลต่อสายคู่ที่วัด ค่านี้จะมีผลเมื่อใช้สายสัญญาณทั้งคู่ในการรับส่งสัญญาณ เช่นกิกะบิตอีเธอร์เน็ต 
           - FEXT (Far-End Cross Talk) : จะคล้ายกับ NEXT แต่เป็นการวัดค่าสัญญาณรบกวนที่ปลายสาย
           - EFEXT (Equal-Level Far-End Cross Talk) : เป็นค่าที่คำนวณได้จากค่าสูญเสียของสัญญาณ (Attenuation) ลบด้วยค่า FEXT ดังนั้น ELFEXT ยิ่งแสดงว่าค่าสูญเสียยิ่งสูงด้วย
           - PS-ELFEXT (Power-Sum ELFEXT): เป็นค่าที่คำนวณคล้าย ๆ กับค่า PS-NEXT คือเป็นค่าที่คำนวณได้จากการรวม ELFEXT ที่เกิดจากสายสามคู่ที่เหลือ
           - Return Loss : เป็นค่าที่วัดได้จากอัตราส่วนระหว่างกำลังสัญญาณที่ส่งไปต่อกำลังสัญญาณที่สะท้อนกลับมายังต้นสาย
           - Delay Skew : เนื่องจากสัญญาณเดินทางบนสายสัญญาณแต่ละคู่ด้วยเวลาที่ต่างกันค่าดีเลย์สกิวคือ ค่าแตกต่างระหว่างคู่ที่เร็วที่สุดกับคู่ที่ช้าที่สุด

หัวเชื่อมต่อ
  
   สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11 ซึ่งเป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้ และอีกอย่างหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเลียว 4 คู่ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปจะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45

 



รูป สาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45


    การทำสายแพทช์คอร์ด หรือสายที่เชื่อมระหว่างฮับกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นปลายสายทั้งสองข้างจะต้องเข้าตามมาตรฐาน
EIA/TIA 568B ส่วนสายครอสส์โอเวอร์ หรือสายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างฮับกับฮับ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์นั้นปลายสายด้านหนึ่งต้องเข้าแบบ EIA/TIA 568A ส่วนปลายสายอีกด้านต้องเข้าแบบ EIA/TIA 568B

 

การเข้าหัวสาย

หลักการและเหตุผล

            ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายคือ สายสัญญาณ UTP ซึ่งเป็นสายสัญญาณทำจากสายทองแดง 8 เส้น พันเป็นคู่ ๆ ได้ 4 คู่อยู่ภายในฉนวน ซึ่งมีราคาไม่แพงแล้วสามารถติดตั้งเองได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในการทดลองนี้จะให้นักศึกษาได้รู้จักและได้ทดลองการเข้าหัวสาย UTP ในแบบต่าง ๆ และทราบถึงการเลือกใช้สาย UTP แบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายอย่างถูกต้อง

   อุปกรณ์การเข้าหัวสาย

 

มาตราฐานการเข้าหัวสายแบบ EIA/TIA 568A และ EIA/TIA 568B

 

            สาย UTP (Unshielded Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณที่ผลิตตามมาตรฐาน EIA/TIA 568 ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานต่อ 1 ช่วงสายสัญญาณไม่เกิน 100 เมตร ซึ่งสาย UTP จะประกอบด้วยสายสัญญาณ 4 คู่ (8เส้น) ที่มีสีระบุเพื่อแยกสายออกจากกันอยู่ 4 สี การนำสายสัญญาณไปใช้งานจะต้องมีการนำสายสัญญาณเข้าหัว RJ-45 เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง NIC กับสายสัญญาณ UTP โดยการเข้าหัวสายมีมาตรฐาน 2 แบบ คือ EIA/TIA 568A และ EIA/TIA 568B โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเข้าหัวดังนี้

1.        คีมเข้าหัวสาย (ดังรูปด้านบน)

2.        อุปกรณ์ตัดแต่งสายสาย เช่น คัตเตอร์, มีด, คีม เป็นต้น

3.        เคเบิลแอนาไลเซอร์ ( Cable analyzer ) เครื่องมือวัดสายสัญญาณ

EIA/TIA 568A

EIA/TIA 568B

Pin

Function

สีของสาย

Pin

Function

สีของสาย

1

Transmit

ขาวเขียว

1

Transmit

ขาวส้ม

2

Transmit

เขียว

2

Transmit

ส้ม

3

receive

ขาวส้ม

3

receive

ขาวเขียว

4

Not used

น้ำเงิน

4

Not used

น้ำเงิน

5

Not used

ขาวน้ำเงิน

5

Not used

ขาวน้ำเงิน

6

receive

ส้ม

6

receive

เขียว

7

Not used

ขาวน้ำตาล

7

Not used

ขาวน้ำตาล

8

Not used

น้ำตาล

8

Not used

น้ำตาล

 

              มาตรฐานการเข้าหัวสาย

 

 

 

 

 

 

 

 


จากรูปเป็นมาตรฐานการเข้าหัวสาย 2 แบบโดยการเข้าหัวสายคือการเรียงสายสัญญาณตามสีดังรูปแล้วตัดให้ส่วนหัวของสายสัญญาณให้เสมอกันทุกเส้นแล้วทำการสอดเข้าไปในหัว RJ45 โดยมีลำดับการเข้าหัวสายดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการเข้าหัวสาย

  1. นำสาย UTP ออกมาคลี่ให้เป็นเส้นเดี่ยวเรียงกัน 8 เส้นโดยเรียงสีตามมาตรฐาน
  2. ตัดปลายสายสัญญาณให้เสมอกันทุกเส้น
  3. หันหัว RJ-45 ตั้งขึ้นและหันด้านที่มีโลหะ 8 ซี่เข้าหาตัว(นักศึกษาจะสามารมองเห็นโลหะสีทองได้)
  4. สอดสายสัญญาณที่เรียงอย่างถูกต้องตามรูป EIA/TIA 568A หรือ EIA/TIA 568B ให้สายเส้นที่ 1 อยู่ด้านซ้ายมือแล้วสอดขึ้นไปเข้ากับหัว RJ-45 (รูปใช้การเข้าหัวสายด้วยมาตรฐาน EIA/TIA 568A)

มีข้อพิจารณาหลักก่อนที่จะนำไปย้ำด้วยที่เข้าหัวมีอยู่สองประการคือ

เมื่อมองที่ส่วนบนของหัว RJ-45 ควรที่จะเห็นหน้าตัดของสายทองแดงอย่างชัดเจนดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 ที่หัว RJ-45 สังเกตให้ดีที่ด้านล่างของหัวมีส่วนที่จะสามารถโค้งงอลงมาเพื่อยึดสายฉนวนของสาย UTP ให้ติดกับตัว RJ-45 อย่างแน่นหนา ฉะนั้นในการปอกสายฉนวนของสาย UTP จะต้องพิจารณาให้ฉนวนยื่นเข้าไปในส่วนของหัว RJ-45 จนล้ำเข้าไปเกินส่วนยึดดังกล่าว

 

  1. นำหัว RJ-45 เข้าไปย้ำหัวเพื่อยึดสาย UTP ติดแน่นกับหัว RJ-45 จากรูปด้านบนเห็นได้ว่าส่วน A จะทำการยึดสาย UTP ให้ติดแน่นกับหัว RJ-45 ส่วน B จะทำให้ขาโลหะสี่ทองสัมผัสกับสายทองแดงในสายสัญญาณ

 

การเข้าหัว RJ-45

การเข้าหัวแบบสายตรง ( Straight-through cable EIA/TIA 568B )

ปลายสายด้านที่ 1

ลำดับสาย

การเรียงสี

ปลายสายด้านที่ 2

1

ขาว-ส้ม

2

ส้ม

3

ขาว-เขียว

4

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

6

เขียว

7

ขาว-น้ำตาล

8

น้ำตาล

 

อุปกรณ์ต้นทาง

อุปกรณ์ปลายทาง

HUB

computer

Switch

computer

Router

Computer & Switch

การใช้งานสาย Through เช่น จาก Swith ไปยัง computer หรือจาก router ไปยัง Swith ให้เชื่อมต่อแบบ EIA/TIA 568B (สาย Through) ทั้งสองข้างหัวท้าย

 

การเข้าหัวแบบสายไขว้ ( Crossover cable EIA/TIA 568A & 568B )

ปลายสายด้านที่ 1

ลำดับสาย

การเรียงสี

ลำดับสาย

การเรียงสี

ปลายสายด้านที่ 2

1

ขาว-เขียว

1

ขาว-ส้ม

2

เขียว

2

ส้ม

3

ขาว-ส้ม

3

ขาว-เขียว

4

น้ำเงิน

4

น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

5

ขาว-น้ำเงิน

6

ส้ม

6

เขียว

7

ขาว-น้ำตาล

7

ขาว-น้ำตาล

8

น้ำตาล

8

น้ำตาล

 

อุปกรณ์ต้นทาง

อุปกรณ์ปลายทาง

HUB

HUB

Switch

Switch

Switch

HUB

Computer

Computer

Router

Computer & Switch

การใช้งานสาย Cross เช่น จาก Swith ไปยัง Swith , จาก computer ไปยัง computer , จาก router (ethernet) ไปยัง computer การเข้าสายโดยข้างหนึ่งเป็นแบบ EIA/TIA 568B (สาย Through) และอีกข้างเป็น EIA/TIA 568A (สาย Cross)

 

การทดสอบสาย UTP
   เมื่อติดตั้งสาย UTP เสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การทดสอบสายสัญญาณดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบสาย UTP จะเรียกว่าเคเบิลแอนาไลเซอร์ (Cable Analyzer)
สิ่งที่ทดสอบสายสัญญาณนั้นมีดังต่อไปนี้
 • Wire map: คือการทดสอบสายสัญญาณว่าติดตั้งถูกต้องหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่ต้องทดสอบคือ
   • ทดสอบการสิ้นสุดสายที่ปลายทั้งสองด้าน
   • ทดสอบความต่อเนื่องของสาย หรือสายขาดระหว่างปลายทั้งสองด้านหรือไม่
   • ทดสอบว่าสายสัญญาณวงจรแต่ละคู่วงจรปิดหรือไม่
   • การทดสอบการครอสส์โอเวอร์สาย
 • ความยาวสาย (length): ซึ่งสาย UTP ที่ใช้กับระบบอีเธอร์เน็ตต้องไม่เกิน 100 เมตร
 • ค่าคุณสมบัติของสาย ดังที่ได้กำหนดตามมาตรฐาน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเหตุต่างๆเหล่านี้
     ปัญหาส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้ พอจะแยกสาเหตุออกได้ดังนี้
     1. การเข้าหัวสายไม่ดี ทำให้เกิดปัญหา Crosstalk ทำให้เกิดปัญหา เชื่อมต่อได้บ้างไม่ได้บ้าง ต้องคอยขยับสาย รวมทั้งเกิดปัญหา Runt Frame อย่างมากมายในเครือข่าย (Runt Frame เป็น เฟรมข้อมูลที่มีขนาดเล็กผิดปกติ มีสาเหตุมาจากการเข้าหัว RJ-45 ไม่เรียบร้อย รวมทั้งปัญหาของ LAN Card
     2. ปัญหาสายขาดใน ทำให้เชื่อมต่อกันไม่ได้
     3. ปัญหาการสลับสี หรือสลับคู่สายสัญญาณไม่เป็นไปตามมาตรฐาน มักทำให้เกิดอาการ หลายประการ เช่น ไม่สามารถใช้ได้กับ Hub บางรุ่น ที่มีความเข้มงวดในเรื่องของ สัญญาณ ไม่สามารถใช้งานได้ รวมทั้งเครื่อง hang หรือเครือข่ายล่ม ทันทีที่คอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาสายสัญญาณนี้ มีการทำงานเกิดขึ้นบนเครือข่าย
     4. ปัญหาการนำสาย Crosswire ไปใช้เชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์กับ Hub ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ เช่นเดียวกับการเอา สายธรรมดา (Straight-Through) ไปเชื่อมต่อกันระหว่าง Hub กับ Hub ด้วยกัน ซึ่งทำไม่ได้อยู่แล้ว
     5. การใช้สาย Console มาเชื่อมต่อกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับ Hub หรือ Hub กับ Hub ด้วยกัน ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน
เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบสาย UTP
    นอกจาก Multimeter ที่ใช้วัดความต่อเนื่องของสายแล้ว ยังมีเครื่องมือขนาดพกพา ที่นอกจากจะช่วยวัดความต่อเนื่องของสายแล้ว ยังใช้วัดการเข้าหัว RJ-45 ว่า ถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งสามารถวัดค่าความเสื่อมถอย และ อัตราของ Crosstalk ได้อีกด้วย

 

การแชร์อินเตอร์เน็ต

            ปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตแทบจะเป็นอะไรที่กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปซะแล้ว ทุกวันเราจะต้องมีการเข้าอินเตอร์เน็ต เช็คอีเมล์ว่าวันนี้มีใครส่งเมล์มาหรือเปล่า ลองสมมติว่าถ้าเรามีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง แต่มีแค่ 1 เบอร์โทรศัพท์และ 1 บัญชีอินเตอร์เน็ตและเราก็รู้ว่าที่บ้านหรือที่งานของเรามีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตกันอยู่หลายคน แถมยังชอบใช้ในเวลาเดียวกันซะด้วย นั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหา ทางออกของเราก็อาจจะทำโดยการเพิ่มเบอร์โทรศัพท์เพิ่มบัญชีอินเตอร์เน็ตซึ่งมันก็เป็นทางออกทางหนึ่งแต่แน่นอนก็ต้อง

มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ด้วยการใช้เครือข่าย เรามีทางออกที่ดีกว่านั้นก็คือการแชร์ใช้อินเตอร์เน็ต จากบัญชีอินเตอร์เน็ตบัญชีเดียวและเบอร์เดียวได้หลาย ๆคนในเวลาเดียวกัน เช่น คนหนึ่งต้องการหาข้อมูล อีกคนต้องการใช้อีเมล์ เป็นต้น

การแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านทางคอนเน็กชันเดียว หากเป็นการใช้งานผ่านทางโมเด็มเช่นโมเด็ม 56K อาจจะดูเหมือนเป็นการยากที่จะทำให้คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจะแบ่งปันแบนวิดธ์ที่มีอยู่น้อยนิด ให้สามารถใช้งานกระจายกันไปอย่างทั่วถึง แต่สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว การแชร์เพื่อแบ่งกันใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในระบบเครือข่าย กลับกลายเป็นเรื่องง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก นับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับบ้านหรือสำนักงานที่มีคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่อง (รูปที่ 1 และ 2)




รูปที่ 1 ลักษณะของการแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่กำหนดเป็น IP Sharing ในระบบ






รูปที่ 2 การแชร์อินเทอร์เน็ต โดยผ่านทาง ADSL โมเด็มที่เป็น Rounter ในตัว

จะแชร์อินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
            การแชร์อินเทอร์เน็ตมีทางเลือกให้คุณได้ใช้งานกันอยู่สองรูปแบบ แบบแรกก็คือการใช้โมเด็ม ADSL แบบพิเศษที่มีสวิตช์อยู่ในตัว ซึ่งสามารถนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อใช้งานได้เลย ซึ่งกรณีนี้มีข้อดีตรงที่ว่าไม่จำเป็นต้องเสียสละคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเพื่อใช้ออนไลน์ตลอดเวลา เพราะแค่ต่อโมเด็มเข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก แล้วเปิดโมเด็มทิ้งไว้ เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่องก็จะสามารถต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทาง ADSL ได้พร้อมกัน แต่ก็ต้องพบปัญหาเรื่องที่ราคาของโมเด็มแบบที่มีฮับอยู่ในตัวนั้นมันแพงแสนแพง ซึ่งทางออกของคุณก็อาจใช้คอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่ง เพื่อคอนเน็กอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แล้วค่อยแชร์ไปให้เครื่องอื่นๆ ซึ่งคอมพ์เครื่องนี้ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเดิมนะครับ เพียงแต่ต้องไม่มีการปิดหรือรีสตาร์ทระหว่างที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่เท่านั้นเอง



การที่จะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์ได้ทุกเครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องอยู่ในระบบเน็ตเวิร์ก ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งระบบเน็ตเวิร์กมาให้ตั้งแต่โรงงาน ผู้ใช้ก็แค่หาสายเคเบิลสำหรับเน็ตเวิร์กมาใช้งานก็ได้แล้ว แต่ถ้าหากไม่มีการ์ดเน็ตเวิร์กติดตั้งมาพร้อมตั้งแต่แรก ก็จำเป็นต้องหามาติดตั้งก่อนละครับ เพื่อที่จะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กันและกันได้ โดยการติดตั้งเน็ตเวิร์กนั้น ในที่นี้คงไม่ได้พูดถึง เพราะได้เคยว่ากันไปแล้วในคอมพิวเตอร์.ทูเดย์

แชร์อินเทอร์เน็ตด้วยวินโดวส์เอ็กซ์พี
             ในความเป็นจริงแล้วคงไม่ใช่เฉพาะวินโดวส์เอ็กซ์พีเท่านั้นที่สามารถแชร์อินเทอร์เน็ตได้ เพราะสามารถใช้วินโดวส์แชร์อินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่เวอร์ชัน 98 แล้ว เพียงในวินโดวส์เอ็กซ์พีจะเป็นฟีเจอร์เหล่านี้ให้มาเลยตั้งแต่ติดตั้ง ส่วนวินโดวส์ 98 และ Me นั้นจำเป็นต้องเลือกการติดเพิ่มเติมเข้าไปอีก งานนี้เอ็กซ์พีเลยมีข้อได้เปรียบมากกว่า แต่ถ้าใครคิดว่าวินโดวส์เอ็กซ์พี มีความเสียงต่อไวรัสสูง อาจจะใช้วินโดวส์ 98 หรือว่า ME แทนก็ได้ เพื่อที่จะได้สกัดกั้นปัญหานี้ไว้ก่อน

ความสามารถในการแชร์อินเทอร์เน็ตในวินโดวส์เอ็กซ์พี นี้เรียกว่า Internet Connection Sharing ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยาก (แต่ก่อนอื่นต้องติดตั้งไดรเวอร์สำหรับ ADSL เอาไว้ให้เรียบร้อยก่อน) เริ่มต้นก็ให้คุณเปิด My Network Places ขึ้นมา จากนั้นก็เลือกที่ View Network Connections ก็จะเห็นว่ามีไอคอนสำหรับเน็ตเวิร์กคอนเน็กชันอยู่หลายๆ อัน แต่ที่จะให้ความสนใจ ก็คงเป็นไอคอนสำหรับ ADSL อันเดียวเท่านั้น      จากนั้นก็ให้คลิ้กขวาที่ไอคอนนี้ แล้วเลือกที่ Properties ก็จะปรากฏหน้าต่าง Properties ของคอนเน็กชันนี้ขึ้นมา ให้พิจารณาดูที่แท็ป Advanced ซึ่งภายใต้หัวข้อนี้จะพบว่ามีส่วนให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ส่วน ด้านบนเป็น Internet Connection Firewall สำหรับใช้เป็น Personal Firewall ส่วนตัวที่ไว้ป้องกันไม่ให้เกิดการบุกรุกเข้ามายังเครื่องจากไวรัส หรือว่าอื่นๆ ส่วนที่สองเป็นสิ่งที่เราสนใจครับ นั่นก็คือ Internet Connection Sharing ซึ่งหากเราต้องการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ให้คลิ้กเลือกที่หัวข้อนี้ จากนั้นก็จะปรากฏหัวข้อให้เลือกเพิ่มขึ้น สำหรับกำหนดการทำงาน (รูปที่ 3)



รูปที่ 3 แสดงรายละเอียด Internet
Connection Sharing

  • Allow other network users to connect through this computer’s Internet Connection คือการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ยอมให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ สามารถคอนเน็กอินเทอร์เน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ตคอนเน็กชันได้
  • Establish a dial-up connection whenever a computer on my network attempts to access the internet หมายถึงยอมให้เครื่องที่ต่อผ่านอยู่ สามารถเรียกใช้งานไดอัลอันได้โดยตรง
  • Allow other network users to control or disable the shared internet connection จะยอมให้เครื่องลูกข่ายสามารถปิดการแชร์ที่อยู่ในเครื่องได้ ซึ่งเราต้องการแชร์อินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ในหัวข้อที่สองและสาม ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าในการทำงานก็ได้

             เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ของคุณก็จะพร้อมสำหรับการการแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในระบบแล้วครับ เรามาดูกันว่าจะกำหนดการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อย่างไร ...

จะใช้อินเทอร์เน็ตแชร์ได้อย่างไร
               หลังจากที่เราแชร์อินเทอร์เน็ตแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการใช้งานล่ะครับ สำหรับเครื่องหลักนั้นคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะตามปกตินั้นก็ใช้ได้อยู่แล้ว แต่จะมีปัญหาก็ตรงเครื่องรองทั้งหลายที่จะมาต่อเข้านี่ล่ะครับ จะทำไงดี ซึ่งกรณีนี้จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเหมือนกัน เพียงแต่กำหนดค่า Gateway ให้ชี้ไปยังเครื่องที่ได้แชร์อินเทอร์เน็ตไว้เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว

สำหรับการกำหนด Gateway นี้ทำยังไง อย่าเพิ่งทำหน้ายุ่งผสมงงครับ เพราะผมกำลังจะเฉลยอยู่ตรงนี้ครับ เริ่มต้นให้กำหนดหมายเลขไอพีสำหรับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก่อน โดยแต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลขไม่เหมือนกัน ที่นิยมส่วนมากจะเป็น 192.168.0.1 แล้วก็ไล่ต่อไปเรื่อยๆ โดยแต่ละเครื่องจะเปลี่ยนเฉพาะตัวเลขสุดท้าย เช่น 192.168.0.1, 192.168.0.2 , 192.168.0.3 เป็นต้น ส่วนหมายเลขของ Subnet Mark จะใช้เป็น 255.255.255.0 ซึ่งค่านี้ในทุกเครื่องจะต้องเหมือนกัน

ที่นี้สำหรับ IP หมายเลขหนึ่ง เราได้กำหนดให้เครื่องสำหรับแชร์อินเทอร์เน็ตเป็นหมายเลข 1 ไปแล้ว ซึ่งเครื่องที่เหลือเราจึงต้องกำหนดให้เป็นหมายเลข 2, 3 ,4 ไล่ลำดับไปเรื่อยๆ จากนั้นให้กำหนดหมายเลขของ Gateway เป็น 192.168.0.1 ตามไอพีของเครื่องที่แชร์อินเทอร์เน็ตเท่านี้ เราก็สามารถจะใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน โดยมี ADSL คอนเน็กชันเพียงอันเดียวได้แล้วล่ะครับ

การกำหนดไอพีสำหรับระบบที่ใช้โมเด็มแบบที่มีฮับในตัวส่วนใหญ่ จะสามารถกำหนดหมายเลขไอพีให้กับตัวโมเด็มได้ ซึ่งในการใช้งานตัวเครื่องลูกทั้งหมาย ก็ต้องกำหนด Gateway ให้ชี้มายังไอพีของโมเด็มเช่นเดียวกัน (ดังรูปที่ 4)



รูปที่ 4 การกำหนดหมายเลขไอพี และ Gateway ให้กับเครื่องลูกข่าย






แชร์แล้วใช้ได้เลยรึเปล่า
              ในกรณีของการแชร์แบบนี้ เรียกว่าเป็นการแชร์แบบง่ายๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต่อกับระบบจะเป็นการออนไลน์ตรงไปยังผู้ให้บริการ ADSL โดยตรง ไม่ผ่านเซิร์ฟเวอร์ใดๆ ซึ่งหากจะดูเรื่องของความปลอดภัยแล้ว จัดว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมากๆ เพราะไม่มีอะไรเป็นตัวกั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลหรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้ามาในระบบ ทำให้หากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส หรือมีการแฮกเกิดขึ้น ก็จะมีผลกับคอมพิวเตอร์ในทันทีทันใด ถึงแม้จะมี Internet Firewall ของวินโดวส์เอาไว้ป้องกันอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับมาตรการการรักษาความปลอดภัย ที่ต้องเข้มงวดมากขึ้น ในการที่จะรับมือกับสิ่งที่แปลกปลอมต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับป้องกัน ทั้งสแปมเมล์ ไวรัสอินเทอร์เน็ต เวิร์ม หรือม้าโทรจันต่างๆ รวมถึงไวรัสทั้งหลายที่ใช้ช่องทางของไมโครซอฟท์บุกรุกเข้ามาโจมตียังคอมพิวเตอร์ของคุณ

             โปรแกรมเหล่านี้อาจจะเป็นซอฟต์แวร์ Personal Firewall ที่จะคอยตรวจสอบการไหลเข้าของข้อมูล รวมถึงการต้องขออนุญาตผ่านเข้าออกสำหรับแพ็กเกจข้อมูล ที่จะผ่านออกไปยังอินเทอร์เน็ตก่อน ซึ่งจะทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งการป้องกันแบบนี้ถึงจะดูเหมือนว่าไม่ได้ป้องกันอะไรมากนัก และ แต่ก็สามารถกันความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบได้ส่วนหนึ่งทีเดียว สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการลงทุนอะไรมากนัก

นอกจากนั้นการใช้งาน อาจจะจำกัดอยู่บ้าง สำหรับกรณีที่คุณใช้ ADSL ราคาประหยัด ที่สามารถใช้ได้เฉพาะเว็บไซต์ในประเทศเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถจะต่อใช้งานผ่านไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศได้ แต่หากต้องการจะใช้งานเว็บไซต์ต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องซื้อชั่วโมงเน็ตสำหรับใช้งานมาเพิ่มเติม หรือใช้พร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์ที่อื่นๆ ในการต่ออินเทอร์เน็ตไปยังเว็บไซต์นอกประเทศ ซึ่งพร็อกซี่บางที่จะมีการลิมิตตัวเองไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ ผ่านออกนอกประเทศได้ โดยจะใช้ได้ก็สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ได้ล็อกอินเข้าไปใช้งานในพร็อกซี่เซิร์ฟเวอร์เท่านั้น หากเป็นแบบนี้แล้วคุณต้องการแชร์อินเทอร์เน็ตให้เครื่องอื่นๆ สามารถต่อไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศได้ ก็จำเป็นต้องหาโปรแกรมพิเศษ เช่น โปรแกรมพร็อกซีเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ มาลงไว้ในเครื่องที่ใช้สำหรับคอนเน็กออกไปก่อน เพื่อให้คอมพิวเตอร์เครื่องลูกที่ต่ออยู่ในระบบสามารถคอนเน็กอินเทอร์เน็ตออกไปโดยผ่านทางโปรแกรมพร็อกซี่นี้อีกทีหนึ่ง

แน่นอนว่าการติดตั้งโปรแกรมพร็อกซี อาจจะดูยุ่งยากไปหน่อย เพราะคุณต้องกำหนดค่าต่างๆ ให้กับโปรแกรม เพื่อที่จะสามารถใช้งาน ซึ่งการปรับแต่งนี้อาจจะต้องอาศัยผู้วชาญเข้ามาช่วยเพื่อให้การทำงานของโปรแกรมนั้นไม่เป็นปัญหา แต่โปรแกรมสมัยใหม่ก็ใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมยอดนิยมอย่าง WinGate ที่จะช่วยให้ผู้ใช้แชร์อินเทอร์เน็ต พร้อมกับมีความสามารถในการป้องกันด้วย firewall ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และยังมีความสามารถในการแจกจ่ายไอพี ซึ่งทำให้คุณไม่ต้องไปกำหนดอะไรให้กับเครื่องลูกข่ายเลย เพียงแค่ต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก เท่านี้ก็พร้อมจะใช้งานได้แล้ว หากใครสนใจรายละเอียดของ WinGate Proxy Server ก็แวะไปดูได้ที่ www.wingate.com ดูนะครับ จะลองโหลดโปรแกรมมาลองใช้งานดูก่อนก็ได้ครับ (รูปที่ 5)

สายสัญญาณตีเกลียวมีกี่เส้น

1.) สายตีเกลียวคู่ ประกอบ ด้วยเส้นทองแดง 2 เส้นที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากสายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่ ...

สายคู่ตีเกลียว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือข้อใด

จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว สายคู่บิดเกลียว แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ 1. แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair) 2. แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

Shield Twisted Pair เป็นอย่างไร

เป็นสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม ซึ่งสายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งจะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้ ...

สาย Unshielded Twisted

UTP ย่อมา จาก Unshield Twist Pair หรือที่เรารู้จักกันว่าสายแลนนั้นเอง เขียนให้ถูกต้องเลยต้องเขียนว่า U/UTP คือสายที่นำทองแดงมาตีเกลียวเป็นคู่จำนวน 4 คู่ จะมีประเภทหลักๆที่นิยมคือ CAT5E CAT6 หรือ CAT6A นั่นเอง